เส้นเลือดขอดที่เท้า Varicose Vein
เส้นเลือดดำที่เท้าจะมีสองระบบคือเส้นเลือดดำที่ผิวเรียก superficial vein จะนำเลือดจากผิวหนังไปสู่ระบบที่สองคือเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกเรียก deep vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เป็นตัวไล่เลือดจากขาไปเส้นเลือดดำใหญ่ในท้อง โดยมีลิ้นๆกั้นเลือดมิให้ไหลกลับ หากลิ้นดังกล่าวเสียซึ่งอาจจะเกิดจากโรคของ valve เอง หรือจากการเสื่อมตามอาย ุทำให้ไม่สามารถกั้นเลือดไหลกลับเลือดจึงค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ จึงเกิดโป่งพองโดยมากเกิดในผู้หญิงอายุ 30-70 ปี
เส้นเลือดโป่งและคด | เส้นเลือดที่ผิวและเส้นเลือดลึก | แสดงลิ้นหลอดเลือดดำรั่ว |
สาเหตุของเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยุ
- มีความผิดปกติของลิ้นในหลอดเลือดดำ
- เป็นกรรมพันธุ์
- มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
- ปัจจัยส่งเสริมเช่น การยืน การนั่งนานๆ
- คนท้อง
- อายุมากมีการหย่อนของลิ้นหลอดเลือด
- การผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
- ผู้ป่วยหัวใจวาย
เส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยจำเป็นต้องรักษา
ไม่จำเป็นต้องรักษาการรักษาเป็นเพียงในแง่ความงามเท่านั้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- อายุมากจะเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดเส้นเลือดขอด
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นวัยรุ่น การตั้งครรภ์ หรือวัยทอง แม้กระทั่งการรับประทานยาคุมกำเนิดก็จะส่งเสริมทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณเลือดมาก และมดลูกกดหลอดเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอด อาการจะดีขึ้นหลังคลอด 3 เดือน
- อ้วน
- การนั่งหรือยืนนานๆ
- การสัมผัสแสงนานๆก็จะเกิดเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้า
อาการของเส้นเลือดขอดที่เท้า
พบผิวหนังสีน้ำตาล | แผลที่เกิดจากเส้นเลือดขอด |
- ปวดเท้าปวดหนักๆ ตึงๆ
- อาจจะเกิดตะคริวของกล้ามเนื้อ
- เห็นเส้นเลือดดำพอง
- บวมหลังเท้า
- เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง ผิวหนังบริเวณข้อเท้าจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวบาง แห้งและค่อนข้างแข็ง
- หากมีการคั่งของน้ำมากๆ อาจจะเกิดการอักเสบของผิวหนังที่เรียกว่า stasis eczamaซึ่งจะมีอาการคัน หรืออาจจะเกิดแผล
- เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
การนั่งหรือยืนนานๆจะทำให้อาการดังกล่าวเป็นมากขึ้น
การวินิจฉัย
- หากพบเห็นหลอดเลือดดำพองและบิดขดตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณน่องก็สามารถวินิจฉัยได้
- บางรายอาจจะใช้ doppler ultrasound
- การฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่เรียก venogram
การดูแลตัวเอง
- การออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีดีที่สุดจะเป็นการทำให้การไหลเวียนดีขึ้นแพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ให้สวมรองเท้าส้นเตี้ยซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่ฟิตๆ
- ให้ยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งโดยยกสูงระดับหน้าอก
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ
- ใช้elastic bandage พันตั้งแต่ข้อเท้าถึงบริเวณเข่า
- ห้ามนั่งไขว่ห้าง
- ห้ามสวมชุดที่คับเกินไปโดยเฉพาะบริเวณเอว ขาหนีบ
- ลดอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม
- ถ้าหากต้องนั่งนานให้ลุกเดินทุกชั่วโมง และขณะนั่งให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกเท้าทำสลับกัน
เป็นเส้นเลือดขอดอันตรายหรือไม่
ทั้งเส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยมักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น เท้าหนัก คัน แต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้
- แผลที่เท้าซึ่งหายยากเนื่องจากการคั่งของเลือดเป็นระยะเวลานาน
