เร็วอร่อยจากผงปรุง (ชู) รสซอง-อันตราย
เร็วอร่อยจากผงปรุง(ชู)รสซอง - อันตราย ชิวิตเราทุกวันนี้มีภาระมากมาย ไม่มีเวลาทำอาหารกัน เลยใช้วิธีซื้ออาหารมาแล้วอุ่นทานกัน หรือซื้อเครื่องปรุงรสสำเร็จ มาปรุงอาหารกัน เร็วอร่อยจากผงปรุง (ชู) รสซอง-อันตราย บทความ โดย sunanta - 28/8/55 อิทธิพลการโฆษณากรอกหูกรอกตาทางโทรทัศน์ทุกวี่ทุกวันสามารถสร้างความคล้อยตามได้มากทีเดียว เฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่ผู้คนมักอ้างว่ามีเวลาพิถีพิถันน้อย การปรุงอาหารก็เลยเข้าทางโฆษณาอร่อยแบบรวบรัดตัดตอนเวลาได้ด้วยผงปรุงรสซองเดียว สมใจคนรุ่นใหม่ รวดเร็วทันใจ 1 ซองทำให้รสชาติอาหารครบรสอร่อย นัวแซบ อูมามิ ฯลฯ ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบร้อยแปดพันเก้าชนิด ง่ายสะดวก เหมาะกับครัวยุคใหม่หนึ่งซองสุดมหัศจรรย์มีหลากหลายชนิดเมนู คำโฆษณาชวนเชื่อกรอกตากรอกหูทุกวันลบภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพชนไปเสียสิ้นคือการปรุงรสอาหารด้วยวัสดุธรรมชาติวัดความอร่อยฝีมือคนปรุงล้วนๆ แต่ไม่มีอันตรายแอบแฝง ผู้เชี่ยวชาญการปรุงและชิมอาหารระดับกูรูอย่างคุณนุชนาฎ ศิริชยาพร คอลัมนิสต์นิตยสาร Go Green ได้สาธิตการทำผัดเปรี้ยวหวานที่เหมือนกันทุกอย่าง โดยใช้เครื่องปรุงจากของสดธรรมชาติตามปกติแบบไทยโบราณกับ เครื่องปรุงที่เป็นซองผงผัดนั่นเอง ณ งานเทศกาลกินเปลี่ยนโลกครั้งที่ 1 Taste of food "ลำ อร่อย หรอย แซบ" ณ สวนสันติชัยปราการ โดยมูลนิธิชีววิถี(BioThai) แผนงานความมั่นคงด้านอาหารภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แม่ครัวสาธิตรายนี้ อธิบายถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ยังไม่เห็นเกี่ยวกับผงปรุงสำเร็จ ที่หลายคนคิดว่าสำเร็จ แต่จริงๆ อาจจะเสร็จเพราะอัตราที่กลมกลืนอยู่ในความอร่อยนั้นดังโบราณว่าน้ำผึ้งเจอยาพิษนั่นกระมัง (ผู้เขียนเติมให้) "การปรุงอาหารปกติ อย่างมากก็มีเครื่องปรุงไม่เกิน 3 ขวด การปรุงอาหารเป็นศาสตร์และศิลป์ จะรีบไปไหนที่จะต้องใช้เครื่องปรุงแบบซองห่อเดียวแบบเบ็ดเสร็จและที่สำคัญผงปรุงสำเร็จมีสารปรุงรสเยอะ นั่นหมายถึงผงชูรสเยอะมากด้วย" คุณนุชนาฎบอกอีกว่า ผงชูรสนั้นไม่ใช่แต่ในรูปโมโนโซเดียมกลูตาเมตเท่านั้น ไปอ่านฉลากจิ๋วๆ ข้างหลังผงผัด ผงปรุงรสแบบซองดูว่ามีอะไรบ้าง ทั้งไดโซเดียม ไอโอซิเนตโซเดียมกัวไนเลต เหล่านี้คือ รูปแบบของเกลือที่เป็นผงชูรสทั้งสิ้น ว่ากันว่าในเมนูที่มีรสเปรี้ยวอย่าง ลาบ ยำต่างๆ มีการใส่กรดซิติก หรือกรดมะนาวที่เป็นสารสังเคราะห์ลงไป ยังมีการเจือสีธรรมชาติเข้าไปอีก เข้าทางคนรุ่นใหม่ต้องการสิ่งปรุงรสที่รวดเร็วจะธรรมชาติหรือไม่ไม่เป็นไร ขอให้ไม่ต้องมานั่งบีบนั่งเค้นมะขามเปียก น้ำมะนาวเป็นพอแล้วเสียเวลา คุณนุชนาฎ เล่าต่ออีกว่า แม่ครัวในต่างจังหวัดมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารมากมาย พอมีฝีมือ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ผงปรุงสำเร็จซองเดียวแต่ที่ยังใช้กันอยู่คือ ผงชูรส หรือบางครั้งไปถามว่าใช้ผงชูรสหรือไม่ แต่กลับบอกว่า ไม่ใช่ "ที่น่าตกใจ เมื่อถามว่า ใช้ผงที่ทำให้รสชาติดีหรือไม่ กลับบอกว่าใช้ โดยที่ไม่ล่วงรู้เลยว่าผงที่ทำให้รสชาติดีเหล่านั้น คือ ผงชูรสนั้นเองเป็นเพราะผงเหล่านี้ ไม่ได้มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวอย่างที่คุ้นตา แต่กลับกลายเป็นผงสีน้ำตาลอ่อนคล้ายพริกไทยป่นแทนเรื่องที่เข้าใจผิดกันนี้จำเป็นต้องให้ความรู้พวกเค้าด้วย" คุณนุชนาฎ บอกว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนที่ยึดติดกับรสชาติ (ผงชูรส)อร่อย เป็นเรื่องยาก แต่ความอร่อยนั้นจะค่อยๆ สะสมความทุกข์สะสมอันตรายให้กับร่างกายเรื่องนี้จำเป็นต้องสื่อสารไปกับสาธารณะให้มากๆ ระวังเรื่องการปรุงอาหารให้มากขึ้น และต้องคำนึงถึงอันตรายที่แฝงมากับความอร่อยนั้นให้มากๆ ฝีมือปรุงอาหารแบบโบราณเป็นภูมิปัญญาไทยรสชาติอร่อยจนได้รับฉายาเสน่ห์ปลายจวัก ใครชอบรสใดก็ปรุงเอาแต่ไม่ใช่ผงชูรสแน่ แต่ถ้าปรุงรสจัดแม้จะเป็นธรรมชาติก็ตามก็อันตรายอาจพาสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคไตได้ ยิ่งเป็นวัสดุไม่ธรรมชาติ เช่นผงปรุงก็ยิ่งมองเห็นอันตรายอยู่แค่เอื้อม ถึงจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่อ้างว่าทำอะไรแข่งกับเวลา แต่เรื่องอาหารอย่าได้ปฏิเสธความพิถีพิถันใช่การปรุงด้วยผงชูรส เพราะเร็วรสชาติอร่อยแต่ลืมนึกไปว่าที่แฝงมาด้วยทุกมื้อคืออันตรายที่สะสมไว้ตัวเองและครอบครัว ข้อมูลจาก //m.thaihealth.or.th/healthcontent/article/30173เทคนิคและการเลือกวัตถุดิบเพื่อทำน้ำพริกแกง ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ 4 5สารพิษที่มากับพลาสติกและกล่องโฟมใส่อาหาร ผศ. ดร. นันทพร ภัทรพุทร ผู้คนในยุคไอทีคงคุ้นเคยกับอาหารถุงหรือกล่องโฟม เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่พลาสติกและกล่องโฟมถูกใช้แทนใบตอง หรือกระดาษ ในการบรรจุอาหาร อาจเป็นเพราะสะดวก และราคาไม่แพง แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำไปใช้ในการบรรจุอาหารที่ร้อนและมีน้ำมัน อาจทำให้เกิดอันตรายจากสารปนเปื้อนที่แยกตัวออกมาจากภาชนะบรรจุได้ ชนิดของสารที่ใช้ในการทำภาชนะบรรจุมีหลายประเภท ได้แก่ โพลีเอทิลีน (ใช้เป็นถุงเย็นหรือถุงร้อนสีขาวขุ่น) โพลีโพรพิลีน (ใช้เป็นถุงร้อนใส) โพลีไวนิลคลอไรด์ (พบในพลาสติกพีวีซี) โพลีสไตรีน (ใช้ทำถ้วย ถาด กล่อง แก้ว ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง) สารพิษที่พร้อมจะปนเปื้อนกับอาหารจากการใช้ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมเหล่านี้มีมากมายหลายชนิด เช่น ในกล่องโฟม / ถาดโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร เมื่อได้รับความร้อนสูงจะให้สาร 2 ชนิด คือ เบนซีน (benzene) และสไตรีน (styrene) ซึ่งสารดังกล่าวจะละลายได้ดีในอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน สำหรับเบนซีน หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง (anemia) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ได้ ส่วนสไตรีน ผลต่อร่างกายเมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้ระคายเคือง หากสูดดมเข้าไปจะมีอาการไอ และหายใจลำบาก เพราะไปทำให้เยื่อเมือกเกิดความระคายเคือง ปวดศีรษะ ง่วงซึม อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลระบุความเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ แต่เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลอง นอกจากเบนซีนและสไตรีนแล้ว ยังมีสารไวนิวคลอไรด์ (vinylchloride) ที่ปนเปื้อนในพลาสติกพีวีซี ซึ่งสารตกค้างของไวนิลคลอไรด์ อาจทำให้เกิดมะเร็งตับได้ และสารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งพบในพลาสติกบางประเภท ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งในปอด กระเพาะอาหาร ตับ ต่อมน้ำเหลือง และผิวหนัง มีผลต่อระบบการสืบพันธุ์ ในเพศชายทำให้มีตัวอสุจิน้อยลง ส่วนเพศหญิงรังไข่และมดลูกจะผิดปกติ ซึ่งทารกที่เกิดจากหญิงที่ได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมาก มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติในวัยแรกเกิดด้วย สารพิษเหล่านี้กว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีเลยทีเดียว และที่สำคัญ คือ อันตรายที่จะเกิดกับร่างกายของคนที่รับสัมผัส โดยปริมาณที่ปนเปื้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ระยะเวลาสัมผัสกับอาหาร และอุณหภูมิของอาหาร ดังนั้นการเลือกใช้พลาสติก หรือโฟมต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร และเหมาะสมกับการใช้งาน โฟมชานอ้อย หรือภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสัมปะหลัง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้บรรจุอาหารร้อน เย็นได้ และปลอดภัยจากสารปนเปื้อนดังกล่าว อีกทั้งไม่มีสารคลอรีนตกค้าง และใช้กับเตาอบและไมโครเวฟได้ด้วยหรือถ้าจะหันกลับไปใช้ปิ่นโตเหมือนยุคโบราณได้ก็จะดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะลดต้นทุนค่ารักษาโรคที่เกี่ยวกับสารพิษ ลดต้นทุนค่าเก็บและกำจัดขยะ แล้วยังช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้อีกด้วย เอกสารอ้างอิง 1. วิถีมีเดีย. โฟม. //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%A1 2. ชิตพงษ์ กิตตินราดร. ความมหัศจรรย์ของการใช้ปิ่นโต. //gotoknow.org/blog/guopai/176634 3. จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี และ สุชัญญา พลเพชร. พลาสติกบรรจุอาหารและกล่องโฟม ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย. //www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/foodbackhome/news 4. อย่าละเลยกับถุงพลาสติกและกล่องโฟมใส่อาหาร. //www.pcccr.net/forum/index.php?action= printpage;topic=41.0 ข้อมูลจาก //www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2816ขอขอบคุณข้อมูลและยูทูปจากอินเตอร์เนต Kern - Once in the Long Ago VIDEO newyorknurse
Create Date : 01 พฤษภาคม 2560
Last Update : 3 พฤษภาคม 2560 1:31:27 น.
23 comments
Counter : 5121 Pageviews.
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmoresaw , คุณคนผ่านทางมาเจอ , คุณเนินน้ำ , คุณสาวไกด์ใจซื่อ , คุณThe Kop Civil , คุณtoor36 , คุณภาวิดา คนบ้านป่า , คุณzungzaa , คุณซองขาวเบอร์ 9 , คุณชีริว , คุณสองแผ่นดิน , คุณSweet_pills , คุณรัชต์สารินท์ , คุณClose To Heaven , คุณphunsud , คุณอาจารย์สุวิมล , คุณMitsubachi , คุณTui Laksi , คุณcomicclubs , คุณข้ามขอบฟ้า
โดย: moresaw วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:5:52:28 น.
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:8:17:40 น.
โดย: เนินน้ำ วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:8:52:05 น.
โดย: Sai Eeuu วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:10:07:35 น.
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:12:18:53 น.
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:16:27:06 น.
โดย: zungzaa วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:19:33:44 น.
โดย: ชีริว วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:22:00:47 น.
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 3 พฤษภาคม 2560 เวลา:23:38:10 น.
โดย: Sweet_pills วันที่: 4 พฤษภาคม 2560 เวลา:0:01:25 น.
โดย: phunsud วันที่: 4 พฤษภาคม 2560 เวลา:10:09:43 น.
โดย: Mitsubachi วันที่: 4 พฤษภาคม 2560 เวลา:13:28:48 น.
โดย: Tui Laksi วันที่: 4 พฤษภาคม 2560 เวลา:21:15:25 น.
โดย: comicclubs วันที่: 5 พฤษภาคม 2560 เวลา:0:07:00 น.
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 5 พฤษภาคม 2560 เวลา:0:27:51 น.
โดย: jernnrej วันที่: 8 พฤษภาคม 2560 เวลา:20:52:50 น.
มีประโยชน์มากๆ จะได้ลดละเลิกเลี่ยง การใช้ลงครับ