นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

การเลี้ยงดูทารกคลอดก่อนกำหนด


“จะทำอย่างไรดี ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนด ” เป็นคำถามที่คุณแม่มักจะวิตกกังวล ในระหว่างตั้งครรภ์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถรักษาดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด ให้เติบโตแข็งแรงได้ เช่นเดียวกับเด็กที่คลอดปกติ ถึงแม้น้ำหนักแรกคลอดจะหนักไม่ถึง 1,000 กรัมก็ตาม

ทารกคลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่มีอายุในครรภ์ต่ำกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งส่วนมากจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม

ทำไมทารกจึงคลอดก่อนกำหนด
ส่วนใหญ่ที่ทารกคลอดก่อนกำหนดมักไม่ทราบสาเหตุ แต่มักจะพบร่วมกับภาวะบางอย่างในมารดา เช่นครรภ์เป็นพิษ ปากมดลูกหลวม ตกเลือดก่อนคลอด ครรภ์แฝด หรือมีการเจ็บป่วยของมารดา เป็นต้น

การดูแลทารกเมื่อแรกคลอด
ทารกเมื่อแรกคลอด กุมารแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อประเมินหาความผิดปกติเหมือนเด็กทั่วไป และให้อยู่ในตู้อบทารก เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ตู้อบทารกสามารถที่จะช่วยลดการสูญเสียความร้อน และทำให้อุณหภูมิร่างกายคงที่ทารกเหล่านี้มักมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากระบบการหายใจ และปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนเด็กที่คลอดครบกำหนด ในระยะแรกอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจให้ออกซิเจนนอกจากนี้การให้สารอาหารมีความสำคัญที่จะช่วยให้ทารกมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น ซึ่งน้ำนมมารดาอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องให้นมผสมเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนดร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
ทารกคลอดก่อนกำหนดที่กุมารแพทย์รักษาจนพ้นระยะวิกฤตแล้ว แพทย์และพยาบาลจะยังคงดูแลอย่างใกล้ชิดโดยติดตามการเติบโตของทารก จนโตพอที่จะให้มารดานำกลับไปเลี้ยงที่บ้าน ซึ่งมารดาก็เลี้ยงดู ให้นมและอาหารเหมือนทารกทั่วๆ ไป แพทย์จะนัดมาตรวจร่างกายเป็นระยะ ให้คำแนะนำการเลี้ยงลูก การให้วัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรครวมทั้งติดตามดูพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก จนเหมือนกับเด็กทั่วๆ ไปในที่สุด




 

Create Date : 10 มีนาคม 2554   
Last Update : 10 มีนาคม 2554 9:59:24 น.   
Counter : 1396 Pageviews.  


ครรภ์เป็นพิษ


สตรีที่ตั้งครรภ์ทุกท่าน ย่อมมีความหวังที่จะให้การตั้งครรภ์ ดำเนินไปอย่างปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ให้กำเนิดลูกน้อยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง มีคุณแม่หลายท่าน ที่ต้องประสบภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม และหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนนั้น คือ โรคพิษแห่งครรภ์ หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ครรภ์เป็นพิษ

โรคพิษแห่งครรภ์ คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร ?
โรคนี้เป็นกลุ่มของโรค ที่มีอาการแสดงของความดันโลหิตสูงร่วมกับอาการบวม หรือปัสสาวะมีโปรตีน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยที่ความดันโลหิตสูง ในที่นี้หมายถึงความดันโลหิตที่มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท และอาการบวม หมายถึง บวมทั้งตัว หรือบวมบริเวณหน้า ท้อง และมือร่วมกัน
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือฮอร์โมนต่อมไร้ท่อบางตัว หรือจากกรรมพันธุ์ เพราะจะพบโรคนี้บ่อยใน การตั้งครรภ์แรก ตั้งครรภ์แฝด มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคไต เป็นต้น

มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์อย่างไร ?
โรคนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง ของการเสียชีวิตในมารดา เพราะถ้าปล่อยให้โรคนี้เป็นรุนแรง มารดาจะมีอาการชัก หมดสติ หรือมีเลือดออกในสมองได้ รวมทั้งอัตราการตายของทารกก็สูงเช่นกัน เนื่องจากมีการคลอดก่อนกำหนด การขาดออกซิเจนเพราะรกเสื่อม หรือทารกมีการเจริญเติบโตชะงักงันในครรภ์ เป็นต้น

อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ มีอะไรบ้าง ?
ได้แก่ การที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดีจากสูติแพทย์ ก็จะเริ่มมีอาการบวม ต่อมาความดันโลหิตจะเริ่มสูง และท้ายสุดจะมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ อาการแสดงต่างๆ เหล่านี้ ถ้ามีการฝากครรภ์ที่ดี สูติแพทย์สามารถตรวจพบได้ พร้อมทั้งให้การดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรก แต่ถ้ามารดาละเลยไม่มาฝากครรภ์ โรคจะทวีความรุนแรงขึ้นจนในที่สุดเป็นครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง คุณแม่จะมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ จนกระทั่งชัก ลูกน้อยในครรภ์ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้การเจริญเติบโตชะงักงัน หรือรุนแรงถึงขั้นขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้

จะป้องกันได้อย่างไร ?
เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบ ฉะนั้น ในปัจจุบันจึงยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ แต่สูติแพทย์สามารถป้องกันมิให้โรครุนแรงเพิ่มขึ้น ถ้ามีการฝากครรภ์สม่ำเสมอ สูติแพทย์จะตรวจพบอาการที่น่าสงสัย พร้อมทั้งให้การวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ สตรีตั้งครรภ์ควรจะฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และที่สำคัญคือ มาตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดทุกครั้ง ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น บวม ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หรือจุกเสียด แน่นลิ้นปี่ ก็ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบหรือพบแพทย์ทันที
มีข้อห้ามในการรับประทานอาหารหรือไม่ ?
แม้ว่าโรคนี้จะทำให้คุณแม่มีความดันโลหิตสูง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงดอาหารเค็ม จะงดเค็มเฉพาะในรายที่เป็นความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อน

จะรักษาโรคนี้ได้อย่างไร ?
ถ้าเป็นชนิดไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้นอนพักอย่างน้อยวันละ 8 - 10 ชั่วโมง เพราะการนอนพักจะช่วยให้การบวมยุบลง และความดันโลหิตลดลงด้วย นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้มาตรวจครรภ์ถี่ขึ้น เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และสุขภาพทารกในครรภ์
แต่ถ้าเป็นชนิดรุนแรง ซึ่งมีความดันโลหิตเพิ่มเป็น 160/110 มม.ปรอท ปัสสาวะมีโปรตีนอย่างน้อย 2+ มีอาการปวดศีรษะ ตามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่ แพทย์จำเป็นต้องให้นอนพักที่โรงพยาบาล เพื่อพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิต หรือยากันชัก รวมทั้งพิจารณาให้คลอด ทั้งนี้เพราะถ้าปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป จะเป็นอันตรายทั้งต่อมารดา และทารกในครรภ์ได้

การพยากรณ์โรคนี้เป็นอย่างไร ?
ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้จะลดความรุนแรงลงจนหายไปใน 2 สัปดาห์หลังคลอด ( ยกเว้นใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ที่มารดาอาจมีภาวะชักเกิดขึ้นได้ ) การพยากรณ์โรคทั้งในมารดาและทารกจะดีมาก ถ้าเป็นครรภ์เป็นพิษชนิดไม่รุนแรง ซึ่งการฝากครรภ์ที่สม่ำเสมอ มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง มีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากสำหรับการดูแลรักษาโรคนี้




 

Create Date : 08 มีนาคม 2554   
Last Update : 8 มีนาคม 2554 13:23:48 น.   
Counter : 1422 Pageviews.  


โรคหอบหืดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี



โรคหอบหืดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้บ่อย เช่น ในประเทศอังกฤษ เด็กๆ จะเป็นโรคนี้ประมาณหนึ่งในเจ็ด ส่วนในสหรัฐอเมริกาจะประมาณ 10% บ้านเรายังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่คิดว่าไม่น่าจะน้อยกว่านี้ โรคหอบหืดทำให้เด็กต้องนอนโรงพยาบาล และขาดเรียนบ่อยมาก ประมาณ 30 - 80% จะมีประวัติไอ และมีเสียง Wheez ( วี้ด ) อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุ 5 ปี พวกที่มีอาการรุนแรงที่สุดคือ พวกที่มี wheez เร็ว ในขวบปีแรก และมีประวัติครอบครัวเป็นหอบหืด ร่วมกับโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น
ถ้าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ 25% แต่ถ้าพ่อแม่เป็นทั้ง 2 คน โอกาสที่ลูกจะเป็นได้มีประมาณ 50%
การที่ต้องเห็นลูกเหนื่อย หอบแต่ละครั้ง เป็นสิ่งที่น่ากังวล และตกใจสำหรับพ่อแม่ ที่ต้องเห็นลูกทุกข์ทรมาน และนอนไม่ได้

โรคหอบหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
หลอดลมของเด็กที่เป็นหอบหืดนั้น เชื่อว่ามีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัวแคบลง เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น และสร้างเมือกเหนียว ซึ่งจะยิ่งทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลงอีก ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น สิ่งกระตุ้นเหล่านี้เช่น โรคหวัด ควันบุหรี่ ฝุ่น ละอองเกสร การออกกำลังกาย ขนสุนัข ขนแมว ฯลฯ
ให้ตระหนักไว้ว่า ในเด็กเล็กๆ ที่อายุ 1 - 2 ปีนั้น โรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการหวัด ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัส และไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ได้ แต่หอบหืดในเด็กวัยเรียน จะเกิดในเด็กที่มีโรคภูมิแพ้จริงๆ

โรคหอบหืดมีอาการอย่างไร ?
มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียงวี้ดๆ ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ทำให้คนไข้มีอาการไม่มากแต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ เด็กๆ บางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมไปด้วย ซึ่งอาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะหนียวๆ ออก
ให้สังเกตไว้ว่า การไอของเด็กเล็กๆ เช่น ไอแห้งๆ ที่ระคายเคือง ( dry irritating ) อาจเป็นอาการแสดงของโรคหอบหืดอย่างเดียว เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าต้องมีเสียง Wheez จึงจะเป็นหอบหืด เด็กที่แข็งแรงดีมักจะไม่ไอ ยกเว้นหวัดอย่างรุนแรงความรุนแรงของหอบหืด
1. ขั้นเล็กน้อย - เริ่มไอ และ/หรือ มีเสียงวี้ด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติ และทานอาหารได้ตามปกติ การนอนยังปกติ ( ไม่ถูกรบกวนโดยอาการไอ )
2. ขั้นปานกลาง - ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ ขณะเล่นมักไอ หรือมีเสียงวี้ดไปด้วย
3. ขั้นรุนแรง - กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อยหอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว
ยารักษาโรคหอบหืดประกอบด้วยยาอะไรบ้าง ?
การรักษาหอบหืด แนวใหม่ ( Modern management ) มีจุดประสงค์ คือ การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้โรคเลวลง และการใช้ยาอย่างถูกต้อง

ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดนั้นประกอบด้วย
1. ยาขยายหลอดลม ( Relievers )
2. ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid )
3. ยาป้องกัน ( Preventers )
ยาขยายหลอดลม มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน ซึ่งชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็วกว่า และยังสามารถให้ได้ในเด็กเล็กๆ ยาชนิดนี้ จะช่วยให้การหายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง เพื่อเปิดหลอดลมนั้น จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ และใช้พ่นก่อนมีอาการ เพื่อ ป้องกันหอบหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย ยาขยายหลอดลมจึงเป็นยารักษาที่สำคัญ
ยากลุ่ม Steroid จำเป็นต้องให้ เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อรักษา และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น เด็กจะไม่รับผลข้างเคียงจากยาตัวนี้ เนื่องจากใช้ระยะสั้น และ ให้ในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ยาป้องกัน จะช่วยป้องกันเยื่อบุหลอดลมไม่ให้เกิดอาการหดเกร็งได้ง่าย เวลากระทบกับสิ่งกระตุ้น ฉะนั้นยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมขณะมีอาการหอบหืด การใช้ยาป้องกัน ต้องใช้สม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้เด็กจะมีอาการปกติแล้วก็ตาม ถ้าอาการหอบหืดควบคุมได้ดีแพทย์จะพิจารณาลดปริมาณยาลง

