จะต้องทำตัวอย่างไรหลังผ่าตัดหัวใจ?
จะต้องทำตัวอย่างไรหลังผ่าตัดหัวใจ เมื่อได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เปลี่ยนเส้นทางที่อุดตันของหลอดเลือดเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนพักและฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงพยาบาลอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตที่ดีกว่าก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้ ...อย่างไรก็ดี การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนวิธีการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหัวใจกลับไปตีบตันอีกเหมือนเดิม ...ว่ากันตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน ผู้ป่วยควรจะหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันสูง เช่น เนื้อที่มีมันมากๆ, ขาหมู, เนื้อหมูสามชั้น, ไส้กรอก, นม, ครีม และเนยแข็ง เพราะจะทำให้ไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะช่วยเร่งให้เกิดการกลับไปตีบของเส้นเลือดเป็นเร็วขึ้นและมากขึ้น ผู้ป่วยควรบริโภคอาหารที่เป็นแป้งหรืออาหารที่มีกากเส้นใยอาหารมากๆ เช่น ข้าว โดยเฉพาะข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ, ถั่ว, ผักสดและผลไม้, ถ้าจะกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ควรเป็นเนื้อแดง, ปลา และไก่ที่ไม่ติดหนัง เป็นต้น *** เรื่องสำคัญประการที่สองก็คือเรื่องของน้ำหนักตัว ต้องระวังอย่าให้อ้วน กินให้น้อยลง ออกกำลังให้มากขึ้น *** สำหรับการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น และช่วยในการคุมความดัน ลดน้ำหนัก ลดความเครียด อย่างไรก็ดีผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกายว่า จะออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะออกกำลังกายได้ประมาณ 30 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3 - 4 ครั้ง ชนิดของการออกกำลังกายที่ดีก็คือ การออกกำลังแบบแอโรบิก ซึ่งหัวใจจะได้อ๊อกซิเจนอย่างพอเพียงไปพร้อมๆ กับการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเหล่านี้ได้แก่ เดินเร็ว,วิ่งช้าๆ (Jogging), ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, หรือเต้นรำเพื่อสุขภาพ *** บุหรี่ อันนี้เป็นเจ้าตัววายร้าย ผู้ป่วยต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ถ้าไม่งดสูบบุหรี่ โอกาสที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันสูงกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถ้างดบุหรี่ เส้นเลือดที่นำไปต่อเป็นท่อใหม่ก็จะอยู่ได้นานกว่าผู้ป่วยที่ไม่งดบุหรี่ *** ประการต่อไป อย่าทำตัวเป็นคนที่มีแต่ความเครียดอยู่เป็นนิจ การเป็นคนเอาจริงเอาจังนั้นดีอยู่หรอก แต่อย่ามากจนกลายเป็นคนที่มีตารางเวลาบังคับจนเกินไป หรือเป็นคนขี้หงุดหงิด ขี้โมโห เก็บเอาทุกเรื่องมากลุ้มอยู่คนเดียว แบบนี้ไม่นานหลอดเลือดก็ต้องกลับไปตีบอีกแน่นอน *** ที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์ควบคุมโรคอื่นที่อาจจะทำให้หลอดเลือดกลับไปตีบตันใหม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง และถ้าผู้ป่วยทานยาลดไขมัน ควรจะตรวจเลือดหาระดับไขมันในเลือด ทุก 3-6 เดือน ในขณะที่ถ้ามีโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และรักษากับอายุรแพทย์ *** ผู้ป่วยต้องมาตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นระยะ ทุก 2 - 4 เดือน อาจจะต้องทานยาที่จำเป็นบางขนาน เช่น แอสไพริน หรือยาป้องกันการจับตัวของเกร็ดเลือด ซึ่งจะช่วยทำให้เกล็ดเลือดทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ โอกาสที่จะเกิดก้อนเลือดในเส้นเลือดหัวใจก็ลดลง *** จำไว้ว่าเมื่อท่านเป็นโรคนี้แล้ว ทำอย่างไรก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดร้อยเปอร์เซนต์ได้ แต่แพทย์ก็สามารถที่จะช่วยต่อชีวิต และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในระยะยาว ส่วนอนาคตของผู้ป่วยนั้นขึ้นกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยสามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพอยู่ได้นานเป็นสิบๆ ปี ที่เกิน 20 ปี ก็มี
//www.ram-hosp.co.th
Create Date : 18 มกราคม 2553 |
Last Update : 18 มกราคม 2553 10:34:12 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1536 Pageviews. |
|
 |
|
|
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