นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

อาการ "เจ็บหัวใจ" เจ็บบ่อยๆ นานๆ ระวังหัวใจล้มเหลว


อาการ  "เจ็บหัวใจ" เจ็บบ่อยๆ นานๆ ระวังหัวใจล้มเหลว

“เจ็บหัวใจ” เค้าหรือใครที่ทำให้เราเจ็บ แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำการสำรวจจำนวนคนที่เจ็บหัวใจเพราะอกหักได้ครบถ้วน... แต่รับประกันว่ายังไม่น่ากลัวเท่ากับสถิติของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่แฝงอยู่เป็นจำนวนสูงถึง 1% ต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศ พูดง่ายๆ ว่า ตอนนี้คนไทยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่า 1 ล้านคน ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงวัยที่อายุ 60 ปีขึ้นไปด้วยแล้วล่ะก็ จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 5% หรือแม้แต่คนอายุน้อยก็มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

ความน่ากลัวของภาวะหัวใจล้มเหลวก็คือไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่ภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หัวใจจึงพยายามบีบตัวมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเป็นปกติ

แต่เพราะการทำงานที่หนักเกินไปนี่เอง จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราค่อยๆ อ่อนล้า เกิดอาการเจ็บหัวใจ และไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีอีกต่อไป การหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่นั้น เบื้องต้นให้สังเกตด้วยตัวเองตามนี้นะ

* รู้สึกอึดอัด มีอาการเจ็บหัวใจ หรือหายใจลำบากตอนออกกำลังกาย

* ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะไอ

* ข้อเท้า เท้า หรือขาบวมผิดปกติ

* น้ำหนักตัวขึ้นกะทันหันจนผิดสังเกต

อาการเจ็บหัวใจนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องหันกลับมาดูแลก้อนเนื้อที่เต้นตุบๆ อยู่ข้างในอกข้างซ้ายให้ดีขึ้นกว่าเดิม การดูแลหัวใจเริ่มง่ายๆ ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ หมั่นสังเกตอาการอยู่เสมอ เท่านี้ก็สามารถป้องกันภัยเงียบคุกคามหัวใจในระดับเบื้องต้นได้แล้ว

📌แต่ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่แล้วหล่ะก็ สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยการปฎิบัติตามคำแนะนำและทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามอาการตามนัดด้วยนะ..




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2564 10:43:43 น.   
Counter : 872 Pageviews.  


5 สัญญาณเตือน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

5 สัญญาณเตือน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

รู้หรือไม่? ครับว่า... จากสถิติพบว่าประมาณ 45% ของการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นผลมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดขึ้นได้ทั้ง ขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือแม้แต่ขณะพักผ่อน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและมีรอยปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดและไขมันมาเกาะที่ผนังก่อตัวเป็นตะกรัน เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้

สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั้น มีอาการสัญญาณเตือนที่เราสามารถสังเกตได้ ดังนี้ครับ

1. จะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง

2. มีเหงื่อออกมาก

3. ปวดร้าวไปกรามสะบักหลังและแขนซ้าย

4. หอบเหนื่อย ใจสั่น

5. จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาล่าช้า ซึ่งมักทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตตามมาได้




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2564 10:23:28 น.   
Counter : 738 Pageviews.  


การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (EST) ลดความเสี่ยงหัวใจวาย



การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (EST) ลดความเสี่ยงหัวใจวาย

“กรรมพันธุ์” ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ทำให้เกิด “โรคหัวใจ” แต่เราป้องกันได้ด้วยการตรวจ Exercise Stress Test (EST)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ อันดับ1 คือ กรรมพันธุ์ ซึ่งครอบครัวไหนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ คือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อนวัยอันควร ญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจด้วย

อันดับ 2 คือ ความเสื่อมตามอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นระบบการทำงานของหัวใจและเส้นเลือดก็เสื่อมลง จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

และอันดับ3 คือ โรคร่วม โดยโรคที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจบ่อยที่สุด คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการเตือนที่เราสามารถสังเกตได้ ดังนี้นะ

* จะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง

* มีเหงื่อออกมาก

* ปวดร้าวไปกรามสะบักหลังและแขนซ้าย

* หอบ เหนื่อย ใจสั่น

* จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาล่าช้า ซึ่งมักทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตตามมาได้

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลรักษาสุขภาพอย่างดี ป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจแล้ว แต่เราก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจมาก่อน!!

แนะนำว่าถ้าครอบครัวไหนมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำทุกปีด้วยการตรวจ Exercise Stress Test (EST) ซึ่งสามารถตรวจได้ละเอียดมากกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั่วไป นอกจากนี้ยังมี Cardiac MRI ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ได้อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แผลเป็นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจหลังเกิดหัวใจวาย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถระบุได้ชัดว่าหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นได้

ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง รพ.รามคำแหง ให้บริการดูแลด้านหัวใจอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/readcenter_clinic/8




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 10:20:59 น.   
Counter : 1002 Pageviews.  