- เลือดออก เนื่องจากผิวหนังบริเวณเส้นเลือดขอดจะบาง ทำให้เกิดแผลและเลือดออกง่าย
- เส้นเลือดดำอักเสบ เนื่องจากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดฝอย
- ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้เท้าบวม และมีอาการปวด หากมีลิ่มเลือดหลุดลอยไปที่ปอดก็จะเกิดปัญหาอันตราย
จะไปพบแพทย์เมื่อไร
- เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
- เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า
- ผิวหนังบริเวณข้อเท้าและน่องหนาและมีการเปลี่ยนสีผิว
- เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
- ปวดน่องมาก
การรักษาเส้นเลือดขอดมีกี่วิธี
จุดประสงค์ของการรักษา
- เพื่อบรรเทาอาการ
- เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
- เพื่อทำให้ดูดี
หลักการรักษาเส้นเลือดขอดคือการจักการกับหลอดเลือดขอดซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- การใส่ Support มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด การใส่ Support เพื่อเพิ่มแรงดันต่อหลอดเลือดมิให้โป่งพอง ชนิดทางการแพทย์จะดีที่สุดเพราะสามารถเพิ่มแรงดันต่อหลอดเลือดได้ดี
- การผ่าตัดนำหลอดเลือดขอดออก
- การฉีดสารเคมีทำให้หลอดเลือดตีบ sclerotherapy ซึ่งสามารถทำได้ทั้งเส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอย หลังจากฉีดต้องใส่ Support ระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
- การใช้ laser ของหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอยจะต้องทำหลายครั้ง เส้นเลือดจึงจะยุบ วิธีการนี้จะทำกับหลอดเลือดที่เล็กกว่า 3 มม
- Endovenous techniques (radiofrequency and laser) เป็นการสอดสายเข้าไปในหลอดเลือดขอด และใช้ laser จี้ภายในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดนั้นยุบตัว
- การใช้ไฟฟ้าจี้
โรคแทรกซ้อนของการรักษามีอะไรบ้าง
- การผ่าตัด จะมีโรคแทรกซ้อนจากการดมยา เช่นคลื่นไส้อาเจียน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และยังเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัด
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าตัด และดมยาสลบ
- เลือดออก
- การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- แผลเป็น
- มีการทำลายเส้นประสาทที่อยู่กับหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการชา
- อาจจะเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
- sclerotherapy โรคแทรกซ้อนขึ้นกับสารที่ใช้ บางชนิดทำให้เกิดอาการแพ้ บางชนิดทำให้เกิดอาการปวด บางชนิดทำให้เกิดรอยดำ
- การรักษาแต่ละชนิดจะไม่หายขาด เนื่องจากร่างกายอาจจะสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่หรือเส้นเก่าเกิดพองเหมือนก่อนรักษา และยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดใหม่
********
สำหรับเส้นเลือดขอดที่จะกล่าวเกิดที่ขา ท่านผู้อ่านคงได้ยินการโฆษณาถึงการรักษาเส้นเลือดขอด ทำให้หายขาด ไม่เจ็บปวด และปลอดภัย ทำให้ท่านผู้อ่านสับสนว่าจะรักษาดีหรือไม่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยท่านในการตัดสินใจ
เส้นเลือดขอดคืออะไร
เส้นเลือดขอดคือเส้นเลือดดำที่มีเลือดมากองทำให้หลอดเลือดโป่งพองอาจจะมีสำดำคล้ำ หรือม่วงอ่อนๆ มักจะขดวนไปมา หลอดเลือดจะนูนขึ้นมา มักจะพบที่น่อง ต้นขาและมักจะมีอาการหนักเท้า คันเท้ารายที่เป็นมากอาจจะมีแผลที่เท้ารายละเอียดคลิกที่นี่
เส้นเลือดฝอยที่ขา
ส่วนเส้นเลือดฝอยที่โป่งก็คล้ายกับเส้นเลือดขอด แต่มีขนาดเล็กกว่า มักจะมีสีแดง และออกม่วง คุณผู้หญิงบางท่านอาจจะพบเห็นเส้นเลือดฝอยที่ต้นขา อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเส้นเลือดขอดความจริงเป็นเส้นเลือดที่ขยายพบมากที่ขา ข้อเท้า และหน้า รายละเอียดคลิกที่นี่
สาเหตุของเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบ อาจจะเกิดจากการอ่อนแรงของลิ้นที่เส้นเลือดดำ หรือผนังหลอดเลือดดำ หรือเกิดจากการอักเสบของผนังหลอดเลือดทำให้เลือดกองที่หลอดเลือดดำมักจะเกิดในผู้หญิงเจริญพันธ์ ส่วนเส้นเลือดฝอยเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
