“อัลไซเมอร์” โรคใกล้ตัวคนสูงวัย






“อัลไซเมอร์” โรคใกล้ตัวคนสูงวัย







พญ.อุมามน พวงทอง

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์ จะถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในวงสนทนาต่างๆ แต่เอาเข้าจริงๆ เมื่อถามว่า อัลไซเมอร์เป็นอย่างไร อาการแบบไหน ใช่ ไม่ใช่..อัลไซเมอร์ ฯลฯ ก็มักจะเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบ ดังนั้นคำอธิบายจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้น่าจะให้คำตอบกับทุกบ้านได้ดีที่สุด

พญ.อุมามน พวงทอง จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ข้อมูลว่า โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อม (dementia) ในประเทศไทย มีการศึกษาถึงความชุกของภาวะสมองเสื่อม โดยพบว่าคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 75 จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็น 2 เท่า ตามอายุของผู้ป่วยในทุกๆ 5 ปี เพศชายและเพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคได้เท่าๆ กัน

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่จากการวิจัยซึ่งก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมบางตัว ความผิดปกติทางชีววิทยาในสมอง คือ มีการสะสมของโบรตันอะมัยลอยด์ (Amyloid plaques) และใยโปรตีน (Neuro fibrillary tangles) ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีนที่เรียกว่า เทาว์โปรตีน (tau) “Tau protein” ที่ก่อให้เกิดการพันกันยุ่งเหยิงของเซลล์ประสาท นำไปสู่การล่มสลายของโครงสร้างเครือข่ายเซลล์ประสาทในการที่จะติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน

นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคด้วยเช่นกัน ซึ่ง พญ.อุมามน อธิบายว่าอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พันธุกรรมในโรคอัลไซเมอร์ที่เริ่มอาการตั้งแต่อายุน้อย คือ โรคอัลไซเมอร์ที่เริ่มแสดงอายุตั้งแต่ช่วง 40-60 ปี ซึ่งพบได้น้อยมาก ซึ่งมียีนที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ตัวหลัก คือ พรีซีนิลิน 1 พรีซีนิลิน 2 และอะมัยลอยด์พรีเคอร์เซอร์โปรตีน นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติว่าพ่อแม่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว ส่วนพันธุกรรมในโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการเมื่ออายุมาก คือยีนหลักที่เกี่ยวข้อง อะโปไลโบรโปรตีนอี ที่เชื่อว่า เป็นตัวหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดโรค แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนมียีนตัวนี้ จะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์แน่นอน

พญ.อุมามน แจงถึงลำดับการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์ให้ฟังว่า เป็นการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทอย่างช้าแต่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายความว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีอาการแบบเดียวกันเสมอไป อาการอาจมีการขึ้นๆ ลงๆ ได้ และการดำเนินโรคช้าเร็วต่างกันได้ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 3-20 ปี โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8 ปี ขึ้นกับระยะเมื่อได้รับการวินิจฉัยและภาวะสุขภาพทางกายโดยรวมของผู้ป่วยนั้นๆ ด้วย

สำหรับอาการหลักที่พบในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น จิตแพทย์กล่าวว่า เป็นอาการหลงลืมที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากหลงลืมเรื่องใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ไปจนถึงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ถามคำถามเดิมซ้ำๆ เล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ นึกคำพูดหรือประโยคไม่ออก เรียกชื่อสิ่งของผิด สับสนเรื่องเวลา สถานที่ รวมถึงอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า วิตกกังวล ระแวง เห็นภาพหลอน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวัน โดยสรุปแล้วผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องในด้านต่างๆ 4 ด้านหลัก ได้แก่









