นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ภาวะตัวเตี้ย

ภาวะตัวเตี้ย

สิ่งหนึ่งที่เป็นความภูมิใจของคุณพ่อคุณแม่คือการเฝ้าสังเกตลูกน้อยที่รักเจริญเติบโต ถ้าหากเรามาพิจารณาถึงการเจริญเติบโตอย่างถี่ถ้วน เราพอจะมองได้ว่าขบวนการเจริญเติบโตเป็นหนึ่งในกระบวนการอันสลับซับซ้อนและต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไป เป็นหนึ่งในสิ่งน่าพิศวงในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ด้วยเหตุที่การเจริญเติบโตของคนเราจะดำเนินต่อไปอย่างช้า ๆ เป็นทำผลให้ความผิดปกติต่างๆ กว่าจะเห็นเด่นชัดจะใช้เวลานาน

โรคตัวเตี้ยเป็นหนึ่งในภาวะที่พบบ่อย เป็นปัญหานำเด็กมาพบแพทย์ โดยเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้เอง หรือจากความกังวลของเด็ก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนรุ่นราวเดียวกันที่โรงเรียน ที่ชั้นเรียนพิเศษ หรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ที่เด็กเข้าร่วมนอกชั้นเรียน นอกจากนั้นแล้ว ภาวะนี้จะถูกค้นพบ ในการตรวจร่างกายประจำปี หรือ เด็กได้พบแพทย์เนื่องจากสาเหตุความป่วยไข้อื่นๆ และแพทย์ผู้นั้นเกิดเอะใจในความสูงของเด็กที่เตี้ยผิดปกติ โดยทั่วไปในเด็ก 100 คน เราจะพบเด็กตัวเตี้ยประมาณ 3-5 คน

สาเหตุของภาวะนี้

เป็นได้ตั้งแต่ตัวเตี้ยที่เกิดจากความเบี่ยงเบนจากปกติที่ไม่ต้องรับการรักษา หรือเกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น เป็นอาการแสดงของโรคเรื้อรังที่ซ่อนอยู่ อันจะส่งผลให้การเจริญเติบโตผิดปกติหรือเป็นอาการแสดงของภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง เช่น เนื้องอกในสมองซึ่งจะกดเบียดการทำงานอันปกติของต่อมใต้สมอง ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงกุมารแพทย์ ให้ความเอาใจใส่ในเรื่องการเจริญเติบโต นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอันสมบูรณ์ของเด็กตามวัยแล้ว ยังจะเป็นการเฝ้าระวัง ความผิดปกติแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะลุกลามไปและสายเกินกว่าจะเยียวยาได้ทัน การสังเกตอาการแสดง การตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเจริญเติบโต รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น จะนำไปสู่การวินิจฉัย และที่สำคัญคือการให้การรักษาอย่างทันท่วงที่

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

1. กรรมพันธุ์

สภาวะแวดล้อมในครรภ์ สภาวะโภชนาการ ตลอดจนรูปร่างของคุณแม่ เป็นเหตุปัจจัยส่งผลต่อน้ำหนักแรกเกิดของทารก และในช่วง 18 เดือนแรกของชีวิต หลังจากนั้นแล้วความสูงและรูปร่างของเด็กจะค่อย ๆ พัฒนาไปตามลักษณะที่ได้รับมาจากพันธุกรรม เด็กที่มีคุณพ่อคุณแม่ที่สูงจะมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ใหญ่ตัวสูง

2. ภาวะโภชนาการของเด็ก

การเจริญเติบโตที่ปกติย่อมเป็นผลโดยตรงของการได้รับสารอาหารที่พอเพียงและสมดุล เปรียบดังการเจริญเติบโตของต้นไม้ ย่อมจะขึ้นกับการได้รับปุ๋ยบำรุง เด็กๆ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่พอเพียงทั้งห้าหมู่หลัก อันได้แก่ โปรตีน ไขมัน แป้งและน้ำตาล วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่างๆ การเกิดภาวะทุพโภชนาการอันสืบเนื่องมาจากได้รับสารอาหารไม่พอเพียง ไม่ว่าจะเกิดจากการเลือกกินของเด็กความไม่เข้าใจของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก ตลอดจนการขาดระเบียบในการบริโภคของครอบครัว ถ้าหากได้รับการแก้ไข ก็จะทำให้เด็กกลับมามีการเจริญเติบโตที่ปกติได้

3. ฮอร์โมน

ฮอร์โมนเป็นสารคัดหลั่งของต่อมไร้ท่อต่างๆ แล้วแต่ชนิด ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสัญญาณทางชีวเคมีไปยังเซลและส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานร่วมกันอย่างปกติ หากเกิดการเสียสมดุลของระบบฮอร์โมน ก็ย่อมส่งผลต่อระบบการทำงานร่วมกันของร่างกาย สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตความผิดปกติของฮอร์โมนก็จะส่งผลต่อรูปร่างความสูงของเด็กได้ ตัวอย่างของฮอร์โมนเหล่านี้ได้แก่ ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone) ธัยรอยด์ฮอร์โมน (thyroid hormone) ฮอร์โมนเพศทั้งหญิงและชาย (Sex hormones) คอร์ติชอล (Cortisol) และอินสุลิน(insulin)

