นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

เชิญร่วมบริจาคโลหิต


โรงพยาบาลรามคำแหงร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่

พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว

ในโครงการ
“อุ่นรัก (ไอ) ราม” โดยเปิดรับบริจาคโลหิตใน

วันจันทร์ที่
18 กุมภาพันธ์2556ตั้งแต่เวลา 09.00- 15.00 น.

ณ อาคารซี ชั้น
10 โรงพยาบาลรามคำแหง

โดยโลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาคสภากาชาดไทยจะนำไปใช้

ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
02-743-999 ต่อ 2999

www.ram-hosp.co.th

facebook/ramhospital




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2556   
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2556 14:11:33 น.   
Counter : 2427 Pageviews.  


ภาพงานสัมมนา"กระดูกหัก ผ่า-ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากันแน่? &ป้องกันอย่างไร ไม่ ให้กระดูกหัก"

ภาพงานสัมมนา"กระดูกหัก ผ่า-ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากันแน่ ?
&
ป้องกันอย่างไร ไม่ ให้กระดูกหัก"

วันเสาร์ที่
2เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ณ.ห้องประชุมอาคาร

ชั้น10โรงพยาบาลรามคำแหงรามคำแหง

โดยที่งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนพ.สงัด ลิมปิวัฒกี

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลรามคำแหง

เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจวัดความดันโลหิต

ตรวจวัดความดันตาชนิดไม่สัมผัสและมีพยาบาลผู้ชำนาญการมาคอยให้คำ

ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอีกด้วย....



ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.รามคำแหง
0-2743-9999 ต่อ Call Center 2999
  //www.ram-hodp.co.th
  facebook.com / ramhospital




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2556   
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2556 17:25:13 น.   
Counter : 1544 Pageviews.  


ปวดศีรษะ ไมเกรน


ปวดศีรษะ ไมเกรน
หลายคนที่เป็นไมเกรนอาจมีความกังวลว่า ปวดศีรษะบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤต อัมพาต ได้หรือไม่?

 

พญ. อริยา ทิมา

อายุรแพทย์ระบบสมองและประสาทวิทยา

ปวดศีรษะ คือ ความรู้สึกปวดที่ หน้า ศีรษะถึง คอ

สาเหตุแบ่งใหญ่ๆ เป็น ปวดศีรษะที่มีสาเหตุเช่น ปวดตาต้อหิน ความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกในสมองปวดฟัน ปวดกรามข้อต่อขากรรไกร

แต่ส่วนใหญ่ 90%มักปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ สามารถปวดแปล๊บเดียว เป็นพักๆ หรือ ปวดเรื้อรังก็ได้

ไมเกรนคืออะไร ?

ไมเกรนและโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ยังไม่การศึกษายืนยันชัดเจนว่า ไมเกรนที่ไม่มีออร่ามีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง แต่กลับพบว่า ไมเกรนมีออร่าพบความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นสองเท่า

 

สมาคม InternationalHeadache Society (IHS) แบ่งไมเกรนเป็น 2 ชนิด

1. ไมเกรนที่ไม่มีออร่า

2. ไมเกรนมีออร่า จะพบแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น

โดย 33% พบว่ามีอาการไมเกรนทั้งสองแบบ

ปัจจัยเสี่ยงอัมพฤตอัมพาต?

มีหลายการศึกษาพบว่า ไมเกรนเพิ่มอัตราการเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบประมาณ
2 เท่า โดยเฉพาะในการศึกษาไปข้างหน้าพบว่า กลุ่มที่เสี่ยงคือ กลุ่มที่มีไมเกรนแบบมีออร่าและ กลุ่มที่เสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มที่มีปวดศีรษะบ่อยๆ

สูงมากขึ้นในคนที่สูบบุหรี่ และยิ่งสูงมากๆเป็น 10 เท่าใน ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่

มีรหัสพันธุกรรมที่พบว่า อาจมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มไมเกรนที่มีออร่าเช่น MTHFR, ACE, MEPE ซึ่งยังต้องรอการศึกษาต่อไปว่าทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

เอกซเรย์ของคนที่เป็นไมเกรนเป็นอย่างไร?

พบว่าถ้าทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หรือMRI ในคนที่เป็นไมเกรนจะพบ จุดเล็กๆ ที่ตำแหน่งปลอกหุ้มประสาทในสมองมากกว่าคนปกติ 4 เท่า โดยพบว่า จุดพวกนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณการความรุนแรงความถี่ของการปวดศีรษะไมเกรน

โดยการศึกษาCAMERA พบว่า ไมเกรนที่มีออร่า มีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบที่ก้านสมองและสมองส่วนcerebellum แต่จากศึกษาของประเทศฝรั่งเศสพบว่ายิ่งคนที่อายุตั้งแต่65 ปี ที่มีไมเกรนออร่า มีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบนอกก้านสมองด้วย

ไมเกรนสัมพันธ์กับ เส้นเลือดแตก หรือ ตีบ ?

