รู้ทัน!.. เพื่อป้องกันภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
WHO เผยโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก สำหรับประเทศไทยในปี 2560 พบว่าคนไทยมีแนวโน้มการป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดถึง 326,946 คน และเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดโดยเฉลี่ยวันละ 57 คน และมีแนวโน้มการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันหรือเกิด #ภาวะหัวใจวาย จากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
#ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้ทั้งขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือแม้แต่ขณะพักผ่อน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและมีรอยปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดและไขมันมาเกาะที่ผนังก่อตัวเป็นตะกรัน เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
👉 ความดันโลหิตสูง
👉 ไขมันในเลือดสูง
👉 ภาวะอ้วนลงพุง
👉 การสูบบุหรี่
👉 โรคเบาหวาน
👉 ไม่ออกกำลังกาย
👉 ไม่กินผักและผลไม้
👉 มีความเครียด
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั้น มีอาการสัญญาณเตือนที่เราสามารถสังเกตได้ ดังนี้
👉 มีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง
👉 มีเหงื่อออกมาก
👉 ปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง และแขนซ้าย
👉 หอบเหนื่อย ใจสั่น
👉 จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาล่าช้า ซึ่งมักทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวและ #เสียชีวิตตามมาได้
อ่านเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/233