นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
นวัตกรรมรักษาแผลเบาหวานที่เท้าโดยไม่ต้องผ่าตัด

นวัตกรรม รักษาแผลเบาหวานที่เท้าโดยไม่ต้องผ่าตัด
“ หากคุณตรวจพบว่ามีปัญหาหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันอย่านิ่งนอนใจ
เพราะนั่นอาจนำมาซึ่งความสูญเสียกับตัวคุณ และขาของคุณ
หากคุณเป็นเบาหวานและมีแผลที่เท้า ยังมีวิธีการอีกมากมายที่ช่วยคุณได้
ให้โอกาสกับตัวคุณและขาของคุณสักนิดก่อนที่คุณจะตัดสินใจตัดขา”

ผู้เป็นเบาหวานประมาณร้อยละ 15 จะเกิดแผลที่เท้า และร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขา
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 จะมีผู้เป็นเบาหวานประมาณ 2.1 ล้านคน และจะมีผู้ที่ ถูกตัดเท้าถึง 27,300 คน หรือประมาณ 3-4 คนต่อวัน...
* สัญญาณเตือน...
• ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
• สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
• คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
• เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
• เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
• แผลเรื้อรังที่เท้า
• เล็บหนาตัว
• หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว
จะมีอาการอย่างไร ?
ระยะแรก : อาจไม่มีอาการใดๆ เมื่อมีการตีบตันมากขึ้นจะเริ่มมีปัญหาการปวดที่ขาเวลาเดินได้ซักระยะหนึ่งจนจำเป็นต้องหยุดพัก
ระยะต่อมา: การตีบตันเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลงเพราะความปวด อาจมีแผลเกิดขึ้นซึ่งแผลรักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติ จนไปถึงนิ้วเท้าดำ ตาย เสียขาได้
มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไม่มีอาการปวดขาใดๆ เลยจนกระทั่ง เกิดแผลไม่หาย หรือ นิ้วเท้าดำตาย ซึ่งโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว
จะรู้ได้อย่างไร ?
ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ เช่น
มีอาการปวดชาที่ขาเวลาเดิน หรือ
มีแผลที่เท้าเกิดขึ้นนานกว่าสองสัปดาห์
นอกจากประวัติและตรวจร่างกาย
ซึ่งจำเป็นต้องทำในทุกรายแล้วยังมี
การตรวจคัดกรองด้วยการวัดความดัน
เทียบระหว่างขากับแขน ที่เรียกว่า
Ankle-Brachial Index หรือ ABI
ซึ่งสามารถบอกได้คร่าวๆ
ว่าผู้ป่วยมีภาวะนี้ซ่อนอยู่หรือไม่
โดยเฉพาะในรายที่อาการไม่แน่ชัด
หรือไม่มีอาการ
ทำไมถึงต้องรักษา ?
ผู้ป่วยเบาหวานนอกจากมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ขาตีบตันแล้ว ตัวโรคเบาหวานเองยังทำให้เท้าชาอีกด้วย เมื่อเกิดแผลที่เท้า ก็มักถูกปล่อยปละละเลย เพราะแผลไม่เจ็บปวด จนทำให้แผลลุกลาม
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แผลอาจจะลุกลาม มีการติดเชื้อจนถึงขนาดต้องตัดขา บางรายมีการติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การตัดนิ้วเท้าหรือ ตัดเนื้อตายเพียงอย่างเดียว มักไม่ทำให้แผลหาย แต่กลับยิ่งทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ถึงขั้นเสียขาได้ ดังนั้นโรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจึงจะหายและรักษาขาไว้ได้
รักษาอย่างไร ?
เทคโนโลยีการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า
การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดตีบตัน มีหลายวิธี ผู้ป่วยที่การตีบตันเพียงเล็กน้อย อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยารักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพมากขึ้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่มากขึ้น เช่นการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด การผ่าตัดตัดต่อ bypass เส้นเลือดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาได้ ปัจจุบันวิทยาการด้านการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดรุดหน้าไปมาก จากเดิมทำได้เพียงขยายหลอดเลือดที่ตีบเป็นความยาวสั้นๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำได้แม้ในผู้ป่วยที่มีการตันของหลอดเลือดที่มีระยะทางยาวๆ ได้ จนทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
ข้อดีของการรักษาด้วยการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด
การสอดสายสวนขยายหลอดเลือดมีข้อดีมากมาย เช่น ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลเกิดขึ้น มีเพียงรูเข็มเล็กๆที่ผิวหนังบริเวณที่เจาะเท่านั้น เจ็บเพียงเล็กน้อยคล้ายการเจาะเลือด ไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาสลบเพียงแค่ฉีดยาชาบริเวณตำแหน่งที่จะเจาะหลอดเลือดเท่านั้นก็สามารถทำได้ หลังจากทำผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น ไม่ต้องนอนรพ.นานเป็นสัปดาห์เหมือนผ่าตัด สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการผ่าตัด

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย รพ.รามคำแหง
//www.ram-hosp.co.th



Create Date : 15 มีนาคม 2553
Last Update : 15 มีนาคม 2553 9:35:18 น. 3 comments
Counter : 1443 Pageviews.  
 
 
 
 
ดีค่ะ
 
 

โดย: มิ้น IP: 114.128.199.235 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:15:27:44 น.  

 
 
 
ดีค่ะ
 
 

โดย: มิ้น IP: 114.128.199.235 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:15:27:45 น.  

 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:00:52 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com