นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ถ่ายดำ ทำอย่างไร?


การที่เราถ่ายอุจจาระออกมาแล้วมีสีแดงเข้มหรือดำนั้น สาเหตุเกิดจาก

✔️ เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เลือดที่ผ่านลำไส้จะถูกย่อยและกลายเป็นสีเข้มดำเหนียว มีกลิ่นเหม็น อาจเกิดจากเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารแตกจากภาวะตับแข็ง เลือดออกในลำไส้เล็กจากภาวะลำไส้อักเสบ หรือเลือดออกจากเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในลำไส้ หากเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือทวารหนัก จะเห็นเป็นเลือดปนมาในอุจจาระชัดเจน

✔️ การทานอาหาร หรือ ยา ที่มีผลต่อสีของอุจาระ เช่น การทานเลือดสัตว์ ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก การกลืนเลือดเข้าไปหลังถอนฟัน

✔️ ภาวะลำไส้ขาดเลือดสามารถทำให้อุจจาระมีสีดำเข้มจากเลือดออกในผนังลำไส้ได้ แต่มักจะมีอาการปวดท้องรุนแรง มีไข้ หรือช็อคร่วมด้วย

หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากโรคที่รุนแรง นอกจากนี้การดื่มน้ำมากๆ และทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ก็จะช่วยทำให้อุจจาระนุ่มลง สีไม่เข้ม และถ่ายได้ง่ายขึ้นด้วยครับ




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2562   
Last Update : 8 กรกฎาคม 2562 9:38:43 น.   
Counter : 1526 Pageviews.  


อ่อนเพลียเรื้อรัง ต้องระวังไขมันพอกตับ



ไขมันพอกตับคือภาวะไขมันสะสมในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่างเช่น คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง

ภาวะไขมันพอกตับกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่ในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วยอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย แน่นท้อง อึดอัดท้อง น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากปล่อยไว้ไม่รักษาภาวะไขมันพอกตับอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เกิดภาวะตับแข็งและอาจลุกลามเป็นโรคมะเร็งตับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ในระยะแรก ถ้าได้รับการรักษา ตับสามารถคืนสู่สภาพปกติได้ แต่หากปล่อยไว้จนเป็นตับแข็ง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาทางยาที่ช่วยให้ตับคืนสภาพได้ หรือหากเป็นรุนแรงจนตับทำงานไม่ได้ ก็ต้องรอผ่าตัดเปลี่ยนตับอย่างเดียว

การตรวจคัดกรองภาวะไขมันพอกตับ ในปัจจุบันสามารถทำได้สะดวกรวดเร็วและไม่เจ็บ หากพบว่ามีภาวะนี้ แพทย์จะแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ร่วมกับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ




 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2562   
Last Update : 11 กรกฎาคม 2562 11:02:06 น.   
Counter : 1515 Pageviews.  


กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ต่างกันอย่างไร?

“โรคกระเพาะอาหารอักเสบ” เกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อน มีสารพิษในอาหาร การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร รวมถึงการทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายเส้น และยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ จะมีอาการปวดท้องแบบแสบร้อนหรือบิดมวน แน่นท้อง เรอเปรี้ยว อาเจียน รู้สึกขมและจุกแน่นในลำคอ

ส่วน “โรคลำไส้อักเสบ” เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียจำพวกอิโคไล และสตาฟิโลคอคคัส รวมถึงเชื้อไวรัสหลายๆ สายพันธุ์ และกระบวนการย่อยอาหารที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ มักจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ นั่นเองครับ

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้อักเสบนั้น สามารถทำได้โดย

✔️ หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารปิ้งย่าง อาหารหมักดอง
✔️ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ 
✔️ รักษาสุขอนามัยเบื้องต้น ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร

หากมีอาการอาเจียนหนัก ไข้สูง ถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้องอย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2562   
Last Update : 2 กรกฎาคม 2562 9:26:41 น.   
Counter : 1415 Pageviews.  


5 Check List เสี่ยงมะเร็งลำไส้


มะเร็งลำไส้ใหญ่มักพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย อายุเฉลี่ยที่เป็น 60-65 โดยในระยะแรกมักไม่แสดงอาการอะไรเป็นเวลานานหลายปี คนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป

อาการเสี่ยง... มะเร็งลำไส้ใหญ่
✔️ ท้องผูกสลับท้องเสียบ่อย
✔️ อุจจาระมีเลือดปน
✔️ ปวดท้อง ท้องอืด 
✔️ คลำเจอก้อนในท้อง
✔️ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การตรวจคัดกรองด้วยการตรวจส่องกล้องลำไส้ หากไม่มีความเสี่ยง หรือ พ่อแม่ เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มตรวจเมื่ออายุ 50 ปี แต่หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หากไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำในอีก 5-10 ปีแล้วแต่ปัจจัยเสี่ยงของเรา

นอกจากนี้การทานอาหารที่มีกากใยมาก ลดอาหารที่มีไขมัน อาหารปิ้งย่าง ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และป้องกันไม่ให้ท้องผูก ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2562   
Last Update : 24 มิถุนายน 2562 9:50:33 น.   
Counter : 1755 Pageviews.  


“โรคตุ่มน้ำพอง” ไม่ใช่โรคหายาก และรักษาได้



โรคตุ่มน้ำพองเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีมาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันได้ง่าย ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ก็มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ไม่ใช่โรคหายาก สามารถเกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
 
 
สังเกตอย่างไรว่าเป็นโรคตุ่มน้ำพอง?

อาการจะเริ่มจากมีผื่นคันมาก่อนที่ผิวหนังแล้วกลายเป็นตุ่มพอง ตุ่มอาจรวมกันเป็นตุ่มใหญ่ หรือแตกเป็นแผลทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก โดยแผลถลอกอาจปกคลุมด้วยสะเก็ดน้ำเหลือง ในระยะนี้หากมีการติดเชื้อ อาจทำให้แผลลุกลามและควบคุมได้ยาก โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน โดยวินิจฉัยได้จากประวัติและอาการทางผิวหนัง ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา


รักษาหายได้จริงหรือ?

ถ้าเป็นไม่รุนแรงรักษาโดยการทายาสเตียรอยด์รับประทานยาปรับภูมิคุ้มกัน หรือถ้าเป็นรุนแรงอาจจะให้ยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิแบบรับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด แล้วค่อยๆ ปรับลดยาลงช้าๆ โดยใช้ยาที่น้อยที่สุดที่จะควบคุมโรคได้บางคนอาจเข้าสู่ระยะโรคสงบหลังรักษา 3 - 5 ปีโดยอาจมีอาการกำเริบและสงบสลับกันไป และในบางคนอาจต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โรคนี้พบได้ไม่บ่อยแต่จัดเป็นโรคผิวหนังที่มีความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอายุเฉลี่ยที่50-60ปีไม่ใช่โรคติดต่อสามารถสัมผัสอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาต่อเนื่องตามแพทย์นัด ไม่ลดหรือเพิ่มยาเอง การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้เป็นปกติและไม่มีรอยโรคใหม่เกิดเพิ่มขึ้น

หากใครสงสัยว่า มีอาการเข้าข่ายโรคตุ่มน้ำพองใส แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2562   
Last Update : 21 มิถุนายน 2562 10:04:04 น.   
Counter : 1934 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com