ช่วงโควิด ไป ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม - Mammogram และความหนาแน่นของกระดูก Bone Density
ช่วงโควิด ไป ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม - Mammogram และความหนาแน่นของกระดูก Bone Density
ปกติจะมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Mammogram) ทุกปี และตรวจร่างกาย ประจำปีทุกปี หมอจะสั่งเจาะเลือดหาผลต่างๆ ร่วมทั้งนัำตาลในเลือดและCholesterol ถ้ากินยาบางอย่าง ก็จะตรวจดุระดับยาในเลือดด้วย
ปกติหมอจะสั่งตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วย แต่ตรวจทุกสาม สี่ปี ตามที่จำเป็น ถ้าพบกระดูผุ ต้องกินยาพิเศษ ถ้าเป็นมากอาจจะต้องให้ยาทางเส้นเลือดด้วย ราคา ยาแพงมาก เห็นเพื่อนบอกไปครั้งหนี้งๆหลายพันเหรียญ โชคดี ประกันสุขภาพ Medicare จ่าย
ประกันสุขภาพจะจ่ายการตรวจต่างๆ เพราะเป็นการตรวจหา ป้องกันไว้ เวลาเป็น อะไรจะได้รักษาได้รวยเร็ว ดีกว่าพบตอนเป็นมากๆเช่นมะเร็งเต้านม ถ้าเป็นแรกๆ ก็รักษาทัน หายได้ ถ้าไม่ตรวจกว่าจะไปพบเป็นจนลุกลามไปอวัยวะอื่นๆก็รักษายาก และอาจจะไม่หายด้วย
ช่วงปีที่แล้ว ไม่ได้ไปตรวจร่างกาย หรือไปตรวจอะไรเลย คนสว.ส่วนมากหมอจะให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม , ดูความหนาแน่นของกระดูก และตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ซี่งจะให้ทำทุก 5-10 แล้วแต่ผลที่ตรวจพบอะไรไหม ถ้าปกติก็จะให้ทำอีกครั้งหลังจาก 10 ปี
ปีนี้เป็นช่วงโควิดระบาดเริ่มดีขี้นแล้ว ระยะนี้คนนิวยอร์ก ได้รับวัคซีนกันเกือบ 70% ประชาชนเริ่มสบายใจขี้นบ้าง เดินตามถนนไม่ต้องใส่แมส แต่ยังต้องเว้นระยะห่าง เวลาไปร้านหรือที่ทำงานต่างๆ ยังต้องใช้แมสและเว้นระยะห่างอยู่
วันนี้มีนัดไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และตรวจคัดกรองความหนาแน่นของกระดูกด้วย ไปที่เดียวเลย ไม่ต้องไปบ่อยๆ เวลาไปลงทะเบียนแล้ว จะรอในรดได้ ถึงเวลา เขาจะส่งข้อความมาบอก แต่นั้งรอข้างไหนก็มีการจัดให้นั่งระยะห่าง และมีฉากกั้น
1
เครื่องคัดกรองมะเร็งเต้านม
เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก ( Bone Density )
วันรุ่งขี้น คุณหมอก็โทรศัพท์มาบอกว่าผลตรวจเต้านมปกติ แต่มีกระดูกพรุนนิดหน่อย ให้ออกกำลังกายด้วยการเดินและกินแคลเซี่ยม สบายใจไปอีกหนี่งปี
*******
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening) นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล (4 สิงหาคม 2562 )
Breast Cancer Screening ความแตกต่างระหว่างการคัดกรอง และการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัย การคัดกรองมะเร็งเต้านมในประเทศไทย การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breat Self Examination หรือ BSE) โดยตรวจทุกเดือน
การตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Clinical Breast Examination) โดยไปรับการครวจทุกปี ในกรณีที่ BSE ทุกเดือนแล้วปกติ
การตรวจด้วย Ultrasound เฉพาะจุดเมื่อทำ CBE แล้วพบความผิดปกติ (Targeted Breast Ultrasound) เป็นนวัตกรรมของโครงการ สืบสานพระราชปณิธาสมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม เนื่องจากการทำ Mammogram นั้นมีข้อจำกัดโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล การทำ Targeted Ultrasound เพื่อคัดกรองเพื่อนำรายที่เป็น mass เพื่อส่งไปทำ Mammogram การคัดกรองด้วย Mammogram +/- Whole Breast Ultrasound ความแตกต่างระหว่างการคัดกรอง และการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัย
การคัดกรอง คือ การใช้เครื่องมือคัดกรอง (Screening Test) ที่ใช้ได้ง่าย ต้นทุนไม่สูง เพื่อคัดกรอง ผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการแสดง ซึ่งส่วนใหญ่ มักจะมีจำนวนมาก เพื่อแยกกลุ่มที่สงสัยผิดปกติออกจากกลุ่มคนทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การตรวจยืนยันที่มีความวัยและความจำเพาะสูง (high sensitivity & Specificity) ต่อไป ยกตัวอย่าง 3 พื้นที่ที่มีวิธีการคัดกรองมะเร็งเต้านมที่แตกต่างกัน ดังนี้
พื้นที่ A ใช้การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทุกเดือน (BSE) เป็นการคัดกรอง ถ้าพบความผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจยืนยัน (Clinical Breast Examination หรือ CBE) ต่อไป
พื้นที่ B ไม่ได้ให้สตรีทำ BSE แต่ทำการคัดกรองโดย ให้ไปพบ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจเต้านมปีละครั้ง (Clinical Breast Examination หรือ CBE ) ถ้าพบความผิดปกติ ก็ทำการส่ง Mammogram เพื่อตรวจยืนยันต่อไป