ไมเกรนออร่าเกี่ยวข้องการยืดย่น หดขยายของเส้นฝอยทั่วสมองเสีย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกตีบ

 

โดยพบว่าไมเกรนออร่ามี ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกเพิ่มขึ้น2.25 เท่า โดยเส้นเลือดสมองตีบจะพบเพิ่มขึ้นในคนสูงอายุขึ้น โดยมักเป็นที่ตำแหน่งเส้นเลือดฝอยในสมองซึ่งยังต้องรอการศึกษาเรื่องสมมุติฐานการต่อไป

การศึกษาไปข้างหน้า2785 หญิงวัยกลางคน พบว่า ไมเกรนมีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบ1.5 เท่า
เมื่อไรต้องเอกซเรย์
MRI?

-ในผู้ป่วยที่มีออร่าที่ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของไมเกรนออร่า

-ไมเกรนออร่าในผู้สูงวัย

-มีปวดศีรษะบ่อยๆ

-มีปวดศีรษะด้านตรงข้ามกับออร่าด้านตรงข้าม ซึ่งบ่งว่าเป็นจากการทำงานของสมองด้านนั้นทำงานผิดปกติ

จะทำอย่างไรเมื่อเป็นไมเกรน?

แนะนำเมื่อเป็นไมเกรน ควรได้การตรวจตา ตรวจระบบประสาท เอกซเรยสมองตรวจหลอดเลือดสมอง เช่น อัลตร้าซาวด์หลอดเลือดสมอง(TCD Study) และ คอ (Carotid Duplex) เพราะถ้าพบผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น(atheroma) การรับประทานแอสไพรินขนาดเล็กน้อยช่วยป้องกันเส้นเลือดสมองตีบได้และยังพบว่าช่วยลดไมเกรนให้น้อยลงได้ และการควบคุมปัจจัยตั้งแต่เนิ่นๆที่ยังไม่มีอาการสามารถลดอัมพาตที่รุนแรงได้

ในคนที่อายุน้อย จำเป็นที่สมควรหาสาเหตุ และติดตามใกล้ชิด เช่น ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย ไขมันในเลือดสูงซึ่งอาจจำเป็นต้องรับประทานยาไขมัน ความดันโลหิตสูง เบาหวานไทรอยด์เป็นพิษ แนะนำให้หยุดบุหรี่ และ เลิกรับประทานฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดกลุ่มที่มีเอสโตรเจน

ไมเกรนที่ไม่มีออร่าไม่ได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงหรือมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมองชัดเจน นอกจากค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่น ไขมันในเลือด

จะทำอย่างไรเมื่อเป็นไมเกรน?

ในคนที่เป็นไมเกรนออร่าควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและป้องกัน เช่น ให้หยุดบุหรี่ เปลี่ยนการคุมกำเนิดชนิดที่มีเอสโตรเจนเป็นชนิดโปรเจสโตเจน

ในคนที่นานๆปวดศีรษะ มักไม่จำเป็นต้องรับประทานยาป้องกัน และการรับประทานยาป้องกันไมเกรนยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าป้องกันอัมพฤตอัมพาตได้

ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการให้แอสไพรินในคนที่เป็นไมเกรนออร่าที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันเส้นเลือดสมองตีบ เพราะมีโอกาสเลือดออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน

--------------------------------------

ขอบคุณแหล่งที่มา LancetNeurol 2011; 11 : 92-100

Migraine and stroke: a complex association with clinicalimplications




 

Create Date : 28 มกราคม 2556   
Last Update : 28 มกราคม 2556 14:01:27 น.   
Counter : 2003 Pageviews.  


อาการปวดคอ &ท่าบริหาร

สาเหตุการปวดคอที่พบบ่อย 

• อิริยาบท หรือ ท่าทางของคอที่ผิดสุขลักษณะ, นอนผิดท่า, ท่าทางการทำงานที่ต้องก้มเงยบ่อยๆหรือใช้กล้ามเนื้อคอมาก,ขับรถนาน เป็นต้น
• เกิดการบาดเจ็บบริเวณคอ จากอุบัติเหตุ หรือการหันคอผิดจังหวะ
• ภาวะเสื่อมของกระดูกคอ, ข้ออักเสบ, หมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท, กระดูกงอก เป็นต้น
• ภาวะเครียดทางจิตใจ  

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ

• ระวังอิริยาบทขณะทำงานอย่าก้มหรือเงยมากเกินไป หรือหมุนคออย่างรวดเร็ว
• ไม่อยู่ในอิริยาบทเดียวกันนานๆ หากต้องนั่งทำงานนานๆ อาจลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง หรือยืดกล้ามเนื้อคอเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า
• เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรง หากมีที่หนุนคอควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ดันคอจนก้มหรือหนุนแล้วเงยจนเกินไป,ตำแหน่งโต๊ะทำงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม
• ไม่หนุนหมอนสูงหรือต่ำจนเกินไป หมอนที่ดีควรกว้างและรองรับส่วนโค้งของคอได้พอดี  ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป
• พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อไม่ให้เกิดความเครียด

