นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

​​​​​​​รู้จัก ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19 



รู้จัก ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19 
 


ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post Covid-19 Syndrome คือภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ คือเชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้วแต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย
 


อาการลองโควิดจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัวสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วโดยฉะเพราะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง

บีบีซีอ้างข้อมูลของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (National Health Service: NHS) รายงานว่า Long Covid เป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-49 ปี และอายุระหว่าง 50-69 ปี ร้อยละ 20 ผู้ป่วยจะเข้าข่ายนี้ หลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์
 


กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long COVID

* ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง

* ผู้ที่มีโรคประจำตัว

* ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

* ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน

* เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย
 


อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19

* เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม

* อ่อนเพลีย

* ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ

* กล้ามเนื้อไม่มีแรง

* ไอเรื้อรัง

* การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ

* รู้สึกเหมือนมีไข้

* ปวดศีรษะ มึนศีรษะ

* นอนไม่หลับ

* ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ

* มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด

* ใจสั่น แน่นหน้าอก

* ท้องเสีย ท้องอืด
 


ภาวะลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ได้ จึงแนะนำให้หมั่นสังเกตและประเมินร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมินสภาพร่างกายรับการรักษาและวางแผน การฟื้นฟูร่างกายที่เหมาะสม เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระยะยาวและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้นานก็อาจเป็นอันตรายได้

** ผู้ที่หายจากโควิด-19 นอกจากการหมั่นสังเกตความผิดปกติแล้ว การตรวจร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม

“การตรวจเช็คแต่เนื่นๆ หากพบความผิดปกติที่สามารถแก้ไขหรือรักษาได้ ก็จะช่วยให้ระยะเวลาที่มีความผิดปกตินั้นสั้นลง หรือโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้มีสูงขึ้น”
 

 




 

Create Date : 22 กันยายน 2564   
Last Update : 22 กันยายน 2564 11:24:41 น.   
Counter : 1002 Pageviews.  


เมื่อ “โรคไต” อยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว



 

เมื่อ “โรคไต” อยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว




“ไต” เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดของเสีย รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างและเกลือแร่ หากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของเสียก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายและอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยนะครับ


หลายคนอาจคิดว่า “โรคไต” เป็นโรคที่ไกลตัว แต่จริงๆ แล้วโรคไตเกิดได้จากหลายปัจจัยและมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไต เนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคภูมิต่อต้านตัวเอง (SLE) โรคถุงน้ำในไต รวมถึงโรคไตที่เกิดจากพันธุกรรม

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาการจะค่อยๆ แย่ลงทีละน้อย หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นโรคไตอยู่จนอาการแย่มากแล้วซึ่งสัญญาณอันตรายที่สังเกตได้คืออาการบวม โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา ขา และเท้าปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะมีฟองหรือแดงเป็นเลือด หรือปวดบั้นเอว
 


และการที่จะรู้ว่าเราเป็นโรคไตหรือไม่? ต้องอาศัยการตรวจคัดกรองโรคไต ซึ่งคนทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคไตและหาความเสี่ยง ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกาต์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือผู้ที่ได้รับยาแก้ปวดหรือสารพิษที่ทำลายไตเป็นประจำ ควรตรวจติดตามการทำงานของไตถี่มากขึ้น

เพราะการตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและดีขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนอาการแย่ลงอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมการล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก>> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1127
 




 

Create Date : 20 กันยายน 2564   
Last Update : 20 กันยายน 2564 10:29:27 น.   
Counter : 1061 Pageviews.  