Check up หัวใจ เรื่องที่ใครๆ ก็ควรทำ



Check up หัวใจ เรื่องที่ใครๆ ก็ควรทำ

หลายๆ คนมักจะเข้าใจว่าถ้าไม่มีประวัติโรคหัวใจก็ไม่เสี่ยงเป็นโรคนี้ แล้วก็อาจจะนิ่งนอนใจ แต่เดี๋ยวก่อนไม่มีประวัติโรคหัวใจ ใช่ว่าจะไม่เสี่ยงนะ! เพราะหลายโรคก็มักไม่แสดงอาการให้เห็นตอนเริ่มเป็นใหม่ๆ กว่าจะรู้อีกที ส่วนใหญ่ก็มีระยะที่รุนแรง หรือยากที่จะรักษาแล้ว ซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปีนี่แหละ ที่จะช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่เริ่มต้น!!

การตรวจสุขภาพหัวใจก็เช่นกันที่จะช่วยให้เรารู้ทันความเสี่ยง หากพบแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจในอนาคต จะได้ป้องกันดูแลให้ดี หรือถ้าตรวจเจอตั้งแต่ยังเป็นไม่เยอะ การรักษาก็จะง่ายกว่า มีโอกาสหายเป็นปกติ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าตรวจเจอตอนที่เป็นมากๆ.. ฉะนั้นอย่ารีรอที่จะตรวจสุขภาพกันเลยครับ เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจได้ทั้งนั้น..

ลองมาสำรวจตัวเองกันสักหน่อยดีกว่า..ว่าคุณมีอาการหรือพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่

* อ่อนเพลีย หน้ามืดบ่อยๆ

* เจ็บหน้าอกร้าวไปทางไหล่ซ้าย เป็นๆ หายๆ

* แน่นหน้าอกคล้ายกับมีอะไรทับอยู่ เป็นๆ หายๆ

* เครียดจากการทำงาน การใช้ชีวิต

* นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท พักผ่อนไม่เพียงพอ

* มีเพื่อนคู่ใจเป็นเหล้า บุหรี่

* ไม่ชอบออกกำลังกาย

* มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

ถ้าใช่ คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้นะ... การตรวจสุขภาพหัวใจจึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้คุณรู้ทันโรคหัวใจแม้ว่ายังไม่มีอาการใดๆ เลยก็ตาม

ซึ่งการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหันสาเหตุหลักๆ ที่พบได้บ่อยคือ เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพราะเป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงให้รู้ แม้ว่าหลอดเลือดจะตีบไปแล้วกว่า 50% แต่หากหัวใจยังสูบฉีดเลือดได้ก็จะไม่แสดงอาการใดๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าเป็น ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะนี้จะส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลงนำไปสู่ “ภาวะหัวใจวาย” (พบได้บ่อยในผู้ที่อายุน้อย) ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนี้สามารถรักษาและป้องกันได้ ด้วยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำนั่นเอง

ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง รพ.รามคำแหง ให้บริการดูแลด้านหัวใจอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/readcenter_clinic/8




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2564 10:17:50 น.   
Counter : 613 Pageviews.  


ทำไม? ต้องวัดความฟิตของร่างกายด้วย VO2 Max



ทำไม? ต้องวัดความฟิตของร่างกายด้วย VO2 Max

เคยสงสัยกันไหม?... ว่าเวลาที่ไปออกกำลังกาย แล้วทำไมเหนื่อยง่ายจังเลย ทั้งๆ ที่ออกกำลังกายบ่อยๆ สม่ำเสมอ แต่เหมือนไม่ช่วยให้เหนื่อยน้อยลงเลย แต่ทำไมเพื่อนที่มาด้วยดูชิวๆ ขอบอกว่าคำตอบก็คือความฟิตของร่ายกายที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน

ทีนี้ถ้าอยากรู้แล้วหล่ะว่าความฟิตของร่างกายเรามีมากน้อยขนาดไหน ก็ต้องอาศัยตัวช่วยในการวัดสมรรถภาพความฟิตของร่างกายด้วย VO2 Max เป็นการประเมินสมรรถภาพหัวใจและปอดที่มีความแม่นยำน่าเชื่อถือ เหมาะกับ

1. ผู้ที่เริ่มออกกำลังกาย แต่อาจมีข้อจำกัดเช่นโรคประจำตัว ความเสี่ยงต่างๆ การทดสอบจะทำให้รู้ระดับของการออกกำลังที่ได้ผลและปลอดภัย

2. ผู้ที่อยากให้ความแข็งแรงของปอดและหัวใจดีขึ้น การทดสอบจะทำให้เรามี เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ประเมินได้ ว่าเราควรจะต้องแข็งแรงขึ้นถึงระดับไหน

3. นักกีฬา ที่ต้องการทดสอบสมรรถภาพและ มีเป้าหมายในการฝึกซ้อม

โดยการเตรียมตัวก่อนการวัด VO2 Max ก็ไม่ยุ่งยาก เหมือนๆ กับการเตรียมตัวมาออกกำลังกาย โดยนำเสื้อผ้าชุดออกกำลังกายมาด้วย แล้วคืนก่อนที่จะมาทดสอบหรือวันก่อนทดสอบก็ให้พักผ่อนให้เต็มที ไม่ออกกำลังกายมากเกินไปหรือหนักเกินไป เพราะจะมีผลทำให้ล้าในวันที่มาทดสอบ ทานอาหารให้เพียงพอก่อนทดสอบประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้ามีโรคประจำตัวที่ต้องทานยาก็ให้ทานยาได้ตามปกติ

📌การวัด VO2 Max เทคโนโลยีทดสอบสมรรถภาพร่างกายระบบหัวใจและปอด โดย ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และเบาหวาน คลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/320




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2564 11:50:01 น.   
Counter : 659 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com