นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ภาพงานสัมมนา“เบาหวาน..ไม่หวานอย่างที่คิด & แผลเบาหวานที่เท้า..ไม่ต้องตัดเท้าจริงหรือ?

ภาพงานสัมมนา "เบาหวานไม่หวานอย่างที่คิด &แผลเบาหวานที่เท้า...ไม่ต้องตัดเท้าจริงหรือ?"
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2555 ณ.ห้องประชุม อาคาร C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง
โดยที่งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นพ.สุทัศน์ ฮ้อศิริมานนท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมหลอดเลือด พญ.วลัยรัตน์ จริยะเศรษฐพงศ์
อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ เป็นวิทยากรให้ความรู้บรรยากาศภายในงาน
อบอุ่นและเป็นกันเอง นอกจากนี้ยังมีบริการ ตรวจวัดความดันตา ตรวจวัดความดันโลหิต 
และมีพยาบาลผู้ชำนาญการมาคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพอีกด้วย
เรียกได้ว่าผู้ที่มาร่วมงานสัมมนาในวันนั้นได้รับทั้งความรู้ต่างๆๆมากมาย
และสุขภาพที่ดีกลับบ้านกันทุกคนเลย...












 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 27 กรกฎาคม 2555 10:50:28 น.   
Counter : 1639 Pageviews.  


ขอเชิญร่วมสัมมนาในหัวข้อ “เบาหวาน..ไม่หวานอย่างที่คิด & แผลเบาหวานที่เท้า..ไม่ต้องตัดเท้าจริงหรือ? ”






คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลรามคำแหง  
ขอเชิญร่วมสัมมนาในหัวข้อ  
“เบาหวาน..ไม่หวานอย่างที่คิด & แผลเบาหวานที่เท้า..ไม่ต้องตัดเท้าจริงหรือ? ” 
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2555  เวลา 13.00 - 16.00 น. 
ณ ห้องประชุม อาคาร C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง 
โดย พญ.วลัยรัตน์  จริยะเศรษฐพงศ์  อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
และ นพ.สุทัศน์  ฮ้อศิริมานนท์  ศัลยกรรมหลอดเลือด

13.00 – 13.30 น.ลงทะเบียน พร้อมรับบริการสุขภาพ
- ตรวจวัดความดันโลหิตด้วยระบบดิจิตอล
- ตรวจวัดความดันตาอัตโนมัติชนิดไม่สัมผัส
- รับคำปรึกษาปัญหาเบาหวานโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ตรวจหาภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบด้วยเครื่อง ABI ในราคา 100 บาท

13.30 – 14.20 น.เบาหวาน..ไม่หวานอย่างที่คิด
พญ.วลัยรัตน์  จริยะเศรษฐพงศ์      อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
-  ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นเบาหวาน
-  เป็นเบาหวาน...ทำไมต้องรักษา
-  มาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

14.20 – 15.00 น.แผลเบาหวานที่เท้า..ไม่ต้องตัดเท้าจริงหรือ?
นพ.สุทัศน์  ฮ้อศิริมานนท์     ศัลยกรรมหลอดเลือด
- สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้า
- ทำอย่างไร...ถ้าเป็นแผลเบาหวานที่เท้า
- นวัตกรรมการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า โดยไม่ต้องตัดเท้า

15.00 – 16.00 น.ไขข้อข้องใจ...ในผู้เป็นเบาหวาน

16.00 น. รับประทานอาหารว่าง
จบการสัมมนา


ไม่เสียค่าใช้จ่าย!
สำรองที่นั่งด่วนที่ เคาน์เตอร์เบาหวาน อาคาร B ชั้น1 
หรือโทร  02-7439999 ต่อ  Call  Center  2999




 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 4 กรกฎาคม 2555 14:09:31 น.   
Counter : 1964 Pageviews.  


นวัตกรรมในการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า

“หากคุณเป็นเบาหวาน และมีแผลที่เท้ายังมีวิธีการอีกมากที่ช่วยคุณได้

ให้โอกาสกับตัวคุณและขาของคุณสักนิดก่อนที่คุณจะตัดสินใจตัดขา ”

   ..ผู้เป็นเบาหวานประมาณร้อยละ15 จะเกิดแผลที่เท้า และร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขาสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 จะมีผู้เป็นเบาหวานประมาณ 2.1ล้านคน และจะมีผู้ที่ถูกตัดเท้าถึง 27,300 คน หรือประมาณ 3-4 คนต่อวัน มีผู้เป็นเบาหวานจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ตัวเองว่ากำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลายตีบหรือจะเกิดแผลเบาหวานที่เท้าเข้าให้แล้วและมีคนอีกจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการดังกล่าวที่ตัวเองเป็นนั้น ไม่ร้ายแรง ที่ไหนได้แล้วทุกอย่างมันก็สายเกินแก้ไปเสียแล้ว ทั้งๆ ที่ควรจะป้องกันหรือรักษาขาไว้ได้ ถ้ารู้ตัวเสียแต่เนิ่นๆ


       สัญญาณเตือนว่าจะเกิดแผลเบาหวานที่เท้า ได้แก่ ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
สีผิวของขาจะคล้ำขึ้นบางรายอาจจะซีด คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้ เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน เล็บหนาตัว เกิดแผลเรื้อรังที่เท้า หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว  ผู้เป็นเบาหวานนอกจากมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ขาตีบตันแล้วตัวโรคเบาหวานเองยังทำให้เท้าชาอีกด้วย เมื่อเกิดแผลที่เท้า ก็มักถูกปล่อยปละละเลยเพราะแผลไม่เจ็บปวด จนทำให้แผลลุกลาม  อาการเริ่มแรกของหลอดเลือดส่วนปลายตีบอาจไม่มีอาการใดๆเมื่อมีการตีบตันมากขึ้นจะเริ่มมีปัญหาการปวดที่ขาเวลาเดินได้ซักระยะหนึ่งจนจำเป็นต้องหยุดพัก ต่อเมื่อการตีบตันเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลงเพราะความปวดอาจมีแผลเกิดขึ้นซึ่งแผลรักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติจนไปถึงนิ้วเท้าดำ ตายเสียขาได้  มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีอาการปวดขาใดๆ เลยจนกระทั่ง เกิดแผลไม่หาย หรือนิ้วเท้าดำตายซึ่งโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแผลอาจจะลุกลาม มีการติดเชื้อจนถึงขนาดต้องตัดขาบางรายมีการติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การตัดนิ้วเท้าหรือ ตัดเนื้อตายเพียงอย่างเดียว มักไม่ทำให้แผลหายแต่กลับยิ่งทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ถึงขั้นเสียขาได้ ดังนั้นโรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจึงจะหายและรักษาขาไว้ได้

โดยทั่วไปในคนที่เป็นเบาหวานแล้วมีแผลเกิดขึ้นแพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายโดยยังทำการตรวจพิเศษอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปด้วย นั่นคือตรวจวัดความดันของหลอดเลือดที่ขาเทียบกับที่แขนหรือที่เรียกว่า ABI ซึ่งจะเป็นการคัดกรองผู้ป่วยว่ามีภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันหรือไม่โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0.9-1.4  ซึ่งหากพบว่าค่า ABI ต่ำกว่า 0.9 แสดงว่าผู้ป่วยอาจจะมีภาวะหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้น  แต่ถ้าต่ำกว่า0.4หมายความว่าโอกาสที่ผู้ป่วยจะต้องถูกตัดขานั้นค่อนข้างสูงแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ทั้งนี้หากพบความผิดปกติดังกล่าวศัลยแพทย์อาจจะพิจารณาส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมโดยการอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดด้วยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CTScan)หรือตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRIซึ่งจะทำให้เห็นตำแหน่งของการตีบตันได้อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์สำหรับวางแผนการรักษาลำดับต่อไป

สำหรับวิธีการรักษาหลอดเลือดส่วนปลายตีบโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวดนี้ ตอนนี้เทคโนโลยีการรักษาด้วยการใส่สายสวนหลอดเลือดมีความก้าวหน้าไปค่อนข้างมากจากเดิมที่ทำได้แค่นำบอลลูนเข้าไปขยายในเส้นเลือดที่มีการตีบจุดสั้นๆเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำได้มากกว่าแม้จะมีการตีบตันสนิทเป็นระยะทางที่ยาวขึ้น ซึ่งการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดไม่ต้องดมยาสลบ ทั้งยังฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ความสูญเสียที่ผู้ป่วยเบาหวานได้รับจึงได้นำนวัตกรรมการรักษาแผลเบาหวานที่เท้าที่เกิดจากโรคหลอดเลือดตีบตัน โดยมีทางเลือกอยู่หลายวิธี ผู้ป่วยที่การตีบตันเพียงเล็กน้อยอาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยารักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพมากขึ้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่มากขึ้นเช่นการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด การผ่าตัดตัดต่อ bypass เส้นเลือดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาได้

