นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ยาโด๊ป.........เพื่อชัยชนะ (จอมปลอม)

ยาโด๊ป หรือสารกระตุ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบ ในการแข่งขันกีฬาที่สำคัญๆ ทุกรายการ การที่นักกีฬาใช้ยากระตุ้น อาจเป็นการใช้ยาอย่างจงใจ เพราะชัยชนะของนักกีฬาในปัจจุบันนี้ นำมาทั้งชื่อเสียง และผลการตอบแทนสูง แต่บางครั้ง อาจเป็นการใช้ยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่ายาที่ใช้อยู่เข้าข่ายสารกระตุ้น
วิธีการใช้ยาโด๊ป หรือสารกระตุ้นของนักกีฬา เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันกีฬา มากกว่าคนอื่น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ ยาหรือสารกระตุ้น และกรรมวิธีต่างๆ

ยาหรือสารกระตุ้น แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
1.ยาหรือสารเคมีที่ออกฤทธิ์กระตุ้น ระบบประสาทส่วนกลาง หรือระบบประสาทอัตโนมัติ ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ สารประเภทแอมเฟททามีน (กลุ่มยาบ้า) ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกขยันและตื่นตัวตลอดเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ยาประเภทซัลบูทามอล เทอบูทาลีน ออกฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดลม แต่ขณะเดียวกันออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ยาที่มีส่วนประกอบ เป็น เอฟฟีดรีน หรือสูโดเอฟฟีดรีน ได้แก่ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไข้หวัดสำเร็จรูป ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและระบบประสาทอัตโนมัติ
สำหรับสารพวกคาเฟอีน (Cafeine) ที่มีในกาแฟ ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ จะเข้าข่ายสารกระตุ้นหรือไม่ ขึ้นกับความเข้มข้นของสารตัวนี้ในปัสสาวะ (ไม่ควรเกิน 12 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร)
การใช้ยาขยายหลอดลมในนักกีฬาที่มีโรคหอบหืดประจำตัว จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนการแข่งขันต่อเจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์

2.กลุ่มยาแก้ปวด ที่มีฤทธิ์เป็นสารเสพติด ได้แก่สารพวก มอร์ฟีน (Morphine) และผลิตภัณฑ์จากเฮโรอีน ซึ่งนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อต้องการฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ยกเว้น ถ้าผสมอยู่ในยา ที่ใช้กันแพร่หลายบางอย่าง เช่น ยาโรคแก้ไอ ที่มีโคดีอีน (Codeine) ผสมอยู่

3. ฮอร์โมนที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ได้แก่ ฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ใช้กันบ่อยและตรวจพบได้บ่อย ตรวจพบได้โดยดูสัดส่วนของฮอร์โมน เทสทอสเทอโรน (Testosterone) ต่ออีพิเทสทอสเทอโรน (Epitestosterone) ซึ่งมีข้อแม้ว่า การผิดปกติของสัดส่วนฮอร์โมนเพศนี้ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติในการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเอง หรือเนื้องอกของต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนออกมามาก อาจจะต้องใช้การตรวจทางการแพทย์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับฮอร์โมนที่ยุ่งยาก และซับซ้อนขึ้น แต่ถ้าทำไม่ได้ก็เลี่ยงมาตรวจหาระดับฮอร์โมนดังกล่าว เดือนละครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือน (โดยแต่ละครั้งไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า) เพื่อเปรียบเทียบผล แต่ถ้ามีเจตนาจะหลบเลี่ยงการตรวจ อาจจะสรุปได้ว่าผลการตรวจครั้งแรกที่ออกมาเป็นจริง คือมีการใช้สารกระตุ้น

4.ยาขับปัสสาวะ เข้าข่ายสารต้องห้าม เนื่องจากถ้านักกีฬาต้องการลดน้ำหนักโดยเร็ว เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เพราะกีฬาบางประเภท ถ้าน้ำหนักเกินจะถูกปรับแพ้

5.ฮอร์โมนบางชนิด เช่น ACTH ที่กระตุ้นการหลั่ง สเตียรอยด์ฮอร์โมน ซี่งจำเป็นในภาวะที่เครียดหรือทำงานหนัก Growth Hormone เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต ใช้รักษาเด็กที่ภาวะขาดฮอร์โมน และไม่เจริญเติบโต Erythropoietin เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้น การสร้างเม็ดเลือดแดง ใช้ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

กรรมวิธีหรือวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา หรือเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจพบสารกระตุ้น
1.การให้เลือดหรือเม็ดเลือดแดงในนักกีฬาประเภทลู่หรือลาน เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง จุดประสงค์คือ เพื่อเพิ่มปริมาณสารฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปส่งเนื้อเยื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น จะทำให้ความรู้สึกอ่อนล้าของกล้ามเนื้อลดลง
2. การใช้ยา สารเคมี (ที่ไม่ใช่สารกระตุ้นโดยตรง) เพื่อขัดขวางการตรวจพบของสารกระตุ้น เช่น การใช้ยาประเภทโพเบนนีสิด (Probenecid) ซึ่งสามารถลดการขับสารกระตุ้นบางอย่างทางไต ทำให้ไม่สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้

นอกจากสารกระตุ้นแล้ว สารบางอย่างถ้าตรวจพบในนักกีฬา ถือว่าเป็นความผิด
ทำให้ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน ได้แก่ แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก กัญชา


การใช้ยาชาเฉพาะที่ ถ้าได้รับบาดเจ็บ ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าจำเป็นอาจจะใช้ได้ เช่น การพ่นยาชา หรือ การฉีดยาชาเข้าไปในข้อ แต่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์ทราบ ถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ยาชา ชนิดและขนาดของยาชา โดยทันที
คอร์ทิโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ และมีที่ใช้ในหลายๆ โรค ถ้านักกีฬาจำเป็นจะต้องใช้ในระหว่างการแข่งขัน แพทย์ประจำทีมจะต้องแจ้งให้ทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง ยาที่มีคอร์ทิโคสเตียรอยด์ เป็นส่วนประกอบ เช่น ยาทาผิวหนัง ยาหยอดตา ยาพ่นบรรเทาอาการหอบหืด หรือยาฉีดเฉพาะที่
ส่วนใหญ่แล้วยาที่เข้าข่ายสารกระตุ้น ก็มีใช้กันแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งนักกีฬา นำมาใช้ โดยไม่ทราบว่า มีสารกระตุ้นผสมอยู่ จึงมีความจำเป็นที่นักกีฬา ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ถ้ามีแพทย์ประจำทีมดูแลอยู่ ก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะแพทย์จะระมัดระวัง ส่วนประกอบของยาที่จะใช้กับนักกีฬา
ขึ้นชื่อว่า "กีฬา" ย่อมมีแพ้ มีชนะ เป็นธรรมดา แต่ถ้าจะเอาให้ได้ชัยชนะอย่างเดียว โดยการกระทำทุกวิถีทาง รวมทั้งการ "โด๊ป" ทุกรูปแบบ ย่อมเป็นชัยชนะที่น่าละอาย และย่อมจะถูกจับได้ในที่สุด



Create Date : 25 มีนาคม 2554
Last Update : 25 มีนาคม 2554 9:42:25 น. 2 comments
Counter : 1547 Pageviews.  
 
 
 
 
ดีครับ สุดยอดเลย เหมาะกับนักกีฬา ที่ต้องระมัดระวังให้มาก ไม่เช่นนั้น อาจจะมีปัญหาภายหลัง
 
 

โดย: chaichoti วันที่: 25 มีนาคม 2554 เวลา:15:47:50 น.  

 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:12:06 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com