นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ผู้ป่วยโรคหัวใจพึงระวัง...อาจตายเฉียบพลัน

ผู้ป่วยโรคหัวใจพึงระวัง !!!! เสี่ยงตายเฉียบพลันจากหัวใจล้มเหลว

*****อัตราเสี่ยงของผู้ป่วยโรคหัวใจแทบทุกชนิดที่อาจนำมาซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลวและมีโอกาสเสียชีวิตเฉียบพลันได้อย่างไม่คาดคิด พร้อมกับเตือนผู้ป่วยให้หมั่นสังเกตตนเองก่อนสายเกินแก้ โดยแนะเทคนิคในการรักษาที่ช่วยลดระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างได้ผล
******แพทย์ที่ปรึกษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อธิบายว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ซึ่งระดับความรุนแรงจะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ

--- ระดับที่ 1 ผู้ป่วยจะมีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่แล้วแต่จะไม่แสดงอาการ
--- ระดับที่ 2 ถือว่าเป็นขั้นต้นของอาการหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยเวลาออกแรง
--- ระดับที่ 3 เป็นระยะปานกลางผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยแม้จะทำกิจวัตรประจำวันเล็กๆ น้อยๆ
--- ระดับที่ 4 เป็นขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะนั่ง ยืน เดินหรือนอนก็มีอาการเหนื่อยส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด

******สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความผิดปกติของหัวใจเป็นอันดับแรก ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลัง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มของลิ้นหัวใจผิดปกติและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดีพอจะนำมาซึ่งหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด
***** “ผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคนมีสิทธิเป็นโรคหัวใจล้มเหลวได้ทั้งนั้น หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เราพบว่าภาวะของหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะสำคัญระดับต้นๆ 1 ใน 5 ของการเข้านอนโรงพยาบาล อย่างในสหรัฐอเมริกาจะพบว่าผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมีสูงถึง 5-6 ล้านคน และก็มีผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นมากถึง 4 แสนรายต่อปี แล้วที่น่ากลัวกว่านั้นคือคนไข้หัวใจล้มเหลวมีโอกาสตายสูงมาก นอกจากนี้ภาวะหัวใจล้มเหลวยังเป็นตัวบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้แย่ลง ไม่ตายแต่ก็ไม่มีความสุข เพราะว่าไปไหนก็ไม่ได้ จำกัดไปหมดเลย แพทย์กล่าว”
*****ส่วนวิธีการรักษาอาการหัวใจล้มเหลวของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรค ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะส่งผลดีต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการรับประทานยาภายหลังจากการตรวจวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวดน์หัวใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาอย่างน้อย 6 ชนิดไปตลอดชีวิตเพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ให้รุนแรงมากขึ้น แต่ปัจจุบันนี้วิวัฒนาการทางด้านการแพทย์โรคหัวใจได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า “เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ” (CARDIAC RESYNCHRONIZATION THERAPY: CRT) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้เป็นอย่างดี
*****แพทย์ที่ปรึกษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล่าวว่า “เครื่อง CRT ไม่สามารถใช้ได้กับคนไข้หัวใจล้มเหลวทุกราย เฉพาะคนไข้หัวใจล้มเหลวที่มีหลักฐานว่าหัวใจห้องขวาล่างกับซ้ายล่างทำงานไม่สัมพันธ์กัน และอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 โดยมีกำลังหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งดูได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และคนไข้กลุ่มนี้จะมีโอกาสใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจทันที
******โดยทั่วไปแล้วอาการของคนไข้ก็จะดีขึ้นเป็นขั้นๆ หมายความว่าเคยอยู่ในระยะขั้นรุนแรง เมื่อใส่เครื่องเข้าไปแล้วจะขยับขึ้นเป็นขั้นปานกลางหรือระยะขั้นต้นก็มี ซึ่งก็ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสภาพหัวใจที่ดีขึ้น มีอัตราการเข้าออกจากโรงพยาบาลลดลงและที่สำคัญคืออัตราการตายก็ลดลงด้วยครับ”
******อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษหรือ CRT นี้ ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคหัวใจที่เป็นอยู่ ผู้ป่วยจึงควรต้องทำการรักษาโรคหัวใจซึ่งเป็นต้นเหตุเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาหัวใจล้มเหลวอย่างได้ผลและควรหมั่นตรวจสุขภาพหัวใจของตนเองอย่างสม่ำเสมอเป็นดีที่สุด


//www.ram-hosp.co.th


Create Date : 11 พฤษภาคม 2552
Last Update : 11 พฤษภาคม 2552 10:49:23 น. 1 comments
Counter : 1479 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:15:56:28 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com