นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ดื่มกาแฟถูกวิธีดีต่อใจได้สุขภาพ




ดื่มกาแฟถูกวิธีดีต่อใจได้สุขภาพ

“กาแฟ”เครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั้งโลก โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีอัตราการดื่มกาแฟสูง ถึงแม้กาแฟจะมีคาเฟอีนที่อาจทำให้ใครหลายคน นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น หรือมีผลทำให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการมากขึ้นได้
 


เข้าใจดีครับว่าสำหรับคนที่ติดกาแฟ การจะให้เลิกดื่มนั้นเป็นอะไรที่ทำได้ยากมากๆ ฉะนั้นใครที่มีกาแฟเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน มาดูกันครับว่าการดื่มกาแฟที่ถูกวิธีและดีต่อสุขภาพนั้นต้องทำอย่างไร?...

  •  เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการดื่มกาแฟคือช่วงเวลา 09.30-11.30 น. เพราะคาเฟอีนจะออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเป็นช่วงเวลาที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนชื่อว่าคอร์ติซอล ที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
     
  •  ปริมาณคาเฟอีนที่ดื่มในแต่ละวันไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัม เช่น กาแฟสด 2 แก้วต่อวันหรือกาแฟสำเร็จรูปประมาณ 3 แก้วต่อวัน จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
     
  •  ดื่มกาแฟเย็นให้น้อยลง เพราะกาแฟเย็นนิยมปรับเพิ่มรสชาติด้วยการเติมนมข้นหวาน น้ำตาล หรือครีมเทียม ที่ทำให้เกิดอันตรายและโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วนหันมาดื่มกาแฟร้อนให้มากขึ้น
     
  •  ไม่ดื่มกาแฟตอนท้องว่าง เพราะสารคาเฟอีนจะไปเร่งให้มีการสร้างกรดออกมามาก อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะได้หลังดื่มกาแฟควรดื่มน้ำเปล่าตามไปด้วย
     
  •  คนที่ดื่มกาแฟจะมีภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนควรทานอาหารเสริมแคลเซียมจากแหล่งอื่นร่วมด้วย 
     
  •  ไม่ดื่มกาแฟก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนหลับยากส่งผลให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อน
     
  •  ถ้าแต่ละวันดื่มกาแฟในปริมาณมากแล้ว ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทอื่นที่มีสารคาเฟอีนอีก
     


ใครที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ จะได้ดื่มกาแฟที่ตัวเองชื่นชอบแบบไม่เสียสุขภาพ
 




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2565   
Last Update : 17 มิถุนายน 2565 11:08:45 น.   
Counter : 592 Pageviews.  


​​​​​​​ท่ากายบริหาร "ลดอาการปวดคอ"



ท่ากายบริหาร "ลดอาการปวดคอ"

ใครกำลังปวดคอ... ฟังหมอทางนี้ 

อาการปวดคอถือได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ที่ทำให้เจ็บป่วยในคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ นั่งท่าเดิมนานๆ การทำงานที่ต้องก้มเงยบ่อยๆ หรือใช้กล้ามเนื้อคอมากๆ รวมถึงความเครียดในการทำงาน

อาการปวดคออาจปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อก็ไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ถ้าอาการปวดนั้น เกิดจากหมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมไปทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง อันนี้แหล่ะ! ครับ อันตรายแน่ๆ...

ดังนั้นหากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ควรจัดท่าทางการนั่งให้เหมาะสม เช่น นั่งทำงานในท่าคอและหลังตั้งตรง เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรงมีที่พักแขน ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง หรือยืดกล้ามเนื้อคอเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าก็ช่วยได้นะครับ...

รู้ไม? ครับว่าการทำกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบคอเป็นประจำ ช่วยลดอาการปวดคอได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันคนส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อบริเวณคอเลย มาเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อคอของเรา ด้วยการทำกายบริหารกันเถอะครับ เริ่มมมมมมมม !  

“ท่ากายบริหารลดอาการปวดคอ”  https://bit.ly/2X24DLn 




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2565   
Last Update : 16 มิถุนายน 2565 13:39:17 น.   
Counter : 653 Pageviews.  


ทำไม? ต้องตรวจลำไส้ใหญ่ อายุ 50 ปี ไม่เห็นมีอาการ

 

ทำไม? ต้องตรวจลำไส้ใหญ่ อายุ 50 ปี ไม่เห็นมีอาการ

ปัจจุบันเราพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากสาเหตุทางพันธุกรรมแล้ว ยังเกิดจากการกินอาหารที่มีกากใยน้อย กินอาหารแปรรูป ปิ้งย่าง สูบบุหรี่ รวมทั้งดื่มสุราเป็นประจำ ก็ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกันครับ

ในช่วงแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติอะไร จนกระทั่งเนื้องอกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำให้น้ำหนักลดลง การขับถ่ายผิดปกติ เช่นมีเลือดปน ท้องผูกสลับท้องเสีย หรืออุจจาระมีขนาดเล็กลง เมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น อาจทำให้เกิดลำไส้อุดตัน ปวดท้องรุนแรง หากมะเร็งเกิดที่ลำไส้ส่วนปลาย อาจพบก้อนเนื้อยื่นออกมาทางทวารหนักได้

ส่วนใหญ่จะพบอาการก็เมื่อเป็นในระยะลุกลามหรือก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่แล้ว นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง การเข้ารับการตรวจเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

“ปัจจัยเสียงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/102




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2565   
Last Update : 15 มิถุนายน 2565 11:09:09 น.   
Counter : 438 Pageviews.  


