มะเร็งเต้านม ภัยเงียบคร่าชีวิตหญิงไทย สูงเป็นอันดับหนี่ง





มะเร็งเต้านม



สถิติของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมสูงขีันทุกๆปี ขอแนะนำให้ผู้หญิงดูแลและตรวจเพื่อจะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อนรอบข้างของจขบ.(เจ้าของบล็อก)คุณแม่ของเพื่อน พี่น้องของเพื่อนและคนรู้จัก พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมกันเยอะมาก แทบทุกเดือนหันไปทางไหนก็ได้ข่าวว่าคนที่เรารู้จักเป็นมะเร็งเต้านม พอใครตรวจพบก็ใจหาย แทบจะหมดกำลังใจเลยทีเดียว รู้ว่าต้องมีการผ่าตัดเต้านม และอยู่ที่ว่าจะตัดทีละข้างหรือบางคนตัดสินใจผ่าตัดทีเดียวสองข้าง เป็นการเสียชิ้นส่วนทีสำคัญที่สุดของผู้หญิงเลยทีเดียว


ข่าวดีคือว่าระยะหลังๆนี้ แพทย์ไม่ค่อยผ่าตัดเต้านมทั้งหมด ส่วนมากจะผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออก แต่ก็แล้วแต่ชนิดของมะเร็ง จากนั้นก็มีการรักษาด้วยยาคีโม รังสีและทานยาต่อ ถ้าพบเนิ่นๆ ผลการรักษาก็จะดี ที่สำคัญต้องไปพบแพทย์เป็นประจำตามนัด ถ้าเกิดพบมีการแพร่กระจายของมะเร็งอีก จะได้รักษาทันท่วงที บางรายพอรักษาแล้ว ไม่ไปหาแพทย์ตามนัด กว่าจะไปอีกทีโรคก็แพร่กระจายจนไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม รับการรักษาแล้ว ก็ต้องไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ


การเป็นโรคนี้ พอได้รับข่าวก็เสียทั้งกำลังกาย อาจจะต้องผ่าตัดเต้านม และเสียกำลังใจว่าจะรักษาหายหรือเปล่า การที่ต้องผ่าตัดก็จะมี รู้สีกว่าตัวเองขาดอวัยวะสำคัญของร่างกาย ถ้าแต่งงานก็จะรู้สีกว่า สามีจะคิดอย่างไร เพราะฉนั้นกำลังใจของสามี สำคัญมากทีเดียว กำลังใจที่ดี จะช่วยให้ต่อสู้กับโรคร้ายนี้ได้ดี



ศิริราชปลื้มรักษามะเร็งเต้านมแนวใหม่ ช่วยหญิงไทยไม่ต้องตัดเต้าทิ้ง ยังคงความเป็นหญิงไว้ได้ ชี้ผ่าตัดเฉพาะก้อนเนื้อพร้อมฉายแสงในคราวเดียว ลดขั้นตอนการฉายแสงได้ถึง 25-30 ครั้ง มีความแม่นย่ำ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ลดคิวบริการได้ 755 ครั้ง ภาวะแทรกซ้อน และผลข้างเคียง

ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์ - สุขภาพ


ศิริราชปลื้มรักษามะเร็งเต้านมแนวใหม่ ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ





ขอนำความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม มาแบ่งปันให้เพื่อนๆอ่านกันค่ะ แม้ผู้ชายก็มีเป็นบ้างเหมือนกันนะคะ แต่ส่วนมากไม่แพร่กระจายมากเท่าผู้หญิงเป็น



มะเร็งเต้านม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะเร็งเต้านม
Breast DCIS histopathology (1).jpg
ภาพทางมิญชพยาธิวิทยาของมะเร็งเยื่อบุเซลล์ท่อของเต้านม ย้อมสี Hematoxylin-eosin







