นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

สำรวจอาการเบาหวาน 6 สัญญาณควรระวัง



โรคเบาหวาน เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โรคเบาหวานในช่วงแรกอาจไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเราจึงไม่ได้ใส่ใจ จนอาจกลายเป็นโรคเบาหวานโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
* หิวบ่อย กินจุ แต่ผอมลง
* ดื่มน้ำบ่อย
* ปัสสาวะบ่อย
* อ่อนเพลีย
* ชาปลายมือ ปลายเท้า
* ตาพร่ามัว 

หากใครมีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยการเจาะเลือดตรวจ หากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบรักษา และรับคำแนะนำการดูแลตัวเองที่ถูกต้องจากแพทย์นั่นเองครับ 

โรคเบาหวานทำไม? ต้องรักษา https://bit.ly/2TsBXxu




 

Create Date : 21 มีนาคม 2562   
Last Update : 21 มีนาคม 2562 11:19:52 น.   
Counter : 1085 Pageviews.  


เรื่องปวดๆ เวลาปั่น ที่อาจเกิดขึ้นได้


หลายคนเมื่อปั่นจักรยานใหม่ๆ อาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ซึ่งเกิดได้ทั้งจากกล้ามเนื้อยังไม่ยืดหยุ่น การหักโหมปั่นมากไปหรือการปั่นในท่าไม่ถูกต้อง วิธีป้องกันและแก้ไขเบื้องต้นให้สังเกตจุดที่รู้สึกเจ็บ ปวด เมื่อย หลังการปั่นที่เกิดขึ้นแล้วลองแก้ไขดังต่อไปนี้ดูครับ

1. ปวดคอ : ส่วนมากพบในผู้ใช้จักรยานเสือหมอบที่ต้องก้มตัวขณะปั่น และอยู่ในท่าเดียวนานๆ ซึ่งหากร่างกายไม่ยืดหยุ่น แข็งแรงพอ ก็จะทำให้ปวดคอและลามไปที่หลังได้ง่าย
วิธีแก้ไข : fitting ร่างกายกับจักรยาน ปรับเบาะและแฮนด์ให้เหมาะสม ตั้งแต่ก่อนเริ่มปั่นช่วยได้ครับ

2. ปวดก้น : นักปั่นใหม่ๆ มักประสบปัญหานี้ อาการปวดก้นเกิดจากปุ่มกระดูกก้นกดหรือเสียดสีกับอาน หรืออานแข็งเกินไป
วิธีแก้ไข : เลือกอานจักรยานที่ไม่แข็งเกินไป เลือกประเภทบุนวมเพื่อลดแรงกดบริเวณก้น และควรใช้กางเกงสำหรับปั่นจักรยานโดยเฉพาะ จะช่วยลดปัญหาได้

3. ปวดเข่า : อาจเกิดได้ทั้งจากปัญหาเข่าอักเสบหรือกล้ามเนื้ออักเสบ มักเกิดได้เมื่ออานอยู่ระดับต่ำเกินไป ทำให้เหยียดขาไม่สุด เข่าจึงงอขณะปั่น
วิธีแก้ไข : หากปวดมากให้หยุดพักการปั่น รับประทานยาแก้ปวด หาก 3 วันไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีการอักเสบ แต่หากพักแล้วหาย ให้ปั่นต่อได้โดยปรับระดับอานให้พอดีมากขึ้นและบริหารกล้ามเนื้อขาด้วยเสมอ

4. ปวดข้อเท้า : ส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งน้ำหนักที่มากเกินไปลงบริเวณปลายเท้า ลักษณะการจิกลง หรือจักรยานไม่พอดี จนทำให้เคลื่อนไหวข้อเท้ามากกว่าปกติ หรือการวางเท้าที่ผิด เช่น วางค่อนไปทางด้านหลังมากเกินไป
วิธีแก้ไข : หมั่นบริหารข้อเท้า บริเวณเอ็นร้อยหวายให้แข็งแรง จัดท่าปั่นให้พอดีให้ลำตัวช่วงล่างรับน้ำหนักแบบเฉลี่ยที่เหมาะสม ไม่จิกเท้ามากเกินไป

5. ปวดมือ : ชามือ ส่วนใหญ่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณโคนฝ่ามือด้านนิ้วก้อย จากการจับแฮนด์จักรยานเป็นเวลานาน ทำให้เส้นประสาทถูกรบกวน จึงรู้สึกมือชาหรือปวดฝ่ามือหลังปั่น
วิธีแก้ไข : สวมถุงมือเพื่อลดแรงกดบริเวณฝ่ามือขณะปั่นจักรยาน หรือเปลี่ยนตำแหน่งจับแฮนด์เป็นระยะๆ บริหารฝ่ามือบ่อยๆ ให้แข็งแรง

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องอาการปวดต่างๆ ดังกล่าวเวลาปั่นจักรยาน ลองนำไปปฎิบัติตามกันดูนะครับ จะได้ไม่ปวดเวลาปั่น




 

Create Date : 19 มีนาคม 2562   
Last Update : 19 มีนาคม 2562 9:46:15 น.   
Counter : 2094 Pageviews.  


