นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ตับแข็งแรงได้ภายใน 3 เดือน แค่หยุดดื่มแอลกอฮอร์

 

แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอวัยวะภายในอย่างเช่น “ตับ” ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ทุกชนิด เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็ง ตับวาย หรือมะเร็งตับ

เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายก็จะไปทำร้ายเซลล์ของตับ โดยกระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จากนั้นตับจะเกิดการอักเสบ ในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะเกิดการสะสมของพังผืดในตับ เหมือนแผลเป็นและมีลักษณะแข็ง ซึ่งในระยะยาวจะทำให้ตับแข็ง ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคตับอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีพาหะไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ที่มีความเสี่ยงต่อการแข็งของตับจากไวรัสอยู่แล้ว หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก

ปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากมีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว เกิดการสะสมของพังผืดและทำให้ตับแข็ง แต่ถ้าหากมีการเว้นระยะหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ ตับก็จะฟื้นฟูตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มฟื้นฟูตับตอนนี้ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มตอนไหนในช่วง 3 เดือน เข้าพรรษานี้ให้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการ ลด ละ เลิกดื่มแอลกอฮอล์กันเถอะครับ และหากคุณทำได้...

🔺 ใน1 เดือนแรก ตับของคุณจะได้พักอย่างเต็มที่ ไม่ถูกทำร้ายซ้ำๆ จากการดื่มแอลกอฮอล์

🔺 เดือนที่ 2 เมื่อตับได้พักได้ทำงานอย่างปกติเต็มที่ ตับก็จะเริ่มฟื้นฟูตัวเอง โดยการเริ่มสร้างเซลล์ใหม่ๆ และขับไขมันที่สะสมในตับออกไปได้ด้วยตัวเอง

🔺 เดือนที่ 3 ตับจะดีขึ้น แข็งแรงขึ้น เพราะเซลล์ใหม่ที่ตับสร้างขึ้นมาช่วยให้ตับทำงานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น

และเมื่อตับมีสุขภาพดีขึ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลดีต่อร่างกายความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ก็จะลดน้อยลง และเมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง หน้าตาก็จะสดชื่นแจ่มใสตามมาด้วย...




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 15 กรกฎาคม 2563 10:06:39 น.   
Counter : 703 Pageviews.  


เช็คให้แน่! ว่าปวดหลังหรือสะโพกกันแน่

 

บางคนบ่นว่าปวดเอว ปวดหลัง แต่กลายเป็นปวดสะโพกไปซะงั้น จากอาการปวดที่คล้ายๆ กัน จึงทำให้เข้าใจผิดได้ แล้วอาการแบบไหน? คือปวดหลังหรือปวดสะโพกกันแน่? มาดูกัน...

🔺 อาการปวดหลัง

  • ปวดเอวเวลาก้ม แอ่นหลัง หรือบิดตัว
  • ปวดเอวกระดูกเชิงกรานหลังก้นกบ อาจร้าวไปแก้มก้น ต้นขา น่อง เท้า ฝ่าเท้า
  • เสียวแปล๊บลงขา เมื่อเอียงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • ชา อ่อนแรงที่เท้า

🔺 อาการปวดสะโพก

  • ปวดบริเวณง่ามขาด้านใดด้านหนึ่ง
  • เจ็บแปล๊บข้อสะโพกทั้งหน้าและหลังขณะวิ่ง
  • ปวดสะโพกและมีปวดเข่าร่วมด้วย
  • บางคนปวดเข่าด้านในไม่มีอาการปวดสะโพกเลย
  • เจ็บเวลาเดินลงน้ำหนักหรือบิดสะโพก

ใครที่มีอาการปวดข้างต้นเป็นๆ หายๆ หรือไม่แน่ใจในอาการ แนะนำให้ไปพบแพทย์ดีกว่าเพื่อได้รู้แน่ชัด ว่าเป็นอะไรกันแน่ จะได้รักษาอย่างถูกต้อง เพราะถ้ารักษาไม่ถูกจากอาการปวดเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นโรคร้ายแรง และยากต่อการรักษาได้หากปล่อยไว้นาน...




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 13 กรกฎาคม 2563 11:41:09 น.   
Counter : 978 Pageviews.  


