นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

เป็นเบาหวานให้หมั่นสังเกต อาการเท้าชา มือชา ภาวะแทรกซ้อนน่าเป็นห่วง

 


พญ.อริยา ทิมา อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา รพ.รามคำแหง ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัญหาอาการแทรกซ้อนของโรคภัยไข้เจ็บที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน  โดยครอบคลุมถึงปัญหาอาการต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมิใช่จะก่อให้เกิดความกังวลใจแก่ตัวผู้ป่วยเท่านั้น  หากแต่คนใกล้ชิดในครอบครัวที่ต้องดูแลก็พลอยห่วงใยไปด้วย  เพราะเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ อันตรายจากการเกิดโรคแทรกซ้อนมักจะรุนแรงมาก  ทั้งนี้ พญ.อริยา  ทิมา เผยว่า  
“โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งโรคนี้มีอยู่สองชนิด  ชนิดที่ 1คือ เบาหวานอายุน้อย  จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน  แบบที่ 2 คือ อ้วนลงพุง  ไม่สามารถเอาอินซูลินไปใช้ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งสองชนิดเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตัน ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาก็จะเริ่มจากเส้นเลือดฝอยที่อยู่ไกลสุด  นั่นคือเส้นประสาทที่เท้าทำให้เกิดลักษณะเฉพาะคืออาการชาที่เกิดจากเบาหวาน มักเป็นจากเส้นเลือดฝอยก่อน”

ดังนั้น ผู้ป่วยรวมทั้งผู้ใกล้ชิดที่ต้องดูแลจึงควรมีข้อมูลและต้องสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับระบบประสาทของผู้ป่วย  เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ถึงความผิดปกติ  เช่น การสูญเสียการรับความรู้สึก ที่อาจเริ่มจากชาตามปลายนิ้วและลุกลามต่อไปยังส่วนอื่น  ซึ่งจะแตกต่างกับอาการที่เกิดกับคนทั่วไป  เช่น ผังผืดกดทับเส้นประสาท  เมื่อต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆหรือเวลานั่งขัดสมาธิไหว้พระ เวลานานแล้วรู้สึกยกข้อเท้าไม่ได้นั้นเป็นผลจากการที่เลือดมาเลี้ยงเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับได้ไม่พอ  ส่วนอาการชาที่เกิดกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเกิดมากกว่าคนทั่วไปเส้นประสาทไม่ได้ถูกกดทับคือ เกิดขึ้นแม้จะอยู่เฉยๆก็อาจมีอาการชาเกิดขึ้นจากปลายเท้าแล้วเลื่อนขึ้นมาเรื่อยๆ

ยิ่งกว่านั้นถึงแม้ร่างกายของผู้ป่วนส่วนที่สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกได้สัมผัสกับของร้อนหรือเย็น  หรือแม้กระทั่งได้รับบาดแผลก็จะทำให้เจ้าตัวเกิดความรู้สึก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ “เท้า”ซึ่งหากประสาทการรับรู้ที่เท้าสูญเสียไปแล้วจะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเมื่อเดินไปเหยียบตะปูหรือของมีคม ที่สำคัญคือแผลของผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้ากว่าคนปกติ  หากได้รับการดูแลไม่ดีอาจทำให้เกิดการลุกลามจนอักเสบและติดเชื้อได้

พญ.อริยา ทิมา  ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโดยปกติแล้วหากควบคุมอาการอยู่ก็ไม่เกิดปัญหา แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ เบาหวานเป็นจุดเริ่มของโรคแทรกซ้อนที่อันตรายมากดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรให้ความสำคัญในการควบคุมอาการของโรค  และระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีเพราะหากเกิดการผิดพลาดตรงจุดนี้ จะทำให้โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรคโรคตามมาดังเช่นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทซึ่งจะส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้  เช่น รู้สึกชาหรือปวดแสบ ปวดร้อนตามปลายมือซึ่งหากมีแผลแล้วผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวและไม่ดูแลแผลดังกล่าว  ประกอบกับการมีน้ำตาลในเลือดสูงจึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค ทำให้แผลเน่าจนนำไปสู่การถูกตัดอวัยวะในที่สุด  สำหรับในรายผู้ป่วยชาย อาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในระยะต่อไป



สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16






 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2557   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 10:57:21 น.   
Counter : 2013 Pageviews.  