3 ระยะภาวะไหล่ติด


ภาวะไหล่ติด เกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ บวมและหนาตัวขึ้น เมื่อยกแขนหรือไขว้มือด้านหลังจะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด จนบางคนไม่กล้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะหรือเคลื่อนไหวหัวไหล่ ซึ่งจะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่หนาตัวมากขึ้น การเคลื่อนไหวจะน้อยลงและหากไม่ใช้แขนข้างที่ไหล่ติดเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นจะฝ่อลีบลง

ภาวะไหล่ติดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เจ็บหรือปวดขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่และปวดมากขึ้นเมื่อพยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แต่ยังไม่รู้สึกถึงภาวะข้อไหล่ติด เป็นมากในเวลากลางคืนและเวลาล้มตัวนอน

ระยะที่ 2 อาการปวดจะค่อยๆ ลดลง ข้อไหล่ติดแข็ง เคลื่อนไหวหัวไหล่ลำบาก รู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่จนถึงต้นคอ 

ระยะที่ 3 ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

การรักษาภาวะไหล่ติดจะใช้วิธีรักษาตามอาการ โดยระยะที่ 1 จะให้ทานยาหรือฉีดยา ระยะที่ 2, 3 ใช้วิธีกายภาพบำบัดภายใต้คำแนะนำของนักกายภาพบำบัด ทั้งนี้หากอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีทานยา ฉีดยา กายภาพบำบัด หากไม่ได้ผลนานกว่า 6 เดือน แพทย์อาจจะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด “เทคโนโลยีการผ่าตัดข้อไหล่แบบส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว” https://bit.ly/2BHJ8HT

การรักษาภาวะไหล่ติดนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้น ลดอาการเจ็บปวด ลดการยึดของข้อไหล่ และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ




 

Create Date : 18 มีนาคม 2562   
Last Update : 18 มีนาคม 2562 9:37:12 น.   
Counter : 1266 Pageviews.  


ห่างไกล 5 โรคร้ายด้วยการปั่นจักรยาน


การปั่นจักรยานนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพจิตดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายต่างๆ ได้อีกด้วย มาดูกันครับว่า... การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายอะไรบ้าง?

1. โรคอ้วน การปั่นจักรยานจะช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญไขมัน และเบิร์นแคลอรี่ได้มากด้วยทีเดียว สิ่งที่น่าทึ่งมากกว่านั้นคือสภาวะ After Burner หลังการปั่นอย่างน้อย 30 นาที ระบบเผาผลาญในร่างกายจะยังมีการทำงานต่อไปอีก 2-3 ชั่วโมง หลังจากหยุดปั่นแล้ว

2. โรคนอนไม่หลับ ในขณะที่เราปั่นจักรยานสมองจะหลั่งฮอร์โมนความสุขออกมา ช่วยลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น ยิ่งถ้าปั่นในช่วงเช้าด้วยแล้ว ก็จะได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ช่วยให้ระบบหายใจทำงานดีขึ้นด้วย เป็นการแก้โรคนอนไม่หลับที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งครับ

3. แก้โรคท้องผูก การปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยเพิ่มการบีบรัดตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการอยากถ่าย นักปั่นมักดื่มน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีขึ้น

4. โรคซึมเศร้า ขณะที่เราปั่นจักรยาน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินออกมา ช่วยลดความเครียด อีกทั้งการรวมกลุ่มเพื่อปั่นจักรยานทำให้เกิดสังคมใหม่ มีเพื่อนเพิ่มขึ้น แลกเปลี่ยนความรู้เกิดความสนุกสนาน จึงไม่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า

5. ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ การปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนความจำ โดยสมองส่วนนี้จะเริ่มเสื่อมลงในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป การกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วนนี้จะช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

รู้แบบนี้แล้ว ลองหันมาออกกำลังกายด้วยการออกไปปั่นจักรยานกันดูนะครับ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเรา โรคร้ายต่างๆ ก็จะไม่มาเข้าใกล้เราได้ง่ายๆ นั่นเองครับ




 

Create Date : 11 มีนาคม 2562   
Last Update : 11 มีนาคม 2562 10:02:18 น.   
Counter : 1110 Pageviews.  


กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบในนักกีฬา



อาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว และเมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้นต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักกีฬาหรือคนที่เล่นกีฬา ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆ ในชีวิตไปได้

สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบในนักกีฬา ส่วนใหญ่มาจากขาดการเตรียมร่างกายก่อนออกกำลังกาย ออกกำลังกายหนักเกินไป ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาท่าเดิมซ้ำมากเกินไป หรือเร็วจนเกินไป

ปกติแล้วภาวะกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบที่เกิดจากการใช้งานร่างกายมากเกินไป การหยุดพักใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บจะช่วยให้ค่อยๆ ฟื้นตัวได้เอง หรืออาจบรรเทาอาการปวดด้วยการประคบผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้ยาทาบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบร่วมด้วยได้ แต่ในกรณีที่มีอาการปวดมากและไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรมาพบแพทย์ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด รับประทานยา หรือฉีดยา แต่ถ้าหากกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดแพทย์จะต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น

เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ก่อนออกกำลังกายและเล่นกีฬาทุกชนิด ควรวอร์มร่างกายด้วยท่ากายบริหารในส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างน้อย 5-10 นาที ไม่ควรออกกำลังกายท่าเดิมซ้ำๆ นานๆ และหักโหมมากเกินไป และควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ




 

Create Date : 08 มีนาคม 2562   
Last Update : 8 มีนาคม 2562 9:10:38 น.   
Counter : 1039 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com