นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

หมอแนะ! ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกด้วยการฉีดวัคซีน HPV

 



 

 

📌 มะเร็งปากมดลูก นอกจากจะเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ง่ายแล้วยังเป็นโรคที่มีความรุนแรง ซึ่งพบได้มากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่ดีที่มะเร็งชนิดนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยควรฉีดในเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9–14 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีน HPV

จากงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า เด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็มก็ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 เข็มในผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายของเด็กสามารถตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันดีกว่าช่วงอายุอื่นๆ และนอกจากจะป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว วัคซีนยังช่วยป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย

💉การฉีดวัคซีน HPV ให้ครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์สูตินรีเวชเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV ร่วมกับการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ อย่าพลาดโอกาสที่จะป้องกันโรคก่อนที่จะสายเกินไป “มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน" อ่านข้อมูลเพิ่มเติม 
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/100




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2563   
Last Update : 17 มิถุนายน 2563 10:19:22 น.   
Counter : 958 Pageviews.  


วัคซีนที่สำคัญ แต่พ่อแม่มักจะลืม


 

👶👧เด็กเกิดมาจะมีภูมิต้านทานโรคที่ไม่เท่ากัน เด็กบางคนภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายไม่แข็งแรง ติดเชื้อโรคได้ง่ายจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ

คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรละเลยสุขภาพของลูกน้อยการรับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นวิธีป้องกันโรคที่ได้ผลดีที่สุดโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนจำเป็นต้องได้รับ

นอกจากวัคซีนพื้นฐานแล้วหมออยากแนะนำให้เด็กๆ ควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ, วัคซีนป้องกันโรคสุกใสเสริมไปด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติม 📌“วัคซีนที่สำคัญ.. แต่พ่อแม่มักจะลืม https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/80

เมื่อเด็กได้รับวัคซีนโรคนั้นๆ แล้ว โรคก็จะไม่ติดต่อไปยังเด็กคนอื่น การฉีดวัคซีนจึงถือเป็นการสร้างเกราะป้องกันพิเศษ เสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวเด็กเองแล้ว ยังช่วยปกป้องเด็กคนอื่นๆ ได้อีกด้วย...




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2563   
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 10:25:50 น.   
Counter : 665 Pageviews.  


“เรื่องของตับ” โรคที่ควรรู้ ก่อนนำไปสู่มะเร็งร้ายไม่รู้ตัว

 

โรคตับเป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บหรือเกิดแผลเป็นแบบถาวรจนเป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง หน้าที่สำคัญของตับ คือช่วยในการผลิตน้ำดี ที่ไปย่อยอาหารประเภทไขมันกำจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย และผลิตสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวทำให้เลือดหยุดไหล

🔺โรคร้ายที่เกิดกับตับมีหลายโรค เช่น ตับอักเสบ ตับแข็งจากการดื่มสุรา ไขมันสะสมในตับโรคตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสบีหรือซีซึ่งถ้าเราไม่ใส่ใจรักษาตั้งแต่แรกเริ่มก็อาจทำให้โรคตับลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด

คนที่ตับเริ่มมีปัญหาจะยังไม่ออกอาการชัดเจน ส่วนใหญ่อาการมักจะชัดเจนในกลุ่มผู้ป่วยที่ตับแข็งแล้ว ซึ่งอาจมีอาการ อ่อนเพลีย ตาเหลือง ตัวเหลือง ท้องบวม ขาบวม หรือบางคนอาจตรวจพบเป็นมะเร็งตับเลยเพราะฉะนั้นต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี

ซึ่งแพทย์ทั่วโลกลงความเห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลเสียและทำให้ตับมีปัญหามากที่สุด คือ

  1. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเพราะแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบและเรื้อรังจนเป็นตับแข็ง
  2. ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี เรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาเชื้อไวรัสนี้จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
  3. โรคตับอักเสบจากไขมันสะสมที่ตับซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งอาจพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน หรือในคนปกติก็ได้