เพื่อชีวิตใหม่ของคนไข้ “ไตวายเรื้อรัง” “ปลูกถ่ายไต” จากผู้ป่วยสมองตาย กับโรงพยาบาลรามคำแหง



✨ เพื่อชีวิตใหม่ของคนไข้ “ไตวายเรื้อรัง” “ปลูกถ่ายไต” จากผู้ป่วยสมองตาย กับโรงพยาบาลรามคำแหง

เมื่อผู้ป่วยเกิดไตวายเรื้อรังจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อให้ร่างกายสามารถขับของเสียได้และสามารถดำรงชีวิตได้ต่อไป

การปลูกถ่ายไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอีกหนึ่งทางเลือก ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ใครบ้าง? ที่สามารถรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต
✔ ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
✔ ต้องไม่มีโรคที่รุนแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
✔ ต้องไม่เป็นมะเร็งที่รักษาไม่หายขาด
✔ ต้องไม่ป่วยทางจิต
✔ ต้องไม่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะที่แก้ไขไม่ได้

📌 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1127

ทีมปลูกถ่ายไต พร้อมผ่าตัด 24 ชั่วโมง สอบถามโทร. 064-564-6059




 

Create Date : 18 กันยายน 2564   
Last Update : 18 กันยายน 2564 11:55:05 น.   
Counter : 640 Pageviews.  


หายป่วยโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการหายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ต้องทำอย่างไร?

 

หายป่วยโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการหายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ต้องทำอย่างไร?

เมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ละคนก็จะมีการฟื้นฟูร่างกายที่ต่างกัน บางคนหายแล้วก็กลับมาเป็นปกติเลย แต่บางคนก็ยังรู้สึกว่าสุขภาพตัวเองไม่แข็งแรงตามปกติสักที ไม่ว่าจะผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วก็ตาม

อาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อ หรือเรียกว่า “ Long COVID” ที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายหลายส่วน โดยเฉพาะ “ปัญหาทางปอด” เกิดจากการที่เชื้อไวรัสแทรกซึมลงไปถึงปอด ทำให้ปอดเกิดภาวะปอดอักเสบ ปอดจึงไม่แข็งแรงเหมือนเดิม จากเดิมที่ปอดมีความยืดหยุ่น ปอดก็จะเริ่มแข็งและอาจเกิดรอยโรคอย่างแผลหรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่

แม้รักษาหายแล้วก็ยังคงหลงเหลืออาการหอบ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม ถ้าอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึกถึงความผิดปกติมากนัก แต่ถ้าออกกำลังกาย ทำกิจกรรมหนักหรือทำงาน จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือหายใจไม่ทัน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ทำให้ต้องจำกัดการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ...

ซึ่งการทำกายภาพบำบัดปอดหลังหายป่วยโควิดสามารถช่วยได้ เช่น เคลื่อนไหวขยับช่วงปอด หรือออกกำลังกายเบาๆ ให้เนื้อปอด ถุงลมค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมายืดหยุ่นมากขึ้น ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางด้านปอดจะให้บริหารด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Triflow หรือเครื่องบริหารปอด ในการฝึกดูดหรือเป่า เพื่อช่วยให้ปอดยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ดีขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่หายจากโควิดแล้ว หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการรักษา ก็จะช่วยให้ระยะเวลาที่มีความผิดปกตินั้นสั้นลง หรือโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ มีสูงขึ้น




 

Create Date : 17 กันยายน 2564   
Last Update : 17 กันยายน 2564 10:00:59 น.   
Counter : 788 Pageviews.  


อาการแบบไหน.. ที่ลำไส้ผิดปกติ? & อายุ 40+ ยังไม่ถึงวัย แต่ทำไม..ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่?



อาการแบบไหน.. ที่ลำไส้ผิดปกติ? & อายุ 40+ ยังไม่ถึงวัย แต่ทำไม..ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่?
☑ เช็คลิสต์ตัวเองค้นหาความผิดปกติ
☑ เมื่อเข้าข่าย ต้องทำอย่างไร?
☑ เมื่อไหร่? ควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

โดย นพ.ดนัย ลิ้มมธุรสกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=9TD0pLTEdlA 

*** ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น #RamHospital พร้อมนัดแพทย์ได้ที่ https://bit.ly/2V571T6 สายด่วนสุขภาพโทร 0 -2743 9999 ต่อ 2999




 

Create Date : 15 กันยายน 2564   
Last Update : 15 กันยายน 2564 10:46:09 น.   
Counter : 761 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com