นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

โรคไอในเด็ก

อาการไอเป็นกลไกการป้องกันของระบบทางเดินหายใจในการ

ขจัดสารคัดหลั่งต่างๆเช่นน้ำมูก,เสมหะ สารระคายเคือง ตลอดจนสิ่ง

แปลกปลอมต่างๆออกจากระบบทางเดินหายใจการไอจะต้องอาศัยการ

ทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อต่างๆไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ

ที่ทางเดินหายใจ, กล้ามเนื้อกระบังลม, กล้ามเนื้อทรวงอก,กล้ามเนื้อ

หน้าท้องถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการทำงานบกพร่องจะทำให้การไอไม่มี

ประสิทธิภาพที่ดีพอในการขจัดเสมหะและสิ่งแปลกปลอม ยาบางตัวมีผล

ทำให้ลดอาการไอ ทั้งภาวะทั้ง 2 อย่าง อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

และชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆที่อายุต่ำกว่า 2ปีทำให้มีเสมหะคั่ง

ค้างตามมาด้วยภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง

ตลอดจนปอดอักเสบและปอดแฟบได้แต่บางครั้งถ้าเป็นการไอที่ไม่มี

เสมหะติดต่อกันเป็นเวลานาน และบ่อย(ถี่)มาก ก็อาจก่อให้เกิดความ

รำคาญ รบกวนกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การ

ทานการนอนหลับจัดอยู่ในข้อบ่งชี้ในการใช้ยากดการไอ (แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์)


สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดการไอมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากระบบ

ทางเดินหายใจโดยตรงระบบหลอดเลือดและหัวใจ, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบ

ภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ที่พบบ่อยมากเป็นจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วน

บน เช่น หวัด, คออักเสบ, หลอดลมอักเสบ, ควันบุหรี่, มลภาวะ

ถ้าเมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังหรือไอเป็นๆ หายๆ จำเป็นต้อง

มีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง มากกว่ารักษาอาการไอเท่านั้น เช่น

กลุ่มอาการสำลักเข้าทางเดินหายใจพบได้ในผู้ป่วยมีโรคของระบบ

ปราสาท และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนผู้ป่วยที่มีต่อมทอล์ซิลและอครีรอย

ด์โต เด็กทารก โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

กลุ่มอาการที่มีการไหลย้อนของอาหารหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

เข้าไปในหลอดอาหารพบได้บ่อยในเด็กทารกมักมีความสัมพันธ์กับโรคระบบ

ทางเดินอาหาร

กลุ่มอาการหอบหืด,หรือภาวะหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นมักจะมาด้วอาการ

ไอมีเสมหะไม่มากลักษณะเสมหะเป็นมูกขาวไม่ขุ่นบางคนจะมาด้วอาการไอ

แห้งเวลาได้รับสิ่งกระตุ้นหรือเวลานอนบางครั้งจำเป็นต้องได้รับการทดสอบ

สมรรถภาพปอด

กลุ่มอาการที่มีน้ำมูกไหลไปทางด้านหลังจมูกลงไปลำคอได้แก่กลุ่มโพรง

จมูกอักเสบจากการติดเชื้อ, ภูมิแพ้, กลุ่มของไซนัสอักเสบ ควรได้รับการตรวจ

วินิจฉัยจากการทำทดสอบภูมิแพ้, X-Rayไซนัส

กลุ่มที่มีอาการสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้น

กลุ่มของโรคติดเชื้อบางชนิดเช่นวัณโรคไอกรน MYCOPLASMA

CHALMYDIA และไวรัสบางสายพันธ์ ซึ่งบางคนหลังจากการติดเชื้อดีขึ้นแล้ว

อาจมีภาวะของหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือไอได้เป็นสัปดาห์หรือเดือน


กลุ่มของสารระคายเคืองและมลภาวะต่างๆ ทำให้มีการไอและการหลั่งสารคัดหลั่งประเภทมูกมากขึ้น



นอกจากนั้นยังมีสาเหตุต่างๆอีกมากมายการรักษาต้องมุ่งไปที่สาเหตุ

แท้จริงมากกว่ารักษาตามอาการต้องอาศัยการซักประวัติเป็นส่วนใหญ่ เช่น อายุ

ที่เริ่มเป็น ระยะเวลา ลักษณะการไอ ช่วงเวลาที่ไอบ่อย ปัจจัยกระตุ้น การรักษา

ที่ได้รับมาก่อนโรคประจำตัวประวัติครอบครัวบ้านและสิ่งแวดล้อม ตามด้วยการ

ตรวจร่างกายและการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเช่นการ X-rayทดสอบ

สมรรถภาพปอด เป็นต้น

อาการไอไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาตามอาการเสมอไปแต่สาเหตุต่างหากที่ควรได้รับการรักษา




 

Create Date : 05 มกราคม 2554   
Last Update : 5 มกราคม 2554 10:06:43 น.   
Counter : 1345 Pageviews.  


