Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
30 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
เป็นห่วง "ปุ่ม" & สรุปกฎใหม่ปี 2011

อย่างที่แฟนๆ ทราบกันแล้วว่าปีนี้รถฟอร์มูล่าวันจะเพิ่มความเวียนหัวให้นักแข่งเพราะมีการนำ KERS กลับมาใช้ และยังมีการออกแบบปีกหลังที่ปรับได้ขณะแข่ง โดยการบังคับของนักแข่งก็คือการกดปุ่มจากพวงมาลัยนั่นแหละค่ะ


อ่านเรื่องเก่าในบล็อกเพิ่มเติม

พวงมาลัยรถฟอร์มูล่าวัน
////www.bloggang.com/mainblog.php?id=f1star&month=19-06-2010&group=4&gblog=4



นอกจากมีของใหม่มาเพิ่ม ของที่มีอยู่เดิมก็มากมายพอดู ไหนจะปุ่มติดต่อทางวิทยุ ปุ่มปรับบาลานซ์เบรกซึ่งนักขับใช้อยู่แล้วแทบทุกรอบ หรืออีกสารพัดสารเพ จากเรื่องนี้ก็เลยสร้างความกังวลให้ทั้งทีมงานและนักขับ กลัวจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี






การทำงานคร่าวๆ ของพวงมาลัยรถฟอร์มูล่าวัน




อย่างที่อัลโด คอสต้า ผู้อำนวยการด้านเทคนิคของเฟอร์รารี่ ออกมาย้ำอีกเสียงถึงความเป็นห่วงด้านความปลอดภัยของนักแข่งกับการใช้ปุ่มต่างๆ ระหว่างขับรถ ซึ่งตอนนี้กลุ่มงานด้านเทคนิคของเอฟโอทีเอก็กำลังทดลองกับเครื่องซิมูเลเตอร์เพื่อดูว่าถ้าในสถานการณ์จริงนักขับสามารถทำได้หรือไม่ด้วยค่ะ

ก่อนหน้านี้ เฟอร์นันโด อลอนโซ่ ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่าปุ่มพวกนี้บางทีก็อาจก่อปัญหาได้เพราะมีเวลาเพียงน้อยนิดที่จะตัดสินใจใช้ขณะขับ โดยเฉพาะในเวลาที่สภาวะไม่เอื้ออำนวย เช่น ตอนฝนตกหรือมองเห็นไม่ชัด

ก็น่าเห็นใจบรรดานักแข่งนะคะ ขับอย่างเดียวไม่พอ ต้องคำนวณการใช้อุปกรณ์ให้ได้ผลสูงสุดและต้องปลอดภัยด้วย


********************************************


เราเคยนำเสนอเรื่องกฎใหม่ของปี 2011 ไปแล้ว แต่ไหนๆ หนุ่มๆ ก็ใกล้จะเปิดเทอม วันนี้ขอมาสรุปการเปลี่ยนแปลงของกฎซึ่งเราเลือกบางข้อที่น่าสนใจให้ทราบกันอีกครั้งนะคะ

ปีกหลังปรับได้ขณะขับ
นักขับสามารถปรับองศาของปีกหลังได้ขณะขับรถ โดยเป็นการบังคับด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงซ้อมและควอลิฟายสามารถใช้เมื่อใดก็ได้ แต่ในการแข่งขันจะใช้ได้ต่อเมื่อรถตามหลังรถคันหน้าน้อยกว่า 1 วินาที ณ จุดก่อนจะแซง และระบบจะหยุดทำงานทันทีเมื่อเหยียบเบรก ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อผลในการแซง โดยอาจบวกกับการใช้ KERS อย่างไรก็ตามระบบนี้ไม่ได้เป็นการบังคับ และการใช้ระบบปีกหน้าปรับได้ขณะขับของปี 2010 ก็ถูกยกเลิกไป

ยกเลิก F-duct และ ดับเบิ้ลดิฟฟิวเซอร์
ในปีนี้ไม่อนุญาตให้มีการทำระบบหรือขั้นตอนใดๆ ที่มีผลให้การเคลื่อนไหวของนักขับเอื้อต่อการปรับเปลี่ยนทางแอโรไดนามิกส์ของรถ นั่นหมายถึงการห้าม F-duct และ ดับเบิ้ลดิฟฟิวเซอร์ นั่นเอง

KERS
เพื่อนเก่าปี 2009 ที่กลับมา "KERS" หรือ Kinetic Energy Recovery Systems เป็นการนำพลังงานที่เกิดขึ้นขณะเบรกแต่เคยถูกปล่อยให้สูญเปล่าไปเก็บและแปลงเป็นกำลังที่เพิ่มขึ้นให้กับรถ โดยเก็บสะสมในแบตเตอรี่ เช่นเดียวกับเรื่องของปีกหลังปรับได้ขณะขับคือไม่ได้เป็นการบังคับ แต่หากทีมไหนจะติดตั้ง KERS ก็ต้องคิดเรื่องแพ็กเกจของ KERS ให้ดี

