ไอ้ลายที่บางลาง : ประสบการณ์ล่าเสือโคร่งกินคนของลุงพนมเทียน
เล่มนี้อ่านจบแล้วตอบโจทย์ HHR ข้อ...
5-13. [Friday Story] ปีขาล: อ่านหนังสือที่มีคว่า 'เสือ' 'พยัคฆ์' 'tiger' หรือที่แปลไปในทางเดียวกันอยู่ในชื่อเรื่องหรือเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเสือ (จะเป็น fiction, non-fiction หรือ manga ก็ได้)
หนังสือ : ไอ้ลายที่บางลาง เขียนโดย : พนมเทียน สนพ. : ณ บ้านวรรณกรรม จำนวนหน้า : 268 หน้า ภาษา : ไทย

รายละเอียดจากปกหลัง
หลังจากปราบไอ้ดำที่มายอจนเป็นที่ฮือฮา (กลิ้ง) แล้ว ไม่นานก็ปรากฏมีเสือลายพาดกลอนขนาดมหึมา ลงมาจากป่าทึบมากินคน
คราวนี้ลากเข้าป่าด้วย ทีมเดิมจากวีรกรรมที่มายอ คือเชิด วรชาติ และอี๊ด ฉัตรชัย จึงต้องแกะรอยเสือกินคน ชนิดทีหวุดหวิดจะโดนพลิกเกมตลบหลัง
จาก ล่าเสือ เกือบจะกลายเป็นเสือถลกหนังหัวคนตามล่าก็หลายหน สมคำร่ำลือจริงๆ ที่ว่า เสือที่เคยกินคนนั้น จะมีเล่ห์เพทุบาย ราวกับมีวิญญาณสิง การชิงไหวชิงพริบระหว่างไอ้ลาย และคนล่าคือไอ้อี๊ด ของพี่เชิด จึงดุเดือดยิ่ง และยิ่งดุเดือดหนักขึ้นยิ่งขึ้น เมื่อ เชิด วรชาติ ต้องกลับเข้าประจำการที่ด่านศุลกากร ทิ้งมือใหม่แต่ใจถึง หากขาสั่นพั่บๆ อย่าง อี๊ด ฉัตรชัย ไว้คนเดียว
คนเล่าเขาเล่าว่า งานนี้ถ้าเป็นรพินทร์ ไพรวัลย์ ละก็หวานหมู แต่นี่เป็นเรื่องจริง และคนเล่าลือ ไม่ใช่ จอมพราน รพินทร์ แต่ยังเป็นเพียงนักนิยมไพร ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ซึ่งช่วงเวลานั้นกำลังติดพันกับงานเขียนแนวหวานเรื่อง มัสยา เสียด้วย ไอ้ที่หวานหมูก็น่าจะเป็นความคิดของ เจ้าเสือ มากกว่าคน!
แต่งานนี้ ฉัตรชัยไว้ลายจริงๆ เขาคว่ำไอ้ลายที่บางลางชนิดตรงหน้าเลย! ทั้งฉากประจันหน้ากับเสือ ทั้งฉากคว่ำไอ้ลายตรงหน้า อ่านเอาเถอะ
ทั้งตื่นเต้น ทั้งมันส์จริงๆ มันส์ขนาดพนมเทียนสารภาพว่า
จนอุจจาระขึ้นสมองก็แล้วกันล่ะน่า
....
เรื่อง "ไอ้ลายที่บางลาง" เป็นหนังสือเล่าเรื่องจริงของชีวิตการเข้าป่าล่าสัตว์ของลุงอี๊ดหรือพนมเทียนอยู่ในชุด "จับตาย" ซึ่งมี 3 เล่มนะคะ
- เสือดำที่มายอ - ไอ้ลายที่บางลาง - ช้องหมู
ลุงอี๊ดได้นำเอาประสบการณ์เหล่านี้นี่แหละมาเขียนเป็นนิยายเรื่องที่ยาวที่สุด "เพชรพระอุมา"
สำหรับเรื่อง "ไอ้ลายที่บางลาง" ประมาณคร่าวๆ แล้วเกิดหลังเรื่อง "เสือดำที่มายอ" ประมาณ 1 ปีค่ะ ((เล่มนั้นลุงอี๊ดอายุ 21 ส่วนเล่มนี้อายุ 22)) ปกหลังเขียนคำโปรยผิดไปหน่อยนะคะ เพราะตอนนั้นลุงอี๊ดไม่ได้กำลังเขียนเรื่องมัสยา แต่เป็นเรื่องเล็บครุฑ ((ที่โดนเพื่อนๆ เรียกว่า "เล็บกุด")) ต่างหาก
เนื้อเรื่องเหมือนปกหลังค่ะ งานนี้เสือโคร่งตัวใหญ่มาก หนักกว่า 250 กิโลลากคนงานตัดยางไปกินเสีย ลุงอี๊ดกับคุณเชิดเลยรับหน้าที่ตามเสือ ... คราวนี้ลุงอี๊ดที่ยังอ่อนพรรษาก็ยังคงแสดงความเปิ่นเกี่ยวกับป่าและสัตว์ป่าออกมาเช่นเล่มที่แล้ว กว่าจะคว่ำเสือลายตัวนี้ได้ก็เจอประสบการณ์ "ปะ" กับเสือชนิดจังๆ อย่างน่าขนลุก
อ่านแล้วทำให้อยากหยิบเพชรพระอุมามาอ่านอีกสักรอบ เพราะหลายๆ ตอนนี่อ่านแล้วเห็นเป็นฉากในเพชรพระอุมาเลยทีเดียว
และ...สนพ. ณ บ้านวรรณกรรมก็ยังคงความเป็น ณ บ้านวรรณกรรมอย่างเหนียวแน่น พิมพ์ผิด พิมพ์ตกเป็นเรื่องธรรมดา เฮ้อ
...