  4. ทานยาบางชนิดเป็นเวลานานเช่น ยาพาราเซตามอล ซึ่งทำให้ตับทำงานหนักและอาจเกิดการอักเสบได้

  5. ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำเช่น อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เป็นเชื้อราอันตรายที่ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็ง มักปนเปื้อนในพืช อย่างข้าวโพด ถั่ว เครื่องเทศ เป็นต้น

ใครที่มีอาการ มีความเสี่ยงและมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคตับ ควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุดเพราะหากพบว่าเป็นโรคตับก็จะได้รักษาทันทีก่อนที่จะเรื้อรัง จนลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับและยากที่จะรักษาให้หายได้

📌 นอกจากมะเร็งตับแล้ว ยังมีมะเร็งอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ ฯลฯ ที่ในระยะแรกก็มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดนัก กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นก็ลุกลามไปมากแล้ว ดังนั้นการหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเรา รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีถือเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ และห้ามละเลยเด็ดขาด...




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2563   
Last Update : 12 มิถุนายน 2563 10:43:20 น.   
Counter : 970 Pageviews.  


อ้วน... ทำไม? ถึงเสี่ยงเป็นเบาหวาน

 

🍟โรคอ้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เนื่องจากไขมันส่วนเกินภายในร่างกายจะถูกย่อยสลายเป็นกรดไขมันอิสระกับกลูโคส และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อกลูโคสและกรดไขมันอยู่ในกระแสเลือดมากจนเกินไปจะส่งผลให้ตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินเพื่อช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดที่เข้าสู่ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น ทำให้ตับอ่อนทำงานหนักมากขึ้นและถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตับอ่อนทำงานไม่ไหวส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในที่สุด

📌ดังนั้นเราจึงควรพยายามควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการเลือกทานอาหารดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เท่านี้ก็จะช่วยให้เราห่างไกลโรคอ้วน และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานลงไปได้มากเลยนะครับ




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2563   
Last Update : 10 มิถุนายน 2563 10:11:56 น.   
Counter : 842 Pageviews.  


คำถาม?... ที่คนไข้เบาหวาน ชอบถามหมอบ่อยๆ

 

คนไข้ : ทำไมต้องคุมอาหาร ทั้งๆ ที่ทานยาอยู่แล้ว?

หมอราม : ที่ต้องให้คนไข้ควบคุมอาหารก็เพราะว่า คนที่เป็นเบาหวานจะมีปัญหาในการหลั่งอินซูลิน ยาเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น แต่อาจไม่สามารถดีได้เท่าเดิม คนไข้จึงต้องช่วยดูแลร่างกายตัวเองไปพร้อมๆ กัน ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม


คนไข้ : การออกกำลังกายช่วยให้เบาหวานดีขึ้นจริงไม?

หมอราม : การออกกำลังกายจะช่วยทำให้เซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น ทำให้สามารถคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น แนะนำว่าการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้เบาหวาน คือ เล่นโยคะ เต้นแอโรบิคนานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงขึ้นไป
 

คนไข้ : รักษาเบาหวานจนดีขึ้นแล้ว ทำไม? ยังต้องไปหาหมออยู่อีก

หมอราม : โดยรวมแล้วก็เพื่อตรวจเช็กอาการแทรกซ้อนของโรค แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือค่าเบาหวานของผู้ป่วยสามารถขึ้นๆ ลงๆได้ตลอดเวลา การใช้ยาตัวเดิมอยู่ตลอดอาจไม่สามารถคุมเบาหวานได้ทุกครั้ง จึงทำให้แพทย์ต้องนัดคนไข้เข้ามาตรวจดูอาการและปรับเปลี่ยนยาอยู่ตลอดนั่นเอง




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2563   
Last Update : 8 มิถุนายน 2563 10:15:48 น.   
Counter : 626 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com