หนังสือ : The Lady and the Unicorn เขียนโดย : Tracy Chevalier สำนักพิมพ์ : HarperCollins; New edition edition (7 Jun 2004) จำนวนหน้า : 288 หน้า ภาษา : อังกฤษ
รายละเอียดจากปกหลัง
...มันเป็นการจ้างงานครั้งสำคัญในชีวิต...
Jean Le Viste ชายตระกูลใหญ่รับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 15 จ้างศิลปินเพื่อออกแบบภาพพรม 6 ชิ้น เพื่อเฉลิมฉลองการเลื่อนยศของเขา
Nicolas des Innocents ฟื้นจากความประหลาดใจที่ได้รับงานนี้เมื่อเขาได้เห็น Claude...ลูกสาวผู้จ้าง
ผลงานของผู้เขียนคนนี้ที่โด่งดังมากๆ คิดว่าหลายๆ คนคงชอบและรู้จักก็คือ Girl With a Pearl Earring (หญิงสาวกับต่างหูมุก) นะคะ ตอนโน้นไอซ์อ่านแล้วก็ชอบมากๆ ((ไอซ์ชอบ Vermeer อยู่แล้วด้วย)) จนไปกว้านซื้อผลงานของนักเขียนคนนี้มาดองไว้เยอะเชียว แต่พออ่านเรื่องต่อมาคือ The Virgin Blue แล้วไอซ์กลับรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ ก็เลยวางงานของนักเขียนคนนี้มานานเชียวค่ะ
แต่ได้อ่านรีวิวของ The Lady and the Unicorn แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ ก็ซื้อมาดองไว้อีก ((ไม่เข็ด ฮา)) พอดีกับที่โจทย์ใน HHR มีข้อที่ใช้หนังสือที่มีชื่อสัตว์ ไอซ์ก็เลยหยิบมาอ่าน ... แล้วก็...ชอบมากๆ เลยค่ะ >_<
เรื่องของเรื่องก็คือฌอน (Jean Le Viste) ตกลงจ้างนิโคลัส (Nicolas des Innocents) มาออกแบบภาพพรม 6 ชิ้น เพื่อประดับในห้องโถง เขาเติบโตขึ้นมาด้วยเงินน่ะค่ะ ก็เลยอยากแสดงความหรูหราไว้อวดชาวบ้าน
ผู้ที่ได้รับเลือกให้รับงานทอภาพพรมนี้ก็คือจอร์จ (Georges de la Chapelle) ช่างทอพรมที่มีชื่อเสียงในกรุงบรัสเซล ... ครอบครัวของจอร์จประกอบด้วยคริสตีน (Chistine Du Sablon) เอลินอร์ (Alienor De La Chapelle) ลูกสาว และจอร์จจูเนีย ((ขอย่อชื่อให้ค่ะ ชื่อยาวมาก และตัวละครไม่สำคัญเท่าไหร่)) ...ลูกชาย
ช่างการ์ตูนที่เป็นผู้ขยายภาพนั้นทำงานกับจอร์จมานานแล้ว ชื่อ ฟิลิปเป้ (Philippe De La Tour)
ถ้าเปรียบเรื่อง Girl With a Pearl Earring ละมุนละไมเหมือนกับภาพวาดของเวอร์เมีย เรื่อง The Lady and the Unicorn ก็ฉูดฉาด หวือหวา กระจายความสำคัญของตัวละครให้มีความสำคัญเท่าๆ กัน มีความต่อเนื่องที่แยกจากกันเหมือนภาพพรมค่ะ
อ่านจบแล้วรู้สึกว่าตั้งชื่อเรื่องผิดไปหน่อยค่ะ ควรจะต้องเป็น The Ladies and the Unicorn เพราะ...ตัวนิโคลัสนี่แหละคือยูนิคอร์นที่เข้าไปสัมผัสและเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้หญิงทุกคนในเรื่อง
ภาพพรมที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องนั้นมีจริงๆ ค่ะ เป็นสมบัติของ Jean Le Viste แล้วตกทอดให้คลาวเด แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนออกแบบ และใครเป็นคนทอพรม ดังนั้นผู้เขียนจึงจินตนาการเรื่องนี้ขึ้นมาเอง ... ซึ่งก็ทำได้เนียนมากเลยเชียว
The tapestries can be interpreted several ways as a virgin seducing a unicorn, as a woman renouncing the physical world of the senses for the spiritual world, as the Virgin Mary with Christ. The first is the most popular interpretation, and refers to the old belief that the unicorn is so wild it cannot be tamed, except by a virgin. If she sits in the woods, the unicorn will come and lay its head in her lap.
เกลียดขี้หน้าตัวละครแต่สนุกจนวางไม่ลง ว้าวๆๆๆ
เวลาไปอ่านบล็อกเพื่อนแล้วเจอหนังสืิอภาษาอังกฤษดีๆ ทีไร ให้นึกอยากเก่งพอจะอ่านได้มั่งทุกทีสิ