ตั้งครรภ์ทำอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ อันตรายไหม?
📲เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยสุขภาพทารกในครรภ์ที่แพทย์นิยมใช้ คือ การตรวจด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ ซึ่งการอัลตร้าซาวด์ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ดูเพศและดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การรักษาทารกขณะอยู่ในครรภ์และเตรียมการรักษาหลังคลอดได้อีกด้วย
การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์มีความปลอดภัยและสามารถทำได้ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งสูงกว่าที่หูของเราจะได้ยินจึงไม่เกิดอันตราย โดยความถี่เสียงที่ส่งเข้าไปจะสะท้อนกลับมาเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลเป็นภาพให้เราเห็นซึ่งเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ จะเป็นแบบ 2 มิติเป็นหลัก ส่วนแบบ 3 มิติ จะช่วยให้เห็นความกว้าง ความยาว และความหนา ที่เป็นภาพนิ่ง แต่ถ้าเป็นแบบ 4 มิติ จะเห็นความเคลื่อนไหวแบบเป็นคลิปวิดีโอ
👩⚕️หมอสูติแนะนำว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์โดยสูติแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกไตรมาส แต่สำหรับคุณแม่บางท่านที่มีภาวะแทรกซ้อนผิดปกติ เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อยน้ำคร่ำน้อยครรภ์เป็นพิษเบาหวาน, ครรภ์แฝด อาจจะต้องได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ถี่กว่าปกติและตรวจละเอียดมากขึ้น
📌 "ประโยชน์ในการทำอัลตร้าซาวด์แต่ละช่วงอายุครรภ์" อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/639
Create Date : 01 กันยายน 2563 |
Last Update : 1 กันยายน 2563 13:44:51 น. |
|
1 comments
|
Counter : 750 Pageviews. |
|
|
|
|
ts911