7 สัญญาณเตือน อาการเบาหวานถามหา



7 สัญญาณเตือน อาการเบาหวานถามหา

โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และอาจเป็นโรคที่ใกล้ตัวสำหรับใครหลายๆ คน เลยนะครับ เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

แล้วจะรู้ได้อย่างไร? ว่าเรามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เราลองสังเกตอาการของตัวเราดูนะครับว่า มีอาการแปลกๆ แบบนี้กันบ้างหรือเปล่า...

  • หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • เบื่ออาหาร ทานได้น้อยลงกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุ
  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
  • เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ

ถ้ามีอาการแปลกๆ แบบนี้แล้วหล่ะก็! เราอาจจะกำลังเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานก็ได้นะครับ แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเราเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่าาวจะดีที่สุดครับ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไปนั่นเองครับ...^-^

โรคเบาหวาน ทำไมต้องรักษา? คลิกอ่านข้อมูล >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/244




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2565   
Last Update : 13 มิถุนายน 2565 11:37:02 น.   
Counter : 458 Pageviews.  


ท้องผูกอย่าเข้าใจผิด!... คิดว่าเป็นเรื่องปกติ




ท้องผูกอย่าเข้าใจผิด!... คิดว่าเป็นเรื่องปกติ

ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน แต่ในทางการแพทย์มักหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

อาการของท้องผูก

โดยทั่วไป ตัวอย่างสัญญาณอาการของท้องผูกจะมีดังนี้

  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
  • อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็กๆ
  • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
  • ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
  • ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
     


สาเหตุของอาการท้องผูก

สาเหตุของอาการท้องผูกมีมากมาย แต่อาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ แบบปฐมภูมิที่มักเกิดจากสรีรวิทยาการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป และแบบทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากปัจจัยบางอย่าง เช่น

  • ยา ได้แก่ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาแก้ปวดท้องบางชนิด
  • อาหารเสริม เช่น แคลเซียมหรือธาตุเหล็ก
  • โรคทางต่อมไร้ท่อ ได้แก่ โรคไทรอยด์ต่ำ
  • โรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่
     


วิธีรักษาท้องผูก

เมื่อได้รับผลการตรวจวินิจฉัยแน่ชัดว่ามีอาการท้องผูก แพทย์เฉพาะทางจะทำการรักษาตามสาเหตุที่เป็นมีหลายวิธี ได้แก่

  • การปรับพฤติกรรม ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกอยากถ่ายครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ
     
  • การรักษาโดยการใช้ยาระบาย ซึ่งมีหลากหลายชนิด ได้แก่ ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว (Stimulant Laxatives) ยาระบายกลุ่มที่ออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำเพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากขึ้น (Osmotic Laxatives) ไหลกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ยาเหน็บหรือยาสวนทวาร รวมไปถึงยากลุ่มใหม่ๆ ในปัจจุบัน เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ (Prokinetic Agent) หรือ ยากลุ่มที่กระตุ้นให้มีการหลั่งสารน้ำและเกลือแร่บางตัวเข้าไปในลำไส้ (Secretagouge) ทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
     
  • การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าที่รักษาโดยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลและมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ที่ได้รับการตรวจยืนยันชัดเจนแล้ว โดยวิธีนี้ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น 
     


การป้องกันอาการท้องผูก

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตในประจำวันอย่างเหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ ผ่อนคลายความเครียด ไม่ควรใช้ยาระบายบ่อยเกินไป
     
  • พฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี เช่น ขับถ่ายให้เป็นเวลาซึ่งควรทำให้เป็นกิจวัตร ไม่อั้นอุดจาระเมื่อรู้สึกต้องการขับถ่าย ไม่นั่งถ่ายอุจจาระนานเกินไป วิธีเหล่านี้จะช่วยป้องกันท้องผูกได้อย่างดี
     


** ปัญหาท้องผูกไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลยหรือนิ่งนอนใจ หากปล่อยไว้ให้เรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างริดสีดวงทวาร รวมไปถึงอาการแสดงเริ่มต้นของโรคและปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา
 

 

นพ.ดนัย ลิ้มมธุรสกุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลรามคำแหง




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2565   
Last Update : 11 มิถุนายน 2565 11:28:36 น.   
Counter : 498 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com