ระวังไขมันตัวร้ายในเลือด....ปล่อยให้สูงเกินขนาดเป็นได้เรื่อง !!!!
ระวังไขมันตัวร้ายในเลือด....ปล่อยให้สูงเกินขนาดเป็นได้เรื่อง*****อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเตือนผู้ที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง ก่อให้เกิดการสะสมของไขมันในเลือดปริมาณมาก จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้โดยไม่รู้ตัว พร้อมแนะวิธีการตรวจเลือดหาความผิดปกติ ยับยั้งเหตุร้ายก่อนจบลงด้วยการผ่าตัด *****ภาวะไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายที่ได้มาจากการเผาผลาญอาหารประเภทไขมันและการสังเคราะห์ขึ้นมาเองของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองในยามฉุกเฉิน ซึ่งโคเลสเตอรอลนี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL CHOLESTEROL) จัดเป็นไขมันตัวร้ายที่หากสะสมอยู่ในหลอดเลือดในปริมาณมากจะนำมาซึ่งหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตันตามมาได้ อีกชนิดหนึ่งคือ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL CHOLESTEROL) เป็นไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ******การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นผลจากที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันประเภท LDL สูงกว่า ด้วยเหตุจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำแล้ว ก็จะเป็นโอกาสให้เกิดการอุดตันของไขมันบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และตามมาด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ในเวลาต่อมา *****ขบวนการตรวจวินิจฉัยปัจจุบันค่อนข้างง่ายขึ้นเยอะครับ เพราะเดี๋ยวนี้เพียงแค่เช็คเลือดก็สามารถบอกได้แล้ว สมัยก่อนเราจะรู้จักโคเลสเตอรอลเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้วจะมีทั้งเอชดีแอล ที่เรียกว่าไขมันดี กับแอลดีแอล โคเลสเตอรอลตัวสำคัญที่เราจะพูดถึงมากที่สุดนะครับ ซึ่งถ้าเกิดไขมันตัวนี้สูงเกิน 190 อย่านิ่งนอนใจ โดยเฉพาะใครที่มีประวัติครอบครัวมีโรคหัวใจอยู่ด้วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร็วครับ เพราะเราพบว่านี้คือหนึ่งในปัจจัย 4 ของโรคหัวใจที่จะนำมาซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้แม้อายุยังไม่เข้าเกณฑ์เสี่ยงก็มีสิทธิ์เป็นได้ ยังย้ำถึงการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของภาวะไขมันในเลือด *****นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงผลดีของการหมั่นตรวจเช็คเลือดเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะสามารถหาความผิดปกติของไขมันในเลือดได้แล้วยังตรวจพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย อันจะช่วยให้ทำการควบคุมและรักษาในระยะเริ่มต้นได้ แต่ในรายที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ก็อาจพิจารณาแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน เพื่อป้องกันการกลับมาตีบซ้ำ แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีสภาพหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท ก็ยังสามารถรักษาได้โดยการใช้เทคนิคเครื่องหัวกรอเพชรความเร็วสูง (ROTABLATOR) เข้าช่วยสลายสิ่งอุดตันแข็งๆ ให้หมดไปก่อนการทำบอลลูน โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดบายพาสเช่นในอดีต
ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลรามคำแหง //www.ram-hosp.co.th
Create Date : 31 มีนาคม 2552 |
Last Update : 31 มีนาคม 2552 10:14:49 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1566 Pageviews. |
|
 |
|
|