เส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยจำเป็นต้องรักษา
ไม่จำเป็นต้องรักษาการรักษาเป็นเพียงในแง่ความงามเท่านั้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- อายุมากจะเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดเส้นเลือดขอด
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นวัยรุ่น การตั้งครรภ์ หรือวัยทอง แม้กระทั่งการรับประทานยาคุมกำเนิดก็จะส่งเสริมทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณเลือดมาก และมดลูกกดหลอดเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอด อาการจะดีขึ้นหลังคลอด 3 เดือน
- อ้วน
- การนั่งหรือยืนนานๆ
- การสัมผัสแสงนานๆก็จะเกิดเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้า
อาการของเส้นเลือดขอด
- ปวดน่องหลังจากนั่งหรือยืนนาน
- ปวดตุบๆ และเป็นตะคริว
- บวมที่เท้า
- เท้าหนักๆ
- ผื่นที่ขาและคัน
- ผิวที่ผิวหนังจะออกคล้ำ
เป็นเส้นเลือดขอดอันตรายหรือไม่
ทั้งเส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยมักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น เท้าหนัก คัน แต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้
- แผลที่เท้าซึ่งหายยากเนื่องจากการคั่งของเลือดเป็นระยะเวลานาน
- เลือดออก เนื่องจากผิวหนังบริเวณเส้นเลือดขอดจะบาง ทำให้เกิดแผลและเลือดออกง่าย
- เส้นเลือดดำอักเสบ เนื่องจากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดฝอย
- ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้เท้าบวม และมีอาการปวด หากมีลิ่มเลือดหลุดลอยไปที่ปอดก็จะเกิดปัญหาอันตราย
จะไปพบแพทย์เมื่อไร
- เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
- เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า
- ผิวหนังบริเวณข้อเท้าและน่องหนาและมีการเปลี่ยนสีผิว
- เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
- ปวดน่องมาก
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติและการตรวจร่างกาย ดูเส้นเลือดขอดทั้งท่านอน และท่ายืน การตรวจเพิ่มเติมแพทย์อาจจะส่งตรวจ
- คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อดูการไหลของเลือดและโครงสร้างของหลอดเลือด
- ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ
การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด
แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอด หรือเส้นเลือดฝอยได้หมด แต่ก็สามารถที่จะลดการเกิดเส้นใหม่
- ป้องกันการถูกแสงซึ่งจะทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยที่หน้า
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบไหลเวียนดี ลดการเกิดเส้นเลือดขอด
- ลดน้ำหนัก
- อย่างนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน
- หากต้องนั่งนานให้ยกเท้าให้สูง
- อย่านั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ให้เปลี่ยนเท้าที่ยืนบ่อยๆ หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นเดินทุก 30 นาที
- ให้ใส่ Support ไม่ใส่กางเกงที่ฟิต และรัดเอว
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
- ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มาก
เท้าจะมีสองระบบคือเส้นเลือดดำที่ผิวเรียก superficial vein จะนำเลือดจากผิวหนังไปสู่ระบบที่สองคือเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกเรียก deep vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เป็นตัวไล่เลือดจากขาไปเส้นเลือดดำใหญ่ในท้อง โดยมีลิ้นๆกั้นเลือดมิให้ไหลกลับ หากลิ้นดังกล่าวเสียซึ่งอาจจะเกิดจากโรคของ valve เอง หรือจากการเสื่อมตามอาย ุทำให้ไม่สามารถกั้นเลือดไหลกลับเลือดจึงค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ จึงเกิดโป่งพองโดยมากเกิดในผู้หญิงอายุ 30-70 ปี
ข้อมูลจาก Siam Health
พรุ่งนี้แวะมาส่งคะแนนนะคะ
วันนี้ส่งกำลังใจอย่างเดียวก่อน