นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
เมื่อต้อง...ตรวจระดับการได้ยิน




เมื่อต้อง...ตรวจระดับการได้ยิน

โดยปกติแล้วระดับการได้ยินของคนปกติจะอยู่ระหว่าง -10ถึง 25เดซิเบล ผู้ที่มีระดับการได้ยินสูงกว่านี้ ถือว่ามีความผิดปกติของระดับการได้ยิน โดยแบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับการได้ยิน  ความผิดปกติ  (เดซิเบล)

       -10ถึง 25การได้ยินปกติ

       26ถึง 40หูตึงเล็กน้อย

       41ถึง 55หูตึงปานกลาง

       56ถึง 70หูตึงมาก

       70ถึง 90หูตึงอย่างรุนแรง

       มากกว่า 90หูหนวก

สำหรับการทดสอบหาระดับการได้ยิน (Pure tone audiogram) จะตรวจผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ (Air conduction)ทดสอบโดยการครอบหูฟัง และการนำเสียงผ่านกระดูก (Bone conduction) ทดสอบโดยการวางตัวปล่อยเสียงที่กระดูกกกหู Mastoid จากนั้นจะปล่อยเสียงความถี่เดียว (pure tone)ที่ระดับความดังต่างๆ แล้วลดระดับลงเรื่อยๆ จนถึงระดับความดังที่เบาที่สุดที่ผู้ถูกทดสอบได้ยิน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบระดับการได้ยินด้วยวิธีอื่นๆ อีก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

เมื่อได้รับผลการตรวจเบื้องต้น แพทย์จะนำผลที่ได้มาประกอบการวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีความสูญเสียการได้ยินประเภทใด ซึ่งโดยทั่วไปอาจแบ่งได้ดังนี้

1.สูญเสียการได้ยินเฉพาะการนำเสียงผ่านอากาศ (Conductive hearingloss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง แต่หูชั้นในและระบบประสาทการได้ยินยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยจะพบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล

2.สูญเสียการได้ยินที่โสตประสาท(Sensorineural hearingloss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นในหรือระบบประสาทการได้ยิน พบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกและการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล โดยทั้งสองเส้นของระดับการได้ยินจะไม่ห่างกันเกิน 15 เดซิเบล

3.สูญเสียการได้ยินแบบผสม(Mixed hearing loss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง ร่วมกับการสูญเสียความสามารถของหูชั้นในและระบบประสาทการได้ยิน พบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกและการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล แต่ทั้งสองเส้นห่างกันมากกว่า 15 เดซิเบล แสดงว่าการนำเสียงผ่านอากาศแย่กว่าการนำเสียงผ่านกระดูก

ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียการได้ยินประเภทใด จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ซึ่งบางครั้งอาจรักษาได้ด้วยยา หรือการผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง รวมถึงได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก: เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ 


สายด่วนสุขภาพ 0-2743-9999




Create Date : 15 มีนาคม 2556
Last Update : 15 มีนาคม 2556 10:11:46 น. 1 comments
Counter : 2013 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:25:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com