4. ความเจ็บป่วยทั่วไปของร่างกายและผลของการรักษา

ความผิดปกติของการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายสืบเนื่องมาจากโรคต่างๆ อาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอันปกติได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคนั้นๆ ตัวอย่างเช่น โรคของปอดจะส่งผลให้การหายใจผิดปกติ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะแย่ลง โรคของระบบทางเดินอาหารจะส่งผลลดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต นอกเหนือจากตัวโรคเองแล้ว ยาบางชนิดที่จำเป็นในการรักษาโรคจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการใช้ยาเคมีบำบัดในโรคมะเร็งชนิดต่างๆ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างเด่นชัด เรื่อยมาจนถึงยาซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างอ้อมๆ เช่นยาสเตียรอยด์ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางในโรคของระบบต่างๆ และยารักษาภาวะสมาธิสั้น

สาเหตุของภาวะตัวเตี้ย

1.) การชะลอตัวของการเจริญเติบโตแบบปกติ (Constitutional delay of growth and developmont)

หนึ่งในภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งเป็นสาเหตุของความเตี้ย ได้แก่การที่ร่างกายของเด็ก อ่อนวัยกว่าอายุที่นับตามวันเกิด หรือเป็นที่เรียกกันอย่างง่ายๆว่า “ภาวะม้าตีนปลาย” คือการที่เด็กตัวเล็กเมื่อเทียบกับเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพราะเกิดความล่าช้าของการพัฒนาของร่างกาย ทำให้โครงกระดูกอ่อนวัยกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ถ้าหากจะมีการเปรียบเทียบความสูงหรือขนาดของร่างกาย ก็ต้องเทียบกับเด็กที่มีอายุของร่างกายพอๆ กัน เด็กจะมีเวลาในการเจริญเติบโตยาวนานกว่าเพื่อนก่อนที่กระดูกจะปิดซึ่งก็จะหมายความว่าเด็กจะเข้าวัยรุ่นช้าไปด้วย อายุของร่างกายนี้สามารถทราบได้จากการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของกระดูก กระดูกส่วนที่ถูกถ่ายภาพทางรังสีเพื่อเป็นตัวแทนของกระดูกทั้งร่างกาย ก็ได้แก่กระดูกมือและข้อแขนข้างซ้าย ทั้งนี้กระดูกบริเวณดังกล่าวมีอยู่มากชิ้น ทำให้มีรายละเอียดมากพอในการอ่านแยกอายุกระดูกได้อย่างแม่นยำ

ลักษณะของภาวะนี้จะสามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
เด็กจะต้องมีส่วนสูงและน้ำหนักแรกเกิดที่ปกติ หลังจากนั้น ระหว่างช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบครึ่ง อัตราการเพิ่มของความสูงจะลดลง ทำให้ความสูงตกออกไปจากเกณฑ์ สังเกตง่ายๆ คือ ในกลุ่มเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน 20 คน จะมี 19 คนที่มีความสูงมากกว่าหรือ อีกอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ก็คือ ขนาดของรองเท้า และเสื้อผ้าจะเปลี่ยนแปลงช้าในช่วงดังกล่าว หลังจากช่วงอายุ 2 ขวบครึ่งเป็นต้นไป ความสูงของเด็กจะเพิ่มในอัตราปกติสำหรับช่วงอายุนั้นๆ โดยกราฟความสูงจะขนานไปกับกราฟการเจริญเติบโตตามปกติ พอถึงช่วงเข้าวัยหนุ่มสาว ปัญหาก็จะเห็นได้ชัดอีกครั้ง ในขณะที่เด็กคนอื่นกำลังมีการยืดตัวขึ้นเร็วจากผลของฮอร์โมนเพศ ที่มาพร้อมกับวัยหนุ่มสาว เด็กที่มีภาวะม้าตีนปลายนี้ จะตามเข้าสู่วัยหนุ่มสาวอย่างช้าๆ ความแตกต่างเรื่องความสูงก็จะเป็นที่สังเกตได้ชัดเจนขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาการปรับตัวเข้าสู่สังคมเพื่อนฝูงของวัยรุ่นนำไปสู่ความเป็นปมด้อย และการขาดความมั่นใจในตัวเอง อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กที่มีอายุร่างกายอ่อนวัยกว่าอายุที่นับตามวันเกิดเช่นในภาวะนี้ก็จะเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ถึงแม้จะช้ากว่าเพื่อน แต่ก็ไม่ทำให้ความสูงเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่น้อยลงเป็นผู้ใหญ่ตัวเตี้ยแต่อย่างใด เด็กในกลุ่มนี้จะมีเวลาของการเจริญเติบโตนานกว่า เพราะฮอร์โมนเพศของวัยหนุ่มสาวทำให้กระดูกปิด เด็กกลุ่มนี้เข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า จึงมีเวลาเติบโตนานกว่า เราอาจสังเกตุได้จากประวัติที่ว่าเด็กยังมีการเพิ่มของส่วนสูงถึงแม้จะเข้าเรียนในชั้นมหาวิทยาลัย เด็กที่มีภาวะนี้มักจะมาจากครอบครัวที่มีประวัติการเจริญเติบโตคล้ายๆ กันนี้ของพ่อหรือแม่เด็กที่มีสภาวะนี้ จะต้องเผชิญกับปัญหาการปรับตัว เช่นเดียวกันกับเด็กตัวเตี้ยที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ growth hormono deficiency ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กทำให้เด็กมีความเข้าใจอันถูกต้องว่า การที่เขาตัวเตี้ยนั้นไม่ได้เกิดจากความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอะไร ซึ่งต้องการยาเพื่อการรักษา ในทางกลับกัน เด็กและผู้ปกครองของเด็กควรได้รับการยืนยันตรงกันว่า การเจริญเติบโตของเด็กเป็นปกติทุกประการ เพียงแต่มาช้ากว่าเด็กทั่วๆ ไปเล็กน้อย แต่ทว่าจะมาแน่นอน การประเมินสภาพ และการวินิจฉัยอันถูกต้อง แม่นยำ โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านการเจริญเติบโต เป็นกุญแจสำคัญในการแยกภาวะตัวเตี้ยซึ่งผิดปกติและต้องการการรักษา ออกจากภาวะที่ไม่ต้องการรักษา ทั้งนี้เพื่อไม่ทำให้เด็กตั้งจุดมุ่งหมายในเรื่องความสูง ผิดไปจากความสูงที่แต่ละคนจะมี ซึ่งได้ถูกกำหนดมาในหน่วยพันธุกรรมจากพ่อแม่

2. การพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone deficioncy)

สาเหตุต่อไปสำหรับภาวะตัวเตี้ย ก็คือ การพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ฮอร์โมนการเจริญเติบโตนี้ จะสร้างจากต่อมใต้สมอง โดยอาจจะเกิดความบกพร่องแบบขาดฮอร์โมนตัวเดียว หรืออาจเกิดร่วมกับการขาดฮอร์โมนของต่อมใต้สมองตัวอื่นๆ ร่วมด้วย โดยทั่วไปเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. ต่อปี การเจริญเติบโตจะเริ่มผิดปกติเมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านั้นเด็กมักจะเติบโตได้อย่างปกติ ร่างกายจะดูสมส่วนเมื่อเทียบกับความสูง คือจะไม่ผอมแกนหรือ ดูขาดอาหาร นอกจากนั้นแล้วเด็กที่มีภาวะนี้ จะดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริง โดยจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน

เมื่อมีข้อบ่งชี้หรือ เกิดข้อสงสัยว่า ลูกหลานของท่านเกิดมีภาวะบกพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบ

โตนี้แพทย์จะเริ่มพิจารณาลักษณะของการเติบโตย้อนหลัง จากการพิจารณาจากกราฟแสดงการเจริญเติบโตโดยน้ำหนักและส่วนสูงในอดีต สามารถย้อนดูจากสมุดวัคซีนประจำตัว สมุดพกในโรงเรียน การบันทึกส่วนสูงและน้ำหนักจะมีส่วนสำคัญมาในจุดนี้ ต่อไปนี้แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด และ ตามมาด้วยการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ ของกระดูกข้อมือซ้ายเพื่อประเมินอายุกระดูก จากนั้นอาจจะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม โดยอาจดำเนินการเจาะเลือดทีเดียว หรือ เป็นการตรวจโดยการกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต ด้วยการให้ยากิน ยาฉีด การนอนหลับลึกในตอนกลางคืน (โดยให้ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล) หรือการออกกำลังกาย อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกันถ้าหากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้การวินิจฉัย ภาวะการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือมีความบกพร่องของการหลั่งของฮอร์โมนนี้ การรักษาด้วยการทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป จะส่งผลให้การเจริญเติบโตกลับมาเป็นปกติดังเดิม เด็กจะมีการเพิ่มความสูงไล่ทัน (catoh up growth) และเมื่อเติบโตเต็มวัยเป็นผู้ใหญ่ความสูงจะเท่ากับ หรือใกล้เคียงกับ ความสูงที่ควรจะเป็นตามแนวโน้มของครอบครัว ซึ่งจะดูได้จากความสูงของคุณพ่อคุณแม่ การให้ฮอร์โมนจะทำได้ด้วยการให้ยาฉีดทุกวัน วันละครั้ง หรือเกือบทุกวันวันละครั้ง เพื่อเป็นการลดความกลัว กังวล และความเจ็บปวดจากการฉีดยา เข็มที่ใช้ในการให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็น การฉีดจะทำได้เองที่บ้าน โดยคุณพ่อคุณแม่ หรือตัวเด็กเอง ทั้งนี้ผลการรักษาในเกือบทุกกรณี จะเป็นที่น่าพึงพอใจมากต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเด็กเอง ถึงแม้ว่าการรักษาจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าการรับประทานยาธรรมดาสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ก็คือการวินิจฉัยอย่างเนิ่นๆ และไม่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ใส่ใจ หรือการรักษาแบบไม่ถูกต้องโดยแพทย์ผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากการรักษายิ่งเร็วยิ่งให้ผลดีแล้ว ถ้าหากมัวแต่รอให้กระดูกปิดไปแล้ว ต่อให้มีการให้ฮอร์โมนทดแทนมากเพียงใดก็ตามส่วนสูงจะไม่เพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย

3.) สาเหตุอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วสาเหตุของภาวะตัวเตี้ยยังรวมไปถึง

3.1 ความผิดปกติในการทำงานร่วมกันอย่างปกติของระบบต่างๆในร่างกายจากโรคต่างๆ

สภาพความผิดปกติในการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายอาจจะส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเจริญเติบโตอันปกติของเด็กได้ เช่นโรคของระบบทางเดินอาหารจะส่งผลขัดขวางการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น โรคของไตจะทำให้การขับถ่ายของเสียทางปัสสาวะด้อยหน้าที่ไปภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังจะทำให้การเติบโตของกระดูกชะลอลง ทั้งนี้ทั้งนั้นโอกาสที่เด็กจะกลับมามีการเจริญเติบโต เพิ่มน้ำหนักและส่วนสูงขึ้นอีกครั้ง จะขึ้นกับความรุนแรง และช่วงเวลาที่ป่วยตลอดจนชนิดของการรักษาอีกด้วย

