นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม



หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
ทำไมจึงต้องใช้หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม?


ในกรณีที่ปวดหลังที่มีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ที่รับการรักษาด้วยวิธีประคับประคองหรือวีธีผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนของเหลวออกไม่ได้ผล หรือเกิดผลแทรกซ้อนตามมาจากการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีใดๆก็ตาม การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังในระดับที่เป็นปัญหา เป็นที่ยอมรับและใช้กันมาอย่างกว้างขวางและยาวนาน การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังแม้ผลที่ได้รับจะอยู่ในเกณท์ที่ดี แต่ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อนข้างสูงทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นเหตุให้เกิดการรักษาด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม

การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง
การเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และเสื่อมมากขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นไปตามวัยและลักษณะการใช้งาน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์และการเผาผลาญ (Metabolism) โปรติโอไกลแคน ที่อยู่ในส่วนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Nucleus pulposus) ทำให้สูญเสียความสามารถอุ้มน้ำ ที่ช่วยให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดแรงดึงตัวคงสภาพความสูงและความยืดหยุ่นคล้ายลูกโป่งที่มีแกสอัดอยู่ภายในรั่วซึมออกไป เกิดการยุบตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง การกระจายแรง-น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม ความสามารถในการรับน้ำหนัก กระจายน้ำหนักสูญเสียไป ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Anulus fibrosus) จะเป็นเส้นใยหลายๆชั้นที่ประสานกันจะเกิดการฉีกขาดจากด้านในออกสู่ด้านนอก ที่มีลักษณะคล้ายกับยางรถยนต์ที่เส้นใยผ้าใบฉีกขาด ทำให้ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังบางลง เมื่อได้รับแรงหรือน้ำหนักกดลงมา จะโป่งพอง เกิดแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ที่มีระบบประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด (Sinu vertebral nerve) อยู่ จึงทำให้มีอาการปวดหลังขึ้น หรือถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูนไปทางด้านที่เป็นที่อยู่ของไขสันหลังและเส้นประสาท (Spinal canal & spinal nerve) เกิดการกดทับ ก็ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ (Roots pain) บางกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของเหลว ที่ช่วยดูดซับน้ำหนักที่มากระทำมากจนเกินกว่าที่กระดูกอ่อนที่ปิดด้านบนและด้านล่างของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Vertebral endplate) จะรับได้ เกิดการแตกร้าว ( schmoll’s node) กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายก็จะเกิดหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไปที่หมอนรองกระดูกสันหลังระดับนั้นๆ ทำให้รับรู้การปวดเจ็บจากน้ำหนักหรือแรงที่กดทับลงมาได้

