ระวังภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงวัย พลาดนิดเดียวสะโพกหักไม่รู้ตัว
บางรายยอมทนปวดก่อให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนได้และมีสิทธิ์ลุกลามรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แพทย์แนะให้ตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่นๆ เพราะมีเทคโนโลยียุคใหม่มาช่วยให้ทราบผลอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยอย่างได้ผลมากขึ้น
โรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกโปร่งบางคือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ซึ่งกรณีของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาจากศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง จะมาด้วยอาการเจ็บปวดบริเวณสะโพก หลังหรือไหล่ ซึ่งจากการตรวจวินิจฉัยก็พบว่ามีกระดูกหัก โดยมีสาเหตุมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปกระดูกพรุนจะไม่มีอาการ และผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองกระดูกพรุน จนกว่าจะหกล้มแล้วเจ็บไม่ยอมหาย ญาติจึงจะพามาพบหมอซึ่งหลังจากส่งตรวจเอ็กซเรย์แล้วจะพบทั้งกระดูกหักกับร่องรอยของกระดูกพรุนที่มีอยู่ก่อนแล้ว นี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมล้มนิดๆหน่อยๆ จึงทำให้กระดูกหัก ซึ่งภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุนี่เองที่ทำให้กระดูกหักง่าย ทั้งนี้สำหรับผู้สูงอายุและญาติผู้ใกล้ชิดที่อาจสงสัยว่าเข้าข่ายภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ ก็สามารถทำการตรวจเพื่อหาภาวะกระดูกพรุนได้ก่อนที่จะมีอาการโดยการใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งหากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐานคือ -2.5 ก็ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุนแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยขั้นตอนการใช้ยา แต่หากในรายที่ถึงขั้นกระดูกหักแล้ว ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเป็นลำดับต่อไป วิธีการรักษานั้น ถ้ากระดูกหักบริเวณคอสะโพก เรามักจะเปลี่ยนเป็นสะโพกเทียม แต่ถ้าถัดจากบริเวณคอลงมา เราจะทำการยึดตรึงกระดูกให้กับผู้ป่วย ซึ่งก็มีโอกาสสูงที่กระดูกจะติดเร็ว แล้วการผ่าตัดกระดูกหักบริเวณนี้พัฒนาไปมาก แผลก็เล็กลง คนไข้จะเจ็บน้อย หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน คนไข้ก็สามารถที่จะนั่งได้ เป้าหมายขอการรักษาก็คือพยายามนำคนไข้กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนจะหัก เพื่อเขาจะได้ใช้ชีวิตประจำวันของเขาเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ทนเจ็บปวดโดยไม่ยอมไปรับการรักษาอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อน อาทิ ภาวะปอดอักเสบ ปอดบวม มีแผลกดทับหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อันเป็นผลจากการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ และอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่พบว่าผู้สูงอายุหกล้มแม้เพียงเล็กน้อย ญาติผู้ใกล้ชิดก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ เพื่อมิให้อาการบานปลายจากกรณีกระดูกหักโดยไม่รู้ตัว
ข้อมูลสุขภาพโดย โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพ โทร. 02-743-9999 //www.ram-hosp.co.th/
Create Date : 29 กุมภาพันธ์ 2555 |
Last Update : 29 กุมภาพันธ์ 2555 18:46:20 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1482 Pageviews. |
|
 |
|
|
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