พาร์กินสัน โรคทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่น
พาร์กินสัน โรคทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่น
“โรคพาร์กินสัน” หรือ “โรคสั่นสันนิบาต” เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองส่วนลึกและก้านสมอง ส่งผลต่อการสร้างสารเคมีที่ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ลดลง ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวตามมา อาการของโรคพาร์กินสันจะแบ่งออกเป็น 2 อาการหลักๆ คือ - อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว จะมีอาการสั่นเวลาอยู่เฉยๆ อาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ แขน ขา มีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง เมื่อเป็นไปสักระยะหนึ่ง ก็อาจจะเริ่มมีเรื่องของการเดินช้าหรือเดินติดขัดได้
- อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวโดยตรง ก็จะเป็นอาการที่จมูกไม่ได้กลิ่น อาจจะทานข้าวไม่อร่อย อาจมีอาการท้องผูก นอนละเมอ หรือว่ามีอารมณ์ซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน แพทย์จะต้องสอบถามประวัติของผู้ป่วย ญาติ และจากการตรวจร่างกายเป็นหลัก ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยีการสแกนสมองเข้ามาใช้ เพื่อดูระดับสารเคมีโดปามีนในสมองว่าลดลงหรือเปล่า ถ้ามีการลดลงก็จะสามารถช่วยให้การวินิจฉัยง่ายขึ้น การรักษาโรคพาร์กินสัน จะเป็นการรักษาประคับประคองที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติ ด้วยการทานยาที่ช่วยกระตุ้นการสร้างสารโดปามีนในสมอง การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก ซึ่งเริ่มมีการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่จะยังทำกันในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หรือว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ นอกจากการรักษาที่บอกไปแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำควบคู่กันเสมอเลยก็คือการดูแลสภาพจิตใจแล้วก็สังคมของผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลควรพาผู้ป่วยออกไปข้างนอกบ้าง และพยายามกระตุ้นเรื่องการออกกำลังกาย ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้...
Create Date : 25 พฤษภาคม 2565 |
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 10:39:23 น. |
|
0 comments
|
Counter : 574 Pageviews. |
|
|
|