นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ภาวะกระดูกพรุน...เสี่ยง!!

ภาวะกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนคืออะไร
เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นเนื้อกระดูกลดลง จากโครงสร้าง ของกระดูกที่เคยหนาแน่น
ประสานกันเป็นโยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบางของ
โครงสร้างกระดูก จึงทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม อีกทั้งยังมีโอกาสเปราะหักเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายอีกด้วย

มีภาวะใดบ้างที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

- เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชายเนื่องจากโครงกระดูกในเพศหญิง
มีความหนาแน่นน้อยกว่า
- เมื่อมีอายุสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเกินกว่า 40 ปี
- ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิงที่เกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ผู้ที่รับแคลเซี่ยมและวิตามินดีในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ทำอย่างไรจึงจะรักษาความหนาแน่นของกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน
- กระดูกคนเราจะมีความหนาแน่นสูงสุดในช่วงอายุ 20-30 ปี ดังนั้น การเสริมสร้าง
- กระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุดเมื่ออายุ 20 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด และระยะสำคัญรองลงมาก็คือ ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน
- เสริมสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุด ตั้งแต่ในช่วงอายุ20-30 ปี ด้วยการรับประทานแคลเซี่ยม และวิตามินดีให้เพียงพอ นอกจากนี้อาจใช้ยาช่วยได้ ซึ่งแบ่งกลุ่มยาเป็น 2 กลุ่มคือ
- ยาระงับการทำลายกระดูก ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแคลซิโตน ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนท และแคลเซี่ยม เป็นต้น
- ยากระตุ้นการสร้างกระดูกได้แก่ วิตามินดี และ ฟลูออไรด์

มีวิธีป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
ในผู้ที่มีเนื้อกระดูกมากตั้งแต่แรก จะมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนได้น้อยกว่าผู้ที่มีเนื้อกระดูกน้อย
ดังนั้น “การสะสมเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยหนุ่มสาวก็จะเป็นวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดีที่สุด รวมถึงการได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitomeret) ซึ่งสามารถตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้”

ตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
จากการใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometer) ที่ใช้เทคนิคการเรดิเอชั่น (Radiation Source) โดยใช้หลักการจากการดูความหนาแน่น (Thickness) และส่วนประกอบของเนื้อเยื่อกระดูก (Composition) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าปกติ

บุคคลที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometer1. หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
2. หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
3. หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติกระดูกหัก หรือมีภาพเอ็กซเรย์กระดูกผิดปกติ
4. หญิงที่ต้องรักษาโรคกระดูกพรุน การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะช่วยในการตัดสินใจ
5. หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน มาเป็นระยะเวลานานๆ
6. บุคคลที่มีภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ
7. บุคคลที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
8. บุคคลที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเกิน
9. เพื่อติดตามการรักษากระดูกพรุน

ผู้หญิงอายุเท่าไหร่ ที่ควรรับประทานแคลเซี่ยม
ผู้หญิงควรรับประทานแคลเซี่ยม ในช่วงอายุ 20-30 ปี และ ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

การรักษา
เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นเพื่อให้มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกและเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้กระดูกมีความหนาแน่นและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

จะติดตามผลการรักษาภาวะกระดูกพรุนได้อย่างไร
จากการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE Densitometry) เป็นระยะสม่ำเสมอตามแผนติดตามการรักษาของแพทย์

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง BONE Densitometry เป็นวิธีการตรวจที่จะได้ค่าความหนาแน่นของกระดูกที่มาตรฐาน ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดในขณะนี้

เชิญสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุนได้ที่ คลินิกโรคกระดูกพรุน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- โรคต่อมไร้ท่อ
- สูตินรีแพทย์
- ศัลยกรรมกระดูก


//www.ram-hosp.co.th




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2551 13:27:25 น. 1 comments
Counter : 1547 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณค่ะ น่ากลัวจังเลย
 
 

โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 5 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:01:31 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com