นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

หลอดเลือดสมองโป่งพอง ไม่แสดงอาการแต่ร้ายแรงถึงชีวิต


หลอดเลือดสมองโป่งพอง เกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดบางตำแหน่งที่เปราะบางลง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากในเลือดมีความดันของเลือดอยู่แล้ว เมื่อเลือดไหลเวียนไปยังหลอดเลือดที่เปราะบาง ก็จะดันทำให้หลอดเลือดนั้นโป่งพองออก และอาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกได้

📌 ความน่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง คือผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจภาพสมองจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองกรณีมีอุบัติเหตุที่สมอง แต่บางรายอาจมีอาการปวดหัวรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นแบบทันทีทันใด ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยหรือญาติไม่คิดว่าเป็นอาการรุนแรง ทำให้ไปพบแพทย์ช้าจนเส้นเลือดสมองแตก ซึ่งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

แม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองจะไม่แสดงอาการชัดเจน แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อายุที่มากขึ้น โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุศีรษะกระแทกอย่างรุนแรง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถทำได้โดยการผ่าตัดสมอง เพื่อปิดซ่อมผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง หรือใช้คลิปหนีบหลอดเลือดที่โป่งพอง หรือใส่ขดลวดเข้าไปปิดหลอดเลือดที่โป่งพอง รวมทั้งการผ่าตัดเอาก้อนเลือดในเนื้อสมองออก ระยะเวลาการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากทำการรักษาเร็ว โอกาสที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติก็จะมีมากขึ้นตามมาด้วยครับ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิฉัยอย่างละเอียดและรักษาอย่างถูกวิธีดีกว่าครับ




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 24 พฤษภาคม 2562 9:57:12 น.   
Counter : 1645 Pageviews.  


อาการแบบไหนที่ใช่ โรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสารโดพามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวขึ้นได้ มักพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

โรคพาร์กินสันส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางคนอาจไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และจำเป็นต้องมีคนคอยดูแล เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้

📌 อ่อนแรง

📌 สั่น

📌 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง

📌 เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นได้เช่น ท้องผูก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเวลานอนจนทำให้นอนไม่หลับ หรืออาการท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิต จนอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ใช้วิธีการรักษาเป็นแบบควบคุมประคับประคองอาการ ด้วยการทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไปครับ




 

Create Date : 23 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 23 พฤษภาคม 2562 10:13:45 น.   
Counter : 1920 Pageviews.  


อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ หลังบาดเจ็บที่ศีรษะ


การบาดเจ็บที่ศีรษะไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น หกล้มศีรษะกระแทกพื้น วัตถุหล่นใส่ศีรษะ ถูกตีที่ศีรษะ เดินชนประตู ฯลฯ ซึ่งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนี้อาจมีผลกระทบต่อสมองตามมาได้

การให้ความสำคัญในการสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามหากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเพื่อป้องกันอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้

หากมีอาการผิดปกติตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ขอให้รีบไปแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา

✔️ ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือไม่รู้สึกตัว หมดสติ

✔️ กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก 

✔️ กำลังของแขนและขาลดน้อยลงกว่าเดิม

✔️ ชีพจรเต้นช้ามาก หรือมีไข้สูง

✔️ คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง

✔️ ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา

✔️ มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสๆ ออกทางหู หรือทางจมูก 

✔️ วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่ามัว ปวดตุ๊บๆ ในลูกตา

คนที่เมาสุรา มีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติหรืออายุเกิน 60 ปี แม้จะได้รับการกระทบกระแทกที่ศีรษะไม่รุนแรง แต่ก็ควรไปพบแพทย์ ส่วนคนที่มีการหมดสติหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะแม้จะเพียงแค่ชั่วขณะเดียว ก็แสดงว่าสมองได้รับการกระทบกระเทือน จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเช่นเดียวกันครับ




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 4 มิถุนายน 2562 9:53:26 น.   
Counter : 1639 Pageviews.  


ปวดหัวอย่างไร? ให้ระวังเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมอง เกิดจากการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ในสมอง หรือบริเวณเนื้อเยื่อและต่อมต่างๆ บริเวณใกล้เคียงกับสมอง มีทั้งชนิดที่เป็นเนื้อร้ายและไม่ใช่เนื้อร้าย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเนื้องอกมีได้หลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ การได้รับรังสีอันตรายหรือสารเคมีบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายไปยังสมอง

อาการของเนื้องอกสมอง ทั้งเนื้องอกธรรมดาและเนื้อร้าย จะมีอาการแสดงโดยทั่วไปคล้ายกัน เช่น ปวดศีรษะตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรงมาก และปวดแบบเป็นๆ หายๆ ส่วนใหญ่จะเกิดตอนเช้าหลังตื่นนอน เนื่องจากหลอดเลือดสมองถูกกด หรือถูกดึงรั้งจากเนื้องอก อาการคลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบายในท้อง และมักมีอาการตอนเช้า นอกจากนี้ยังมีอาการที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้องอกนั้นๆ ด้วย เช่น

1. เนื้องอกต่อมใต้สมอง จะมีอาการตามัว เห็นภาพซ้อน และระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายมีความผิดปกติ

2. เนื้องอกบริเวณสมองน้อย จะมีอาการเดินเซ ใช้เวลาหยิบของที่อยู่ตรงหน้าหลายครั้งจึงจะหยิบถูก มีเสียงดังในหู วิงเวียน บ้านหมุน

3. เนื้องอกบริเวณก้านสมอง จะมีอาการอาเจียน กลืนลำบาก หน้าเป็นอัมพาตข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มองตาขึ้นข้างบนไม่ได้

4. เนื้องอกบริเวณโพรงสมอง จะมีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น ปัสสาวะปริมาณมาก ง่วงเหงาหาวนอน และหากไม่ได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสมจะทำให้มีความดันในกะโหลกศีรษะ สูงสมองเคลื่อน ไม่รู้สึกตัว และถึงขั้นเสียชีวิตได้

ปัจจุบันการรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด ฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาจากอาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของเนื้องอก และขนาดของเนื้องอก

📌 ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาการอ่อนแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรืออาการชัก ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 17 พฤษภาคม 2562 9:29:21 น.   
Counter : 2034 Pageviews.  


6 ข้อชะลอป้องกันสมองเสื่อม


แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมให้หายขาดได้ แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมของสมองของเราได้ตั้งแต่ตอนนี้ ด้วย 6 วิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ... ✏️

1. การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ หรือกระตุ้นการคิดอ่าน ความจำ เช่น การเล่นเกมลับสมอง ฝึกคำนวณตัวเลข ฯลฯ

2. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงวันละ 20 – 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์

3. เลือกทานอาหารที่บำรุงสมอง เช่น ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และปลา ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน สารอาหาร เกลือแร่ที่บำรุงสมอง 

4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ด้วยการพบปะ พูดคุย เข้าสังคม พบเจอเพื่อนใหม่ๆ ไม่เก็บตัวเงียบอยู่คนเดียว 

5.ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมัน ให้ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอร์ หลีกเลี่ยงสารเสพติด

6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน และไม่เคร่งเครียดจนเกินไป

เราไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมของสมองตามธรรมชาติได้ การป้องกันในสิ่งที่ทำได้ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ด้วยการดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่ตอนนี้กันเถอะครับ




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 4 มิถุนายน 2562 9:54:29 น.   
Counter : 1541 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com