โรคหืด….โรคร้ายที่รักษาและควบคุมได้


โรคหืดคืออะไร ?

โรคหืดเป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ การอักเสบดังกล่าว
ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวมและกล้ามเนื้อผนังหลอดลมหดตัว เป็นผลให้เกิด
หลอดลมตีบ ผู้ป่วยโรคหืดจึงมีอาการเหนื่อย,ไอ, แน่นหน้าอก และหายใจมีเสียงหวีด โดยอาการดังกล่าวมักรุนแรงมากที่สุดในช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด

โรคหืดเกิดจากอะไร ?

ยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของโรคหืด อย่างไรก็ตามการอักเสบของทางเดินหายใจในโรคหืดเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอันซับซ้อนและนำไปสู่ภาวะทางเดินหายใจตอบสนองไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ มากกว่าปกติในบุคคลที่มีพื้นฐานภาวะภูมิแพ้ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้แก่ ไรฝุ่น, ฝุ่นบ้าน, ควันบุหรี่, มลภาวะ, การติดเชื้อไวรัสบางชนิดในทางเดินหายใจ, ละอองเกสรพืชบางชนิด, ขนสัตว์, แมลงสาบ, เชื้อรา, ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน, สีผสมอาหาร, สารกันบูดในอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

โรคหืดพบได้มากน้อยเพียงใด ?

ข้อมูลจากทั่วโลกบ่งชี้ว่าโรคหอบหืดพบได้บ่อยขึ้น ประเทศญี่ปุ่นมีความชุกของโรคหืดมากถึงร้อยละ 13 ของประชากร สิงคโปร์มีน้อยกว่าร้อยละ 10 ฟิลิปปินส์และฮ่องกงมีร้อยละ 12.4 ในประเทศไทยจากข้อมูลการสำรวจต่าง ๆ พบโรคหืดถึงร้อยละ 10-15 ของประชากร โรคหืดจึงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก ผู้ป่วยเด็กอาจต้องขาดเรียนบ่อย ๆ, ลดความสามารถในการออกกำลังกาย, เจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ ในผู้ใหญ่ทำให้ขาดงานบ่อย ๆ, คุณภาพชีวิตไม่ดีจากการจับหืดบ่อย ๆ นอกจากนี้ในรายที่รุนแรงและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีอาจทำให้หัวใจวายหรือเสียชีวิตได้

โรคหืดรักษาอย่างไร ?

การรักษาโรคหืดมีเป้าหมายคือ ควบคุมอาการทั้งปวงและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำเนินกิจวัตรได้เป็นปกติ ไม่ต้องมาห้องฉุกเฉินเพื่อรักษาการจับหืดฉับพลันรุนแรงบ่อย ๆ และป้องกันไม่ให้ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้ ผู้ป่วยควรใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ ไม่สูบบุหรี่เด็ดขาด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้หลอดลมอักเสบ (ดังที่กล่าวมาข้างต้น) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยแต่ละรายมักมีสิ่งกระตุ้นให้จับหืดหลายอยาง (ดังที่เรียกกันว่า แพ้สิ่งกระตุ้นหลายอย่าง) นอกจากนี้สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็หลีกเลี่ยงได้ยากในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการใช้ยาเพื่อควบคุมและรักษาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

มียาอะไรที่ใช้รักษาโรคหืดได้บ้าง ?

เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันยารักษาโรคหืดมีประสิทธิภาพดีมาก ผู้ป่วยที่ใช้ยาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอสามารถควบคุมอาการทั้งปวงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับผู้ที่ไม่เป็นโรคหืดได้ ยารักษาโรคหืดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภทที่หนึ่งคือ “ยาควบคุม (หรือป้องกัน) โรคหืด” ซึ่งควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดอาการหอบหืดโดยออกฤทธิ์ในการลดและควบคุมการอักเสบในหลอดลม ซึ่งมีผลลดความไวผิดปกติของทางเดินหายใจต่อสิ่งกระตุ้น ยาประเภทที่สอง คือ “ยาบรรเทา (หรือกอบกู้) อาการหอบเหนื่อย” ซึ่งมีคุณสมบัติในการขยายหลอดลมลดการตีบตัวของหลอดลมในระหว่างที่มีการจับหืดเฉลียบพลัน ยาทั้งสองกลุ่มนี้มีความสำคัญในการรักษาโรคหืด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยใช้ยาประเภทควบคุมโรคหืดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุกวันแล้ว หลอดลมจะกลับสู่สภาพที่ไม่ไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นทางเดินหายใจ จะลดโอกาสเกิดหลอดลมตีบเฉียบพลันไปได้มาก จนทำให้ลดความจำเป็นในการใช้ยาขยายหลอดลมบรรเทาอาการไปได้มาก

