นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
คนที่เคยเป็นอีสุกอีใส ทำไม? เสี่ยงเป็น "โรคงูสวัด"



คนที่เคยเป็นอีสุกอีใส ทำไม? เสี่ยงเป็น "โรคงูสวัด"

นั่นก็เพราะ “โรคงูสวัด” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Varicella Zoster Virus : VZR) เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อจะยังคงอยู่และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ตามปมประสาทของร่างกายโดยไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ จนเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง โรคงูสวัดจะเริ่มแสดงอาการออกมา

เริ่มแรกอาจรู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัวหรือเจ็บปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง จากนั้นจะเริ่มมีผื่นแดงเกิดขึ้นเป็นทางยาวตามแนวเส้นประสาทร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขา แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณลำตัว ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส แตกออกและตกสะเก็ดดังนั้นหากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าจะเป็นงูสวัด ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะหากเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะสำคัญอย่างเช่นดวงตา หรือเยื่อหุ้มสมอง ก็อาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาโรคงูสวัดทำได้โดยการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด การอักเสบ และจำนวนตุ่มน้ำที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้อาจให้ยารักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ยาบรรเทาอาการปวด ยาบรรเทาอาการคัน ยาปฏิชีวนะ

โรคงูสวัดส่วนมากรักษาหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังมีอาการ แต่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรังตามบริเวณเส้นประสาทที่แสดงอาการของโรคทั้งนี้อาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้นแต่อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์เป็นเดือน หรือในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังเป็นโรคงูสวัดอยู่นานเป็นปี หรือมากกว่านั้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและพบภาวะแทรกซ้อนนี้ได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังบางโรคที่ทำให้ประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันลดลง

โรคงูสวัดมักเกิดในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงสูงเพราะภูมิต้านลดลง การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการฉีดวัคซีน แนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทุกคนฉีดวัคซีนป้องกัน ส่วนผู้ที่มีโรคเรื้อรังหรือมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ภูมิต้านทานไม่แข็งแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนก่อนอายุ 60 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์โดยฉีดเพียง 1 เข็มจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคงูสวัด และลดความรุนแรงของอาการลงได้หากเป็นโรค

ในผู้ที่เป็นหรือเริ่มเป็นควรรีบมาพบแพทย์ การได้รับยาและรับการรักษาเร็ว จะช่วยลดผลแทรกซ้อนทั้งการลุกลามของผื่น ความเจ็บปวด เส้นประสาทอักเสบหลังจากหายแล้วและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ได้




Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2565 16:03:05 น. 0 comments
Counter : 760 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com