นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน


 

เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน

❤ ถ้าคุณมีอาการหัวใจสั่นพลิ้ว คุณจะไม่สนุกเหมือนได้เต้นพลิ้วไปตามเพลงหรอกนะ เพราะนี่อาจเป็นอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด! นั้นก็คือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF (Atrial Fibrillation) หรือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

โดยปกติแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัวเป็นจังหวะพร้อมกัน เพื่อส่งเลือดไปยังหัวใจห้องล่างหรือส่งไปทั่วร่างกาย แต่เมื่อหัวใจเต้นพลิ้ว การบีบตัวที่เสียไปจะทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมหรือเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อีกทั้งยังมีเลือดบางส่วนค้างในห้องหัวใจ จนเกิดเป็นลิ่มเลือด ที่หากหลุดออกไปอุดตันอวัยวะสำคัญเช่น ปอด หรือหลอดเลือดสมองแล้วละก็ อาจส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการได้

สาเหตุของการเกิด AF ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจากความเสื่อมของระบบไฟฟ้าหัวใจ แต่สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นอาจมาจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มีมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน โรคอ้วน ไตวายเรื้อรัง จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น

📌 ผู้ที่เริ่มเป็น AF มักจะมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน หน้ามืด เป็นลม อ่อนแรง เป็นๆ หายๆ ในช่วงสั้นๆ จึงทำให้ไม่คิดว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเองจึงไม่ได้ใส่ใจ ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษาอาการก็จะเป็นบ่อยขึ้น นานขึ้น และอาจอันตรายถึงชีวิตได้เลย

การป้องกันภาวะ AF ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ที่พอทำได้คือการลดความเสี่ยงที่จะเป็น เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพทั้งระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด และตรวจคัดกรองภาวะ AF เป็นระยะๆ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือหากไม่แน่ใจว่าอาการผิดปกติที่เป็นอยู่นั้นใช่ AF หรือไม่ ควรมาตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ

การรักษา AF โดยทั่วไปทำได้ด้วยการทานยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วเกินไป ในรายที่รักษาด้วยการทานยาไม่ได้ผลหรือเกิดผลข้างเคียงจากการทานยาหรือไม่ต้องการทานยาไปตลอดชีวิต รักษาได้โดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม เป็นการรักษาที่ทำให้ AF หายเป็นปกติได้




 

Create Date : 03 มีนาคม 2564   
Last Update : 3 มีนาคม 2564 10:14:46 น.   
Counter : 759 Pageviews.  


การออกกำลังกายกับ "โรคหัวใจ"



การออกกำลังกายกับ "โรคหัวใจ"

❤ หลายคนมีความคิดว่าผู้ป่วยโรคหัวใจออกกำลังกายไม่ได้ เพราะจะทําให้หัวใจทํางานหนักและอาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน แต่รู้ไหม การออกกำลังกายกลับเป็นผลดีซะด้วยซ้ำไป ถ้าเราออกกำลังกายถูกวิธี

การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรักษาและป้องกันโรคหัวใจ ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจให้กลับมาแข็งแรงและใช้ชีวิตได้ปกติ แต่การออกกำลังกายในผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญก่อน

นอกจากนี้ การออกกําลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดขยายตัว กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีช่วยลดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการป้องกันและควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง โรคหัวใจจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูงและที่สําคัญยังช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยโรคหัวใจได้อีกด้วย

📌 ที่สำคัญคือถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะเสริมสร้างประโยชน์ให้กับร่างกายได้มากมาย แต่ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากออกกำลังกายโดยไม่คำนึงถึงอาการเจ็บป่วยของตัวเอง หรือออกกำลังกายเกินความสามารถของตัวเอง

ดังนั้นการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์หรืออยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดช่วยให้อาการของโรคหัวใจดีขึ้นและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายนั่นเอง




 

Create Date : 02 มีนาคม 2564   
Last Update : 2 มีนาคม 2564 14:04:50 น.   
Counter : 1034 Pageviews.  


อาการเสี่ยง Stroke โรคหลอดเลือดสมอง



อาการเสี่ยง Stroke โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดมมีการตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้สมองได้รับความเสียหาย เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

•ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ โดยไม่ทราบสาเหตุ

•ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด กลืนลำบาก

•เดินเซ ทรงตัวลำบาก

•ชาหรืออ่อนแรง ที่ใบหน้า แขนขา ครึ่งซีก

•ตามัว มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นครึ่งซีกหรือตามัวข้างเดียว

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที ซึ่งอาการเตือนเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดถาวร โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นโรคที่ร้ายแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

"โรคหลอดเลือดสมองสาเหตุของอัมพฤกษ์-อัมพาต" อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/222




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2564 11:02:21 น.   
Counter : 643 Pageviews.  


หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว



หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว

❤โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือในบางคนอาจมีแค่เพียงอาการเจ็บตรงไหล่หรือกรามอย่างเดียว จนถึงไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

ภาวะหลอดเลือดตีบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่มีการสะสมไขมันจนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันจนเสียชีวิตได้

นอกจากจะป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่และความเครียดแล้ว ในโรคที่มีอาการไม่ชัดเจนแบบนี้ หมอบอกเลยว่าอันตรายมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่อาการจะกำเริบ

การตรวจเช็คสุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้มาก ในเบื้องต้นจะเป็นการตรวจไขมันในเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI หากพบว่ามีความเสี่ยงแพทย์จะวินิจฉัยให้ตรวจต่อด้วยวิธีวัดการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test) เพื่อดูว่าเริ่มมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่

อีกหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) คือความคมชัดของภาพ และประสิทธิภาพในการประเมินการทำงาน รวมทั้งการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด พร้อมวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง การตรวจแบบนี้ไม่เจ็บตัวและไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

แต่หากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจด้วยการฉีดสีหรือเอ็กซเรย์ความละเอียดสูง เพื่อดูตำแหน่งของเส้นเลือดหัวใจที่อุดตัน และจะทำการรักษาทันทีก่อนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเป็นเวลานาน และอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจหากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตีบถ้ามีแนวโน้มชัดเจนว่าน่าจะใช่ อาจนำไปสู่การใส่สายสวนเข้าไปฉีดสีดูในหลอดลือดหัวใจโดยตรง

ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย แพทย์ก็อาจจะให้ทานยารักษา แต่ถ้าตีบมากแพทย์ต้องซ่อมหลอดเลือดควบคู่กับการทานยา การซ่อมหลอดเลือดส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็คือ การใส่สายสวนเข้าไปถ่างขยายร่วมกับใช้บอลลูนเข้าไปค้ำยันไว้ให้รอยตีบนั้นหายไป ทำให้เลือดไหลได้สะดวก แต่ไม่ว่าจะมีการซ่อมด้วยบอลลูนหรือไม่ก็ตาม ผู้ป่วยก็ต้องทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการตีบเพิ่มขึ้นหรือตีบซ้ำ หลักๆ ยานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะกรันเกิดลิ่มเลือดไปอุดตัน ร่วมกับควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะลดโอกาสการตีบซ้ำให้น้อยลง https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/278

ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญของแพทย์ในปัจจุบันนี้ จะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ง่ายและดียิ่งขึ้น แต่การดูแลตัวเองและการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยเด็ดขาดใครจะรู้ล่ะครับว่า...แค่การตรวจสุขภาพครั้งเดียว อาจช่วยชีวิตเราไว้ทั้งชีวิตเลยก็ได้นะ




 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2564 10:49:53 น.   
Counter : 700 Pageviews.  


ออกกำลังกายช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือ?


ออกกำลังกายช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือ?

❤โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือในบางคนอาจมีแค่เพียงอาการเจ็บตรงไหล่หรือกรามอย่างเดียว จนถึงไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

ภาวะหลอดเลือดตีบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่มีการสะสมไขมันจนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันจนเสียชีวิตได้

นอกจากจะป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่และความเครียดแล้ว ในโรคที่มีอาการไม่ชัดเจนแบบนี้ หมอบอกเลยว่าอันตรายมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่อาการจะกำเริบ

การตรวจเช็คสุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้มาก ในเบื้องต้นจะเป็นการตรวจไขมันในเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI หากพบว่ามีความเสี่ยงแพทย์จะวินิจฉัยให้ตรวจต่อด้วยวิธีวัดการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test) เพื่อดูว่าเริ่มมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่

อีกหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) คือความคมชัดของภาพ และประสิทธิภาพในการประเมินการทำงาน รวมทั้งการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด พร้อมวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง การตรวจแบบนี้ไม่เจ็บตัวและไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

แต่หากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจด้วยการฉีดสีหรือเอ็กซเรย์ความละเอียดสูง เพื่อดูตำแหน่งของเส้นเลือดหัวใจที่อุดตัน และจะทำการรักษาทันทีก่อนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเป็นเวลานาน และอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจหากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตีบถ้ามีแนวโน้มชัดเจนว่าน่าจะใช่ อาจนำไปสู่การใส่สายสวนเข้าไปฉีดสีดูในหลอดลือดหัวใจโดยตรง

ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย แพทย์ก็อาจจะให้ทานยารักษา แต่ถ้าตีบมากแพทย์ต้องซ่อมหลอดเลือดควบคู่กับการทานยา การซ่อมหลอดเลือดส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็คือ การใส่สายสวนเข้าไปถ่างขยายร่วมกับใช้บอลลูนเข้าไปค้ำยันไว้ให้รอยตีบนั้นหายไป ทำให้เลือดไหลได้สะดวก แต่ไม่ว่าจะมีการซ่อมด้วยบอลลูนหรือไม่ก็ตาม ผู้ป่วยก็ต้องทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการตีบเพิ่มขึ้นหรือตีบซ้ำ หลักๆ ยานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะกรันเกิดลิ่มเลือดไปอุดตัน ร่วมกับควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะลดโอกาสการตีบซ้ำให้น้อยลง https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/278

ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญของแพทย์ในปัจจุบันนี้ จะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ง่ายและดียิ่งขึ้น แต่การดูแลตัวเองและการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยเด็ดขาดใครจะรู้ล่ะครับว่า...แค่การตรวจสุขภาพครั้งเดียว อาจช่วยชีวิตเราไว้ทั้งชีวิตเลยก็ได้นะ




 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2564   
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2564 11:43:39 น.   
Counter : 920 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com