1.ความบกพร่องด้านความจำ โดยเฉพาะความระยะสั้น คือ ความจำหลังจากรับรู้สิ่งเร้าแล้วเพื่อนำมาใช้งาน ความจำนี้จำได้นาน 20-30 วินาที ความจำระยะสั้นนี้จะสูญสลายไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงจะรักษาไว้ได้ ทำโดยการท่องซ้ำๆ เช่น เรากำลังคุยโทรศัพท์กับเพื่อนเพื่อขอเบอร์ของเพื่อนอีกคน เมื่อเพื่อนบอกหมายเลขโทรศัพท์แต่เราไม่มีสมุดจด ก็ท่องไว้ในใจ และรีบวางสายเพื่อต่อสายถึงเพื่อนคนนั้น แต่ในขณะที่เรากำลังกดเบอร์โทรศัพท์นั้นอยู่ ปรากฏว่า มีใครพูดแทรกขึ้นมา หรือชวนคุย ก็อาจทำให้เราลืมหมายเลขโทรศัพท์นั้นไปได้ทั้งๆ ที่ยังกดหมายเลขไม่จบ

2.ความบกพร่องด้านการใช้ภาษา การใช้เหตุผล รวมถึงอาจสับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่

3.บุคลิกภาพ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น มีพฤติกรรมซ้ำๆ หรือพูดซ้ำๆ ตลอด มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้ป่วยอาจจะจำใครไม่ได้เลย หรือจำเรื่องราวบางสิ่งได้เป็นนาที และลืมภายในไม่กี่นาที

4.ความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง เช่น การรับประทาน อาจเคี้ยว หรือกลืนอาหารเองไม่ได้ หรือการขับถ่าย รวมไปถึงเรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกาย

ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาจทำให้ลูกหลาน คนดูแล สมาชิกในครอบครัวรู้สึกรำคาญ เหน็ดเหนื่อย ท้อใจได้ ซึ่ง พญ.อุมามน ให้คำแนะนำที่จำเป็นหลักๆ ดังนี้

• แบ่งความรับผิดชอบให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ บ้าง เรื่องการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ทั้งในด้านกำลังกาย กำลังใจ และทุนทรัพย์


• เมื่อมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ควรบอกเล่าให้สมาชิกในบ้านได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ หาทางปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ป่วย ในบางครั้งถ้าปัญหามากเกินกว่าที่ผู้ดูแลจะรับมือไหว ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการร่วมปรับยา และให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วย







แนะ 9 วิธีป้องกัน “อัลไซเมอร์”



นอกจากนี้ ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จิตแพทย์แนะนำ 9 ข้อสำคัญ ดังนี้

1.ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมอง

2.ควรระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน

3.ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ

4.สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการลื่นหกล้มหัวฟาดในห้องน้ำได้

5.เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง

6.ตรวจเช็กความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้

7.ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้สูงอายุไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโทษได้

8.ควรหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร

9.เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที

เห็นว่า เรื่องราวของโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงการดูแล การรักษา การป้องกันนั้นซับซ้อน และยากต่อความเข้าใจทีเดียว ซึ่งทางที่ดีที่สุด ก็คือ การหาโอกาสปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง


ขอบคุณ ข้อมูลจาก
//www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000124043





newyorknurse



Create Date : 09 เมษายน 2556
Last Update : 9 เมษายน 2556 2:21:34 น. 19 comments
Counter : 3890 Pageviews.

 
เจิมค่ะ


โดย: schnuggy วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:4:48:08 น.  

 
รู้จักคนเป็นอัลไซเมอร์คนนึงค่ะ
จาก fine lady สุขุมนุ่มนวล พูดจาสุภาพเรียบร้อย
แถมมารยาทอันน่าเคารพเป็นอย่างยิ่ง
แต่งตัวแบบเข้ากันตั้งแต่หัวจรดเท้า

กลายเป็นผู้หญิงธรรมดาๆคนนึง
แถมด้วยสายตาอันเกรี้ยวกราด พร้อมกระโดดกัดได้ทุกเมื่อ
กลัวเค้ามากค่ะ ตอนนี้เค้าก็ต้องไปอยู่คลีนิคบำบัดโรคนี้
น่าสงสารจริงๆ


โดย: schnuggy วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:4:51:09 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:6:47:03 น.  

