นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

หน้าร้อน ระวัง!... อาหารเป็นพิษ อาการแบบไหน? ที่ควรพบแพทย์ด่วน!!




หน้าร้อน ระวัง!... อาหารเป็นพิษ อาการแบบไหน? ที่ควรพบแพทย์ด่วน!!

อาหารเป็นพิษ ภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกวัย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทยที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการท้องเสีย อาเจียน เวียนหัว





อาหารเป็นพิษเกิดจากการทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือไข่ตัวอ่อนของหนอนพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร เช่น อาหารค้างคืน, เนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคเหล่านี้เข้าไป ก็จะพยายามขับเอาเชื้อโรคออก ทำให้เกิดอาการต่างๆ ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค ปริมาณเชื้อโรคที่ได้รับ รวมถึงสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองด้วย





อาหารเป็นพิษไม่ได้มีแค่อาการท้องเสียเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง คอแห้งกระหายน้ำ ปวดหัว และมีไข้ อาการมักเกิดขึ้นทันทีหลังทานอาหาร หรือภายใน 4-30 ชั่วโมง หลังจากทานอาหารมื้อนั้น โดยทั่วไปอาหารเป็นพิษเป็นภาวะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยการรักษาตามอาการเบื้องต้น เช่น

  • ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
  • งดทานอาหารรสจัด, นม หรือผลไม้
  • ทานอาหารปรุงสุก สะอาด ย่อยง่าย
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อน และงดทำกิจกรรมหนักๆ
     



แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง หรือมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ท้องเสียเป็นน้ำหรือเป็นมูกปนเลือด ไข้สูง อ่อนเพลีย
  • อาเจียนติดต่อกัน เลือดออกระหว่างอาเจียน
  • หนังตาตก กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบาก
     



ช่วงที่อากาศร้อนแบบนี้ การทานอาหารควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาด” เลือกทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืน หรืออาหารดิบ เลือกดื่มน้ำที่สะอาด และใช้ช้อนกลางเมื่อทานอาหารร่วมกัน ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาด ก่อนทานอาหารทุกครั้ง การป้องกันเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ รวมถึงป้องกันอาหารเป็นพิษได้



 




 

Create Date : 10 เมษายน 2567   
Last Update : 10 เมษายน 2567 15:56:43 น.   
Counter : 65 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


​​​​​​​อย่าคิดว่าโรคหัวใจเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น!!!




อย่าคิดว่าโรคหัวใจเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น!!!

เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้คนอายุน้อยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น สาเหตุหลักๆ ก็มาจากกรรมพันธุ์หรือมีความผิดปกติของหัวใจมาตั้งแต่กำเนิด พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน ความดัน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

แม้แต่คนที่ร่างกายแข็งแรง เป็นนักกีฬาก็มีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติได้ โดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ใช้ร่างกายหนักๆ แนะนำให้ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเพื่อดูว่าสามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่หักโหมได้หรือไม่

อาการของโรคหัวใจ ที่สังเกตได้ หลักๆ เลยก็คือ แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม วูบ หมดสติ หรือ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ... ดังนั้นใครที่สังเกตเห็น หรือสงสัยว่าตัวเองหรือคนรอบข้าง มีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ตรวจวินิจฉัยให้ละเอียดและรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตได้

โรคหัวใจไม่เลือกวัย การดูแลสุขภาพให้ดีและตรวจเช็กหัวใจสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจลงได้ ดูแลตัวเองตั้งแต่อายุน้อยเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีกันดีกว่า
“อายุน้อยก็เสี่ยงโรคหัวใจได้” คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=MI7aPWgGYRo

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง >> https://bit.ly/43oIkDm
โทร. 1512 ต่อ 3110, 3118, 3119
Line Official :  https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 10 เมษายน 2567   
Last Update : 10 เมษายน 2567 9:28:53 น.   
Counter : 88 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


ตรวจวัดความเสี่ยง “แผลเบาหวานที่เท้า” ด้วยเครื่อง ABI



ตรวจวัดความเสี่ยง “แผลเบาหวานที่เท้า” ด้วยเครื่อง ABI

ผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบ ทำให้รู้สึกชาที่เท้า เวลาเป็นแผลเลยไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไร หลายคนรู้ตัวอีกทีก็เมื่อแผลลุกลามติดเชื้อถึงขั้นต้องตัดเท้าแล้ว

เทคโนโลยี ABI เป็นตัวช่วยประเมินภาวะอุดตันของหลอดเลือดส่วนปลายได้เป็นอย่างดี มีความแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถบอกแนวโน้มของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บ ปลอดภัย ตรวจง่ายไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนเข้ารับการตรวจ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลเท้าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ให้หมั่นสังเกตอาการต่างๆ อย่างใกล้ชิด หากมีอาการเท้าชา ผิวหนังบริเวณเท้ามีสีคล้ำลง หรือเป็นแผลเรื้อรังไม่หาย ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา หากปล่อยไว้อาจถึงขั้นสูญเสียเท้าได้

แผลเบาหวานที่เท้า ถ้าหากรักษาถูกวิธีก็ไม่จำเป็นต้องตัดขา คลิกอ่านข้อมูล >> https://bit.ly/3uZVeLs