ภาพบรรยากาศงานสัมมนา ทำอย่างไร? เมื่อหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (AF)


ภาพบรรยากาศ งานสัมมนา "ทำอย่างไร? เมื่อหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (AF) "
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมอาคาร 
C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง โดยที่งานสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ภายในงานยังมีบริการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดความดันตาอัตโนมัติชนิดไม่สัมผัส มีการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว ด้วยเครื่อง EKG ไว้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย  ต้องขอขอบพระคุณ รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยาให้ความรู้

ประวัติท่านวิทยากร
จบแพทยศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พศ.2530 หลังจากนั้นได้ไปทำงานใช้ทุนให้รัฐบาลอยู่ 3 ปี หลังจากนั้นได้รับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนได้รับวุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์ในปี พศ. 2536 และสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจในปี พศ. 2538 

หลังจบเป็นผู้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจแล้ว ได้มีโอกาสไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมทางด้านโรคหัวใจที่ Johns Hopkins University, school of Medicine, เมือง Baltimore, ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พศ. 2538-2539 

ด้วยความรู้ความสนใจในด้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งในขณะนั้นในประเทศไทยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้น้อยมาก ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมทางด้าน cardiac electrophysiology ที่ University of Southern California, เมือง Los Angeles, ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ Electrophysiology Research Institute, University of Oklahoma, ประเทศสหรัฐอเมริกา
ระหว่างปี 
พศ. 2543-2544 

หลังจากนั้นได้กลับเข้ารับการบรรจุเข้าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และเป็นอาจารย์พิเศษ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ด้วยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ทางการรักษา การเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  นพ.บัญชาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์พิเศษ ของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี พศ. 2556 และในปี พศ. 2557 นี้ ได้รับประกาศนียบัตร FHRS ซึ่งมอบให้โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจเต้นผิดปกติของสหรํฐอเมริกา ในฐานะที่มีความรู้ความชำนาญและมีผลงานวิจัยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล



สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16

www.ram-hosp.co.th




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2557   
Last Update : 2 กรกฎาคม 2557 14:38:52 น.   
Counter : 1567 Pageviews.  


ภาพงาน อบรมทางวิชาการเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ศูนย์โรคหัวใจ และคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะโรงพยาบาลรามคำแหง ตระหนักถึง

ความสำคัญในการพัฒนาทีมบุคลากรพยาบาลให้มีความรู้ ความสามารถ และ

ทักษะ
ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงได้จัดการอบรมทางวิชาการเรื่อง

“ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
ขึ้นให้กับบุคลากรพยาบาลทั่ว

ประเทศ เพื่อให้พยาบาลที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ
ให้การ

ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัย

จากการดูแลรักษาพยาบาล
วิทยากรโดยมี รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทกุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และทีมบุคลากรพยาบาล

จาก
โรงพยาบาลรามคำแหง มีพยาบาลผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมาก

รุ่นที่ 1 วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2557









สายด่วนสุขภาพโทร 0-274-9999, 0-2374-0200-16




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2557   
Last Update : 2 กรกฎาคม 2557 9:46:10 น.   
Counter : 1185 Pageviews.  


พิธีเปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ รพ.รามคำแหง


พิธีเปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ณ อาคารซี ชั้น 4โรงพยาบาลรามคำแหง 

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 โดย นพ.รัชช  สมบูรณสิน ประธานกรรมการ

บริหารและคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลรามคำแหง โดยมี 
นพ.วิชัย ศรีมนัส,

รศ.นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิมและรศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล ให้การต้อนรับ

แขกผู้มีเกียรติ-สื่อมวลชนที่มาร่วมงาน












สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2557   
Last Update : 24 มิถุนายน 2557 10:39:25 น.   
Counter : 2465 Pageviews.  


ภาพงานบริจาคโลหิต ครั้งที่ 6

ภาพงานบริจาคโลหิต ธารน้ำใจที่แท้จริง ครั้งที่ 6 โดย รพ.รามคำแหง ร่วมกับ 

สภากาชาดไทย วันจันทร์ ที่ 16 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมอาคาร C ชั้น 10 

 รพ.รามคำแหง ขอบคุณผู้ใจบุญทุกท่านที่เสียสละเวลามาร่วมบริจาคโลหิต 

ยอดผู้บริจาคโลหิตทั้งหมด 210 ท่าน โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาคจากท่าน

สภากาชาดไทยจะนำไปใช้
ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศค่ะ

 













 

Create Date : 23 มิถุนายน 2557   
Last Update : 23 มิถุนายน 2557 13:40:44 น.   
Counter : 1531 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com