รูปแบบของยารักษาโรคหืดได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นยารับประทานซึ่งมักจะมีผลข้างเคียง เช่น มือสั่น, ใจสั่น, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ปวดศีรษะ มาเป็นยาสูดพ่นเข้าไปยังหลอดลมโดยตรง จึงทำให้ยาเข้าถึงและออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดลม และปราศจากผลข้างเคียงรุนแรงต่อระบบอื่นในร่างกาย อย่างก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการอธิบายและฝึกวิธีการใช้ยาสูดพ่นอย่างถูกต้องจึงได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงในการรักษา
กล่าวโดยสรุป หลักการในการรักษาโรคหืดในสหัสวรรษปัจจุบันคือ การอธิบายถึงโรคหืดและวิธีการใช้ยาให้ผู้ป่วยได้เข้าใจอย่างถูกต้อง การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทางเดินหายใจพร้อมไปกับการใช้ยาควบคุมป้องกันโรคหืดอย่างสม่ำเสมอ โดยมีเป้าหมายคือ ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นปกติสุข




 

Create Date : 04 มกราคม 2554   
Last Update : 4 มกราคม 2554 10:35:06 น.   
Counter : 1446 Pageviews.  


โรคหัวใจขาดเลือด ( Coronary artery disease)

เกิดจากมีการตีบแคบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ที่ไปเลี้ยง

กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียงกับความต้องการของหัวใจ

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้มีการตีบแคบของหลอดเลือดคือโรคหลอดเลือดแดง

แข็ง(atherosclerosis) โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ ความดัน


โลหิตสูง การสูบบุหรี่ และมีไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

อีก เช่น เป็นโรคเบาหวาน กรรมพันธุ์ เพศชาย โรคอ้วน หรือขาดการออก

กำลังกาย ฯลฯ ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากขึ้น ในผู้

ป่วยบางรายการอุดตันของหลอดเลือดอากเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่หลอด

เลือดแดงแข็ง เช่น มีการอักเสบของหลอดเลือด, หลอดเลือดหดตัว, ยาบาง

ชนิด หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดโคโรนารีย์ตั้งแต่เกิด เป็นต้นอาการ

ของโรคอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ อาการเจ็บหน้าอก (angina pectoris)

ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั่นเอง อาการเจ็บหน้าอกนี้มี

ลักษณะเฉพาะคือ จะเจ็บบริเวณกลางหน้าอกและอาจเจ็บร้าวไปที่แขนด้าน

ใน, คอ, กราม หรือหัวไหล่ทั้งสองข้าง แต่ในบางครั้งอาจเป็นข้างเดียวก็ได้

(มักจะเป็นข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา) อาการเจ็บมักจะเป็นแบบกดทับ, จุก

แน่น, แสบ, หรือเหมือนถูกบีบรัด มากกว่าเจ็บแบบถูกเข็มแทง, เจ็บแปล๊บๆ

หรือชาๆ อาการเจ็บหน้าอกนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นช่วงกล้ามเนื้อหัวใจต้องการ

เลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ เช่น ออกกำลังกาย เดินหรือวิ่งเร็วๆ เดินขึ้นที่สูง

ชันหรือขึ้นบันได หรือขณะเบ่งอุจจาระ เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ

มากขึ้นภายหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ, โดนอากาศเย็น, อาบน้ำเย็น

หรืออยู่ในที่อากาศเบาบาง แต่ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการขณะพักอยู่เฉยๆ

หรือแม้กระทั้งขณะนอนหลับก็ได้

อาการเจ็บหน้าอก หรือ angina นี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 5-10 นาที ถ้าได้พัก

จากกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือได้รับยาอมใต้ลิ้นแล้วก็มักจะดีขึ้น

ทำให้ผู้ป่วยบางรายคิดว่าอาการที่เป็นนั้นไม่ได้รุนแรงอะไรและไม่ได้รับการ

รักษาที่เหมาะสม โดยทั่วๆ ไปอาการเจ็บหน้าอกนี้จะเป็นๆหายๆ และอาการ

มักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการคงที่อยู่หลายปีก็ได้ ที่น่า

กลัวและอันตรายมากที่สุดคือเมื่อเป็นโรคนี้แล้วมีโอกาสเกิดภาวะหลอด

เลือดแดงอุตตันทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial

infarction) หรือหัวใจวายได้โดยง่าย ผู้ป่วยรายใดมีโอกาสเกิดภาวะ

แทรกซ้อนดังกล่าวมากหรือน้อย แพทย์สามารถพิจารณาดูได้จากประวัติ,

การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษบางอย่าง เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้า

หัวใจ (EKG), การเดินสายพานทดสอบ(exercise stress test) หรือในบาง

รายอาจจำเป็นต้องได้รับการสวนหัวใจและฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ (cardiac

catheterization & coronary angiography) เพื่อประเมินความรุนแรงของ

โรคหรือประกอบการพิจารณาวิธีการรักษาด้วย

ข้อควรทราบอีกประการหนึ่งในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนี้

