โรคพาร์กินสันคืออะไร?
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคของความเสื่อมที่เกิดขึ้นในระบบประสาท โดยเกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่ผลิตสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่อยู่บริเวณก้านสมองส่วนบน (Midbrain) ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะแสดงออกด้วยอาการของการเคลื่อนไหวผิดปกติเป็นอาการหลัก ซึ่งจะต่างกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ที่ผู้ป่วยมักจะแสดงออกด้วยอาการความจำหลงลืมเป็นอาการหลัก ปัจจุบันยังไม่พบปัจจัยหลักปัจจัยเดี่ยวที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
มีอาการและอาการแสดงอย่างไร?
อาการของโรคพาร์กินสันนั้นแบ่งออกเป็น
- อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Motor symptoms)
- อาการความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms)
รักษาโรคพาร์กินสันอย่างไร?
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาด้วยการผ่าตัด
- การออกกำลังกาย
โรคพาร์กินสันพบได้ประมาณร้อยละ 1 ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ถึงแม้โรคพาร์กินสันจะยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย แต่สามารถควบคุมอาการได้ หากพบแพทย์เร็ว
โรคพาร์กินสัน อาการ สาเหตุ และวิธีสังเกต คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม>> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1668