3.2 ความผิดปกติของต่อมไร้ท่ออื่นๆ

ฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการดำเนินการเจริญเติบโต นกจากฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือ growth hormone แล้วยังรวมไปถึงภาวะขาดฮอร์โมนธัยรอยด์ซึ่งนอกจากนี้จะมีผลต่อความสูงแล้วยังมีผลต่อการพัฒนาการของสมองอีกด้วย และภาวะผิดปกติของต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นผิดปกติ และเป็นโรคคุซซิ่ง (Cushing syndrome) เด็กที่ได้รับยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อรักษาโรคบางโรค จะมีผลต่อร่างกายคล้ายกันกับโรคคุซซิ่งนี้ กล่าวคือตัวเตี้ยแต่น้ำหนักมากเกินปกติ ผิวหนังบาง กระดูกอ่อนแอ กล้ามเนื้อเปลี้ยไม่มีแรง การตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้เด็กกลับมามีการเจริญเติบโตเป็นปกติ

3.3 ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดบางอย่าง (congenital conditions)

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในความผิดปกติกลุ่มนี้ก็คือทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ซึ่งเป็นผลรวมของการทำงานของรกระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะโดยทั่วไปของคุณแม่ และศักยภาพความปกติของตัวเด็กเองในการเจริญเติบโต ความแปรปรวนทางกรรมพันธุ์เช่นกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ กลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มความผิดปกติของกระดูกทำให้แขนขาสั้นตั้งแต่เกิด เหล่านี้จะลดศักยภาพในการเจริญเติบโตของเด็ก และทำให้เด็กตัวเล็กกว่าที่ควร

ดังนั้น การเฝ้าสังเกตของพ่อแม่ผู้ดูแลเด็ก รวมไปถึงคุณครูหรือกุมารแพทย์ และการวัดส่วนสูงอย่างแม่นยำอย่างน้อยปีละครั้ง แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน โดยจุดลงในกราฟการเจริญเติบโตของเด็กไทยแยกตามเพศ จะนำไปสู่การตรวจพบแต่เนิ่นๆ และการรักษาอย่างถูกต้องก่อนจะสายเกินไป

การมีร่างกายเตี้ยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ย่อมจะไม่เป็นการง่ายสำหรับตัวเด็กเองและกับครอบครัว เด็กจำนวนมากที่ตัวเล็กเตี้ยกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ต้องเผชิญกับปัญหาทางกายภาพ ในการร่วมกิจกรรมกีฬา ปัญหาทางจิตใจ และการปรับตัวเข้ากับสังคม การพูดคุยกับบุตรหลานของท่าน ให้ความช่วยเหลือเมื่อเป็นที่ต้องการ นอกเหลือไปจากการได้พบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจค้นปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ รวมไปถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การปฏิบัติต่อเด็กตามอายุ และพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา ไม่ใช่ตามขนาดของร่างกาย จะทำให้บุตรหลานของท่านเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเพียบพร้อม ทั้งทางสติปัญญา ทางร่างกาย และทางจิตใจ เป็นบุคคลที่มีคุณค่าในสังคม





 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2553 11:31:03 น.   
Counter : 1369 Pageviews.  


การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อน

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อน

เมื่อผู้ป่วยเจ็บ มีอาการปวดหลัง ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยแล้วว่าอาการปวดมีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยทั่วไปจะให้การรักษาตามลำดับดังนี้

การรักษาด้วยการประคับประคอง คือ การบริหารยา นอนพักกายภาพบำบัด
และติดตามผลการรักษาว่าก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีก็จะเฝ้าติดตามดูอาการต่อไป เพราะอาจจะได้ผลดีต่อการรักษาด้วยการประคับประคอง ถ้าผลของการรักษาอาการทรุดลงกว่าเดิม มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดเวลาใช้งาน ปวดตามแนวเส้นประสาท เวลานอนมีอาการ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ สูญเสียความรู้สึก สัมผัสชา ไอจามกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ ก็จะพิจารณาตรวจค้นหารอยโรคเพิ่มด้วยการเอกซเรย์ ตรวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Spine) แล้ววางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

การผ่าตัด ในปัจจุบันการวิวัฒนาการการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ก้าวหน้าไปมากทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการผ่าตัด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษา และข้อบ่งชี้การผ่าตัดแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา เช่น

- การสลายหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในที่เป็นสารกึ่งเหลว เพื่อลดแรงดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ เช่น สารน้ำย่อยไคลโมปาเปน (Nucleolysis) สลายด้วยคลื่นความถี่สูง(RF.Nucleoplasty) เครื่องอุปกรณ์ดูดสารกึ่งเหลวหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในออก (A.P.L.D) กล้องส่องเข้าภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง เอาส่วนกึ่งเหลวออก (Endoscopics dicsectomy)

-การผ่าตัดเปิดแผล เอาหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นสารกึ่งเหลวออก
เช่น ผ่าด้วยกล้องจุลทัศน์ (Microscopic dicsectomy) ผ่าตัดเปิดแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery) ผ่าตัดเปิดแผลตามปกติ(Conventional dicsectomy)