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า >> https://bit.ly/3M6OLUx
โทร.1512 ต่อ 2110, 2119
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 09 เมษายน 2567   
Last Update : 9 เมษายน 2567 9:22:40 น.   
Counter : 76 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


ร้อนนี้ระวัง!.. รู้ทันอาการโรคลมแดด (Heat Stroke)




ร้อนนี้ระวัง!.. รู้ทันอาการโรคลมแดด​ (Heat Stroke)





หน้าร้อน ☀  ที่เต็มไปด้วยเทศกาลและการท่องเที่ยว แต่รู้หรือไม่ว่า หน้าร้อนก็มาพร้อมกับอันตรายที่มองไม่เห็น และอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด หนึ่งในนั้นก็คือ "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น จะได้ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เพราะบางคนอาจยังไม่เข้าใจความร้ายแรงของโรคนี้





โรคลมแดด (Heat Stroke) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดน้ำและเสียสมดุล ส่งผลให้ควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติไม่ได้ มักเกิดขึ้นเมื่ออากาศร้อนจัด ร่างกายสูญเสียน้ำจากเหงื่อมาก หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดความเสียหายต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้
โรคลมแดดไม่ได้เกิดจากอากาศที่ร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยหลักๆ ได้แก่

  • ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เช่น งานก่อสร้าง หรือออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งอาจทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป และเกิดอาการของลมแดดได้
  • อยู่ในที่แออัดและมีอากาศร้อน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้
  • ไม่ดื่มน้ำ หรือจิบน้ำบ่อยๆ ในช่วงที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าว ทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก และไม่ได้รับน้ำทดแทนปริมาณเพียงพอ
     



อาการของโรคลมแดด อาจเริ่มต้นจากอาการเบาๆ เช่น เหงื่อออกมาก, ปวดหัว, คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงาน ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้แล้ว ยังไม่ดื่มน้ำ นั่งพักหรือนอนพักในที่ๆ มีอากาศเย็นลง และปลอดโปร่งขึ้น ก็อาจทำให้อาการแย่ลงได้ ไม่ว่าจะ หน้ามืด,  เป็นลม, ชักเกร็ง, ช็อกหมดสติ

อันตรายของโรคลมแดด เกิดจากการไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที จนเกิดเป็นลม ช็อก หมดสติ หรือเสียชีวิตกะทันหัน แต่นอกจากนี้แล้วการหมดสติจากอาการลมแดดยังอาจนำไปสู่อุบัติเหตุอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ล้มศีรษะกระแทก หรือหมดสติกลางถนน ถูกรถเฉี่ยวชน หรือแม้แต่การหมดสติแล้วตกจากที่สูงก็เป็นไปได้เช่นกัน

 



ป้องกันตัวเองง่ายๆ ห่างไกลโรคลมแดด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ จิบน้ำบ่อยๆ ตลอดวัน จะช่วยให้ร่างกายจัดการกับความร้อนได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงเกินไปได้
  • เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งตอนแดดแรงจัด ไม่ว่าจะเป็นทำงาน ท่องเที่ยว หรือออกกำลังกาย โดยเฉพาะช่วงเวลา 12.00-14.00 น. จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการลมแดดได้
  • ป้องกันร่างกายจากแดด หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ควรใส่เสื้อผ้าสีอ่อน สวมหมวก กางร่ม หรือ ทาครีมกันแดด เพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทานอาหารมีประโยชน์ การทานอาหารมีประโยชน์เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และไม่อ่อนเพลียง่าย แม้ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
  • สังเกตอาการผิดปกติ หากรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ เหงื่อออกมากกว่าปกติในสภาพอากาศร้อน ควรหาที่ร่มนั่งพักและดื่มน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาล





เมื่อรู้ถึงอันตรายของ โรคลมแดด (Heat Stroke) กันแล้วก็อย่าชะล่าใจและคิดว่าโรคนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นกับคุณ เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศร้อนจัดแบบนี้

** เจอผู้ป่วยโรคลมแดด ทำอย่างไร? **
หากสังเกตว่า ตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการคล้ายโรคลมแดด ให้รีบเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นระบายความร้อนด้วยการปลดเสื้อผ้าออก แล้วเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น พัดให้ลมเย็นๆ ทั่วตัว ให้ดื่มน้ำเย็นกรณีไม่หมดสติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพาส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

 




 

Create Date : 05 เมษายน 2567   
Last Update : 5 เมษายน 2567 16:57:51 น.   
Counter : 79 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


“มะเร็งเต้านม” ตรวจพบเร็ว มีโอกาสหายสูง



“มะเร็งเต้านม” ตรวจพบเร็ว มีโอกาสหายสูง

มะเร็งเต้านม พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นวิธีที่ดีในการพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสรอดชีวิตสูง

** สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทุก 1 ปี และตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ทุก 1 ปี

ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหากได้รับคำแนะนำจากแพทย์

วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง และแมมโมแกรมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม คลิกอ่าน >> https://bit.ly/3u2Ogon

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลรามคำแหง  >> https://bit.ly/3vzY4Xr
โทร. 1512 ต่อ 2220, 2229
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 04 เมษายน 2567   
Last Update : 4 เมษายน 2567 11:55:10 น.   
Counter : 92 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com