นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมมโมแกรม (Mammogram)

ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยระบบดิจิตอล
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมมโมแกรม (Mammogram)

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในสตรี ในประเทศไทยพบว่ามีอุบัติการณ์สูงรองจาก มะเร็งปากมดลูก หากพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเร็วเท่าใดก็ยิ่งให้ผลการรักษาดีมากขึ้นเท่านั้น นอกเหนือจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและการตรวจโดยแพทย์แล้ว วิธีการอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ก็คือการตรวจเต้านมทางเอกซเรย์ หรือที่เราคุ้นเคยในคำว่า แมมโมแกรม (Mammogram)

ควรตรวจหามะเร็งเต้านมเมื่อไร?
• ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ทุกเดือน, เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี
• ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ทุก 3 ปี, อายุ 20-39 ปี
ทุกปี, เริ่ม 40 ปีขึ้นไป
• ตรวจแมมโมแกรม ทุกปี, เริ่ม 40 ปีขึ้นไป


ทำไมต้องมีการทำ แมมโมแกรม?

เนื่องจากมีข้อจำกัดของการตรวจร่างกายก้อนที่ขนาดเล็กกว่า 1 ซ.ม. อาจจะตรวจคลำลำบาก หรือไม่พบ ทำให้วินิจฉัยได้ล่าช้า แมมโมแกรมเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้การตรวจพบความผิดปกติได้เร็วขึ้น
บ่อยครั้งที่พบว่าการทำแมมโมแกรม สามารถตรวจพบความผิดปกติได้โดยที่ยังคลำได้ไม่เป็นก้อน ทำให้วินิจฉัยมะเร็งได้ในระยะแรกๆ นำไปสู่ผลการรักษาที่ได้ผลดีขึ้น บางครั้งอาจทำให้เปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาจากที่ต้องตัดเต้านมทั้งหมด เป็นการตัดบางส่วนก็เพียงพอในบางกรณีอาจพบมีความผิดปกติหลายตำแหน่งในเต้านมข้างเดียวกันหรือพบว่ามีความผิดปกติในเต้านมทั้งสองข้าง ก็จะทำให้แนวทางการรักษาเปลี่ยนไป ไม่ล่าช้า


เวลาทำแมมโมแกรม จะรู้สึกเจ็บมากไหม?

ปัจจุบันมีแมมโมแกรม 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นการตรวจโดยการใช้ฟิล์ม แบบที่สองเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น เป็นการถ่ายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งมีความคมชัดของภาพมากกว่า สามารถบอกตำแหน่งของจุดที่มีปัญหาได้ดีกว่าระบบใช้ฟิล์ม และปัญหาเรื่องความเจ็บปวดเต้านมระหว่างการทำแมมโมแกรมจะน้อยมาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการกดเต้านม จะค่อยๆ กดลงมาที่บริเวณเต้านมอย่างนุ่มนวลกว่าเครื่องที่ใช้ฟิล์ม และที่โรงพยาบาลเราก็ใช้แมมโมแกรมระบบดิจิตอล


โอกาสได้รับอันตรายจากรังสี จากการทำแมมโมแกรม มีมากไหม?

การทำแมมโมแกรมใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำมาก อาจเทียบเท่าหรือน้อยกว่าการถ่ายรังสีทรวงอก ดังนั้น อันตรายจากรังสีต่ำมาก และแมมโมแกรมแบบดิจิตอลนั้น สามารถลดปริมาณรังสีลงจากเดิมประมาณ 30-60%


ตรวจแมมโมแกรมไม่พบความผิดปกติ แสดงว่าไม่เป็นมะเร็งใช่ไหม?

การตรวจไม่พบความผิดปกติ บอกได้แต่เพียงว่าในขณะนั้นไม่พบมะเร็งเต้านม มะเร็งอาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น หรืออาจมีแล้วแต่ไม่มีลักษณะความผิดปกติในแมมโมแกรม จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจโดยแพทย์ รวมทั้งสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรจะได้รับการตรวจด้วยแมมโมแกรมปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่ได้วินิจฉัยมะเร็งให้ได้แต่เนิ่น ๆ การรักษาจึงจะได้ผลดี






ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.ram-hosp.co.th/


Create Date : 19 สิงหาคม 2553
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 16:01:31 น. 0 comments
Counter : 1442 Pageviews.  
 

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com