บางครั้งจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ และการตรวจหลายๆอย่างประกอบกันจึง

จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง การตรวจร่างกายทั่วๆไป หรือการ

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือ

พยากรณ์โรคได้ ดังนั้นถ้ามีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดควร

ได้รับการตรวจหรือแนะนำจากแพทย์ทันที และถ้ายังมีข้อสงสัยควรปรึกษา

กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจโดยตรง


ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉลียบพลัน (acute myocardial infrction)

เป็นอาการแสดงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอีกอย่างหนึ่ง เกิดจากมีการอุด

ตันของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ขึ้นทันทีทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงด้วย

หลอดเลือดเส้นนั้นตายอย่างเฉียบพลัน การอุดตันนี้มากาว่า 90 % เกิดจาก

ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณที่มีรอยโรคหลอดเลือดแดงแข็งอยู่เดิม อาจเกิด

ขึ้นบริเวณที่มีการตีบมากหรือน้อยก็ได้ ผิดกับ อาการเจ็บหน้าอกจากกล้าม

เนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีการเจ็บหน้าอกเมื่อมีการตีบของหลอดเลือด

มากกว่า 70 % ขึ้นไปอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้จะมี

อาการเจ็บหน้าอกเช่นเดียวกันกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแต่อาการ

เจ็บจะรุนแรงและนานกว่า โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้จะอยู่นาน

กว่า 30 นาทีขึ้นไปและมักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เหงื่อแตก, หน้ามืด

เป็นลม หรือ คลื่นไส้อาเจียน การอุดตันของหลอดเลือดนี้ถ้าได้รับการแก้ไข

ภายในเวลาน้อยกว่า 6 ชั่วโมง อาจช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงด้วยหลอด

เลือดนั้นไม่เสียไปทั้งหมดได้ (และจะดีมากถ้าสามารถแก้การอุดตันได้

ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ) การแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดใน

ปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด และการทำ

บอลลูนขยายหลอดเลือดทันที (primary PTCA) การให้ยาละลายลิ่มเลือด

สามารถให้ได้ในโรงพยาบาลแทบทุกแห่ง แต่การขยายหลอดเลือดทันทีด้วย

บอลลูนสามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่มีเครื่องมือและบุคคลา

กรพร้อมเท่านั้น

ภาวะหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์อุดตันนี้ประมาณ 50% จะเกิดขึ้นในขณะพัก

และสามารถเกิดในขณะหลับได้พอๆ กับขณะออกกำลังกายหนักด้วย ยังไม่

เป็นที่ทราบแน่นอนว่าอะไรเป็นสาเหตุเสริมให้เกิดภาวะนี้แต่ก็พบได้บ่อยๆ ว่า

มักจะเกิดภายใน 1 เดือนหลังจากมีความไม่สบายใจมากๆหรือมีการ

เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิตช่วงเวลาที่พบได้บ่อยได้แก่ ในช่วงเช้า,บ่ายแก่ๆ

และช่วงหัวค่ำ (เวลาเช้าประมาณ 9.00 น. จะพบได้บ่อยมากที่สุด) การ

วินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องได้รับการ

รักษาโดยการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันนั้นให้ได้โดยเร็ว จึงจะสามารถช่วยให้

กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายให้น้อยที่สุด ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายไปมากเท่าไรก็จะ

ยิ่งเป็นผลเสียมากขึ้นเท่านั้น เพราะกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่เหลืออยู่จะไม่

สามารถทำงานทดแทนได้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้นับเป็นภาวะที่อันตรายและต้องได้รับ

การรักษาอย่างรีบด่วนเพราะเราพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะเสียชีวิตก่อนมาถึงโรง

พยาบาลประมาณ 20 % และผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลที่ได้รับการรักษาแล้ว

ยังมีอัตราตายสูงถึง 5-10 % ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตนี้ประมาณ 50 % จะเสีย

ชีวิตภายใน 1 –2 ชั่วโมงแรก และประมาณ 70 – 80 % จะเสียชีวิตภายใน

24 ชั่วโมงข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและมีโอกาสจะเสียชีวิตได้ง่าย

ประกอบด้วย

1. อายุมาก โดยเฉพาะถ้ามีอายุ มากว่า 65 ปีขึ้นไป

2. ตำแหน่งหรือบริเวณที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจซีกซ้ายด้านหน้า จะมีอัตราเสี่ยงสูง

3. มีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือช้อค

4. มีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย

5. เคยมีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อนโดยเฉพาะเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจโต

6. เป็นโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับปอด

7. ผลการตรวจพิเศษบางชนิด เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือผลการตรวจเลือดบ่งบอกว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง

การรักษาหรือป้องกันด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวมานี้อาจมีผลทำให้การพยากรณ์

ของโรคดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็นด้วย การระวัง

ป้องกันและการดูแลรักษาตัวของผู้ป่วยเองจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นได้

และนำไปสู้การพยากรณ์โรคที่ดีหรือทำให้ความรุนแรงของโรคน้อยลงได้ต่อไป




 

Create Date : 24 ธันวาคม 2553   
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 11:52:19 น.   
Counter : 1466 Pageviews.  


