นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

มือชา... อย่าปล่อยนาน อาจเป็น “พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ”




มือชา... อย่าปล่อยนาน อาจเป็น “พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ”  

มือชา อาการที่หลายคนเคยเจอ บางคนอาจคิดว่าเป็นเพียงอาการชั่วคราว แต่หากอาการชาเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้วล่ะก็ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางอย่างก็ได้นะครับ...

หนึ่งในโรคที่ทำให้เกิดอาการมือชาได้คือ “โรคพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องใช้งานมือซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานโรงงาน ช่างฝีมือ หรือนักกีฬา ฯลฯ




อาการของโรคพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ มักเริ่มจากอาการชาบริเวณปลายนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง จากนั้นอาการชาจะค่อยๆ ลามไปทั่วฝ่ามือและนิ้วมือ บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย อาการชามักเป็นมากในเวลากลางคืน บางครั้งอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท





สาเหตุของโรคพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ เกิดได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การใช้งานข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ เช่น การพิมพ์คอมพิวเตอร์ การขับรถ การเย็บผ้า เป็นต้น
  • อุบัติเหตุที่บริเวณข้อมือ เช่น การตกกระแทกหรือกระดูกหัก
  • ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน
  • โรคข้ออักเสบ





วิธีป้องกันโรคพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ
  • หากจำเป็นต้องใช้งานข้อมือเป็นเวลานาน ให้พักการใช้งานเป็นระยะๆ
  • ปรับท่าทางการใช้งานข้อมือให้ถูกต้อง
  • ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
การรักษาพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ อาจเริ่มจากการปรับใช้งานมือให้เหมาะสม ทานยาเพื่อรักษาอาการ ใส่เฝือกอ่อน และทำกายภาพบำบัด หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องผ่าตัดคลายพังผืดที่มือเพื่อให้เส้นประสาททำงานได้ดีขึ้น





ดังนั้นใครที่มีอาการมือชา ปวดเมื่อย แสบร้อน หรือรู้สึกเหมือนมือโดนไฟช็อตที่บริเวณมือ นิ้วมือ และฝ่ามือ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาการชาอาจลุกลามจนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือลีบลง และอ่อนแรงลง ส่งผลต่อการหยิบจับสิ่งของและการใช้ชีวิตประจำวันได้

พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ โรคยอดฮิตของคนทำงาน คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=g2vFrKTOc3Y


 

 

สายด่วนสุขภาพโทร. 0 2743 9999 ต่อ 2999
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 29 มกราคม 2567   
Last Update : 29 มกราคม 2567 9:41:00 น.   
Counter : 226 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


กายภาพบำบัด หลังผ่าตัดกระดูกและข้อ สำคัญมาก



กายภาพบำบัด หลังผ่าตัดกระดูกและข้อ สำคัญมาก

เมื่อคุณผ่าตัดแล้ว การทำกายภาพบำบัดกับกระดูกและข้อมีความสำคัญมาก! 

กายภาพบำบัดหลังผ่าตัด เมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือป่วยด้วยโรคกระดูกและข้อไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลัง กระดูกแขน ขา ข้อเข่า หรือส่วนใดก็ตาม สิ่งที่ผู้ป่วยต้องเจอก็คือความเจ็บปวด ทั้งก่อนผ่าตัดและหลังจากผ่าตัดไปแล้ว การใช้งานกระดูกและข้อบริเวณนั้นๆ ก็จะมีประสิทธิภาพต่ำลง...

** การทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดกระดูกและข้อนั้น หลักๆ ก็เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัด และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจนหายกลับมาเป็นปกติเร็วที่สุด โดยที่ไม่ต้องใช้ยาจำนวนมากจนอาจเสี่ยงเกิดผลข้างเคียง

หากไม่ได้รับการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดร่างกายที่มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติอาจกินเวลาที่นานและอาจทำให้ฟื้นตัวช้า กว่าปกติ และในขณะเดียวกันประสิทธิภาพของการฟื้นตัวนั้นก็อาจไม่ได้สมบูรณ์ 100%

ปกติแล้วหลังผ่าตัด แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่ง ขยับตัว หรือทำกายภาพให้ได้เร็วที่สุด เมื่อสัญญาณชีพเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะถดถอยของกล้ามเนื้อจากการนอนนาน หรือการติดเตียง แต่ในระยะแรกผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัดอยู่