ภาพแมมโมแกรม : (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก

เนื้อหา

1 ปัจจัยเสี่ยง


1.1 แนวทางการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในครอบครัว

2 อาการเริ่มต้นที่อาจจะเป็นมะเร็ง

3 การตรวจเต้านมตนเอง


3.1 วิธีการตรวจ 3 ท่า

4 ระยะของมะเร็งเต้านม

5 การดูแลเต้านม

6 การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป

7 อ้างอิง


ปัจจัยเสี่ยง


ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ

ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น

การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

แนวทางการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในครอบครัว



อาการเริ่มต้นที่อาจจะเป็นมะเร็ง







มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม

มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม

ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด

หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ

มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)

เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )

การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต


การตรวจเต้านมตนเอง

การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

วิธีการตรวจ 3 ท่า


ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

ยืนหน้ากระจก

ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย

ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ

ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น

โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว



นอนราบ


นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา

ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด

ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย


ขณะอาบน้ำ

สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน

สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน



ระยะของมะเร็งเต้านม



ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม

ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว


การดูแลเต้านม


อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน

สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ

การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป

ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน

อ้างอิง

วิธีการรักษาโดยการใช้สมุนไพร โดยคณะทีมงานนักวิทยาศาสตร์ไทย



ข้อมูลจากเพิ่มเติม ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ




ความรู้สำหรับประชาชน เรื่อง มะเต้านม โดย รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ

มะเร็งเต้านม ภัยคุกคามที่ สตรีไทยไม่ควรมองข้าม

มะเร็งเต้านม - วิกิพีเดีย ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ



กระทรวงสาธารณสุขเผย " มะเร็งเต้านม "ภัยเงียบคร่าชีวิตหญิงไทย สูงเป็นอันดับหนี่ง ปีละเกือบ 3,000 คน ป่วยกว่า 34,000 คน ล่าสุดพบผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมากถึง 19 ล้านคน รณรงค์ให้ตรวจเต้านมเองทุกเดือน
(ข้อมูลจาก นสพ.ไทยรัฐ - ข้อมูลเพิ่มเติม อ่านต่อข้างล่างค่ะ)



มะเร็งเต้านม คร่าชีวิตหญิงไทยอันดับหนี่ง ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ



เชิญชมการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขค่ะ



การตรวจค้นหามะเร็งเต้านม ตอน 1/2 ความยาว 10.10 นาที







การตรวจค้นหามะเร็งเต้านม ตอน 2/2 ความยาว 5.24 นาที







บทบาทของญาติต่อผู้ป่วยมะเร็ง



รศ.นพ.ชัยยศ ธีรผกาวงศ์

ภาควิชาสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล



ผู้ป่วยทุกรายเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว มักจะมีความรู้สึกเหมือนกันหมดว่า คงจะต้องเสียชีวิตจากโรคนี้ในเวลาอันใกล้ ซึ่งไม่เป็นความจริง มะเร็งทุกชนิดก็ว่าได้มักจะรักษาให้หายขาดได้ถ้าตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ยิ่งไปกว่านั้นมะเร็งบางชนิดแม้ตรวจพบในระยะท้าย ๆ ของโรคก็ยังอาจจะรักษาหายขาดได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่บางชนิด หรือมะเร็งเนื้อรก เป็นต้น บทบาทของญาติมีส่วนมากในการช่วยให้การรักษาประสบผลสำเร็จโดยราบรื่นตามกำหนดที่แพทย์วางแผนไว้



เราควรจะแบ่งผู้ป่วยมะเร็งเป็น 3 ประเภท

1. มะเร็งที่รักษาให้หายขาดได้ หรือมีโอกาสหายขาดได้สูง

2. มะเร็งที่รักษามีโอกาสหายหรือไม่หายก็ได้

3. มะเร็งที่มีโอกาสหายน้อยหรือแทบไม่มีโอกาสหาย

ก่อนอื่นญาติจะต้องทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในประเภทใด ดังกล่าว



