นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

เมื่อ “โรคไต” อยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว


เมื่อ “โรคไต” อยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว

“ไต” เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดของเสีย รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างและเกลือแร่ หากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของเสียก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายและอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยนะครับ

หลายคนอาจคิดว่า “โรคไต” เป็นโรคที่ไกลตัว แต่จริงๆ แล้วโรคไตเกิดได้จากหลายปัจจัยและมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไตเนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคภูมิต่อต้านตัวเอง (SLE) โรคถุงน้ำในไต รวมถึงโรคไตที่เกิดจากพันธุกรรม

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาการจะค่อยๆ แย่ลงทีละน้อย หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นโรคไตอยู่ จนอาการแย่มากแล้ว ซึ่งสัญญาณอันตรายที่สังเกตได้คือ อาการบวม โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา ขา และเท้า ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะมีฟองหรือแดงเป็นเลือด หรือปวดบั้นเอว

และการที่จะรู้ว่าเราเป็นโรคไตหรือไม่? ต้องอาศัยการตรวจคัดกรองโรคไต ซึ่งคนทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคไตและหาความเสี่ยง ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกาต์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือผู้ที่ได้รับยาแก้ปวดหรือสารพิษที่ทำลายไตเป็นประจำ ควรตรวจติดตามการทำงานของไตถี่มากขึ้น

เพราะการตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและดีขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนอาการแย่ลงอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2564   
Last Update : 11 ตุลาคม 2564 10:35:18 น.   
Counter : 816 Pageviews.  


หายป่วยโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการหายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม




หายป่วยโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการหายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม

 


เมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ละคนก็จะมีการฟื้นฟูร่างกายที่ต่างกัน บางคนหายแล้วก็กลับมาเป็นปกติเลย แต่บางคนก็ยังรู้สึกว่าสุขภาพตัวเองไม่แข็งแรงตามปกติสักที ไม่ว่าจะผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วก็ตาม
 


อาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อ หรือเรียกว่า “ Long COVID” ที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายหลายส่วน โดยเฉพาะ “ปัญหาทางปอด” เกิดจากการที่เชื้อไวรัสแทรกซึมลงไปถึงปอด ทำให้ปอดเกิดภาวะปอดอักเสบ ปอดจึงไม่แข็งแรงเหมือนเดิม จากเดิมที่ปอดมีความยืดหยุ่น ปอดก็จะเริ่มแข็งและอาจเกิดรอยโรคอย่างแผลหรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่

แม้รักษาหายแล้วก็ยังคงหลงเหลืออาการหอบ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม ถ้าอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึกถึงความผิดปกติมากนัก แต่ถ้าออกกำลังกาย ทำกิจกรรมหนักหรือทำงาน จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือหายใจไม่ทัน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ทำให้ต้องจำกัดการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ...
 


ซึ่งการทำกายภาพบำบัดปอดหลังหายป่วยโควิดสามารถช่วยได้ เช่น เคลื่อนไหวขยับช่วงปอด หรือออกกำลังกายเบาๆ ให้เนื้อปอด ถุงลมค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมายืดหยุ่นมากขึ้น ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางด้านปอดจะให้บริหารด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Triflowหรือเครื่องบริหารปอด ในการฝึกดูดหรือเป่า เพื่อช่วยให้ปอดยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ดีขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่หายจากโควิดแล้ว หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการรักษา ก็จะช่วยให้ระยะเวลาที่มีความผิดปกตินั้นสั้นลง หรือโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ มีสูงขึ้น
 



 




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2564   
Last Update : 7 ตุลาคม 2564 10:28:59 น.   
Counter : 817 Pageviews.  


ปวดหัว ตัวร้อน กิน “พาราเซตามอล” เท่าไหร่ถึงจะพอดี?


ปวดหัว ตัวร้อน กิน “พาราเซตามอล” เท่าไหร่ถึงจะพอดี?
 


ยาพาราเซตามอลเป็นยาในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวด ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะหาซื้อได้ง่าย ค่อนข้างปลอดภัย ใช้ได้ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ และใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาของแพทย์ แต่เพราะความง่ายนี่เองที่ทำให้หลายคนปวดหัวนิด เป็นไข้หน่อยก็กินแต่ยาพาราเซตามอลยิ่งช่วงนี้คนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปวดศีรษะ หรือมีไข้ได้ทำให้ต้องกินยาพาราเซตามอล แต่รู้ไม่ว่า? ถ้าเราใช้อย่างไม่เหมาะสมหรือใช้มากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน 
 


โดยปริมาณที่เหมาะสมในการทานยาพาราเซตามอลของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาจากรูปร่าง น้ำหนัก และอายุของผู้ที่ทานด้วย สามารถคำนวณโดยให้เอาน้ำหนักตัวคูณด้วย 10 หรือ 15 จะได้ขนาดยาเป็นมิลลิกรัมที่เหมาะกับตัวเรา

