นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ถนอมดวงตาอย่างไรให้ใช้ได้ยาวนาน





ถนอมดวงตาอย่างไรให้ใช้ได้ยาวนาน

ทุกคนย่อมอยากมีสายตาที่มองเห็นแจ่มชัดไปจนตลอดอายุขัยแต่ด้วยความเสื่อมของร่างกายที่มาพร้อมกับวัยที่มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง สายตาเริ่มขุ่นมัวไปตามอายุการดูแลสุขภาพตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ดวงตามีสุขภาพแข็งแรงและใช้งานได้อย่างปกตินานที่สุดซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยสูงอายุ ดังนี้

วัยเด็ก

- สำหรับเด็กแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยและต้องอยู่ในตู้อบให้ออกซิเจน จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อประเมินโรคเส้นเลือดเติบโตผิดปกติที่จอประสาทตา (Retinopathy ofprematurity : ROP) ซึ่งหากเกิดขึ้น ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัด ไม่เช่นนั้น อาจมีภาวะแทรกซ้อนจนถึงตาบอดได้

- เด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ถ้าหากยังไม่มองหน้าแม่หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คล้ายมองไม่เห็น ต้องได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์

- เด็กในวัยเข้าเรียน ที่ดูหนังสือหรือโทรทัศน์ใกล้มากผิดปกติเอียงคอมอง หยีตามอง กระพริบตาบ่อย อาจมีปัญหาทางสายตาสั้น ยาว เอียงหรือสาเหตุอื่น สมควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์

วัยทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ

- ควรพักสายตาโดยมองไกลประมาณ 5 - 10 นาที ต่อการทำงานคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการเพ่งของสายตาจะช่วยคลายการปวดเมื่อยล้าตาและอาการตาแห้งได้

- ด้านหลังจอคอมพิวเตอร์ไม่ควรมีแสงสว่างมาก เพราะจะรบกวนการมองจอคอมพิวเตอร์เช่น ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ของเราหันหลังให้กับหน้าต่าง

- ศีรษะของเราควรอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์เล็กน้อยจะได้ไม่ต้องเงยหน้ามองจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เมื่อยล้าได้ง่ายหรืออย่างน้อยไม่ควรอยู่ต่ำกว่าจอแสดงผล

- ถ้ามีอาการตาแห้ง เช่น แสบเคืองตา ให้กระพริบตาบ่อยขึ้นเพื่อกวาดน้ำตามาเคลือบผิวตาหรือพักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ ถ้ายังมีอาการมากการใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการได้

- ผู้ที่มีปัญหาทางสายตา อาจทำให้ปวดเมื่อยล้าตาง่าย เช่นคนสายตาเอียง หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีปัญหาเวลามองใกล้การใส่แว่นตาที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาได้


วัยผู้ใหญ่อายุ40 ปีขึ้นไป

- ควรตรวจวัดความดันลูกตาอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจหาต้อหินโดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน เพราะบางคนอาจเป็นต้อหินโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษาเป็นเวลานานจะทำให้สายตาเสื่อมลงหรือบอดได้และภาวะตาบอดจากต้อหินนั้นไม่สามารถรักษาให้สายตากลับมามองเห็นได้

- ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวานควรตรวจจอประสาทตาเพื่อดูว่ามีเบาหวานขึ้นตาหรือไม่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่สำคัญคือควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้ดี

- ต้อกระจก พบได้ตั้งแต่อายุ 50 - 60 ปีขึ้นไป รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมทำให้การมองเห็นกลับมาใกล้เคียงหรือเหมือนปกติได้

- โรคจุดรับภาพเสื่อม ปัจจุบันมีการรักษาใหม่ๆ เช่นการฉีดยาชะลอการเกิดใหม่ของเส้นเลือดการตรวจพบโดยจักษุแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกของโรคจะช่วยรักษาการมองเห็นไว้ได้ดีกว่าเดิมมาก

ข้อควรปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพตาให้ดี

- หมั่นตรวจตาเป็นประจำโดยจักษุแพทย์ในเด็กควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยในช่วง 3 - 5 ปีก่อนเข้าโรงเรียนและรับการตรวจเป็นประจำเมื่อมีปัญหาเรื่องสายตา ผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง ส่วนในผู้ที่มีความเสี่ยงเฉพาะโรคตา เช่น โรคเบาหวาน หรือมีประวัติโรคตาในครอบครัวเช่น ต้อหิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาบ่อยขึ้นตามแพทย์นัด

- สวมแว่นกันแดดเป็นประจำเมื่อออกแดดหรือต้องใช้สายตาในที่มีแสงมาก เพื่อป้องกันโรคต้อเนื้อ ต้อกระจก จอรับภาพเสื่อม

- สวมแว่นป้องกันการกระแทกที่ได้มาตรฐาน สำหรับผู้ทำงานที่มีความเสี่ยงเช่น ช่างเชื่อมโลหะ ช่างไม้ ผู้เล่นกีฬา




 ที่มา :
หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

 





Create Date : 26 มีนาคม 2556
Last Update : 26 มีนาคม 2556 10:25:24 น. 2 comments
Counter : 1587 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณค่ะ
 
 

โดย: VELEZ วันที่: 26 มีนาคม 2556 เวลา:12:57:00 น.  

 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:28:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com