รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคความดัน
รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับ โรคความดันเมื่อต้นปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขไทยเปิดเผยว่า คนไทยป่วยด้วย 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย เพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน โดยในปี 2551 พบผู้ป่วยสะสมจำนวนกว่า 2 ล้านคน และคาดว่ายังมีผู้ป่วยซ่อนเร้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ Better Health ฉบับนี้จึงเน้นไปที่โรคเรื้อรังที่สำคัญ คือ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งไม่เพียงมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเท่านั้นแต่ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงอันเป็นภัยแก่ชีวิตอีกหลายโรค ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ ความดันโลหิตเกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดแดงไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ความดันจะเพิ่มขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว และลดลงเมื่อหัวใจคลายตัวลง โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบในประชากรส่วนใหญ่ในโลก องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ในปี 2542 ว่าผู้ใดมีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงอันตราย ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่เมื่อหัวใจบีบ และคลายตัวแต่ความดันยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือด ไม่ลดลงอย่างที่ควรจะเป็นซึ่งพญ. ประภาพร พิมพ์พิไล อายุรแพทย์ อธิบายว่า การมีความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน สร้างความเสียหายแก่หลอดเลือดหลายประการ อาทิ หลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดโป่งพอง อีกทั้งยังอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอีกหลายโรค ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง การควบคุมรักษาความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญในการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ดังกล่าวคือ หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไตวายเรื้อรัง อัมพาต และอัมพฤกษ์ สาเหตุ และอาการ โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่วนมาก กว่าร้อยละ 85 ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน และมักสัมพันธ์กับประวัติในครอบครัว เราเรียกโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มนี้ว่าเป็น Primary หรือ Essential Hypertension ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงแบบ Primary Hypertension นั้นไม่อาจรักษาให้หายได้ ต้องอาศัยการควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิดร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พญ. ประภาพรอธิบาย ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งเกิดกับผู้ป่วยส่วนน้อย ได้แก่ Secondary Hypertension หรือโรคความดันโลหิตสูงจากสาเหตุอื่น อาทิ โรคไต โรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ (ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต) การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งหากได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ ความดันโลหิตสูงก็จะกลับมาเป็นปกติได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการขนานนามว่าเป็น มัจจุราชเงียบ เสมอมา ทั้งนี้เพราะส่วนมากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่ปรากฏอาการเตือนใด ๆ ให้ผู้ป่วยได้ทราบเลย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงจนกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยความเจ็บป่วยอื่น ๆ เมื่อวัดความดันโลหิตจึงพบว่าสูง พญ. ประภาพรเล่า จากการสำรวจในประเทศไทยเมื่อสัก 4 - 5 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนมากถึงร้อยละ 20 - 30 ของจำนวนประชากร ซึ่งไม่เคยทราบเลยว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่อาจพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ตาพร่า เลือดกำเดาไหล แล้วรีบไปพบแพทย์จึงทราบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้รับการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิตก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนของโรคขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคความดันโลหิตสูงจัดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่มีความร้ายแรง เพราะส่วนมากไม่มีทางรักษาแต่สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และ/หรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ค่าความดันโลหิตเป้าหมายในคนปกติไม่ควรเกินกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นค่าที่ประเมินกันแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หลอดเลือดมาก เมื่อไรที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ และมีการวัดความดันซึ่งอ่านค่าได้ 120/80 หรือมากกว่าก็ต้องถือว่าความดันเริ่มจะสูงแล้ว (Pre-hypertension) แต่ยังไม่เป็นความดันสูงเต็มขั้น แพทย์จะแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงไปกว่านี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้ หรือปรับแล้ว แต่ความดันไม่ลดลงตามเป้าหมาย แพทย์จึงจะพิจารณาให้ยาที่เหมาะสมต่อไปโดยมีเป้าหมายระยะสั้นอยู่ที่การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทและเป้าหมายระยะยาวอยู่ที่การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น * ความดันโลหิตค่าบน หรือความดันซีสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ แรงดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ** ความดันโลหิตค่าล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ แรงดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตมักสูงขึ้น เพศ ชายมักพบความดันโลหิตสูงบ่อยกว่าหญิง พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ผู้ที่บิดา มารดา มีความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากขึ้น ความอ้วน และขาดการออกกำลังกาย สภาวะทางอารมณ์ เช่น เครียด โกรธ เจ็บปวด เสียใจ ตื่นเต้น ส่งผลต่อความดันโลหิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถกลับเป็นปกติ เมื่อผ่านพ้นภาวะนั้น ๆ เชื้อชาติ อาหาร เช่น เกลือ และส่วนประกอบของเกลือที่อาจนึกไม่ถึง เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงชูรส ผงฟู ก้อนซุปสำเร็จรูปมีรายงานชัดเจนว่าเกลือส่งผล โดยตรงต่อความดันโลหิต บุหรี่ สุรา และกาแฟ สมุนไพรบางชนิด เช่น อบเชย ผลของยา เช่น ฮอร์โมนคุมกำเนิด ยากลุ่ม nonsteroidal anti-inflammation drugs (NSIADs) พญ. ประภาพรเน้นว่า ไม่ว่าจะอย่างไรแพทย์ก็อยากให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และออกกำลังกายซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดได้ผลแน่นอน และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ลงไปได้อีกหลายโรค และที่ลืมไม่ได้ คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องหมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา หรือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังอันตราย แต่หากคุณตั้งใจจริงที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ โรคความดันโลหิตสูงก็จะไม่เป็นปัญหาสำหรับคุณอีกต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2553/30th-anniversary/living-with-hypertension-and-diabetes newyorknurse
Create Date : 12 มิถุนายน 2560
Last Update : 12 มิถุนายน 2560 6:14:30 น.
27 comments
Counter : 3020 Pageviews.
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี , คุณmoresaw , คุณSweet_pills , คุณmambymam , คุณClose To Heaven , คุณkae+aoe , คุณคนผ่านทางมาเจอ , คุณภาวิดา คนบ้านป่า , คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร , คุณอาจารย์สุวิมล , คุณสองแผ่นดิน , คุณKavanich96 , คุณกะว่าก๋า , คุณMitsubachi , คุณThe Kop Civil , คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน , คุณสายหมอกและก้อนเมฆ , คุณสาวไกด์ใจซื่อ , คุณหอมกร , คุณก้นกะลา , คุณที่เห็นและเป็นมา , คุณข้ามขอบฟ้า , คุณSai Eeuu , คุณhaiku , คุณเรียวรุ้ง
โดย: อุ้มสี วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:7:06:51 น.
โดย: moresaw วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:8:13:25 น.
โดย: Sweet_pills วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:8:52:56 น.
โดย: mambymam วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:9:22:17 น.
โดย: kae+aoe วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:13:10:28 น.
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:15:13:47 น.
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 12 มิถุนายน 2560 เวลา:17:11:22 น.
โดย: Kavanich96 วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:4:23:08 น.
โดย: moresaw วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:5:04:47 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:6:26:41 น.
โดย: honeynut วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:9:10:40 น.
โดย: Mitsubachi วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:9:18:58 น.
โดย: kae+aoe วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:11:44:57 น.
โดย: หอมกร วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:20:42:30 น.
โดย: ก้นกะลา วันที่: 13 มิถุนายน 2560 เวลา:21:30:18 น.
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 14 มิถุนายน 2560 เวลา:0:27:25 น.
โดย: Sai Eeuu วันที่: 14 มิถุนายน 2560 เวลา:1:30:07 น.
โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 17 มิถุนายน 2560 เวลา:21:50:42 น.
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [? ]
เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ยินดีต้อนรับค่ะ จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ ้ จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์ เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้ ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ "A time to enjoy, a time to spend time with your family and a time to be with your friends all comes with retirement" ***** "Live The Moment" อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น ในอดีตและกลัวหรือกังวล สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้" คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !! ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ ********* ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด ทุกๆคะแนน นะคะ BG Popular Award # 19 BG Popular Award # 18 BG Popular Award # 17 BG Popular Award # 16 BG Popular Award # 15 BG Popular Award # 14 BG Popular Award # 13 BG Popular Award # 12 BG Popular Award # 11 BG Popular Award # 10 BG Popular Award # 9 BG Popular Award # 8 ********** ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561 ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560 ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
phunsud Food Blog ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog
แวะมาอ่านสาระที่เป็นประโยชน์ค่ะ
มาเจอโหวตให้พี่น้อย