เมื่อปี 2009 KERS ติดตั้งในรถที่ยังสามารถเติมน้ำมันขณะแข่งได้ แต่ปีนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว รถมีถังน้ำมันขนาดใหญ่อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นการหาที่อยู่ให้ KERS จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ยังดีที่ปีนี้น้ำหนักของรถขยับให้มีขั้นต่ำขึ้นไปอีก 20 กก. เป็น 640 กก. นักขับที่โครงร่างใหญ่จึงไม่เสียเปรียบหากจะใช้รถที่มี KERS

ยาง
สิ่งแรกที่แฟนๆ ทราบแล้วแน่นอนคือผู้สนับสนุนยางนั้นเปลี่ยนจากบริดจ์สโตนเป็นปิเรลลี่ ซึ่งทีมต้องใช้กันไปอย่างน้อย 3 ปีนับจากนี้

การจัดสรรยางในปีนี้สำหรับยางปกติ (สภาพสนามแห้ง) ลดลงจาก 14 เป็น 11 ชุด ต่อนักขับ 1 คน/ต่อการแข่งขัน ในการซ้อมช่วงที่ 1 และ 2 นักแข่งแต่ละคนจะได้รับยาง 3 ชุด เป็นยางไพรม์ (ยางธรรมดา) 2 ชุด และยางออปชั่น (ยางนิ่ม) 1 ชุด ซึ่งเมื่อจบแต่ละช่วงซ้อมต้องส่งคืน 1 ชุด (เพื่อตรวจสอบ?) ส่วนยางอีก 8 ชุดจะใช้สำหรับช่วงที่เหลือตลอดสัปดาห์ โดยจะต้องส่งคืนยางทั้ง 2 ประเภท อย่างละ 1 ชุดก่อนการควอลิฟาย





ยางปิเรลลี่




ในการแข่งขันสภาพปกติ หมายถึงสนามแห้ง หากนักขับคนใดไม่สามารถใช้ยางได้ครบทั้ง 2 ประเภทในระหว่างการแข่งขัน เวลาที่ทำได้จะไม่นำมาคิดในการแข่งขัน และหากการแข่งขันในสภาพปกติถูกระงับและไม่มีการรีสตาร์ท นักขับที่ยังไม่ได้ใช้ยางครบทั้ง 2 ประเภทจะถูกบวก 30 วินาทีเข้ากับเวลาที่ทำได้เมื่อจบการแข่งขัน

ชุดเกียร์
ให้อายุงานของชุดเกียร์ใช้ได้ 5 สนามต่อ 1 ชุด (จากปีก่อนให้ใช้ 4 สนาม) ทั้งนี้เนื่องมาจากความต้องการลดต้นทุนและเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม

เวลาควอลิฟายเกิน 107%
กฎนี้เข้าๆ ออกๆ ฟอร์มูล่าวันอยู่เรื่อยไป ปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยข้อที่ว่าในการควอลิฟายช่วงที่ 1 หรือ Q1 หากนักขับคนใดทำเวลาเกินกว่า 107% ของเวลาดีที่สุดใน Q1 จะไม่สามารถสตาร์ทได้ อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นว่าหากเวลาที่ทำได้ในช่วงซ้อมดีเพียงพอ กรรมการก็จะอนุญาตได้เป็นกรณีพิเศษ

เคอร์ฟิวทีมงาน
เพื่อเป็นการจำกัดเวลาการทำงานของทีมงานที่ชอบทำงานกันแบบหามรุ่งหามค่ำ กฎในปีนี้จึงห้ามทีมงานเข้าสนามเวลา 0.00-6.00 น. หากวันรุ่งขึ้นตารางการซ้อมเริ่มที่ 10.00 น. และห้ามเข้าสนามเวลา 1.00-7.00 น. หากรุ่งขึ้นการซ้อมเริ่มที่ 11.00 น. อย่างไรก็ตามทีมงานมีสิทธิขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษได้สูงสุด 4 ครั้งตลอดฤดูกาล

การลงโทษของกรรมการสนาม
กรรมการสนามมีสิทธิลงโทษนักขับที่มีความประพฤติของการขับไม่เหมาะสมในขอบเขตที่กว้างขึ้น นอกจากจะสามารถเพิ่มเวลาเข้ากับเวลาที่นักขับนั้นๆ ทำได้แล้ว ยังสามารถตัดนักขับออกจากผลการแข่งขันหรือระงับการลงแข่งขันชั่วคราวในสนามต่อๆ ไป

ทีมออร์เดอร์
แม้จะเคยมีกฎห้ามเรื่องนี้ แต่ในความเป็นจริงยังทำกันอยู่และดูเหมือนยังต้องคู่กับการแข่งขันไปอีกนาน ปีนี้จึงเปิดโอกาสให้ใช้ทีมออร์เดอร์ได้ แต่ต้องไม่ให้ถึงกับกระทบกระเทือนภาพลักษณ์ของกีฬา






*ข้อมูลจาก autosport.com/f1 และ formula1.com
ภาพจาก auto.howstuffworks.com และ pirelli.com








Create Date : 30 มกราคม 2554
Last Update : 30 มกราคม 2554 11:25:20 น. 9 comments
Counter : 1779 Pageviews.