ปัญหาผิวกวนใจ ในผู้ป่วยเบาหวาน

 

🔺ผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 70% จะพบว่ามีอาการผิดปกติทางผิวหนังร่วมด้วย ซึ่งอาการบางอย่างพบได้ตั้งแต่ระดับน้ำตาลเริ่มสูงโดยที่ยังไม่เป็นเบาหวานเลยก็ได้

อาการทางผิวหนังที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น

  • คันตามผิวหนัง ผู้ป่วยเบาหวานระยะแรกจะมีอาการคันตามผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย หรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ บางคนเพิ่งมารู้ตัวว่าเป็นเบาหวานตอนตรวจผิวหนัง
  • รูขุมขนอักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติ จึงเกิดเป็นน้ำตาลเกาะอยู่ตามผิวหนัง ทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเพาะพันธุ์และเจริญเติบโตได้ดี จึงทำให้รูขุมขนเกิดการอักเสบ เกิดผดขึ้นตามผิวหนังหรืออาจมีหนองด้วย
  • ตุ่มบนผิวหนัง ผู้ป่วยเบาหวานมักมีภูมิต้านทานต่ำ ผิวหนังจึงติดเชื้อได้ง่าย ทำให้บางคนมีตุ่มพอง ตุ่มนูน หรือปื้นสีแดงเป็นวง ขึ้นตามผิวหนัง
  • ผิวด่างขาว พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เพศหญิงและอาจเกิดก่อนที่จะเป็นเบาหวาน หรือผิวหนังเป็นสีเหลือง พบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวาน


นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคผิวหนังอื่นๆ อีกที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นหากสังเกตเห็นถึงความผิดปกติทางผิวหนังเกิดขึ้นควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการทางผิวหนังที่เกิดขึ้นได้




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 10:35:33 น.   
Counter : 1198 Pageviews.  


ไข้หวัดใหญ่กับคนไข้เบาหวาน อันตรายถึงชีวิต

 

เหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ มีโอกาสเสียชีวิตสูง นั้นก็เพราะว่า...

🔺 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจะเริ่มเข้าไปรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

เมื่อเชื้อเริ่มลุกลาม ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน อย่างเช่น ปอดบวม หูอักเสบ ก็มากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนอื่น ยิ่งในช่วงฤดูการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 5-15 % และมีโอกาสนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า อีกด้วย

ดังนั้น เพื่อลดความอันตราย ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ลดการนอนโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิต แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 8 กรกฎาคม 2563 10:17:56 น.   
Counter : 708 Pageviews.  


วิธีดูแลเท้า ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้

 

การดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเรื้อรังหรือติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนปกติ และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพออาจลุกลามถึงขั้นต้องเสียนิ้วหรือเสียขาได้ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลเท้าให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเกิดขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • หมั่นสำรวจเท้าทุกวันว่ามีแผล รอยบวมแดง ตุ่มน้ำใส หรือสีของเล็บ
  • ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำธรรมดา และเช็ดเท้า ซอกนิ้วให้แห้ง อย่าถูแรง
  • ทาน้ำมันวาสลินหรือโลชั่น ให้ผิวหนังนุ่มป้องกันผิวแห้ง คันใส่รองเท้าตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน ระวังเหยียบของมีคม หนาม หรือของร้อน
  • ใส่รองเท้าขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป นิ่ม สบาย ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในรองเท้าก่อนใส่ และใส่ถุงเท้าทุกครั้ง
  • เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดตรงๆ ระวังไม่ให้ถูกเนื้อ
  • ถ้าเท้าชื้นมีเหงื่อออกต้องเช็ดให้แห้งเสมอ
  • บริหารเท้าทุกวันด้วยการแกว่งเท้าไปมา เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่เท้าดีขึ้น

หากเกิดแผล ให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล หากเกิดการอักเสบให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพเท้าที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดแผลที่เท้าและไม่ลุกลามจนต้องถูกตัดขา...

ทำความเข้าใจโรคแผลเบาหวานที่เท้าและวิธีการรักษาโดยไม่ต้องตัดเท้า https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/40




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 6 กรกฎาคม 2563 10:35:16 น.   
Counter : 681 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com