- การผ่าตัดสอดใส่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวทดแทน (Nucleus pulposus replacement)

- ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง (Total disc replacement)

- ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) ใช้โลหะช่วยยึด หรือใช้
โลหะช่วยยึดการผ่าตัดจะใช้วิธีใด ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละ
รายไป อีกทั้งประสบการณ์ของแพทย์ที่ให้การรักษาก็มีส่วนสำคัญ ที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย

ผลแทรกซ้อนจากการ...ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังที่กระทำกันโดยตัดเอาส่วนที่ยื่นหรือ
เคลื่อนไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทพร้อมกับส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว
ภายในออก ก็จะทำให้อาการปวดหลังหรือปวดร้าวตามแนวประสาทหาย
ไปแต่จากการติดตามผู้ป่วยต่อไป ในระยะยาว พบว่าจะเกิดการไม่มั่นคง
(Unstable spines) ของกระดูกสันหลังส่วนนั้น จากการทรุดตัวลงของ
หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนขอบนอก (Anulus fibrosus) ของหมอน
ระดับที่ผ่าตัดไปเนื่องจากเมื่อผ่าตัดเอาสารกึ่งเหลวออกไปจะขาดแรงดัน
ภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังระดับบน กับระดับล่างต่อ
หมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดจะทรุดมาอยู่ชิดกัน ทำให้รูของเส้นประสาท
ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังจะตีบแคบลง (Lateral neural canal stenosis) เส้นประสาทที่แยกจากไขสันหลังที่ลอดผ่านมา ถูกกดทับก็จะ
กลับมามีอาการปวดร้ามตามเส้นประสาทคล้ายก่อนผ่าตัด อีกทั้งข้อด้านหลัง
ของกระดูกสันหลัง (Facet joints) จะรับน้ำหนักมากขึ้น ข้อจะเสื่อมเร็ว
กว่าปกติที่ควรจะเป็น จะทำให้เจ็บปวดหลังเวลาเปลี่ยนอริยะบท ก้ม เงย หรือบิดลำตัว การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังอันบนกับอันล่างของหมอนรอง
กระดูกสันหลังที่มีปัญหา ซึ่งอาจจะยึดตรึงด้วยโลหะแบบใดก็ตาม จะช่วยแก้
ปัญหาการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดไปแล้วได้ แต่ปัญหา
ไม่ได้สิ้นสุดลงตรงเพียงนั้น ยังเกิดผลอื่น ๆ ตามมาเช่น

1. กระบวนการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังของร่างกายถูกรบกวนจากการ
เชื่อมกระดูกสันหลัง

2. หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนบน และส่วนล่างต่อระดับที่ผ่าตัดเชื่อมไป
แล้ว ต้องรับแรงน้ำหนักมากขึ้นเป็นผลให้เสื่อมเร็วกว่าปกติภายใน 5ปีพบ
ถึง 60%

3. อาการปวดหลังยังคงอยู่หลังผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเชื่อม มักกระทำ
การเชื่อมด้านหลังอย่างเดียว (Posterior – Lateral fusion) จะไม่ได้ผ่าเอาเส้นประสาทรับรู้ความเจ็บปวด (Sinu Vertebral nerve) ออกไปด้วยเพราะไม่ได้ผ่าตัดเชื่อมรอบ ๆ 360 องศา ซึ่งต้องผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดที่ยาก และใช้เวลาการผ่าตัดนานมาก

4. การเชื่อมกระดูกสันหลังไม่สามารถยกความสูงของหมอนรองกระดูกสัน
หลัง หรือระยะห่างของกระดูกสันหลังได้เท่ากับธรรมชาติ การระคายเคือง
เส้นประสาท (Nerve root) ยังคงมีอยู่ ยกเว้นการผ่าตัดที่ใช้โลหะยึดตรึง

5. ในผู้สูงอายุ มักจะมีปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุน ไม่สามารถใช้โลหะยึดตรึงได้ เกิดปัญหาโลหะที่ยึดตรึง หัก หรือหลวมหลุดในสภาวะที่เกิดกระดูกพรุนหรือเชื่อมกระดูกสันหลังไม่ติด หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
จากการวิจัยพัฒนา วิธีการผ่าตัด ตลอดจนเครื่องมือผ่าตัดได้ผลดีเป็นที่น่า
พอใจ ผลแทรกซ้อนการผ่าตัดต่ำ แผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และเป็นการ
รักษาต้นเหตุของอาการ

1.ผ่าตัดเอาส่วนที่สร้างปัญหาการเจ็บปวด (Pain generator) ออกไป

2.กระดูกสันหลังระดับบนและระดับล่างต่อการผ่าตัด ยังมีการเคลื่อนไหว
ตามปกติ (Preserve spinal unit motion) ทำให้หมอนรองกระดูก
สันหลังส่วนอื่นไม่ต้องรับน้ำหนัก ทำงานเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เป็นผลทำให้การ
เสื่อมของระดับบน และระดับล่างตัวที่ผ่าตัดเสื่อมตามสภาพ

3.คงความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังใกล้เคียงธรรมชาติ ทำให้ช่องเส้นประสาท (Lateral neural canal) กว้างไม่กดทับหรือระคายเคืองเส้นประสาท