ทำอย่างไรยาพ่นจึงจะลงไปที่หลอดลมได้ดี ?
Inhalers คือยารักษาหอบหืด ในรูปยาพ่น ข้อดี คือ ยาผ่านเข้าปอดโดยตรง และให้ได้ในปริมาณที่น้อยกว่ายากิน และมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยกว่า แม้แต่ทารกในขวบปีแรก ก็สามารถใช้ยานี้ได้ และให้ประสิทธิภาพดีกว่ายาน้ำ ที่ใช้รับประทาน ยาพ่นมีทั้งชนิดแท่งสเปรย์ ( Aerosol puffer ) ชนิดอัดแห้ง ( dry powder ) เป็นกระเปาะ หรือแท่งดูด
Spacers ในเด็กเล็กทุกรายที่ใช้แท่งสเปรย์ ควรใช้ Spacer ร่วมด้วยเพราะเด็กเล็กจะหายใจเอายาผ่านหลอดลม เข้าไปได้ดีขึ้น Spacer ทำให้เรามั่นใจว่า ยาพ่นสามารถไปถึงหลอดลมได้ดียาไม่ตกค้างเกาะอยู่ที่คอ หรือกระพุ้งแก้มในปาก
Nembulisers เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนยาในสภาพของเหลว ให้เป็นละอองฝอย โดยใช้ Oxygen หรืออากาศผ่านเข้าไปภายในกระเปาะยา ใช้ในบางกรณี เช่น ในห้องฉุกเฉิน สำหรับเด็กหอบรุนแรงที่ต้องการปริมาณยาที่มากกว่า

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่อะไรบ้าง ?
1. ควันบุหรี่ เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็ก และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้
2. ตัวไรฝุ่น ฝุ่น มักอาศัยอยู่ที่เตียงนอน หมอน พรม เฟอร์นิเจอร์ บุนวม จึงควรนำไปตาก หรือผึ่งแดดบ่อยๆ ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน ใช้ผ้าชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติป้องกันตัวไรฝุ่นคลุมที่นอน หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนด้วยน้ำอุณหภูมิ 60 ? c สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์ หรือฟองน้ำ และไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
3. ละอองเกสรในบางฤดู ควรหลีกเลี่ยงในบางฤดู และอาจเพิ่มปริมาณของยาป้องกันด้วย
4. สัตว์เลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงสุนัข แมวในบ้าน เพราะเด็กหอบหืดบางคนจะแพ้ขนสัตว์ ซึ่งอาจรวมถึงนกด้วย
5. เชื้อรา ที่ชื้นๆ มักมีเชื้อรา ควรให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
6. การออกกำลังกาย ถ้าควบคุมโรคหอบหืดได้ดี จะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นซึ่งควรให้เด็กได้มีกิจกรรมนี้ตามปกติ
7. อากาศเย็น เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียงวี้ด การใช้ยาขยายหลอดลม 1 ครั้ง ก่อนเข้าห้องที่เย็นๆ จะช่วยได้

โรคหอบหืดกับการนอน
ถ้าสามารถควบคุมโรคหอบหืดได้ดี เด็กจะไม่มีอาการไอ หรือ วี้ดในช่วงกลางคืนเลย การที่เด็กเล็กๆ นอนไม่ได้เพราะไอ จะรบกวนทั้งสุขภาพของเด็กและพ่อแม่ ปัญหาการนอนไม่พอ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง คุณแม่อาจจะอารมณ์เสีย และหงุดหงิดง่าย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา

โรคหอบหืดมีโอกาสหายหรือไม่ ?
พบว่าเด็กที่เป็นโรคหอบหืด จะมีอาการน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 50% จะไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก เมื่ออายุ 8 - 9 ปี แต่ในเด็กที่แพ้มากๆ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสหายน้อยลง เด็กที่ยังคงมีอาการหอบหืดจนถึงอายุ 14 ปี มีแนวโน้มจะเป็นหอบหืดเรื้อรังจนเป็นผู้ใหญ่




 

Create Date : 08 มีนาคม 2554   
Last Update : 8 มีนาคม 2554 9:55:13 น.   
Counter : 1746 Pageviews.  


ทำอย่างไรให้ลูกน้อยกินอร่อย !



คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมมีความสุข เมื่อเห็นลูกน้อยรับประทานอาหารได้

เอร็ดอร่อย ป้อนคำใดก็ไม่ปฏิเสธ ยิ่งชอบใจเมื่อเห็นลูกร้องขอเพิ่ม แต่ยาม

เมื่อลูกน้อยปฏิเสธอาหาร คุณพ่อ คุณแม่ก็ทุกข์ใจ กังวลกลัวลูกจะไม่สบาย

ไม่เติบโตแข็งแรงดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทราบ พฤติกรรมการรับประทา

อาหาร ของเด็กทารกว่า ความอยากอาหาร ของเด็กทารกจะดี ในช่วง 6

เดือนแรกซึ่งเป็นช่วงที่ทารก ยังไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือมองระยะไกลได้

ดีนัก จึงยอมนอนให้ป้อนโดยดี ไม่มีปฏิกิริยาปฏิเสธอาหาร น้ำหนักจึงขึ้น

มากกว่าวัยอื่น ๆ หลังจาก 6 เดือนแล้ว ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหว และเคลื่อนที่

ได้มาก มองเห็นระยะไกลขึ้น ทำให้สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากจนไม่มี

ความสนใจต่อการรับประทานอาหาร อาการเบื่ออาหารนี้มักจะเริ่มตั้งแต่อายุ

ประมาณ 6 เดือน และจะมากขึ้นหลังอายุ 1 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะปฏิเสธทุก ๆ

อย่างที่ไม่ต้องการ จนถึง 3 ประการลดปัญหาการเบื่ออาหารของทารก พอจะ

ทำได้บ้าง วิธีการก็คือ ให้ทารกสนใจที่จะเรียนรู้การรับประทานอาหาร โดย

คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ช่วย เช่น เมื่ออายุ6เดือน ทารกจะยื่นมือหยิบของได้ เรา

ก็ควรให้ทารกได้จับช้อนเอง ลองตักอาหารเอง โดยเราช่วยประคองช้อนให้

เข้าถึงปาก อาจจะหกเลอะเทอะบ้างในช่วงแรก แต่ไม่นานทารกก็จะชำนาญ

ขึ้น และเมื่อตักอาหารได้เองเมื่อใด เด็กก็จะรู้สึกภูมิใจและมีความสุขใจกับ

การรับประทานอาหาร ตรงกันข้ามหากเราไม่ยอมให้เด็กฝึกหยิบช้อนเอง

เพียงเพราะกลัวการหกเลอะเทอะและเสียเวลา กลับจะเกิดผลเสียในระยะ

ยาวคือ เด็กจะรู้สึกหงุดหงิด ขัดใจ เบื่ออาหารมากขึ้นและเมื่อถึงเวลาที่ควร

รับประทานอาหารเองได้ ก็จะไม่ช่วยตัวเอง ต้องเดินตามป้อนจนถึงวัยเข้า

โรงเรียนบางกรณีที่เด็กเบื่ออาหารมาก แม้ว่าจะใช้วิธีต่าง ๆ ตามที่แนะนำมา

แล้ว ยังไม่ได้ผลจนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อ

ให้คำแนะนำและให้การรักษาเพิ่มเติมต่อไปเมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ

พฤติกรรมการรับประทานอาหารของลูกน้อย และสามารถปฏิบัติให้

สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก จะทำให้เด็กมีความสุขกับการรับประทาน

อาหาร และเจริญอาหาร เวลาอาหารก็จะไม่เป็นสงคราม

ย่อย ๆ ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยอีกต่อไปค่ะ




 

Create Date : 04 มีนาคม 2554   
Last Update : 4 มีนาคม 2554 15:11:29 น.   
Counter : 1396 Pageviews.  


