นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ทำไมถึงไอเรื้อรัง.. ทำอย่างไรถึงจะหาย?




ทำไมถึงไอเรื้อรัง.. ทำอย่างไรถึงจะหาย? 

ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) คือ อาการไอที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ใหญ่มักจะมีอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ขึ้นไปและเด็กจะมีอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ขึ้นไป ไอเรื้อรังเป็นอาการที่ไม่ใช่โรค ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหรือปัญหาทางสุขภาพต่างๆ เช่น สูบบุหรี่ น้ำมูกหรือเสมหะไหลลงคอ โรคหืด และโรคกรดไหลย้อน โดยเมื่อโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุได้รับการรักษาให้หายเป็นปกติ อาการไอเรื้อรังก็จะหายไป


ไอเรื้อรัง เกิดจากอะไร?

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม (ACE inhibitors) เป็นระยะเวลานาน
  •  โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ
  •  การใช้เสียงมาก ทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม
  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  •  โรคหืด วัณโรคปอด โรคกรดไหลย้อน
     


ไอแบบไหน?..ควรไปพบแพทย์

  •  ไอติดต่อกันมากกว่า 8 สัปดาห์
  •  อาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
  •  อาการไอที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก
  •  ไอมีเลือดปนเสมหะ
  •  ไอจากการที่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค

** ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ เมื่อมีอาการไอควรรีบมาพบแพทย์
 


ไอเรื้อรัง รักษาอย่างไร?  

การรักษาอาการไอเรื้อรังที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุนั้นๆ นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวในขณะที่มีอาการไออย่างถูกต้อง ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นหรือไม่แย่ลง โดยสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติในขณะที่มีอาการไอ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น สารก่ออาการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัวทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
  • ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนห่มผ้า 
     


หากอาการไอมีไม่มาก เบื้องต้นอาจทานยาเพื่อบรรเทาอาการไอ ถ้ามีเสมหะร่วมด้วยก็ให้ทานยาละลายเสมหะ เพื่อให้เสมหะที่เหนียวข้นขับออกจากหลอดลมได้ง่าย แต่หากทานยาดังกล่าวแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
 


** ท่าออกกำลังกายและการหายใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปอด และการไอเพื่อขับเสมหะอย่างถูกวิธี คลิก >> https://www.youtube.com/watch?v=75wagXQG7nI




Create Date : 27 พฤษภาคม 2565
Last Update : 27 พฤษภาคม 2565 10:07:25 น. 0 comments
Counter : 674 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

BlogGang Popular Award#20


 
หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com