ComebackStronger ดังนั้นการที่มีทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูเข้าร่วมดูแลจะทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจและกล้าที่จะขยับมากขึ้นโดยอยู่ในความดูแลของทีมและใช้เทคนิคเพื่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุด เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกและข้อทุกคนควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถวางแผนในการดูแลรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เร็วขึ้นนั่นเอง

📞 ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมายได้ที่
แผนกกายภาพบำบัด โทร. 0 2743-9999 ต่อ 2240, 2241
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 26 มกราคม 2567   
Last Update : 26 มกราคม 2567 9:58:13 น.   
Counter : 138 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


5 ท่า ลดอาการเท้าชาในผู้เป็นเบาหวาน



5 ท่า ลดอาการเท้าชาในผู้เป็นเบาหวาน

“เบาหวาน” เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเส้นประสาทส่วนปลาย เป็นอีกหนึ่งภาวะที่เราพบบ่อย อาการสังเกตง่ายๆ คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง โดยจะเริ่มตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าขึ้นไป รู้สึกเท้าหนาๆ ขณะเดินจะรู้สึกว่าเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า อาการชาที่เกิดขึ้นนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสูญเสียการทรงตัวได้

ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานนอกจากควบคุมอาหารและทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว จึงควรบริหารเท้าร่วมด้วย..

ท่าออกกำลังกาย ลดอาการเท้าชา
  • ท่าที่ 1 กระดกข้อเท้า : นอนยกเท้าสูงจากพื้นเล็กน้อย กระดกปลายเท้าขึ้นลง ทำพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง 20 ครั้ง
     
  • ท่าที่ 2 กระดกนิ้ว : กระดกนิ้วเท้าขึ้นลง ทำพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง 20 ครั้ง
     
  • ท่าที่ 3 หมุนข้อเท้า : หมุนข้อเท้าเข้า-ออก สลับกัน ท่าละ 20 ครั้ง
     
  • ท่าที่ 4 หมุนส้นเท้า : ยืนกางขาเล็กน้อย เท้าข้างหนึ่งยกส้นเท้าลอยขึ้นจากพื้น วางปลายเท้าติดพื้นหมุนส้นเท้าเข้า-ออก เป็นวงกลม ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 20 ครั้ง
     
  • ท่าที่ 5 ขยุ้มนิ้วเท้า : วางเท้าลงบนผ้าขนหนู แล้วใช้ปลายนิ้วเท้าหยิบผ้าขนหนูขึ้น ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 20 ครั้ง
การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพดีขึ้นได้ เพราะการออกกำลังกายเท้าจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบริเวณปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการเท้าชา และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่ยังไม่มีอาการ การออกกำลังกายเท้าจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้

สายด่วนสุขภาพโทร. 0 2743 9999 ต่อ 2999
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2 




 

Create Date : 24 มกราคม 2567   
Last Update : 24 มกราคม 2567 10:17:16 น.   
Counter : 173 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว คุณพร้อมรับมือแล้วหรือยัง?



ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว คุณพร้อมรับมือแล้วหรือยัง?

ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มีผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างมากมาย เช่น ระคายเคืองตา, จมูก, และคอ ไอ, หายใจลำบาก, และปวดศีรษะ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ, โรคปอด, และโรคมะเร็ง ดังนั้น, เราต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับฝุ่น PM2.5 อย่างมีสติ และเป็นระยะเวลาทั้งปี

ใครบ้างที่ต้องระวัง?
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ได้แก่ เด็กเล็ก, คนท้อง, คนชรา, และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด, ภูมิแพ้, หัวใจ, ไต, และสมอง, คือกลุ่มที่ควรให้ความระมัดระวังอย่างเฉพาะเจาะจง คล้ายกับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด

วิธีป้องกันตัวเองจาก PM2.5
เมื่อมีคำเตือนว่ามีปริมาณฝุ่นสูง กลุ่มเสี่ยงควรงดการออกไปในที่โล่งแจ้ง แต่หากจำเป็นต้องออกไป ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงจากฝุ่น สำหรับคนทั่วไป
  1. หลีกเลี่ยงการออกไปที่โล่งแจ้งเมื่อมีฝุ่น PM2.5 สูง
  2. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
  3. เมื่อกลับจากกลางแจ้ง, เปลี่ยนเสื้อผ้าและอาบน้ำล้างตัวให้สะอาด
  4. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อช่วยล้างฝุ่นที่ตกค้างในจมูก
  5. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อช่วยขับฝุ่นออกจากร่างกาย
  6. หากมีอาการผิดปกติเช่น เจ็บคอ, มีน้ำมูก, ไอ, เคืองตา, หรือคันผิวหนัง และการรักษาตามอาการไม่ดีขึ้น, ควรพบแพทย์ทันที
การดูแลตัวเองและรักษาสุขภาพในสภาวะที่มีฝุ่น PM2.5 สูง สามารถลดความเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพได้ อย่าลืมแบ่งปันข้อมูลนี้ให้คนที่คุณห่วงใยเพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

สายด่วนสุขภาพโทร. 0 2743 9999 ต่อ 2999
Line Official : https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 22 มกราคม 2567   
Last Update : 24 มกราคม 2567 10:03:24 น.   
Counter : 164 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


“งูสวัด”..โรคอันตรายในผู้สูงอายุ




“งูสวัด”..โรคอันตรายในผู้สูงอายุ 

มีใครรู้ไหม?..ว่า “งูสวัด” เป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นตามอายุ และอาการปวดรวมถึงภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุก็มักจะรุนแรงและมีอาการยาวนานกว่าคนทั่วไปอีกด้วย...





"งูสวัด" เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus : VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดนี้มาครั้งแรก จะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสบางส่วนจะไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาท เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือร่างกายอ่อนแอลง เชื้อไวรัสจะออกมาจากปมประสาทและแสดงอาการของโรคงูสวัดออกมา

อาการของงูสวัดมี 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก จะมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกายบริเวณที่กำลังจะมีผื่นขึ้นเพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ในระยะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นงูสวัด บางคนจะรู้สึกเสียวแปล๊บๆ ตามผิวหนัง หรือปวดศีรษะอย่างมากบางคนคิดว่า ตัวเองเป็นไมเกรน ถ้าเป็นที่เส้นประสาทตา จะปวดตา ตาแดง ถ้าเป็นเส้นประสาทหูอาจจะปวดในรูหู จนกระทั่งมีผื่นออกมาเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2
  • ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีผื่นและเป็นตุ่มแดงขึ้นก่อนและกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส
  • ระยะที่ 3 จะมีการเรียงตัวของผื่นตามแนวเส้นประสาท เส้นประสาทที่พบบ่อยจะเป็นบริเวณ ลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง บริเวณใบหน้า เป็นต้น และโดยปกติของคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะเกิดจากโรคตามแนวเส้นประสาทเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น
     



โดยผู้ที่มีอาการของโรคงูสวัดควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้หายจากโรคโดยเร็ว ซึ่งผื่นที่เกิดจากโรคงูสวัดสามารถหายเองได้ภายในสองสัปดาห์ แต่ผู้สูงอายุบางรายอาจมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง ซึ่งอาจปวดได้อีก 3-12 เดือน

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนานขึ้น เช่น อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง มักจะมีอาการปวดลึกๆ ปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา อาจปวดแม้ถูกสัมผัสเพียงเบาๆ หรือหากเกิดขึ้นบริเวณดวงตา ผู้สูงอายุบางท่านอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนอาจทำให้ตาบอดได้ และยิ่งไปกว่านั้นหากเชื้องูสวัดแพร่กระจายออกนอกแนวเส้นประสาท เชื้อไวรัสอาจกระจายเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ตับ ปอด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคงูสวัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนโรคงูสวัดเพื่อลดโอกาสการเกิดโรค ทั้งยังช่วยลดความรุนแรง ลดความปวด และช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกันและควรฉีดก่อนอายุ 60 ปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันดียิ่งขึ้น ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อโรคงูสวัดได้





นอกจากนี้การดูแลรักษาสุขภาพให้ดีด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดได้...






งูสวัด ภัยเงียบในผู้สูงอายุ คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1746
 




 

Create Date : 19 มกราคม 2567   
Last Update : 19 มกราคม 2567 12:00:45 น.   
Counter : 291 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com