โอ๊ย ! ... ปวดหลัง



อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบบ่อย หลายท่านมักมีแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น ที่ไม่ถูกต้อง ในที่นี้ ขอกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติโดยสังเขป สำหรับอาการปวดหลังจากสาเหตุที่พบบ่อย และในสถานะต่าง ๆ กัน
ปวดหลังจากการบาดเจ็บ
กรณีที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง เช่น ลื่นล้มจนลุกยืนเดินไม่ได้ ควรไปพบแพทย์อย่างไม่รีรอ เพื่อเอกซเรย์ดูว่ามีกระดูกสันหลังหักหรือเคลื่อนที่หรือไม่
แต่ถ้าการบาดเจ็บนั้นไม่รุนแรง ลุกยืนเดินได้ตามปกติ ก็ให้ปฏิบัติดังนี้

- นอนพัก

- ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่กระทบกระแทกภายใน 24 ชั่วโมงแรก
ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้ว อาการปวดหลังไม่ทุเลา หรือกลับปวดมากขึ้นภายใน 1สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ ทั้งนี้เพราะอาจเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้ในภายหลัง ซึ่งควรได้รับการรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด และการบริหารร่างกายด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะปวดหลังเรื้อรังต่อไป

ปวดหลังจากการยกของหนัก
การออกแรงยกของหนักเกินกำลัง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปวดหลังได้ หากมีอาการปวดเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อหลัง มีหลักปฏิบัติดังนี้คือ ให้นอนพัก ใช้หมอนรองใต้เข่า และรับประทานยาแก้ปวด เมื่อปฏิบัติตามนี้แล้ว ภายในสามวันหากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์
แต่ถ้ามีอาการปวดเสียวลงขา ควรรีบไปพบแพทย์อย่างไม่รีรอ เพราะอาจเป็นอาการของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน กดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงส่วนขา หลักในการปฏิบัติเบื้องต้นคือ นอนพักให้เต็มที่ ระวังอย่าให้ท้องผูก เวลาไอหรือจามควรแอ่นหลังไว้ อย่าก้มเด็ดขาด หลีกเลี่ยงการนั่งนาน และการเดิน หลักการรักษา นอกจากใช้ยารับประทานแล้ว การรักษาด้วยกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ได้ผลดี แต่ถ้าไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการพิจารณาผ่าตัดต่อไป

ในรายที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังแตก จะมีอาการปวดหลังมาก แม้กระทั่งเวลานอน จะปวดทั้งหลัง และขา แต่บางครั้งอาจปวดหลังไม่มาก แต่ปวดขามาก มีอาการชาหรือปัสสาวะลำบากร่วมด้วย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต้องได้รับการผ่าตัดในรายที่ทำกายภาพบำบัดได้ผลดี ควรบริหารร่างกายด้วยการออกกำลังให้กล้ามเนื้อหลังและท้องแข็งแรง หลีกเลี่ยงการยกของหนัก อย่าก้มเด็ดขาด ถ้าจะหยิบของให้นั่งลงยอง ๆ ก่อนหยิบ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีก
ปวดหลังจากการทำงาน
ถ้าท่านต้องขับรถวันละหลาย ๆ ชั่วโมง นั่งทำงานตลอดทั้งวัน พักผ่อนไม่เพียงพอ เคร่งเครียด และไม่ได้ออกกำลังกาย จะทำให้เกิดภาวะการตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดหลังได้

มีวิธีแก้ไขให้ยึดถือปฏิบัติดังนี้
- ปรับเบาะรถให้พอเหมาะกับท่าน อาจต้องใช้หมอนช่วยหนุนหลัง

-ปรับลักษณะโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงานให้เหมาะสม เวลานั่งให้หลังพิงพอดี เท้าทั้งสองข้างวางบนพื้น

-โต๊ะทำงานไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

-เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ

-พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ

-ออกกำลังกายมากขึ้นและสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ เดิน เต้นแอร์โรบิก วิ่ง

-ถ้าท่านน้ำหนักมาก ควรลดน้ำหนักด้วย

ถ้าเป็นสตรี ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 1/2 นิ้ว
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายข้างต้นได้ ควรบริหารร่างกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อหลัง และออกกำลังให้กล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงขึ้น

ปวดหลังในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังมักเสื่อมตามวัย จะมีอาการปวดหลังได้ในตอนเช้า ๆ หลังแข็ง เวลาเดินไกลจะปวดตึงหลังและสะโพก บางรายอาจปวดตึงลงขาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ซึ่งพบได้ในกรณีที่มีการกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขา กรณีนี้ควรไปพบแพทย์ เพื่อเอกซเรย์ประเมินว่า กระดูกสันหลังเสื่อมมากหรือน้อย หรือมีกระดูกสันหลังเคลื่อนจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมหรือไม่ หรือเป็นมะเร็งในกระดูก โดยเฉพาะในรายที่ปวดมากเฉพาะตอนกลางคืนจนนอนไม่ได้ หรือมีกระดูกสันหลังบาง มีการยุบตัวของกระดูกถึงแม้จะไม่มีการบาดเจ็บถ้าประเมินแล้วพบว่าเป็นจากกระดูกสันหลังเสื่อม การรักษาทางกายภาพบำบัดจะช่วยได้มาก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการบำบัดประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ ในรายที่เป็นมากอาจต้องบำบัดเป็นเดือน และควรใส่เสื้อประคองหลังไว้ ในรายที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกระดูกยุบตัว หลีกเลี่ยง การก้ม ๆ เงย ๆ นั่งยอง ๆ ห้ามยกของหนัก
ในกรณีที่กระดูกสันหลังเสื่อมมากจนทำให้ช่องไขสันหลังตีบแคบ ถ้าหากการบำบัดด้วยกายภาพไม่ได้ผล อาจต้องได้รับการพิจารณาผ่าตัด

ปวดหลังในเด็กวัยรุ่น
วัยรุ่นที่มีอาการปวดหลัง ควรสังเกตดูลักษณะของกระดูกสันหลังว่าคดหรือไม่ สังเกตง่าย ๆ จากขอบกางเกง หรือกระโปรงเวลาใส่ว่าเบี้ยวหรือไม่ หรือลองให้ก้มหลังดู สังเกตแนวกระดูก และความโค้งของหลังทั้งข้างซ้ายและขวาว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่ากระดูกสันหลังคด ควรไปปรึกษาแพทย์แพทย์จะพิจารณาว่าจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์เสริมช่วยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คดมากขึ้น โดยเฉพาะภายในช่วงอายุที่กำลังสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และควรได้รับการแนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง กีฬาที่เหมาะสม คือ การว่ายน้ำ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง
การนอน :
-
ที่นอนควรแข็ง ไม่ยุบตรงกลางบริเวณเอว
-
ควรนอนหงาย งอสะโพกและเข่า หลังแบนเรียบติดที่นอนหมอนรอง ใต้เข่า
-
นอนตะแคง เข่างอ หลังตรง
-
ไม่ควรนอนคว่ำ
การลุกจากที่นอน :
-
ให้งอเข่าขึ้นก่อนตะแคงตัวในขณะเข่างอ ใช้ข้อศอก และมือยันตัวขึ้นในขณะที่
ห้อยเท้าทั้งสองข้างลงจากเตียง ดันตัวขึ้นตรง
การนั่ง :
-
เก้าอี้ที่เหมาะสม เวลานั่งให้หลังชิดพนัก ที่รองนั่งรองตลอดต้นขา เท้าวางบน
พื้นพอดี
-
ควรนั่งให้เข้าสุดที่รองสะโพก หลังพิงชิดกับพนัก เท้าวางลงบนพื้นเต็มที่

นั่งขับรถยนต์
-
เลื่อนที่นั่งให้ใกล้พวงมาลัย เมื่อเวลาเหยียบครัทช์ เข่าอยู่สูงกว่าสะโพก บริเวณหลังควรมีหมอนรองตรงช่วงเอว
การยกของ
-
ให้ย่อตัวลง หลังตรงตลอดเวลา ลุกขึ้นด้วยกำลังขานั่งขับรถยนต์
-
เลื่อนที่นั่งให้ใกล้พวงมาลัย เมื่อเวลาเหยีบบครัทช์เข่าสูงกว่าสะโพก หลังควรมี
หมอนรองตรงช่วงเอว
การยืนนาน ๆ
-
ควรมีที่รองเท้า เพื่อยกเท้าขึ้นพักสลับข้างก้น
การไอจาม


- ยืดหลังตรงหรือแอ่นขณะไอจาม อย่าก้มหลัง
การดันรถ
-
ใช้สะโพกดันรถ
การฉุดลาก


- หันหลังให้ของที่จะฉุดลาก ให้ลากไปข้างหน้า




 

Create Date : 04 มีนาคม 2554   
Last Update : 4 มีนาคม 2554 9:43:23 น.   
Counter : 1464 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com