โรคเลือดในเด็ก (โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย Thalassemia)

สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ของบุตรหลานของท่าน ย่อมเป็นสิ่งที่เราทุกคนปรานาแต่ว่าบางครั้ง เราพบว่าเด็กของเรามีสุขภาพอ่อนแอ เจ็บกาสพบได้มากในวัยเด็ก ไม่ว่าจะช่วงวัยเด็ก ทารก เด็กวัยเตาะแตะ เด็กวัยอนุบาล จนไปถึงเด็กโต เด็กวัยเรียน หรือเด็กวัยรุ่นเพศหญิง การที่จะวินิจฉัยว่าใครมีโลหิตจาง ทำโดยการตรวจเลือดและพบว่า เด็กผู้นั้นมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า หรือมีปริมาณฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักในเม็ดเลือดแดง) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในเด็กอายุนั้นๆ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กไทย คือภาวะขาดสาอาหารที่จำเป็นหรือขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการดูแลเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ทานยาบำรุงเลือดที่เหมาะสม ขจัดสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียเลือดเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิ สามารถรักษาโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กให้หายได้

อย่างไรก็ตาม โรคโลหิตจางที่เป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยในคนไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คือ โรคโลหิตจางธาลัสซเมีย(ThalassemHemoglobinopathies) ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธ์ โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้จากบิดามารดา ที่เป็นพาหะ(หรือภาวะแฝง) มาสู่บุตร ทำให้บุตรป่วยได้โดยที่บิดามารดาไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปรกติเลยจึงเป็นเรื่องน่าแปลกใจหรือน่าตกใจสำหรับบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่เพิ่งเคยทราบเป็นครั้งแรกว่าบุตรหลานของตนป่วยเป็นโรคนี้ อันที่จริง ประเทศไทยเรามีประชาชนที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดต่างๆ รวมกันประมาณ 20 – 30% ของประชากรทั้งหมด และคู่สมรสที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียประเภทเดียวกัน เมื่อให้กำเนิดบุตรแต่ละคนจะมีโอกาสเป็น โรคธาลัสซีเมียได้ 25% หรือ 1 ใน 4

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียหลายประเภท ที่สำคัญในเมืองไทยคือ กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียและกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย(Alpha-and Beta-Thalassemia diseases) กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียนั้น ถ้าเป็นแบบรุนแร(Hemoglobin Bart hydrops fetalis ) จะทำให้เด็กตายคลอดหรือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้ ถ้าเป็นแบบรุนแรงปานกลา(Hemoglobin H disease ) ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการซีดเรื้อรัง ตับม้ามโต ต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีไข้หรือเจ็บป่วยไม่สบาย เด็กจะซีดลงเร็วมากเนื่องจากเม็ดเลือดแดงจะแตกทำลายเร็วขึ้นอย่างมาก สำหรับกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย พวกนี้อาจมีความผิดปกติชนิดฮีโมโกลบินอี (Hemoglobin E ) ร่วมด้วยแบบที่มีอาการรุนแรงคือโฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย คือ(Homozygous Beta Thalassemia) ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการซีดมากตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ตัวเหลือง ท้องป่อง ตับโตม้ามโตมาก ร่างกายเจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ยแคระแกรน โครงสร้างใบหน้าเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (Thalassemia facies) มีโรคเจ็บป่วยอื่นแทรกซ้อนง่าย ผู้ป่วยต้องได้รับเลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอ ทุก 2 – 4 สัปดาห์ จึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ มิฉะนั้น สุขภาพจะทรุดโทรมอย่างมาก ซีดมากจนหัวใจวาย และมีอายุขัยสั้นโรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกล(Thalassemia/Hemoglobin E) ก็เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กไทย อาการอาจจะรุนแรงมากหรือค่อนข้างรุนแรงก็ได้

ปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซีดรุนแรง ควรจะพยายามหาทางปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากผู้บริจาคที่ไม่ป่วยและมีหมู่เลือดพิเศษ HLA ตรงกัน ซึ่งมักจะเลือกจากพี่น้องของผู้ป่วยก่อน เพราะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมีโอกาสมีหมู่ HLA ตรงกันได้ 25 % การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ถ้าไม่สามารถหาผู้บริจาคที่เหมาะสมได้ คงต้องให้การรักษาโดยการให้เลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอตลอดไป ร่วมกับการให้ยาขับเหล็กอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีภาวะธาตุเหล็กสะสมเกินผิดปกติจากการได้รับเลือดบ่อย ธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ ตับอ่อน ต่อมไร้ท่อและหัวใจ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับประทานยาบำรุงเม็ดเลือดโฟลิค (Folic acid) ทุกวันไปตลอดชีวิต ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและหลีกเลี่ยงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ผู้ป่วยบางรายมีม้ามโตมากหรือ มีอาการซีดลงเร็วมากจนต้องให้เลือดบ่อยขึ้น แพทย์อาจจะต้องพิจารณาผ่าตัดม้ามออกเมื่อผู้ป่วยมีอายุเกิน 4 ปีแล้ว วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้การดูแลด้วยความเข้าใจและใส่ใจผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก เด็กเล็กอาจจะกลัวการที่ถูกเจาะเลือดบ่อยหรือถูกแทงเข็มเพื่อให้เลือด เด็กโตที่รู้ความอาจเกิดความรู้สึกเป็นปมด้วยที่ตนเองเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง สุขภาพไม่แข็งแรง หรือหน้าตารูปร่างดูผิดปรกติ บิดามารดาผู้ปกครองและครูอาจารย์จะต้องคอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก โดยทั่วไป ถ้าเด็กได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและระดับเลือดแดงไม่ซีดมากเกินไป เด็กก็สามารถไปเรียนหนังสือหรือออกกำลังกายได้ใกล้เคียงกับเด็กปรกติคนอื่นโรคโลหิตจางในเด็กไทย ยังมีโรคอื่นๆ ที่พบได้อีกหลายโรค ซึ่งกุมารแพทย์ผู้ชำนาญทางโลหิตวิทยา สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำกับท่านได้




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2553   
Last Update : 23 ธันวาคม 2553 11:37:44 น.   
Counter : 1452 Pageviews.  


โรคลูปัส Systemic Lupus Erythrematosus (SLE)

โรคลูปัส คืออะไร

คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดย

ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดผิดปกติขึ้นต่อต้านทำลายเนื้อเยื่อของตนเอง

หรือกาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆอาจเกิดจากส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันที่

เรียกว่า “อิมมูนคอมเพล็ก” ไปสะสมในเนื้อเยื่อเหล่านี้และกระตุ้นให้เกิดการ

อักเสบขึ้น (ในคนปกติระบบภูมิคุ้มกันมีไว้เพื่อต่อต้านทำลายสิ่งแปลกปลอม

ที่มาจากภายนอกร่างกาเช่น เชื้อโรคต่างๆแต่จะไม่ทำร้ายเนื้อเยื่อในร่างกาย

ของตนเองเพราะมีกลไกตามธรรมชาติที่จดจำร่างกายของตัวเองได้)

สาเหตุเกิดจากอะไร

มีการศึกษาอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางในต่างประเทศและมีหลักฐานพอสรุป

ได้ว่า โรคลูปัสมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยทางพันธุกรรมนั้นพบว่ามียีนส์ (Genes) หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการ

เกิดโรคและกลไกที่ยีนส์เหล่านี้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันก็มีควาซับซ้อนมาก

เชื่อว่าไม่มียีนส์ตัวหนึ่งตัวใดที่จะอธิบายการเกิดโรคได้ทั้งหมดแต่เป็นผลที่

เกิดจากยีนส์หลาย ๆ ชนิดร่วมกัน(รวมทั้งยีนส์บางชนิดก็อาจมีคุณสมบัติใน

การป้องกันโรคได้)นอกจากนี้ใแต่ละเชื้อชาติยีนส์ที่ก่อโรคก็อาจจะต่างกัน

ไปหรือเหมือนกันก็ได้ส่วนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้อาการของโรค

ปรากฏขึ้นหรือกำเริบขึ้นได้แก่รังสีอุลตร้าไวโอเลท B ในแสงแดด ,ฮอร์โมน

เพศ (พบโรคนี้ในผู้หญิงต่อผู้ชาย 9 : 1 ) ,อาหารบางชนิด เช่น Alfalfa ซึ่งมี

สาร L-Canavanine ,ทานอาหารที่ไขมันอิ่มตัวมาก) ,เชื้อโรคต่างๆทั้ง

แบคทีเรียและไวรัส ,สารเคมีและยาบางชนิด(เช่น Hydralagine

,Procainamide ,INH ,Hydantoins..)

พบโรคนี้บ่อยแค่ไหน

โรคลูปัสเป็นโรคที่ศึกษาอุบัติการณ์ (จำนวนผู้ป่วยใหม่ต่อปี) ให้ถูก

ต้องใกล้เคียงได้ยาก รายงานในต่างประเทศ เช่น สวีเดน , สหรัฐอเมริกา

อุบัติการณ์อยู่ระหว่าง 3.5-5.4-9.2 ต่อแสนต่อปีในผู้หญิงความชุกของโรค

(จำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งหมด) โดยเฉลี่ย 100 ต่อประชากรแสนคนในผู้หญิง

หรือกล่าวได้ว่าพบ 1 ใน1000 คน จัดเป็นโรคที่ไม่พบบ่อย(Uncommon)