 
นายกรัฐมนตรีหญิงอังกฤษ มาร์กาเรต แทตเชอร์ ไม่ออกงานสังคมในช่วงหลัง เพราะมีอาการนี้ .. ขอโหวตให้ในสาขาสุขภาพนะครับบล็อกนี้ .. ส่งอีเมล์ไปหาครับ


โดย: yyswim วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:10:20:46 น.  

 
สวัสดีคุณน้อยขอบคุณที่ไปให้กำลังใจ
โรคนี้แม้ไม่เจ็บปวดแต่ก็น่ากล้วเหมือนกัน
เป็นแล้วไม่รู้ต้ว


โดย: พี่ชมพร (ชมพร ) วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:14:25:08 น.  

 
ดูหนังภาคค่ำเพิ่งจบไปเมื่อเร็วๆนี้ มีตัวละครป่วยเป็นอัลไซเมอร์คนหนึ่ง ลืมบ้าง เดี๋ยวก็นึกได้บ้าง แต่ลูกหลานดูแลอย่างดีมากๆ ในละครนะพี่น้อย ลุงแกก็มีความสุขดี


โดย: ปลายแป้นพิมพ์ วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:14:30:08 น.  

 
ในหนังที่นำชีวประวัติท่านมานำเสนอ
โดย เมอริล สตรีฟ IRON LADY
ตอนปลายท่านก็มีแาการอัลไซเมอร์ เหมือนกัน
ท่านไปสบายแล้ว
RIP


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:16:51:48 น.  

 
เป็นโรคที่น่ากลัวนะคะ
แม่ซองว่าเกี่ยวกับอาหารการกินด้วย
คนสมัยก่อนไม่เห็นเป็นมากเหมือนสมัยนี้
เดี๋ยวนี้อาหารปนเปื้อนเยอะมาก

โหวดให้พร้อมไลท์ให้ค่ะ


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:17:03:24 น.  

 
ขอบคุณทุกๆท่านที่แวะมาคุยและเล่าเหตุการณ์ต่างๆด้วยค่ะ

ระยะนี้ก็พยายามเอาเรื่องสุขภาพใกล้ๆตัว คือใกล้อายุมาอ่านและหาทางป้องกัน เราจะได้ไม่เป็นปัญหากับคนข้างเคียง

บางอย่างก็ป้องกันได้ บางอย่างก็ป้องกันไม่ได้
ก็ต้องปล่อยไปตามดวงชะตา...

แต่่ถ้าสามารถทำได้ก็ทำไปก่อน เช่นจะเป็นคนสูงอายุที่ไม่เรื่องมาก (พยายามมากๆ) ไม่บ่นจุกจิก เพื่อลูกหลานไม่รำคาญ

รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
มองหาที่ที่จะไปอยู่ถ้าช่วยต้วเองไม่ได้

เมื่อวานได้ยินทางวิทยุเวลาขับรถ เขาบอกว่าคนสูงวัยมีที่อยู่อย่างดี มีคนดูแล มีกิจกรรมต่างๆ เลยโทรไปถามว่าราคาเท่าไร เขาบอกว่าเดือนละ 4000 เหรียญ อาหารวันละสองมื้อ ถ้าช่วยต้วเองไม่ได้ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับจ้างคนดูแลต่างหาก

ที่เมืองไทย ทราบว่าถ้าเป็น“อัลไซเมอร์” ช่วยตัวเองได้ไปอยู่ที่บ้านโป่ง หรือประจวบ ศูนย์คามิลโล เพื่อนบอกว่าราคา
เดือนละห้าหมื่นบาท แต่ถ้าเจ็บป่วยหรือข่วยตัวเองไม่ได้
ต้องมากขีัน แต่ราคาอาจจะไม่ใช่แล้ว ถ้าสนใจต้องติดต่ออีกที

คนที่เป็น“อัลไซเมอร์” คนดูแลก็ลำบากทีเดียว ถ้าสามารถไปฝากที่ศูนย์เขาจะมีสถานที่ ที่เดินไม่อันตรายไม่หกล้ม
ที่ Nursing home ที่นี่เขาจะมีแผนกนี้ และคนไข้ทุกคนจะมี id ติดที่ข้อมือ ถ้าออกนอกประตูจะมีเสียง ก็จะไม่เดินหายไปจากตึก จะได้ดูแลทั่วถึง

newyorknurse


โดย: newyorknurse วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:18:15:29 น.  