นอกเรื่องเล็กน้อย
สิ่งหนึ่งที่ลุงอี๊ดเขียนย้ำในหนังสือเล่มนี้บ่อยมากๆ เป็นข้อความไปถึงนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ซึ่งไอซ์เห็นด้วยเลยว่า มันจริงทีเดียว
"...ประสบการณ์ของนักประพันธ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด บ่งชี้บอกไว้ในรูปนวนิยายของเขาเด่นชัดว่า เขียนออกมาจากสิ่งที่ตนพบเห็นคุ้นเคยช่ำชองมาจริง หรือว่าแต่งกันขึ้นมาเองอย่างเพ้อฝัน โดยปราศจากพื้นฐานการรู้การสัมผัสจริงมาก่อน..."
เห็นหนังสือของนักเขียนใหม่ๆ หลายคน อย่าว่าแต่ประสบการณ์ช่ำชองเลย ((บางสิ่งมันก็หาประสบการณ์ได้ยาก แต่ฐานข้อมูลที่มีมากมายก็ช่วยได้มากทีเดียว)) สิ่งที่เขียนออกมาเป็นเล่มขาด "ตรรกะ" และความ "สมจริงที่เป็นไปได้" อย่างน่าใจหาย แต่ก็...เห็นขายได้ขายดีมีคนอ่านกัน ความปราณีตของนักเขียนและสนพ.ลดลง เพราะความปราณีตของนักอ่านก็ลดลงเช่นกัน ในฐานะคนเขียนและคนอ่านอดรู้สึกเศร้าไม่ได้ค่ะ
สปอยล์
เล่มนี้ลุงอี๊ดมีฉากปะทะคุณลายแบบจังๆ แบบเดี่ยวๆ จนน่าขนลุกสองครั้ง
- ก้มลงกินน้ำกันคนละฝั่งกับคุณลาย - ซุ่มเฝ้าซากอยู่ใต้ชะง่อนผา คุณลายดันดอดมาเหนือศีรษะ
เอิ๊ก
Create Date : 03 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 7:45:35 น. |
|
4 comments
|
Counter : 6872 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: กานต์ IP: 115.31.137.102, 117.121.208.2 วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:39:48 น. |
|
|
|
โดย: Clear Ice วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:50:00 น. |
|
|
|
โดย: Clear Ice วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:08:46 น. |
|
|
|
โดย: หัวใจสีชมพู วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:50:03 น. |
|
|
|
|
|
แตกต่างจากเพ้อฝันซะจนหาเหตุผลมารองรับไม่ได้ แต่ก็... ขายดิบขายดี พิมพ์ครั้งที่นั้น ครั้งที่โน้น ให้คุยโอ่ เป็นวรรณกรรมที่จำนวนครั้งที่พิมพ์มาก หากแต่ไม่มีคุณค่าพอที่จะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์บนชั้นหนังสือ
ความเป็นนักเขียนมืออาชีพ กับนักอยากเขียน หรือนักลอกงานเขียน จึงแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดค่ะ
ในฐานะคนอ่านงานวรรณกรรม จึงได้แต่เศร้าใจ กับทิศทางสร้างกระแสในแวดวงปัจจุบันนี้
ณ บ้านวรรณกรรม ยังคงความเป็นไปอย่างเสมอต้นเสมอปลายค่ะคุณไอซ์ จึงได้แต่เสียดายผลงานดีดี ของนักเขียนคุณภาพหลายท่านเสียเหลือเกิน ผลงานพิมพ์ซ้ำมาก็หลายรอบแต่สิ่งผิดพลาด และมีผู้อ่านหลายคนกรุณาช่วยชี้จุุดบกพร่องก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข และถูกเพิกเฉยอย่างน่าน้อยใจ
ดิฉันเอง ได้รับการสั่งสอนมาว่า คนเราผิดพลาดกันได้ แต่หากรู้ว่าผิดแล้วรีบแก้ไข เป็นสิ่งที่น่ายินดี ควรกระทำ ไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด และดิฉันก็นำสิ่งเหล่านั้นมาปฏิบัติในการทำงาน ในการใช้ชีวิตต่อคนรอบข้าง
แต่กรณี ณ บ้านวรรณกรรม ทำได้เพียง "ทำใจ"
เพราะ "ไม้แก่ ดัดยาก"
ขอบคุณคุณไอซ์สำหรับพื้นที่ให้ระบายความในใจค่ะ