พื้นที่ C ไม่ได้ให้ตรวจทั้ง BSE และ CBE แต่คัดกรองโดย ให้สตรี อายุ 50 ปีขึ้นไปทำการตรวจ Mammogram ปีละครั้ง ถ้าพบความผิดปกติ ก็ทำการตรวจยืนยันต่อไป (Fine Needle Aspiration : FNA หรือ Tissue Biopsy ต่อไป)
การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัย คือ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab หรือ X ray) ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดง เพื่อการวินิจฉัย เช่น ตรวจพบก้อนที่เตานม จึงส่งตรวจ Mammogram เพื่อการวินิจฉัย
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ระยะเวลาของการตรวจ ตรวจหลังหมดประจำเดือน 3 - 10 วัน ถ้าหมดประจำเดือนแล้วให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียว กันของทุกเดือน
การดู ดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในกระจกเงา โดย ปล่อยแขนแนบลำตัว ยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง เท้าเอวพร้อมเกร็งหน้าอก คลำเต้านมขณะนอนราบ ยกแขนข้างที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะ ใช้นิ้วมือขวา 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) ตรวจเต้านม พร้อมกดเต้านม ให้ลึก 3 ระดับเพื่อค้นหาก้อนหรือความหนาที่ผิดปกติ ของเต้านมแล้ววน เป็นก้นหอยไปรอบๆเต้านม จนถึงไหปลาร้าและ คลำต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ บีบรอบๆหัวนมเบาๆ เพื่อดูว่ามีน้ำเลือด น้ำเหลือง ออกมาหรือไม่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://doh.hpc.go.th การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening) นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล (4 สิงหาคม 2562 )
*****
Bone Density screening ตรวจความหนาแน่นของกระดูก (BMD) ป้องกันภัยเงียบจากโรคกระดูกพรุน...
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น และรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นสัญญาณ เตือนให้รู้ว่าประสิทธิภาพการซ่อมแซมตัวเองของร่างกายลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับมวลกระดูกและแคลเซียมในร่างกาย ที่จะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อ เนื่องตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปี เป็นต้นไป
กระดูกพรุน นับเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่มองไม่เห็นอย่างแท้จริง เป็นภาวะที่เกิด จากการสลายตัวของเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง แตกหัก ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ เช่น การบิดตัวผิดจังหวะ ไอ จาม หรือลื่นล้ม ก็ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ จนอาจ ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา ซึ่งภาวะเหล่านี้จะไม่ส่งสัญญาณใดๆ ส่วนใหญ่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อกระดูกหัก หรือกระดูกทรุดทำให้ตัวเตี้ยลงอย่างชัดเจน เป็นความจริงที่ว่าภาวะกระดูกบางจะเกิดในผู้หญิงมากกว่า แต่ผู้ชายเองก็ พบภาวะกระดูกบางได้ไม่น้อย โดยพบว่า 1 ใน 2 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชาย ที่อายุมากกว่า 50 ปี จะมีภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
รู้เร็ว ป้องกันได้
ในสมัยก่อน การจะส่งตรวจมักรอจนมีปัญหาเรื่องกระดูกหักก่อน แต่ในปัจจุบัน แนะนำให้ทำการตรวจก่อนที่จะมีอาการ เพื่อประเมินความเสี่ยง รักษา และป้องกัน เพราะการเสื่อมสลายของเนื้อกระดูก จะเกิดขึ้นอย่างค่อย เป็นค่อยไป โดยไม่มีอาการบ่งชี้ ไร้สัญญาณเตือน วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด คือ “การตรวจมวลกระดูก”
การตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density (BMD) test)
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density) เป็นวิธีการตรวจสุขภาพกระดูกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้เพื่อวัดปริมาณ มวลของกระดูกในบริเวณที่สำคัญ เช่น กระดูกสันหลัง สะโพก และ ข้อมือ ประเมินความแข็งแรงและความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน หรือ กระดูกหัก
ประวัติและปัจจัยที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน
1.ส่วนสูงที่ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากภาวะกระดูกบางและกระดูก สันหลังที่ทรุดตัวลง
2.ประวัติกระดูกหักง่ายกว่าปกติ