 
เราเพิ่งเจอเว็บนี้ ถึงแม้จะลงไว้นานแล้วแต่ก็เป็นข้อมูลที่ดีทั้งสำหรับคนเพิ่งเริ่มดูหรือดูนานแล้วอย่างเรา อิอิ

//auto.howstuffworks.com/auto-racing/motorsports/formula-one.htm/printable

อันนี้ก็ดีค่ะ เรื่องยางของ F1

//hubpages.com/hub/Formula-One-Tyres


โดย: finishline วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:11:29:41 น.  

 
กฎบางข้อ
มัน.......

ไม่พูดดีกว่า
ถ้า F1 มันออกกฎ แล้วใช้แบบบ้าๆ
ผมก็เลิกดูไปเองแหล่ะ


โดย: เกลียดแดง IP: 58.64.112.57 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:13:30:41 น.  

 
ขอบคุณมากครับ เรื่องปุ่มบนพวกมาลัยเนี่ย สุดยอดจริงๆ ควบคุมทันได้ยังไเนี่ย


โดย: runtaro IP: 124.122.236.166 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:15:00:57 น.  

 
กฎแม่งโคตรเคี่ยวเลย =_=


พวงมาลัยนี่มันต้องมีกดผิดบ้างแหละผมว่า


โดย: Honda IP: 183.89.166.108 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:17:41:41 น.  

 
^
^
^
ปีที่แล้ว หมาซ่ากดผิด โซ่เลยแซงได้ อิอิ


โดย: PROMPONG J. IP: 125.24.153.42 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:21:15:53 น.  

 
กลับมาแล้วครับ

ยังคงขอติดไว้ก่อนนะครับ ม่ายหวายแหล่ววว = =


โดย: fascinator IP: 110.168.125.91 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:21:47:57 น.  

 
ของ FERRARI เยอะไปไหม ?

McLAREN เห็นมีปุ่มอยู่นิดเดียวเอง


โดย: JUNE IP: 125.27.155.12 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:23:46:46 น.  

 
มาจัดการเรื่อง Rod ต่อให้เสร็จละครับ

//img401.imageshack.us/img401/1174/push1.gif

จากรูปเลยครับคือลักษณะช่วงล่างของรถ F1

ในขณะที่รถวิ่ง ล้อจะมีการขยับขึ้น-ลง เมื่อขยับขึ้นมันจะไปดันเส้นเฉียง ๆ ที่เรียกว่า Rod ให้ไปกดลงบน shock up แต่ถ้าล้อขยับลงมันจะไปดึง Rod ทำให้ shock up ถูกดึงตาม อันนี้คือการทำงานแบบพื้นฐานของมันนะครับ

ทีนี้ถ้า shock up กำลังโดนกด และ Rod เองก็ถูกดันตามจากล้อหรือรับแรงกดเหมือนในรูป อันนี้เรียกว่า Push-Rod ครับ

แต่ถ้า shock up กำลังโดนกด แต่ Rod รับแรงดึงหรือมีทิศทางแรงตรงข้ามกัน อันนี้เรียกว่า Pull-Rod ครับ

เข้าเรื่องตามข่าวละนะครับ

ปีที่แล้วเราจะเห็นว่า Red Bull ใช้ช่างล่างหลังแบบ Pull-Rod ซึ่ง Red Bull ให้เหตุผลว่ามันมีข้อดีในทาง Aerodynamic (จะดีอย่างไรก็ไม่อาจทราบแต่ Red Bull บอกว่ามันดีกว่าละกัน = =a)

หลายคนจึงคาดว่าจะเห็น Ferrari ใช้ช่วงล่างแบบนั้นตาม

แต่ปีนี้ Ferrari ยังคงใช้ Push-Rod เหมือนเดิม ซึ่ง Ferrari ให้เหตุผลว่า Pull-Rod อาจจะดีกว่าในเรื่อง Aerodynamic แต่ Ferrari ยอมเสีย Aero ไปนิดหน่อยเพื่อแลกกับตำแหน่งการจัดวาง component ครับ

รถที่ดีใช่ว่าจะต้องมี Design หรือ Technology ที่สุดยอดอย่างเดียว ต้องบริหารในเรื่องของ Manufacturing กับ Maintenance ให้ได้ด้วยครับ


โดย: fascinator IP: 110.168.109.196 วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:14:52:07 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ คุณ fascinator ที่สละเวลามาอธิบายให้พวกเรา

นี่แหละ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญไขข้อข้องใจให้ :)


โดย: finishline วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:15:18:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.