4. ข้อกระดูกสันหลัง (Facet joints) ไม่ทำงานหนักมากกว่าปกติ จึงไม่เสื่อมเร็วกว่าปกติ

5.การผ่าตัดไม่ได้รบกวนต่อไขสันหลังและเส้นประสาท ไม่เกิดเนื้อเยื่อพังผืดรัดเส้นประสาท ไม่ตัดเลาะกล้ามเนื้อหลังความแข็งแรงกล้ามเนื้อยังคงเดิม

ข้อดี... ของการเปลี่ยนใส่ข้อกระดูกสันหลังเทียม

-ผู้ป่วยสามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวข้อกระดูกได้ทันที ภายในระยะเวลา 12-
24 ชั่วโมง หลังฟื้นจากการผ่าตัดแล้ว เนื่องจากความมั่นคงและการเคลื่อนไหวอันเกิดจากข้อกระดูกเทียมดังกล่าว ทำให้อาการปวดหายไปโดยสิ้นเชิงและถาวร นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงข้อกระดูกสันหลังที่ปกติ ทำให้แรงกดที่จะเกิดต่อบริเวณข้อที่ติดกันไม่แตกต่างไปจากเดิมปัญหาในการเสื่อมสภาพไม่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเชื่อมข้อ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่รักษากันอยู่ในปัจจุบันอีกทั้ง วิธีการผ่าตัดแบบนี้จะเป็นการผ่าตัดผ่านผนังหน้าท้องกล้ามเนื้อหลังไม่ถูกทำลาย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กและสูญเสียเลือดน้อยกว่าฟื้นสภาพเร็วกว่า

อายุการใช้งาน... ของข้อกระดูกสันหลังเทียม
อายุการใช้งานของข้อเทียมจากการติดตามผลนานกว่า 20 ปี ยังสามารถใช้งานได้พบการสึกกร่อนได้น้อยมาก การผ่าตัดต้องกระทำโดย “ศัลยแพทย์
กระดูกสันหลัง” (Spine Surgeon) ที่มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ทำไมจึงต้องใช้.. หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
ในกรณีที่ปวดหลังที่มีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ที่รับการ
รักษาด้วยวิธีประคับประคองหรือวิธีผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังส่วน
ของเหลวออกไม่ได้ผล หรือเกิดผลแทรกซ้อนตามมาจากการผ่าตัดไม่ว่าจะ
เป็นการผ่าตัดด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังในระดับที่
ปัญหา เป็นที่ยอมรับและใช้กันมาอย่างกว้างขวางและยาวนาน การผ่าตัด
เชื่อมกระดูกสันหลังแม้ผลที่ได้รับจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อนข้างสูงทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นเหตุให้เกิดการรักษาด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม

การเสื่อมสภาพ.. ของหมอนรองกระดูกสันหลัง
การเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และเลื่อนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นไปตามวัย และลักษณะการใช้งาน เนื่องมาจากการ
เปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์และการเผาผลาญ (Metabolism) โปรติโอไกลแคน ที่อยู่ในส่วนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Nucleus pulposus) ทำให้สูญเสียความสามารถรถอุ้มน้ำ ที่ช่วยให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดแรงดึงตัวคงสภาพสูงและความยืดหยุ่นคล้ายลูกโป่งที่มีแกสอัดอยู่ภายในรั่วซึมออกไม่เกิดการยุบตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง การกระจายแรง-น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม ความสามารถในการรับน้ำหนัก กระจายน้ำหนักสูญเสียไป ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Anulus fibrosus) จะเป็นเส้นใยหลาย ๆ ชั้นที่ประสานกันจะเกิดการฉีกขาดจากด้านในออกสู่ด้านนอก ที่มีลักษณะคล้ายกับยางรถยนต์ที่เส้นใยผ้าใบฉีกขาด ทำให้ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังบางลง เมื่อได้รับแรงน้ำหนักกดลงมาจะโป่งพอง เกิดแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ที่มีระบบประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด (Sinuvertebralnerve) อยู่ จึงทำให้มีอาการปวดหลังขึ้น หรือถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูนไปทางด้านที่เป็นที่อยู่ขอไขสันหลังและเส้นประสาท
(Spinal canal & spinal nerve) เกิดการกดทับก็ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทนั้น ๆ (Roots pain)บางกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของเหลว ที่ช่วยดูดซับน้ำหนักที่มากระทำมากจนเกินกว่าที่กระดูกอ่อนที่ปิดด้านบนและด้านล่างของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Vertebral endplate) จะรับได้ เกิดการแตกร้าว(schmoll’s node) กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายก็จะเกิดหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไปที่หมอนรองกระดูกสันหลังระดับนั้น ๆ ทำให้รับรู้การ
ปวดเจ็บจากน้ำหนักหรือแรงที่กดทับลงมาได้






 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2553 14:09:46 น.   
Counter : 1458 Pageviews.  


