นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

เมื่อรับเชื้อ COVID-19 เข้าไปแล้วจะป่วยทุกคนหรือไม่?


โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่รับเชื้อและมีการติดเชื้อ กว่า 80%มักจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือไอ คล้ายกับเป็นไข้หวัด จะมีผู้ป่วยประมาณ 20%ที่มีอาการป่วยและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
 
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคอ้วน
 

COVID-19
  • มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาติดกันหลายวัน
  • ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มีอาการเจ็บคอขณะกลืนอาหารหรือพูดคุย
  • บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อต่อ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
  • เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หายใจถี่เร็วจากภาวะปอดบวม
  • แน่นหน้าอก และต้องพยายามหายใจอย่างหนัก
  • เกิดพังผืด และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด โดยมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

ไข้หวัดทั่วไป
  • มีไข้ต่ำๆ แต่จะดีขึ้นใน 3-4 วัน
  • ไอ จาม มีน้ำมูกไหล และคัดจมูกเล็กน้อย จะดีขึ้นใน 3-4 วัน
  • ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย
  • คัดจมูก หายใจไม่สะดวก เนื่องจากมีน้ำมูก
 
ดังนั้นใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรืออยู่ใกล้ชิดผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง ควรสังเกตอาการอย่างละเอียดและรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไข้สูงต่อเนื่องหลายวันครับ




 

Create Date : 17 เมษายน 2563   
Last Update : 17 เมษายน 2563 10:58:43 น.   
Counter : 490 Pageviews.  


5 item แนะนำที่ต้องมีติดตัวไว้ก่อนออกจากบ้าน


ชั่วโมงนี้นอกจากของใช้จำเป็นต่างๆ ที่เราพกไว้ในกระเป๋าเป็นประจำอยู่แล้ว ยังมีไอเทมพิเศษอื่นๆ อีก ที่อยากให้ทุกคนพกติดตัวไว้ในกระเป๋า เพราะความสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้เลยก็ว่าได้

แล้วมีไอเทมพิเศษอะไรบ้าง?...ที่เราควรต้องมีติดตัวไว้ก่อนออกจากบ้าน (พกไว้อุ่นใจแน่นอนครับ)
  1. เจลแอลกอฮอล์(แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป) มือเป็นสิ่งแรกที่ต้องสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ ตั้งแต่กุญแจ ลูกบิดประตูบ้าน ประตูห้องน้ำสาธารณะ ราวจับบนรถโดยสารประจำทาง หรืออื่นๆ ฉะนั้นวิธีทำความสะอาดมือที่ง่ายที่สุดคือ เจลแอลกอฮอล์ โดยถูให้ทั่วมือทั้งสองข้างหน้ามือและหลังมือ ปล่อยไว้ให้แห้งประมาณ 20 วินาที และควรใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
     
  2. สเปรย์แอลกอฮอล์(แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป) มีไว้ปลอดภัยกว่า ไม่ว่าจะเข้าห้องน้ำ จับสิ่งของสาธารณะ หรือสิ่งของส่วนตัวที่ใช้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่เราใช้เป็นประจำ ก็ควรหยิบขึ้นมาฉีดสเปรย์ทำความสักหน่อยนะครับ
     
  3. ทิชชู่เปียก / ทิชชู่แห้ง  เอาไว้เช็ดทำความสะอาดไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือสิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้ หรือสัมผัส อาจจะเป็นโต๊ะทานอาหารสาธารณะ มือถือ หรือเอาไว้ทำความสะอาดมือก่อนรับประทานอาหาร
     
  4. mask สำรองแน่นอนว่าทุกวันนี้ไม่ว่าจะไปไหน เราก็ต้องใส่ mask ออกจากบ้านตลอด แต่ใครจะไปรู้ว่าบางวันอาจเกิดสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยน mask กระทันหันหรือให้ mask กับคนอื่น พกติดตัวเผื่อไว้ดีกว่าครับ และควรเก็บไว้ในซองที่สะอาด ห้ามหยิบแล้วยัดใส่กระเป๋ารวมกับสิ่งของอื่นๆ เด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่สะอาดแล้ว ยังสะสมเชื้อโรคหนักเข้าไปอีก
     
  5. ถุง Ziplock ขนาดเล็ก สำหรับใส่หน้ากากที่ใช้แล้ว เพราะหน้ากากที่ใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้อ ดังนั้นเราควรทิ้งให้ถูกที่ เพื่อง่ายต่อการนำไปกำจัดที่ถูกต้องต่อไปครับ
เพื่อความสะอาดและปลอดภัย พกอย่างเดียวไม่ได้ต้องใช้ด้วยนะครับ




 

Create Date : 15 เมษายน 2563   
Last Update : 15 เมษายน 2563 10:29:19 น.   
Counter : 380 Pageviews.  


ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน



 
เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนสามารถช่วยกันได้คือการ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามประกาศของรัฐบาล เพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หรือลดการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น
 
แต่สำหรับใครที่มีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อซื้อของกินของใช้ หรือออกไปทำธุระสำคัญต่างๆในช่วงนี้ จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ให้ได้มากที่สุด มาดูกันครับ

เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
  • วางแผนก่อนออกจากบ้าน โดยทำรายการกิจกรรมที่ต้องออกไปทำ เช่น สถานที่ที่ต้องไป ของที่ต้องซื้อ
  • วัดอุณหภูมิร่างกายก่อนออกจากบ้าน
  • สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้าน ไม่สวมนาฬิกา เครื่องประดับ เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  • พกเจลล้างมือหรือสเปย์แอลกอฮอล์ ติดตัวไปด้วย
  • ไม่เอามือสัมผัสตา จมูก ปาก หรือใบหน้า เด็ดขาด
  • สวมชุดคลุม หากผมยาวควรใส่หมวก
  • หากไปซื้อของ ให้เลือกเวลาและสถานที่ที่คนไปน้อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์
  • รักษาระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร
  • รีบไปรีบกลับ
เมื่อกลับมาถึงบ้าน
  • ทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคภายในรถด้วยสเปย์แอลกอฮอล์ ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนเปิดประตู
  • ถอดรองเท้าไว้นอกบ้าน ไม่ใส่เข้าบ้านโดยเด็ดขาด
  • หากสวมชุดคลุมให้แขวนไว้นอกบ้าน
  • ทิ้งหน้ากากอนามัยในถังที่ปิดมิดชิด
  • หากใส่หน้ากากผ้า ต้องซักทำความสะอาดทันที ตากแดดให้แห้ง
  • ไม่นั่งเก้าอี้หรือโซฟาในบ้านก่อนอาบน้ำ
  • ทำความสะอาดกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ กุญแจ หรือของอื่นๆ ด้วยการฉีดพ่นสเปย์แอลกอฮอล์
  • ถอดเสื้อผ้าแยกจากเสื้อผ้าที่ใส่ในบ้าน เพื่อแยกซัก
  • อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่
หากทำได้ตามนี้ทุกครั้งที่ออกไปนอกบ้านเราจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 น้อยมากเลยนะครับ ดูแลตัวเองให้ดีๆ กันด้วยนะครับ
 




 

Create Date : 10 เมษายน 2563   
Last Update : 10 เมษายน 2563 10:55:39 น.   
Counter : 575 Pageviews.  


ใช้ชีวิตอย่างไร? ให้ห่างไกล COVID-19


ชั่วโมงนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเชื้อ COVID-19 หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ จึงอยากจะมาย้ำเตือน ให้ทุกคนเฝ้าระวัง หมั่นสังเกตอาการ เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และจะได้ไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

วิธีสังเกตอาการ COVID-19

หากได้รับเชื้อCOVID-19ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อCOVID-19นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจาก
  • มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา
  • ไอ เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ถ่ายเหลวท้องเสีย
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ มักจะมีอาการรุนแรงและอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

** หากมีอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม **

เบื้องต้นเราสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อ COVID-19 ได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หากจำเป็นต้องเดินทาง ให้สวมหน้ากากอนามัยและพกแอลกอฮอล์เจลติดตัวไปด้วยทุกครั้ง
     
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลเข้มข้น 70% ขึ้นไป อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังการสัมผัสสิ่งต่างๆ ตามที่สาธารณะ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์
     
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล
     
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
     
  • ไม่เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
     
  • ระวังการสัมผัสสิ่งของหรือพื้นผิวที่ไม่สะอาด โดยที่ไม่มีการป้องกัน เพราะอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
     
  • ไม่ใช้มือสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา จมูกและปาก เพื่อลดโอกาสการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
     
  • ไอ จาม ในคอเสื้อหรือแขนพับ เลี่ยงการใช้มือป้องปากและจมูก หากใช้มือป้องปากและจมูก ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
     
  • เมื่อเข้าห้องน้ำควรปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้าง เพื่อลดโอกาสการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค
     
  • ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกร้อน หากจำเป็นต้องทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรมีช้อนกลางของแต่ละคน ไม่ใช้ช้อนกลางอันเดียวกัน
     
  • หากเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือที่ที่มีการระบาด ให้เก็บตัวอยู่ที่บ้านและสังเกตอาการ ภายใน 14 วัน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ให้ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ
 
COVID-19 แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองฝอยและการสัมผัส ดังนั้นทุกคนจึงควรระมัดระวัง ด้วยการดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรใส่หน้ากากอนามัยและพกแอลกอฮอล์เจล เพื่อทำความสะอาดมือบ่อยๆ ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง




 

Create Date : 08 เมษายน 2563   
Last Update : 8 เมษายน 2563 10:14:03 น.   
Counter : 697 Pageviews.  


วิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และรับเชื้อ COVID-19

 

จากสถานการณ์ในขณะนี้ อยู่ในระยะที่มีการระบาดระหว่างคนในชุมชนเดียวกันได้ ทำให้เรามีโอกาสที่จะเป็นผู้ที่รับเชื้อ หรือแพร่เชื้อได้โดยไม่รู้ตัว จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่ติดเชื้อสามารถจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ตั้งแต่ 2 วันก่อนที่จะแสดงอาการ

การป้องกันการรับเชื้อหลักๆ คือ ไม่ให้เชื้อเข้าสู่เยื่อบุทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม

  • หลีกเลี่ยง ลดการออกไปพบปะผู้คน การไปอยู่ในสถานที่แออัด ให้ทำงาน ทำกิจกรรมที่บ้าน รักษาระยะห่างในการสนทนาพบปะผู้คน
     
  • ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านช่องทางต่างๆ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ หลังสัมผัสพื้นผิวต่างๆ สวมหน้ากากอนามัยหากเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง
     
  • หากมีความเสี่ยงหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจ ควรแยกตัวออกจากผู้อื่น แยกของใช้ และป้องกันการแพร่เชื้อ
     
  • หากต้องการไปพบแพทย์ ควรป้องกันการแพร่เชื้อขณะเดินทาง แจ้งพนักงานคัดกรองประจำโรงพยาบาลถึงอาการและความเสี่ยง
     
  • รักษาร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายในบ้าน ดูแลที่อยู่อาศัยให้สะอาดและมีอากาศถ่ายเทดี




 

Create Date : 07 เมษายน 2563   
Last Update : 7 เมษายน 2563 9:48:38 น.   
Counter : 615 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com