ปัจจุบันวิทยาการด้านการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดรุดหน้าไปมากจากเดิมทำได้เพียงขยายหลอดเลือดที่ตีบเป็นความยาวสั้นๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำได้แม้ในผู้ป่วยที่มีการตันของหลอดเลือดที่มีระยะทางยาวๆได้ จนทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด  ข้อดีของการรักษาด้วยการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดมีข้อดีมากมาย อาทิผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลเกิดขึ้นมีเพียงรูเข็มเล็กๆที่ผิวหนังบริเวณที่เจาะเท่านั้น เจ็บเพียงเล็กน้อยคล้ายการเจาะเลือด ไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาสลบเพียงแค่ฉีดยาชาบริเวณตำแหน่งที่จะเจาะหลอดเลือดเท่านั้นก็สามารถทำได้ หลังจากทำผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้นไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์เหมือนผ่าตัด สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการผ่าตัด

หากคุณตรวจพบว่ามีปัญหาหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันอย่านิ่งนอนใจเพราะนั่นอาจนำมาซึ่งความสูญเสียกับตัวคุณ และขาของคุณ

ด้วยปรารถนาดีจาก

คลินิกรักษาแผลเบาหวานที่เท้า

รพ.รามคำแหง





 

Create Date : 26 มิถุนายน 2555   
Last Update : 26 มิถุนายน 2555 14:18:30 น.   
Counter : 2302 Pageviews.  


ระวังภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงวัย พลาดนิดเดียวสะโพกหักไม่รู้ตัว

บางรายยอมทนปวดก่อให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนได้และมีสิทธิ์ลุกลามรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแพทย์แนะให้ตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่นๆ เพราะมีเทคโนโลยียุคใหม่มาช่วยให้ทราบผลอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยอย่างได้ผลมากขึ้น

โรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกโปร่งบางคือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้นซึ่งกรณีของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาจากศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลรามคำแหง จะมาด้วยอาการเจ็บปวดบริเวณสะโพก หลังหรือไหล่ซึ่งจากการตรวจวินิจฉัยก็พบว่ามีกระดูกหักโดยมีสาเหตุมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

โดยทั่วไปกระดูกพรุนจะไม่มีอาการ และผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองกระดูกพรุน จนกว่าจะหกล้มแล้วเจ็บไม่ยอมหาย ญาติจึงจะพามาพบหมอซึ่งหลังจากส่งตรวจเอ็กซเรย์แล้วจะพบทั้งกระดูกหักกับร่องรอยของกระดูกพรุนที่มีอยู่ก่อนแล้ว นี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมล้มนิดๆหน่อยๆ จึงทำให้กระดูกหักซึ่งภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุนี่เองที่ทำให้กระดูกหักง่าย

ทั้งนี้สำหรับผู้สูงอายุและญาติผู้ใกล้ชิดที่อาจสงสัยว่าเข้าข่ายภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ก็สามารถทำการตรวจเพื่อหาภาวะกระดูกพรุนได้ก่อนที่จะมีอาการโดยการใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกซึ่งหากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐานคือ -2.5 ก็ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุนแล้วซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยขั้นตอนการใช้ยาแต่หากในรายที่ถึงขั้นกระดูกหักแล้วศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเป็นลำดับต่อไป

วิธีการรักษานั้น ถ้ากระดูกหักบริเวณคอสะโพก เรามักจะเปลี่ยนเป็นสะโพกเทียม แต่ถ้าถัดจากบริเวณคอลงมา เราจะทำการยึดตรึงกระดูกให้กับผู้ป่วยซึ่งก็มีโอกาสสูงที่กระดูกจะติดเร็ว แล้วการผ่าตัดกระดูกหักบริเวณนี้พัฒนาไปมากแผลก็เล็กลง คนไข้จะเจ็บน้อย หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วันคนไข้ก็สามารถที่จะนั่งได้ เป้าหมายขอการรักษาก็คือพยายามนำคนไข้กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนจะหัก เพื่อเขาจะได้ใช้ชีวิตประจำวันของเขาเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด

สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ทนเจ็บปวดโดยไม่ยอมไปรับการรักษาอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนอาทิ ภาวะปอดอักเสบ ปอดบวม มีแผลกดทับหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบอันเป็นผลจากการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ และอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่พบว่าผู้สูงอายุหกล้มแม้เพียงเล็กน้อยญาติผู้ใกล้ชิดก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆเพื่อมิให้อาการบานปลายจากกรณีกระดูกหักโดยไม่รู้ตัว

ข้อมูลสุขภาพโดย โรงพยาบาลรามคำแหง




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2555   
Last Update : 19 มิถุนายน 2555 15:11:19 น.   
Counter : 2290 Pageviews.  


หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม


ทำไมจึงต้องใช้หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม?

ในกรณีที่ปวดหลังที่มีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมที่รับการรักษาด้วยวิธีประคับประคองหรือวีธีผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนของเหลวออกไม่ได้ผลหรือเกิดผลแทรกซ้อนตามมาจากการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีใดๆก็ตาม การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังในระดับที่เป็นปัญหาเป็นที่ยอมรับและใช้กันมาอย่างกว้างขวางและยาวนานการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังแม้ผลที่ได้รับจะอยู่ในเกณท์ที่ดี แต่ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อนข้างสูงทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นเหตุให้เกิดการรักษาด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม

การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง
การเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มตั้งแต่วัยรุ่นและเสื่อมมากขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นไปตามวัยและลักษณะการใช้งานเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์และการเผาผลาญ (Metabolism) โปรติโอไกลแคนที่อยู่ในส่วนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Nucleus pulposus) ทำให้สูญเสียความสามารถอุ้มน้ำที่ช่วยให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดแรงดึงตัวคงสภาพความสูงและความยืดหยุ่นคล้ายลูกโป่งที่มีแกสอัดอยู่ภายในรั่วซึมออกไปเกิดการยุบตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง การกระจายแรง-น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม ความสามารถในการรับน้ำหนักกระจายน้ำหนักสูญเสียไป ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Anulus fibrosus) จะเป็นเส้นใยหลายๆชั้นที่ประสานกันจะเกิดการฉีกขาดจากด้านในออกสู่ด้านนอกที่มีลักษณะคล้ายกับยางรถยนต์ที่เส้นใยผ้าใบฉีกขาดทำให้ขอบนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังบางลง เมื่อได้รับแรงหรือน้ำหนักกดลงมาจะโป่งพอง เกิดแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆที่มีระบบประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด (Sinu vertebral nerve) อยู่จึงทำให้มีอาการปวดหลังขึ้น หรือถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูนไปทางด้านที่เป็นที่อยู่ของไขสันหลังและเส้นประสาท(Spinal canal & spinal nerve) เกิดการกดทับก็ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ (Roots pain) บางกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของเหลวที่ช่วยดูดซับน้ำหนักที่มากระทำมากจนเกินกว่าที่กระดูกอ่อนที่ปิดด้านบนและด้านล่างของหมอนรองกระดูกสันหลัง(Vertebral endplate) จะรับได้ เกิดการแตกร้าว ( schmoll’s node)กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายก็จะเกิดหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไปที่หมอนรองกระดูกสันหลังระดับนั้นๆทำให้รับรู้การปวดเจ็บจากน้ำหนักหรือแรงที่กดทับลงมาได้
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อน 
เมื่อผู้ป่วยเจ็บมีอาการปวดหลังที่แพทย์ให้การวินิจฉัยแล้วว่าอาการปวดมีต้นเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังโดยทั่วไปจะให้การรักษาตามลำดับดังนี้
-การรักษาด้วยการประคับประคอง คือ การบริหารยา นอนพัก กายภาพบำบัด และติดตามผลการรักษาว่าก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าดีขึ้นหรือไม่เลวลงก็จะเฝ้าติดตามดูอาการต่อไปเพราะอาจจะได้ผลดีต่อการรักษาด้วยการประคับประคองถ้าผลของการรักษา อาการทรุดลงกว่าเดิม มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดเวลาใช้งานปวดตามแนวเส้นประสาทเวลานอน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลีสูญเสียความรู้สึกสัมผัส ชา ไอจามกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ก็จะพิจารณาตรวจค้นหารอยโรคเพิ่มด้วยการเอ็กซเรย์ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI.Spine) แล้ววางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป-
การผ่าตัดปัจจุบันการวิวัฒนาการการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ก้าวหน้าไปมากทั้งอุปกรณ์เครื่องมือวิธีการผ่าตัด ทำให้เกิดการเปลิ่ยนแปลงวิธีการรักษาและข้อบ่งชี้การผ่าตัดแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา เช่น-