โรคตาแดง

โรคตาแดง

โรคตาแดงมักจะระบาดในช่วงที่เกิดฝนตก ภาวะน้ำท่วม ผู้คนใช้น้ำคลองที่ไม่สะอาดล้างหน้า ล้างตาทำให้ติดเชื้อโรค เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุตา ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีอาการตาแดง มีขี้ตาและเคืองตามากสาเหตุของการเกิดโรคตาแดงคือ จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยๆ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ อดีโนไวรัส อาการตาแดงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เหมือนกัน เช่น การอักเสบของม่านตาเฉียบพลัน
โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน กระจกตาถลอกหรือกระจกตาอักเสบติดเชื้อ และมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ฝังอยู่ที่เยื่อบุตา หรือที่กระจกตา เป็นต้น

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ทุกระยะตั้งแต่เริ่มเป็นจนกระทั่งเกือบหาย ส่วนใหญ่จะหายได้ในเวลาประมาณ 2-3สัปดาห์ บางรายอาจใช้เวลาเพียงอาทิพย์เดียวก็หายแล้ว บางรายอาจใช้เวลารักษานานเป็นเดือน หรือหลายเดือนก็ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ตาแดงเป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสกับเชื้อโรค จึงควรป้องกันโดยไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคตาแดง เช่น ผ้าเช็ดหน้า หรือ ผ้าเช็ดมือผืนเดียวกันหรือหนุนหมอนใบเดียวกัน

ผู้ที่เป็นโรคตาแดงควรใช้กระดาษทิชชู เช็ดตาข้างที่แดง แล้วทิ้งลงถังขยะหลังจาก เช็ดตาแล้วทันทีไม่ต้องเช็ดซ้ำ และล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งที่เช็ดตาหรือจับตาข้างที่แดง ผู้ที่หยอดยาหยอดตาให้ผู้ป่วยก็ต้องล้างมือฟอกสบู่ทันที หลังหยอดตาเช่นกัน มิฉะนั้นจะติดเชื้อได้เมื่อใช้มือเช็ดตาตนเองและไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับของผู้ป่วยตาแดง

ผู้ที่เป็นโรคตาแดงที่มีอาการคันระคายเคืองตา ตาอักเสบแดงมากควรพักสายตา หรือสวมแว่นตาดำเพื่อพักสายตาก็ได้ ทางที่ดีควรจะหยุดพักผ่อนอย่างน้อยสัก 2 สัปดาห์นับแต่วันเริ่มมีอาการ เพราะตาแดงติดต่อง่ายหากไปทำงานจะแพร่เชื้อให้บุคคลอื่นจนเกิดเป็นโรคระบาดขึ้นในวงกว้าง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดงควรพบจักษุแพทย์ เนื่องจากโรคตาแดงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กระจกตาได้และควรใช้ยาหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อ

สำหรับผู้ที่ไม่เป็นตาแดงไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับผู้ป่วยรักษาและถนอมดวงตาด้วยการใช้น้ำสะอาดล้างหน้าล้างตาไม่ควรใช้น้ำสกปรกล้างหน้าเพราะจำทำให้ท่านได้ รับเชื้อตาแดงเข้าไปโดยไม่รู้ตัวได้





 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2553 14:10:04 น.   
Counter : 1451 Pageviews.  


อยากรู้ไหมว่า... คุณเป็นโรคกรดไหลย้อนจริงหรือเปล่า?

อยากรู้ไหมว่า... คุณเป็นโรคกรดไหลย้อนจริงหรือเปล่า?

โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรค กรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาน 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

จะมีอาการอย่างไร ?

อาการ ในหลอดอาหาร :
• ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือที่เรียกว่า Heart Burn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ
• มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน
• มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ
• กลืนอาหารลำบาก
• คลื่นไส้
อาการ นอกหลอดอาหาร บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม :
• ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง
• เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก
• เป็นโรคปอดอักเสบ เจ็บหน้าอก
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน จริงหรือเปล่า ?
วีธีการตรวจแบบเดิม
• การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
• การส่องกล้องตรวจกระเพาะ
เป็นการตรวจเบื้องต้นเพียงแค่ดูความบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณกรดที่ไหลย้อนได้

เทคนิคใหม่ในการตรวจวัดกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร
• ตรวจวัดกรดที่หลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ด้วยการใส่สายวัดกรดที่หลอดอาหาร เป็นการวินิจฉัยกรดไหลย้อนที่แม่นยำที่สุด
ทำไมต้องตรวจวัดกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร ?
การตรวจวัดกรด หรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน และเป็นเทคโนโลยีใหม่ โดยการใส่สายตรวจที่เป็นสายขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 2 มิลลิเมตร ผ่านจมูกแล้วค้างไว้ที่หลอดอาหารนาน 24 ชั่วโมง ที่สายจะมีตัวบันทึกค่าความเป็นกรดนำเข้าเครื่องอ่านเพื่อแปลผล และทราบผลได้ทันที ทำให้ทราบว่า
• อาการที่เป็นใช่โรคกรดไหลย้อนจริงหรือไม่
• มีกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารเป็นจำนวนครั้ง และระยะเวลานานมากกว่าปกติหรือไม่
• การเกิดกรดไหลย้อนสัมพันธ์กับการเกิดอาการของผู้ป่วยหรือไม่
• การให้ยาเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถควบคุมโรคได้เพียงพอหรือไม่

ใครบ้างที่ต้องรับการตรวจด้วยเครื่องวัดกรดไหลย้อน (24 hr Gastric pH monitoring) ?
• ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ที่กินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
• ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่หยุดยา ลดกรดไม่ได้ อาการจะกำเริบทันที
• ผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่อยาก กินยาต่อไประยะเวลานาน
• ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก คล้ายเป็นโรคหัวใจ แต่ตรวจแล้วว่าไม่เป็นโรคหัวใจ
• ผู้ป่วย ที่มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง, เหมือนมีก้อนที่คอ, แสบคอ ที่ได้รับการตรวจแล้วจากแพทย์ หูคอจมูก ไม่พบความผิดปกติใดๆ
• ผู้ ป่วยที่ส่องกล้องแล้วพบว่า ปลายหลอดอาหารมีการอักเสบที่รุนแรง


ขั้นตอนสำคัญอันดับแรกในการรักษาโรค คืออะไร?

การวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องแม่นยำเสียก่อนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงจะรักษาโรคนั้นให้หายขาดได้ การที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยนี้ ทำให้สามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโรค กรดไหลย้อนได้อย่างถูกต้อง แน่นอน ทราบผลทันที ต่างจากในอดีตที่ได้แต่ปรับยาไปเรื่อยๆ และยังทำให้การทำนายผลการวินิจฉัยโรคต่างๆ ถูกต้องชัดเจน เป็นข้อมูลให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวางแผนดูแลสุขภาพผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพจิตใจของผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะดีขึ้น



ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.ram-hosp.co.th/




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2553   
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2553 14:10:29 น.   
Counter : 1434 Pageviews.  


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมมโมแกรม (Mammogram)

ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยระบบดิจิตอล
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมมโมแกรม (Mammogram)

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในสตรี ในประเทศไทยพบว่ามีอุบัติการณ์สูงรองจาก มะเร็งปากมดลูก หากพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเร็วเท่าใดก็ยิ่งให้ผลการรักษาดีมากขึ้นเท่านั้น นอกเหนือจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและการตรวจโดยแพทย์แล้ว วิธีการอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ก็คือการตรวจเต้านมทางเอกซเรย์ หรือที่เราคุ้นเคยในคำว่า แมมโมแกรม (Mammogram)

ควรตรวจหามะเร็งเต้านมเมื่อไร?
• ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ทุกเดือน, เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี
• ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ทุก 3 ปี, อายุ 20-39 ปี
ทุกปี, เริ่ม 40 ปีขึ้นไป
• ตรวจแมมโมแกรม ทุกปี, เริ่ม 40 ปีขึ้นไป


ทำไมต้องมีการทำ แมมโมแกรม?

เนื่องจากมีข้อจำกัดของการตรวจร่างกายก้อนที่ขนาดเล็กกว่า 1 ซ.ม. อาจจะตรวจคลำลำบาก หรือไม่พบ ทำให้วินิจฉัยได้ล่าช้า แมมโมแกรมเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้การตรวจพบความผิดปกติได้เร็วขึ้น
บ่อยครั้งที่พบว่าการทำแมมโมแกรม สามารถตรวจพบความผิดปกติได้โดยที่ยังคลำได้ไม่เป็นก้อน ทำให้วินิจฉัยมะเร็งได้ในระยะแรกๆ นำไปสู่ผลการรักษาที่ได้ผลดีขึ้น บางครั้งอาจทำให้เปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาจากที่ต้องตัดเต้านมทั้งหมด เป็นการตัดบางส่วนก็เพียงพอในบางกรณีอาจพบมีความผิดปกติหลายตำแหน่งในเต้านมข้างเดียวกันหรือพบว่ามีความผิดปกติในเต้านมทั้งสองข้าง ก็จะทำให้แนวทางการรักษาเปลี่ยนไป ไม่ล่าช้า


เวลาทำแมมโมแกรม จะรู้สึกเจ็บมากไหม?

ปัจจุบันมีแมมโมแกรม 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นการตรวจโดยการใช้ฟิล์ม แบบที่สองเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น เป็นการถ่ายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งมีความคมชัดของภาพมากกว่า สามารถบอกตำแหน่งของจุดที่มีปัญหาได้ดีกว่าระบบใช้ฟิล์ม และปัญหาเรื่องความเจ็บปวดเต้านมระหว่างการทำแมมโมแกรมจะน้อยมาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการกดเต้านม จะค่อยๆ กดลงมาที่บริเวณเต้านมอย่างนุ่มนวลกว่าเครื่องที่ใช้ฟิล์ม และที่โรงพยาบาลเราก็ใช้แมมโมแกรมระบบดิจิตอล


โอกาสได้รับอันตรายจากรังสี จากการทำแมมโมแกรม มีมากไหม?

การทำแมมโมแกรมใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำมาก อาจเทียบเท่าหรือน้อยกว่าการถ่ายรังสีทรวงอก ดังนั้น อันตรายจากรังสีต่ำมาก และแมมโมแกรมแบบดิจิตอลนั้น สามารถลดปริมาณรังสีลงจากเดิมประมาณ 30-60%


ตรวจแมมโมแกรมไม่พบความผิดปกติ แสดงว่าไม่เป็นมะเร็งใช่ไหม?

การตรวจไม่พบความผิดปกติ บอกได้แต่เพียงว่าในขณะนั้นไม่พบมะเร็งเต้านม มะเร็งอาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น หรืออาจมีแล้วแต่ไม่มีลักษณะความผิดปกติในแมมโมแกรม จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจโดยแพทย์ รวมทั้งสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรจะได้รับการตรวจด้วยแมมโมแกรมปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่ได้วินิจฉัยมะเร็งให้ได้แต่เนิ่น ๆ การรักษาจึงจะได้ผลดี






ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.ram-hosp.co.th/




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2553   
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 16:01:31 น.   
Counter : 1440 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com