นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ไอพีดี (IPD : Invasive Pneumococcal Disease)

ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ไอพีดี

(IPD : Invasive Pneumococcal Disease)

การมีไข้ในเด็กโตและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่รักษาให้หายได้ แต่สำหรับเด็กวัย 3

เดือนถึง 3 ปี ที่ภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ยังมีน้อย การมีไข้จึงเป็นเรื่องที่มอง

ข้ามไม่ได้เพราะบางครั้งอาจไม่ใช่อาการไข้ธรรมดา แต่อาจเป็นไข้จากการ

ติดเชื้อรุนแรงที่นำไปสู่อันตรายถึงชีวิตจากการศึกษาของกุมารแพทย์ด้าน

โรคติเชื้อในเด็ก พบว่าหนึ่งในเชื้อโรคที่ทำให้เกิดไข้ คือ

“เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส” ที่มีหลายสายพันธุ์โดยทั่วไปเชื้อนี้อาศัยอยู่ใน

ระบบทางเดินหายใจ เช่น โพรงจมูกของเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นพาหะ โดยเชื้อ

จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นพาหะเนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ

พอควรแต่ถ้าเชื้อโรคนี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทาน

ต่อโรคต่ำ เชื้ออาจจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้โลหิตเป็นพิษ เป็นเหตุ

ให้เด็กช็อกและเสียชีวิตได้หรือติดเชื้อเป็นปอดบวม เยื้อหุ้มสมองอักเสบ

ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่มีอันตรายถึงชีวิต

การติดเชื้อนิวโมคอคคัส มักเกิดขึ้นในเด็กเล็กซึ่งไม่สามารถ

บอกถึงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้พ่อแม่รู้ได้ พ่อแม่จึงไม่รู้ว่าลูกได้

รับเชื้อที่รุนแรง เพราะอาการเบื้องต้นจะไม่เห็นเด่นชัด และไม่มีอาการ

จำเพาะเจาะจงของโรค นอกจากมีไข้สูง ทำให้เด็กเล็กงอแง คล้ายการเป็น

ไข้ทั่วไป พ่อแม่จึงไม่ได้พาลูกมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาในระยะแรก ซึ่ง

หากมาพบแพทย์ทันเวลา จะสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

อันตราย...โรคติดเชื้อไอพีดีลุกลามเร็ว

การติดเชื้อโรคนี้จะลุกลามรวดเร็ว อาจแสดงอาการอื่นชัดเจนขึ้นใน 24-48

ชั่วโมง จนพ่อแม่อาจไม่ทันตั้งตัว หากได้รับยาไม่ทันเวลา เด็กอาจติดเชื้อ

ลุกลามรุนแรง แต่แม้จะได้รับยาถูกต้องทันเวลา เชื้อโรคก็อาจไปทำลาย

อวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ติดเชื้อในสมอง ทำให้สมองพิการ หรือ

ปอดบวมอย่างรุนแรง ทำให้การหายในล้มเหลวฯลฯ

หากเป็นโรคติดเชื้อไอพีดี

(PID : Invasive Pneumococcal Disease)

โรคติดเชื้อไอพีดีสามารถป้องกันได้ แต่หากได้รับยาไม่ตรงกับเชื้อ หรือ

เชื้อดื้อยา หรือได้ขนาดของยาไม่สูงพอก็จะไม่สามารถหยุดยั้งการลุกลาม

ของเชื้อโรคสู่กระแสเลือดหรือการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งอาจเป็น

อันตรายถึงชีวิตได้ ความรุนแรงของการติดเชื้อนิวโมคอคคัสขึ้นอยู่กับปัจจัย

อื่นด้วย เช่น อายุของผู้ป่วย อวัยวะที่ติดเชื้อ หากเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

จากเชื้อนิวโมคอคคัส ก็อาจเกิดสมองพิการเพราะเชื้อโรคเข้าไปทำลาย

สมองบางส่วน เป็นต้น

เราจะป้องกันการเกิดดรคนิวโมคอคคัสในเด็กได้อย่างไร

การป้องกันโรคทำได้โดยใช้หลายวิธีประกอบกัน ได้แก่

- สอนให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆและปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่
ไอ จาม

- สอนให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่เป็นหวัดหรือป่วย

- ในเด็กเล็ก คุณแม่ควรให้กินนมแม่เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ส่งผ่านไปลูกทางน้ำนม

อย่างไรก็ตามนมแม่จะป้องกันได้เฉพาะในช่วงที่เด็กกินนมแม่เท่านั้น

- การให้วัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันการเกิดโรคนิวโมคอคคัสชนิดแพร่กระจาย



Create Date : 20 มกราคม 2554
Last Update : 20 มกราคม 2554 9:45:23 น. 1 comments
Counter : 1672 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:06:49 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com