การักษา

• สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอเฉียบพลัน เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณคอ, เอี้ยวคอผิดท่า  หรือ ปวดคอหลังตื่นนอน ให้หยุดการใช้กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ อย่าพยายามเคลื่อนไหวคอเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ  ให้ประคบด้วยแผ่นเย็น นานประมาณ 20 นาที, ทานยาแก้ปวด
• สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักไม่รุนแรง, เคลื่อนไหวคอได้ไม่เต็มที่, ปวดจากการนั่งทำงานทั้งวันเป็นระยะเวลานาน ให้ประคบด้วยน้ำอุ่น หรือกระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบนานประมาณ 30 นาที(ระวัง!อย่าให้ร้อนจัด), ทานยาแก้ปวด ยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี
• หากอาการปวดทุเลาลง ให้หมั่นยืดคลายกล้ามเนื้อคอบ่อยๆ และออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อคอ 
• หากอาการปวดไม่ทุเลาลง หรือมีอาการปวดเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่อง ให้ไปพบแพทย์  แพทย์อาจส่งตัวคุณมาทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด,อักเสบ , เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวคอ และรับคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง






 

Create Date : 23 มกราคม 2556   
Last Update : 23 มกราคม 2556 15:38:23 น.   
Counter : 7734 Pageviews.  


มาทำความรู้จักไวรัสตับอักเสบบีกันดีกว่า




คุณรู้จักไวรัสตับอักเสบบีดีหรือยัง?

     หลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบีแต่มักไม่ทราบว่าจริงๆแล้วไวรัสตับอักเสบบีมีความสำคัญอย่างไรและก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้างไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคตับอักเสบและตับแข็ง แม้แต่ในผู้ที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดมะเร็งตับการแสดงอาการของไวรัสตับอักเสบบีมีหลายระยะ ทั้งที่เป็นพาหะซึ่งไม่แสดงอาการใดๆ เลย(มีเชื้อไวรัสแต่ตับไม่อักเสบ) เป็นตับอักเสบระยะเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังตับแข็ง ตับวาย และท้ายที่สุดคือเป็นมะเร็งตับโดยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทุกรายแม้ในระยะที่เป็นพาหะก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป

จะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
?

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีอาการหรืออาจมีอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนเมื่อโรคตับเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวมอาเจียนเป็นเลือด เราจะทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่โดยการเจาะเลือดตรวจเท่านั้นดังนั้นปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งจึงบรรจุการตรวจการทำงานของตับหรือตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไว้ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพด้วย

ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อกันได้อย่างไร

ปกติไวรัสตับอักเสบบีติดต่อกันได้3 ทาง คือ ติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และติดต่อจากการสัมผัสเลือดและผลิตพันธ์ของเลือดเช่น น้ำเหลือง และ เกร็ดเลือด เป็นต้นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทยส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อตั้งแต่ในวัยเด็กโดยได้รับมาจากมารดาที่เป็นพาหะการติดเชื้อตั้งแต่ในวัยเด็กขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์เต็มที่จะทำให้เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังและมักไม่แสดงอาการ การติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่ มักเป็นแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และ ตัวเหลืองตาเหลืองซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามทำลายเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่ร่างกายมักสามารถจำกัดเชื้อไปได้เอง

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่นมีสามีหรือภรรยาหรือญาติพี่น้องในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี หญิงมีครรภ์ผู้ที่มีผลเลือดเป็นตับอักเสบเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลืองอุจจาระเป็นสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือดที่สงสัยว่าเกิดจากโรคตับแข็ง เป็นต้นสำหรับประเทศไทยซึ่งมีความชุกของโรคไวรัสตับอักเสบบีสูงแนะนำว่าควรตรวจหาการติดเชื้อทุกคนแม้ว่าจะไม่มีอาการเพราะการตรวจเลือดเพียงครั้งเดียว สามารถบอกได้ว่าติดเชื้อไวรัสนี้หรือไม่(ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปีเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป)

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ในอดีตไวรัสตับอักเสบบีไม่มียารักษาที่ได้ผลดีแต่ปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีการคิดค้นและพัฒนายาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าท่านควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่สำหรับผู้ที่อยู่ในระยะพาหะอาจยังไม่ต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัสทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งตับระยะเริ่มต้นด้วยการตรวจเลือดและทำอัลตร้าซาวน์ตับเป็นระยะๆทุก 6 เดือน

มีวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 และ เข็มที่ 3 ห่างจากการฉีดเข็มแรก 1 เดือน และ 6เดือน ตามลำดับ


ข้อมูลสุขภาพโดย รพ.รามคำแหง

สายด่วนสุขภาพ 02-743-9999




 

Create Date : 17 มกราคม 2556   
Last Update : 17 มกราคม 2556 16:12:59 น.   
Counter : 2026 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com