 ** แต่ต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง แต่ถ้าตัวใหญ่คูณน้ำหนักแล้วเกิน 1,000 มิลลิกรัม ก็กินได้ไม่เกิน 2 เม็ด

ตัวอย่าง การทานยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม / เม็ด

* น้ำหนัก 34-50 กิโลกรัม ให้ทานแค่ 1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้งต่อวัน

* น้ำหนัก 50-75 กิโลกรัม ให้ทานแค่ 1 เม็ดครึ่ง ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน

* น้ำหนัก 75 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ทานแค่ 2 เม็ด ไม่เกิน 3-4 ครั้งต่อวัน

** การทานยาแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วัน ในผู้ที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมนั้น สามารถทานยา 1 เม็ด หรือ 1 เม็ดครึ่งก็ได้ หรือคนที่มีน้ำหนัก 75 กิโลกรัม จะทาน 1 เม็ดครึ่ง หรือ 2 เม็ดก็ได้เช่นกัน

การทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ หรือเป็นไข้ สามารถหยุดทานยาได้ทันทีเมื่อไม่มีอาการ หรือใครที่ทานยาแล้วมีอาการแปลกๆ เช่น มีผื่นแดง บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ต้องหยุดทานยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
 


นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้ยาซ้ำซ้อนกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาด ดังนั้นก่อนทานยาทุกชนิดควรอ่านฉลากให้ละเอียด หรือถ้าไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

แม้ว่าพาราเซตามอลจะเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือทานติดต่อกันนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อตับถึงขั้นตับทำงานผิดปกติ เกิดภาวะตับเป็นพิษ จนอาจนำไปสู่ภาวะตับวาย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2564   
Last Update : 5 ตุลาคม 2564 10:26:31 น.   
Counter : 536 Pageviews.  


ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง 3 ท่า 3 นิ้ว 3 แบบ 3 ระดับ

 

ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง 3 ท่า 3 นิ้ว 3 แบบ 3 ระดับ

สาวๆ จ๋าหันมาทางนี้! ผู้หญิงทุกคนไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ มาฝึกตรวจเต้านมด้วยตัวเองกันเถอะ ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง 3 ท่า 3 นิ้ว 3 แบบ 3 ระดับ ทำได้ง่ายๆ เดือนละครั้ง เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านมและสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การรักษาจะได้ผลดีมาก คลิกเลย >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/251




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2564   
Last Update : 4 ตุลาคม 2564 10:27:42 น.   
Counter : 673 Pageviews.  


เช็กสัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม” โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต้องระวัง


เช็กสัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม” โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต้องระวัง

ถึงแม้ว่า “มะเร็งเต้านม” จะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 แต่หากตรวจพบเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็มีโอกาสสูงที่จะหายจากโรคนี้ได้

โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว เพราะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการแสดงให้เห็น กว่าจะรู้โรคก็ลุกลามมากแล้ว จึงส่งผลให้การรักษาล่าช้าและอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้ จึงอยากแนะนำว่าให้คุณผู้หญิงทั้งหลายหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านมเป็นประจำ เช่น

  • คลำพบก้อนบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ อาจกดเจ็บหรือไม่ก็ได้
  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป แม้ปกติเต้านมทั้ง 2 ข้างอาจมีขนาดและรูปร่างต่างกันบ้าง
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมบุ๋มลงไป หรือบวมหนาเหมือนเปลือกส้ม รวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  • มีน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม มีสีคล้ายเลือด และออกจากหัวนมเพียงรูเดียว
  • มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณเต้านม หากมีอาการเจ็บเต้านมโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือพบว่าผิวหนังรอบๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ
  • มีผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาไม่หาย อาจเกิดขึ้นที่หัวนมหรือบริเวณเต้า ส่วนใหญ่เริ่มต้นเป็นเพียงผื่นแดงแสบๆ คันๆ แม้จะรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วก็ยังไม่หายขาด

ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมกันได้ทุกคน โดยมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมากมายทั้งอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรรับการตรวจเอกซเรย์เต้ามนมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมแบบ 3 มิติ (Digital Mammogram with Tomosynthesis) หากตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็จะช่วยให้โรคไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และมีโอกาสรักษาให้หายได้

รู้จักเทคโนโลยีการเอกซเรย์เต้ามนมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมแบบ 3 มิติ (Digital Mammogram with Tomosynthesis) มีความแม่นยำ รวดเร็ว ละเอียดมากกว่า และเจ็บน้อย คลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/251




 

Create Date : 24 กันยายน 2564   
Last Update : 24 กันยายน 2564 11:36:41 น.   
Counter : 1602 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com