 
ไว้ชวนแม่มาอ่านครับ วันนี้เอาลูกหม่อนมาฝาก



ไลค์และโหวตด้วยครับ



โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:20:07:09 น.  

 

กลับมาแล้วค่ะรายงานตัว ที่ดงใหญ่อากาศเย็นกว่าหน้า

หนาวใน กทม นอนหนึ่งคืนและไปนอนที่ท่าทุ่งนาอีกคืน

แต่อากาศไม่เย็นเท่าดงใหญ่ อยากอยู่นานกว่านี้แต่สมพร

เขาต้องไปทำงาน ทั้งสองแห่งไม่มีสัญญานเน็ต

โรคอัลไซเมอร์น่ากลัวนะ เดี๋ยวนี้คนเป็นกันเยอะขึ้น

ขนาดหมอที่ทำงานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเองยังบอกว่ากลัว

เลย แต่คุณน้อยคงห่างไกลเพราะสมองยังดีสิ่งแวดล้อม

ดูแลตัวเองดี พรุ่งนี้มาโหวตให้ค่ะ


โดย: พรไม้หอม วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:20:13:47 น.  

 
นอกจากพี่น้อยให้ข้อมูลถึงสาเหตุของโีรคเชิงลึก
และวิธีป้องกันแล้ว ยังมีข้อมูลเรื่องสถานที่ที่ดูแลกรณีช่วยตัวเองไม่ได้อีกด้วยนะคะ

บางอย่างก็ป้องกันไม่ได้
ก็ต้องปล่อยไปตามดวงชะตา...

ขอบคุณสำหรับประโยคนี้ด้วยค่ะพี่น้อย
เหมือนให้ทำใจยอมรับระดับนึงนะคะ



กด like ค่ะ
มีความสุขตลอดวันนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:22:13:35 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ^^
คนที่บ้านดูท่าจะมีแววอัลไซเมอร์เหมือนกันแล้วค่ะ



โดย: lovereason วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:23:20:12 น.  

 
กด Like ให้เป็นคนที่ 7
แล้วก็กดโหวตหมวดสุขภาพให้พี่น้อย
วันนี้เหนื่อยเลยไม่ค่อยอยากเม้นท์มากนักค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 9 เมษายน 2556 เวลา:23:59:34 น.  

 
บางครั้งความเข้าใจของคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันนะครับ สำหรับโรคประเภทนี้


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 10 เมษายน 2556 เวลา:0:14:40 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 เมษายน 2556 เวลา:6:40:44 น.  

 
ดูแลสุขภาะค่ะ
พักนี้อ้อก็ขี้หลงขี้ลืมเหมือนกัน
นึกๆๆๆไม่ออกว่าอะไรอยู่ที่ไหน
เหมือนมันโดนdeleteออกไปจากความทรงจำ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 เมษายน 2556 เวลา:7:38:51 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่น้อย

ขอบคุณค่ะที่พี่น้อยถามไถ่ถึงสุขภาพ แหะแหะ ตั้งแต่ต้นปีมานี้ ออดแอด มาตลอดล่ะค่ะ อาการภูมิแพ้อากาศ ที่เหมือนมากขึ้นคงเป็นเพราะวัยที่เพิ่มมากขึ้น ภูมิต้านทานจึงต่ำลงนะค่ะ


ต้องแบบพี่น้อยนะค่ะ สุขภาพดี จิตใจดี ด้วยค่ะ


โดย: ตาลเหลือง วันที่: 10 เมษายน 2556 เวลา:11:29:12 น.  

 

วันนี้ออกไปสวนลุมแต่เช้าไปทำธุระต่อเพิ่งกลับเข้าบ้าน

แดดร้อนมากๆ วันนี้มาโหวตให้เรื่องที่มีสาระความรู้ดีๆค่ะ

newyorknurse Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พรไม้หอม วันที่: 10 เมษายน 2556 เวลา:13:06:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

BlogGang Popular Award#20


 
newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.