ประมาณว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยหญิงประมาณ 3 ล้านคนและผู้ป่วยชายประมาณ 3

แสนคน ในประเทศไทยเรา ก็พบผู้ป่วยโรคลูปัสเป็นจำนวนมากที่เข้ารับการ

รักษาในโรงพยาบาลต่างๆทั้งของรัฐบาลและเอกชน จัดได้ว่าพบโรคนี้อยู่

เสมอและผู้เขียนเชื่อว่าความชุกของโรคคงไม่น้อยกว่าในต่างประเทศ

อาการของโรคเป็นอย่างไร

โรคลูปัสเป็นโรคที่มีอาการเกี่ยวข้องกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้

แทบทุกระบบ ในระยะแรกอาจมีอาการเพียงอย่างเดียวหรือระบบเดียว แล้วมี

อาการเพิ่มเติมของอวัยวะอื่น ๆ ตามมาภายหลัง(หรือบางคนก็มีอาการหลาย

อย่างพร้อม ๆ กันตั้งแต่แรก) ความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่เป็นน้อย , เป็นๆ

หาย ๆ หรือเป็นต่อเนื่องจนถึงขั้นรุนแรงเสียชีวิตได้ ธรรมชาติของโรคจะมี

ระยะที่อาการต่างๆ กำเริบก่อให้เกิดความไม่สบายต่างๆ นานๆ และระยะที่

โรคสงบลงจนผู้ป่วยบางคนรู้สึกเป็นปกติดีทุกประการ อาการต่างๆ แบ่งตาม

ระบบอวัยวะได้ดังนี้

อาการทั่วไป : มีไข้, อ่อนเพลีย,เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด

ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ ปวดข้อ ,ปวดกล้ามเนื้อ, ไขข้ออักเสบ

(ข้อบวม – นิ้วบวม มักเป็นที่นิ้วมือ,ข้อมือ, หัวเข่า), เส้นเอ็นอักเสบ, กล้ามเนื้ออักเสบและอ่อนแรง

ระบบผิวหนัง ผื่นที่แก้มเป็นรูปคล้ายผีเสื้อ, ผื่นแพ้แสงแดด, ผมร่วง(ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร) , ผื่นอื่น ๆ หลายชนิด และการอักเสบในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง, ผื่นจากเส้นเลือดฝอยอักเสบ, แผลในช่องปากและจมูก

ระบบไต ได้แก่ อาการบวมทั้งตัว, ไตวายทั้งแบบเฉียบพลัน(เนื่องจากไตอักเสบรุนแรง) และแบบเรื้อรัง, บางรายอาจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดโดยไม่มีอาการภายนอก

ระบบประสาท ได้แก่ อาการชัก, อาการทางจิต, ปวดศีรษะ,เส้นเลือดสมองอุดตัน,การควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ,การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ, เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง,เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ไขสันหลังอักเสบ, เส้นประสาทต่าง ๆอักเสบ

ระบบเส้นเลือด การอุดตันของเส้นเลือดทั้งขนาดใหญ่และเล็ก,การอักเสบของเส้นเลือด, ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด

ระบบเม็ดเลือด ได้แก่ โลหิตจาง, เม็ดเลือดขาวต่ำ, เกล็ดเลือดต่ำ

ระบบหัวใจและปอด ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (อาจทำให้เต้นผิดปกติ,หรือหัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้), ลิ้นหัวใจอักเสบ,เส้นเลือดหัวใจอุดตัน, เยื้อหุ้มปอดอักเสบ, ปอดอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง,ความดันเส้นเลือดในปอดสูง, เลือดออกในเนื้อปอด , การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ แน่นท้อง, คลื่นไส้, ท้องเสีย, เยื่อบุช่องท้องอักเสบ, เส้นเลือดของลำไส้อักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ,ต่อมน้ำลายอักเสบ, ตับอักเสบ

ระบบตา ได้แก่ เส้นเลือดที่จอรับภาพอักเสบ, เส้นประสาทตาอักเสบ, เยื่อบุตาอักเสบ, ต่อมน้ำตาอักเสบทำให้ตาแห้ง

อาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาในแต่ละระบบนั้น ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคลูปัสทุกคนจะต้องมีครบทุกอย่าง ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการเพียงบางอย่างเท่านั้น ส่วนความรุนแรงก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน จึงควรอ่านพอให้เข้าใจขอบเขตของโรค แต่ไม่ควรคิดวิตกกังวลจนเกินไป

วินิจฉัยอย่างไร หลักเกณฑ์ที่ยอมรับในการวินิจฉัยโรคลูปัส เรียบ

เรียงโดยสมาคมรูมาติสซั่มของสหรัฐอเมริกา(1982 Criteria) ประกอบด้วย

1. ผื่นรูปผีเสื้อ( Malar rash)

2. ผื่นแบบ Discoid

3. อาการแพ้แดด

4. แผลในช่องปาก

5. ไขข้ออักเสบ

6. เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

7. ไตอักเสบ (พบโปรตีนและเซลล์ในปัสสาวะ)