๑.การสลายหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในที่เป็นสารกึ่งเหลว เพื่อลดแรงดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ เช่นสารน้ำย่อยไคลโมปาเปน (Nucleolysis) สลายด้วยคลื่นความถี่สูง (RF. Nucleoplasty) เครื่องอุปกรณ์ดูดสารกึ่งเหลวหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนในออก (A.P.L.D.) กล้องส่องเข้าภายในหมอนรองกระดูกสันหลังเอาส่วนกึ่งเหลวออก(Endoscopics dicsectomy)
๒.การผ่าตัดเปิดแผล เอาหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นสารกึ่งเหลวออกเช่น ผ่าด้วยกล้องจุลลทัศน์ (Microscopic dicsectomy) ผ่าตัดเปิดแผลเล็ก ( Minimal Invasive Surgery) ผ่าตัดเปิดแผลตามปรกติ (Conventionaldicsectomy)๓.การผ่าตัดสอดใส่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวทดแทน(Nucleuspulposus replacement)๔.ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง (Total disc replacement)๕.ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) ใช้โลหะช่วยยึดหรือไม่ใช้โลหะช่วยยึดการผ่าตัดจะใช้วิธีใด ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไปอีกทั้งประสพการณ์ของแพทย์ที่ให้การรักษาก็มีส่วนสำคัญที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย
ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังที่กระทำกันโดยตัดเอาส่วนที่ยื่น หรือเคลื่อนไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทพร้อมกับส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวภายในออก ก็จะทำให้อาการปวดหลังหรือปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทหายไป แต่จากการติดตามผู้ป่วยต่อไปในระยะยาวพบว่าจะเกิดการไม่มั่นคง (Unstable spines) ของกระดูกสันหลังส่วนนั้น จากการทรุดตัวลงของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนขอบนอก(Anulus fibrosus) ของหมอนในระดับที่ผ่าตัดไปเนื่องจากเมื่อผ่าตัดเอาสารกึ่งเหลวออกไปจะขาดแรงดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลังกระดูกสันหลังระดับบนกับระดับล่างต่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดจะทรุดมาอยู่ชิดกัน ทำให้รูของเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังจะตีบแคบลง( Lateral neural canal stenosis) เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสัน ที่ลอดผ่านออกมาถูกกดทับ ก็จะกลับมามีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท คล้ายก่อนผ่าตัดอีกทั้งข้อด้านหลังของกระดูกสันหลัง (Facet joints) จะรับน้ำหนักมากขึ้นข้อจะเสื่อมเร็วกว่าปรกติที่ควรจะเป็น จะทำให้เจ็บ ปวดหลังเวลาเปลี่ยนอริยะบท ก้มเงย หรือบิดลำตัว การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังอันบนกับอันล่างของหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหาซึ่งอาจจะยึดตรึงด้วยโลหะแบบใดก็ตามจะช่วยแก้ปัญหาการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ผ่าตัดไปแล้วได้ แต่ปัญหาไม่ได้สิ้นสุดลงตรงเพียงนั้นยังเกิดผลอื่นๆตามมาเช่น-
๑.กระบวนการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังของร่างกายถูกรบกวนจากการเชื่อมกระดูกสันหลัง
๒.หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนบน และส่วนล่างต่อระดับที่ผ่าตัดเชื่อมไปแล้ว ต้องรับแรง น้ำหนักมากขึ้นเป็นผลให้เสื่อมเร็วกว่าปรกติ ภายใน 5 ปีพบถึง 60%
๓.อาการปวดหลังยังคงอยู่หลังผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเชื่อมมักกระทำการเชื่อมด้านหลังอย่างเดียว (Posterior- Lateral fusion)จะไม่ได้ผ่าเอาเส้นประสาทรับรู้ความจ็บปวด (Sinu Vertebral nerve) ออกไปด้วยเพราะไม่ได้ผ่าตัดเชื่อมรอบ ๆ ๓๖๐ องศา ซึ่งต้องผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดที่ยากและใช้เวลาการผ่าตัดนานมาก
๔.การเชื่อมกระดูกสันหลังไม่สามารถยกความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังหรือระยะห่างของกระดูกสันหลังได้เท่ากับธรรมชาติ การกดระคายเคืองส้นประสาท (Nerveroot) ยังคงมีอยู่ ยกเว้นการผ่าตัดที่ใช้โลหะยึดตรึง
๕.ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุน ไม่สามารถใช้โลหะยึดตรึงได้ เกิดปํญหาโลหะที่ยึดตรึง หักหรือหลวมหลุดในสภาวะที่เกิดกระดูกพรุนหรือเชื่อมกระดูกสันหลังไม่ติด

หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมได้กระทำกันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ ได้มีการทดลองและ มีการพัฒนาทั้งรูปแบบหมอนเทียม และวัสดุที่มาทดแทน จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๙จึงนำมาใช้กับผู้ป่วยเป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศษ อีก ๑๐ ปีต่อมาจึงมีรายงานจากหมอ Ferstrom ใช้โลหะ สเตนเลสเป็นลูกกลมๆใส่เข้าไปทดแทนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่เป็นของเหลว (Nucleuspulposus) ที่ผ่าออกไปกับผู้ป่วย ๒๕๐ ราย เป็นผลดีที่น่าพอใจ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๓เรี่มมีการใช้หมอนเทียมทดแทนทั้งหมด (Total disc replacement) ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปร่าง วัสดุ
พ.ศ. ๒๕๒๗ หมอ Schellnack และหมอ Buttner-Janz ได้ใช้หมอนเทียม มีชื่อ Charite ซึ่งยังต้องใช้หมอนรองกระดูกสันหลัง ส่วนนอก (anulus fibrosus)ช่วยในการให้ความมั่นคงของข้อเทียม (unconstrain) มาใช้กับผู้ป่วย จนปัจุบัน เป็นรุ่นที่ ๓ ผลการรักษาดี
พ.ศ. ๒๕๒๓ หมอ Marnay ได้ทำการทดลอง วิจัย ต่อมา หมอ Fick หมอ Lysell และหมอ Gonon ได้พัฒนาหมอนเทียมSemiconstraint ชื่อ Prodisc จนปัจจุบับเป็นแบบรุ่นที ๒
จากการวิจัยพัฒนา วิธีการผ่าตัดตลอดจนเครื่องมือผ่าตัดทำให้การผ่าตัดได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่ำแผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และเป็นการรักษาต้นเหตุของอาการ
๑.     ผ่าตัดเอาส่วนที่สร้างปัญหาการเจ็บปวด (Paingenerator) ออกไป
๒. กระดูกสันหลังระดับบนและระดับล่างต่อการผ่าตัดยังมีการเคลื่อนไหวตามปรกติ(Preserve spinal unit motion)  ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนอื่นไม่ต้องรับน้ำหนักทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าปรกติ
๓. คงความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังใกล้เคียงธรรมชาติทำให้ช่ องเส้นประสาท  (Lateral neuralcanal) กว้าง    ไม่กดทับหรือระคายเคืองเส้นประสาท
๔. ข้อกระดูกสันหลัง ( Facet joints)ไม่ทำงานหนักมากกว่าปรกติ จึงไม่เสื่อมเร็วกว่าปรกติ
๕. การผ่าตัดไม่ได้รบกวนต่อไขสันหลังและเส้นประสาทไม่เกิดเนื้อเยื่อพังผืดรัดเส้นประสาทไม่ตัดเลาะกล้ามเนื้อหลังความแข็งแรงกล้ามเนื้อยังคงเดิม




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2555   
Last Update : 11 มิถุนายน 2555 14:52:07 น.   
Counter : 1884 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com