สำหรับมะเร็งที่รักษาให้หายขาดได้ หรือมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูง ความร่วมมือเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อให้การรักษาบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สำหรับญาติเอง หรือแม้แต่ผู้ป่วยเองควรจะได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้รักษา มีบ่อยครั้งที่เดียวที่ผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่แพทย์วางแผนการรักษาโดยทางรังสีรักษา แต่ผู้ป่วยไม่ร่วมมือมารักษาตามนัด ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับข้อมูลผิดที่ได้รับจากญาติหรือเพื่อนบ้านทำให้เสียโอกาสในการหายจากโรค ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะอธิบายให้ทราบความจริง แม้มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรับความจริงว่าตนเองเป็นมะเร็ง ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ป่วยน่าจะรับทราบความจริงเนื่องจากการพยากรณ์ของโรคดี ญาติควรจะปรึกษาแพทย์ในกรณีเช่นนี้เพื่อจะได้อธิบายแก่ผู้ป่วยรายนี้อย่างเหมาะสม การทราบความจริงมีผลทำให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรักษาและร่วมมือในการติดตามการรักษาตามนัดหมาย ญาติเองจำเป็นต้องให้กำลังใจและสนับสนุนในการรักษาอย่างเต็มที่

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการรักษากำลังใจและการปรนนิบัติของญาติหรือผู้ใกล้ชิดมีความสำคัญต่อผลการรักษาอย่างยิ่ง

ผู้ป่วยที่มีโอกาสหายหรือไม่หายก็ได้ เมื่อได้รับทราบข้อมูลจากแพทย์ถึงแนวทางการรักษา ความเสี่ยงต่าง ๆ ของการรักษา ในการพยากรณ์ของโรค ญาติมักจะตัดสินใจเด็ดขาดไม่ค่อยได้นัก โดยเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง หรือแม้แต่แพทย์เองบางครั้งก็ไม่กล้าชี้ลงไปชัดเจนว่าผลการรักษาจะเป็นอย่างไร อาจจะต้องให้การรักษาสักพักหนึ่งก่อนจึงจะบอกได้ว่าการรักษาได้ผลหรือไม่ สำหรับญาติเองน่าจะให้ความสำคัญกับข้อมูลของแพทย์ แต่มีบ่อยครั้งการตัดสินใจขึ้นกับแพทย์เป็นผู้พิจารณา และถ้าญาติแบ่งเป็น 2 ฝ่ายยิ่งทำให้การตัดสินใจของแพทย์กระทำด้วยความลำบาก แต่ถ้ามีมติเอกฉันท์แล้วว่าจะรับการรักษา ญาติจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยรับทราบข้อมูลแง่บวกมากกว่าลบเพื่อจะได้มีกำลังใจและร่วมมือในการรักษา

ผู้ป่วยที่มีโอกาสหายน้อยหรือแทบไม่มีโอกาสหายเลย ฉันทามติของญาติในการรักษาหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญมาก แพทย์เองจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมากับญาติ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปตามหลักวิชาการ ถ้าญาติหรือผู้ป่วยยังต้องการให้การรักษานอกจากโอกาสหายจะมีน้อยแล้ว ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาก็อาจจะสูงไปด้วย สำหรับรายที่ญาติตัดสินใจไม่รับการรักษาแล้ว ทางการแพทย์จะมุ่งรักษาให้ผู้ป่วยไม่มีความทุกข์ทรมานหรือมีความทุกข์ทรมานน้อยที่สุดจากโรค เช่นเดียวกันกำลังใจหรือการปรนนิบัติของญาติย่อมช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้ายังมีภาระหรือความห่วงใยต่าง ๆ อยู่ เป็นหน้าที่ที่ญาติจะต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อให้ผู้ป่วยมีความกังวลน้อยที่สุด เพื่อจะได้มีจิตใจที่สงบและมีความทุกข์ทางใจน้อยที่สุด

ข้อมูลจาก Siriraj E Public Library


บทบาทของญาติต่อผู้ป่วยมะเร็ง



ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เนต



newyorknurse



Create Date : 11 ธันวาคม 2560
Last Update : 13 ธันวาคม 2560 6:16:40 น. 0 comments
Counter : 2015 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmoresaw, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณRinsa Yoyolive, คุณmariabamboo, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณJinnyTent, คุณInsignia_Museum, คุณmastana, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณSai Eeuu, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณtoor36, คุณก้นกะลา, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณหอมกร, คุณThe Kop Civil, คุณหงต้าหยา, คุณruennara, คุณhaiku


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 ธันวาคม 2560
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.