8. อาการทางสมอง เช่น ชัก หรือ โรคจิต โดยไม่พบเหตุอื่น ๆ

9. โลหิตจาง , เม็ดเลือดขาวต่ำ , หรือเกล็ดเลือดต่ำ โดยไม่พบเหตุ จากยาต่าง ๆ

10. ตรวจเลือดพบ LE cell , anti­-ds DNA , anti-sm หรือ false- positive VDRL

11. ตรวจเลือดพบ ANA โดยไม่ได้เกิดจากยาต่าง ๆถ้าผู้ป่วยมีอาการครบ
4 ข้อ ใน 11 ข้อ จะสามารถวินิจฉัยโรคลูปัสได้โดยมีความถูกต้องถึง 98%
และความไว 97% อย่างไรก็ตามกฏเกณฑ์เหล่านี้คงจะมีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขต่อไปตามกาลเวลาและการค้นพบใหม่ ๆ

รักษาอย่างไร

โรคลูปัสในปัจจุบันนี้เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

วัตถุประสงค์ของการรักษาคือ ลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ให้กลับสู่

ภาวะใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้อาการเจ็บปวดทรมานต่าง ๆ ลด

ลง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นไม่ถูกทำลายและสามารถใช้งานต่อไปได้ยาวนาน

ที่สุด จึงทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมทุกอย่างดีขึ้น ในขณะเดียวกันการให้ยา

ที่ถูกต้องอาจช่วยควบคุมให้โรคสงบลงไม่กำเริบบ่อย ๆ โดยมีหลักในการให้

ยาน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นในการคุมโรค เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงของยาน้อย

ที่สุด การรักษาจะเริ่มจากการวินิจฉัยที่ถูกต้องว่าอวัยวะใดที่อักเสบบ้างและ

มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ผู้ป่วยประมาณ25% จะมีโรคที่ไม่รุนแรงและ

ไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาแรงที่มีผลข้างเ

คียงมากยาที่อาจใช้ได้ได้แก่ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเอรอด์,ยต้านมาเลเรีย

(ใช้รักษาอาการทางผิวหนังและข้ออักเสบ),ยาฉีดเฉพาะที่,ยาทา,Retinoids

และ Dapsone ส่วนผู้ป่วยในกลุ่มที่มีการอักเสบของอวัยวะที่สำคัญ และมี

การอักเสบรุนแรงชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ไต,สมอง และ

ไขสันหลัง, เส้นประสาท, เส้นเลือดในตำแหน่งสำคัญ, หัวใจ, ปอด,

ลำไส้,ระบบเลือด, การอักเสบเหล่านี้แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องให้ยาในกลุ่ม

คอร์ติโคสเตอรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ควบคุมการอักเสบได้เร็วและชะงัก (ผลดีของ

ยามากกว่าผลเสีย ในกรณีเหล่านี้) เมื่อโรคดีขึ้นแล้วจึงลดขนาดยาลงใน

ระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างช้า ๆ เพื่อมิให้กำเริบ และอาจต้องพิจารณาให้ยา

ลดภูมิต้านทานเพื่อควบคุมโรคให้สงบต่อเนื่องในผู้ป่วยบางราย ในระยะยาว

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ความรุนแรงของโรคลดลงแล้วสงบลงแล้ว อาจยังต้องรับ

ประทานยาที่ควบคุมโรคในขนาดต่ำ ๆ เพื่อป้องกันมิให้โรคกำเริบและเฝ้า

ติดตามอาการเป็นระยะ ตลอดจนการดูแลผลข้างเคียงของยาให้เกิดน้อย

ที่สุด ยาอื่นๆ ที่มีส่วนเสริมให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ได้แก่ ยาควบคุม

ความดัน, ยาคุมน้ำตาล, วัคซีนป้องกันการติดเชื้อต่างๆ , วิตามินดี,

แคลเซียม, ยาเสริมกระดูกต่าง ๆ ป้องกันกระดูกบางและผุ ,ยาป้องกันการ

แข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน

วิธีการรักษาใหม่ ๆ หลายชนิด ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาค้นคว้า

เช่น ยาลดภูมิต้านทานชนิดใหม่ๆ , การถ่ายเลือด, intravenous gamma

globulin, การฉายแสงที่ต่อมน้ำเหลือง, antibody ต่อT lymphoeyte เป็นต้น



การพยากรณ์ของโรคเป็นอย่างไร

โรคลูปัสมีอัตราการรอดชีวิต 70% ในระยะเวลา 10 ปี ขึ้นกับอวัยวะที่มีความผิดปกติ สาเหตุของการเสียชีวิตได้แก่ ภาวะไตวาย และการติดเชื้อ








 

Create Date : 22 ธันวาคม 2553   
Last Update : 22 ธันวาคม 2553 10:40:55 น.   
Counter : 1606 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com