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อน

เมื่อผู้ป่วยเจ็บ มีอาการปวดหลัง ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยแล้วว่าอาการปวดมีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยทั่วไปจะให้การรักษาตามลำดับดังนี้
-การรักษาด้วยการประคับประคอง คือ การบริหารยา นอนพัก กายภาพบำบัด และติดตามผลการรักษาว่า ก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าดีขึ้นหรือไม่เลวลง ก็จะเฝ้าติดตามดูอาการต่อไปเพราะอาจจะได้ผลดีต่อการรักษาด้วยการประคับประคอง ถ้าผลของการรักษา อาการทรุดลงกว่าเดิม มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดเวลาใช้งาน ปวดตามแนวเส้นประสาทเวลานอน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลี สูญเสียความรู้สึกสัมผัส ชา ไอจามกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ ก็จะพิจารณาตรวจค้นหารอยโรคเพิ่มด้วยการเอ็กซเรย์ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI. Spine) แล้ววางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
-การผ่าตัด ในปัจจุบันการวิวัฒนาการการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ก้าวหน้าไปมากทั้งอุปกรณ์เครื่องมือ วิธีการผ่าตัด ทำให้เกิดการเปลิ่ยนแปลงวิธีการรักษา และข้อบ่งชี้การผ่าตัดแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา เช่น
๑.การสลายหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในที่เป็นสารกึ่งเหลว เพื่อ ลดแรงดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ เช่น สารน้ำย่อยไคลโมปาเปน (Nucleolysis) สลายด้วยคลื่นความถี่สูง (RF. Nucleoplasty) เครื่องอุปกรณ์ดูดสารกึ่งเหลวหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในออก (A.P.L.D.) กล้องส่องเข้าภายในหมอนรองกระดูกสันหลังเอาส่วนกึ่งเหลวออก (Endoscopics dicsectomy)
๒.การผ่าตัดเปิดแผล เอาหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นสารกึ่งเหลวออก เช่น ผ่าด้วยกล้องจุลลทัศน์ (Microscopic dicsectomy) ผ่าตัดเปิดแผลเล็ก ( Minimal Invasive Surgery) ผ่าตัดเปิดแผลตามปรกติ (Conventional dicsectomy)
๓.การผ่าตัดสอดใส่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวทดแทน(Nucleus pulposus replacement)
๔.ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง (Total disc replacement)
๕.ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) ใช้โลหะช่วยยึด หรือไม่ใช้โลหะช่วยยึด
การผ่าตัดจะใช้วิธีใด ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป อีกทั้งประสพการณ์ของแพทย์ที่ให้การรักษาก็มีส่วนสำคัญ ที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย

ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังที่กระทำกัน โดยตัดเอาส่วนที่ยื่น หรือเคลื่อนไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท พร้อมกับส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวภายในออก ก็จะทำให้อาการปวดหลัง หรือปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทหายไป แต่จากการติดตามผู้ป่วยต่อไปในระยะยาว พบว่าจะเกิดการไม่มั่นคง (Unstable spines) ของกระดูกสันหลังส่วนนั้น จากการทรุดตัวลงของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนขอบนอก (Anulus fibrosus) ของหมอนในระดับที่ผ่าตัดไปเนื่องจากเมื่อผ่าตัดเอาสารกึ่งเหลวออกไปจะขาดแรงดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังระดับบน กับระดับล่างต่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดจะทรุดมาอยู่ชิดกัน ทำให้รูของเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังจะตีบแคบลง ( Lateral neural canal stenosis) เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสัน ที่ลอดผ่านออกมา ถูกกดทับ ก็จะกลับมามีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท คล้ายก่อนผ่าตัด อีกทั้งข้อด้านหลังของกระดูกสันหลัง (Facet joints) จะรับน้ำหนักมากขึ้น ข้อจะเสื่อมเร็วกว่าปรกติที่ควรจะเป็น จะทำให้เจ็บ ปวดหลังเวลาเปลี่ยนอริยะบท ก้ม เงย หรือบิดลำตัว การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังอันบนกับอันล่างของหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหาซึ่งอาจจะยึดตรึงด้วยโลหะแบบใดก็ตาม จะช่วยแก้ปัญหาการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดไปแล้วได้ แต่ปัญหาไม่ได้สิ้นสุดลงตรงเพียงนั้น ยังเกิดผลอื่นๆตามมาเช่น-
๑. กระบวนการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังของร่างกายถูกรบกวนจากการเชื่อมกระดูกสันหลัง
๒. หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนบน และส่วนล่างต่อระดับที่ผ่าตัดเชื่อมไปแล้ว ต้องรับแรง น้ำหนักมากขึ้น เป็นผลให้เสื่อมเร็วกว่าปรกติ ภายใน 5 ปีพบถึง 60%
๓. อาการปวดหลังยังคงอยู่หลังผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเชื่อม มักกระทำการเชื่อมด้านหลังอย่างเดียว (Posterior- Lateral fusion) จะไม่ได้ผ่าเอาเส้นประสาทรับรู้ความจ็บปวด (Sinu Vertebral nerve) ออกไปด้วยเพราะไม่ได้ผ่าตัดเชื่อม รอบ ๆ ๓๖๐ องศา ซึ่งต้องผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดที่ยาก และใช้เวลาการผ่าตัดนานมาก
๔. การเชื่อมกระดูกสันหลังไม่สามารถยกความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือระยะห่างของกระดูกสันหลังได้เท่ากับธรรมชาติ การกดระคายเคืองส้นประสาท (Nerve root) ยังคงมีอยู่ ยกเว้นการผ่าตัดที่ใช้โลหะยึดตรึง
๕.ในผู้สูงอายุ มักจะมีปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุน ไม่สามารถใช้โลหะยึดตรึงได้ เกิดปํญหา โลหะที่ยึดตรึง หัก หรือหลวมหลุดในสภาวะที่เกิดกระดูกพรุนหรือเชื่อมกระดูกสันหลังไม่ติด

หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม ได้กระทำกันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ ได้มีการทดลองและ มีการพัฒนาทั้งรูปแบบหมอนเทียม และวัสดุที่มาทดแทน จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๙จึงนำมาใช้กับผู้ป่วยเป็นครั้งแรกที่ ประเทศฝรั่งเศษ อีก ๑๐ ปีต่อมาจึงมีรายงานจากหมอ Ferstrom ใช้โลหะ สเตนเลส เป็นลูกกลมๆใส่เข้าไปทดแทนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของเหลว (Nucleus pulposus) ที่ผ่าออกไปกับผู้ป่วย ๒๕๐ ราย เป็นผลดีที่น่าพอใจ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เรี่มมีการใช้หมอนเทียมทดแทนทั้งหมด (Total disc replacement) ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปร่าง วัสดุ
พ.ศ. ๒๕๒๗ หมอ Schellnack และหมอ Buttner-Janz ได้ใช้หมอนเทียม มีชื่อ Charite ซึ่ง ยังต้องใช้หมอนรองกระดูกสันหลัง ส่วนนอก (anulus fibrosus) ช่วยในการให้ความมั่นคงของข้อเทียม (unconstrain) มาใช้กับผู้ป่วย จนปัจุบัน เป็นรุ่นที่ ๓ ผลการรักษาดี
พ.ศ. ๒๕๒๓ หมอ Marnay ได้ทำการทดลอง วิจัย ต่อมา หมอ Fick หมอ Lysell และหมอ Gonon ได้พัฒนาหมอนเทียม Semiconstraint ชื่อ Prodisc จนปัจจุบับเป็นแบบรุ่นที่๒
จากการวิจัย พัฒนา วิธีการผ่าตัด ตลอดจนเครื่องมือผ่าตัดทำให้การผ่าตัดได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่ำ แผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และเป็นการรักษาต้นเหตุของอาการ
๑. ผ่าตัดเอาส่วนที่สร้างปัญหาการเจ็บปวด (Pain generator) ออกไป
๒. กระดูกสันหลังระดับบนและระดับล่างต่อการผ่าตัด ยังมีการเคลื่อนไหวตามปรกติ(Preserve spinal unit motion) ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนอื่นไม่ต้องรับน้ำหนัก ทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าปรกติ
๓. คงความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังใกล้เคียงธรรมชาติ ทำให้ช่ องเส้นประสาท (Lateral neural canal) กว้าง ไม่กดทับหรือระคายเคืองเส้นประสาท
๔. ข้อกระดูกสันหลัง ( Facet joints) ไม่ทำงานหนักมากกว่าปรกติ จึงไม่เสื่อมเร็วกว่าปรกติ
๕. การผ่าตัดไม่ได้รบกวนต่อไขสันหลังและเส้นประสาท ไม่เกิดเนื้อเยื่อพังผืดรัดเส้นประสาท ไม่ตัดเลาะกล้ามเนื้อหลังความแข็งแรงกล้ามเนื้อยังคงเดิม

ที่มา : //www.ram-hosp.co.th//www.ram-hosp.co.th












Create Date : 07 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2551 11:21:55 น. 1 comments
Counter : 1362 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:15:49:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com