3.ทานยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านภูมิคุ้มกันตัวเอง
4.ระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมน เพศชายที่ลดลง หรือกลุ่มที่ได้ยาลดฮอร์โมนเช่นรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
5.มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
6.มีโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต
7.มีประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว
8.สูบบุหรี่ หรือ ดื่มเหล้าเป็นประจำ
9.ทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือวิตามินดีน้อย เช่นไม่ดื่มนมและโยเกิร์ต
10.ทำงานหรือการใช้ชีวิตที่มีกิจกรรมน้อย ไม่ออกกำลังกายและไม่โดนแดด
11.อายุมากกว่า 65 ปี หรือ อายุมากกว่า 50 ปีร่วมกับมีความเสี่ยงอื่นๆ
วิธีการตรวจ
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ Dual Energy X-ray Absorptiometry (DXA Scan หรือ BMD Scan) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดความหนาแน่น ของมวลกระดูก โดยใช้รังสี x-ray พลังงานต่ำ 2 พลังงานสะท้อนภาพ เนื้อเยื่อกระดูก โดยผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าการตรวจ เอกซเรย์แบบปกติ ถือได้ว่าเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย แม่นยำ ให้ผลชัดเจน ถูกต้อง และถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะ โรคกระดูกพรุน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
เครื่องสามารถทำการตรวจได้ทั้งบริเวณแกนกลางของร่างกาย เช่น บริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก (Central) และบริเวณกระดูกแขนถึงข้อมือ (Peripheral)
ขั้นตอนการตรวจ
การตรวจใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็น ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ สามารถทานอาหารและดื่มน้ำก่อนเข้ารับการ ตรวจได้ตามปกติ ในกรณีที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น ใส่เหล็กดามกระดูก ใส่ข้อสะโพกเทียม หรือใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการตรวจ
ประโยชน์จาการตรวจ BMD
1.ประเมินความหนาแน่นและมวลกระดูกของคนไข้
2.ประเมินความเสี่ยงภาวะกระดูกหัก
3.ใช้วินิฉัยภาวะกระดูกบาง หรือโรคกระดูกพรุน
4.ติดตามผลการรักษาภาวะกระดูกบาง หรือโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยที่เร็ว จะนำมาซึ่งการรักษาหรือป้องกันที่เร็วขึ้น
การรักษาประกอบไปด้วย
การปรับกิจกรรม เช่น ออกกำลังกายมากขึ้น โดนแดดมากขึ้น การเสริมแคลเซียม วิตตามินดีในระดับที่เหมาะสม การใช้ยาเพิ่อรักษาภาวะกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจมีผลให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลกระดูกพรุน
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง ทานอาหารที่มีวิตามินดี เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ ตรวจสุขภาพและตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างน้อยปีละครั้ง
อ่านเพิ่มเติมที่
https://www.bnhhospital.com/th/bmd/
ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เนต Health blog/ Education blog newyorknurse
Create Date : 05 มิถุนายน 2564 |
Last Update : 12 มิถุนายน 2564 4:43:33 น. |
|
9 comments
|
Counter : 1164 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณทูน่าค่ะ, คุณทนายอ้วน, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณtoor36, คุณVELEZ, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณอุ้มสี, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอาจารย์สุวิมล |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 มิถุนายน 2564 เวลา:6:18:58 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 12 มิถุนายน 2564 เวลา:8:09:15 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 12 มิถุนายน 2564 เวลา:14:35:40 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 12 มิถุนายน 2564 เวลา:16:29:32 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 มิถุนายน 2564 เวลา:6:17:52 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 13 มิถุนายน 2564 เวลา:21:46:13 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 มิถุนายน 2564 เวลา:5:33:39 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]
|
เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553
ยินดีต้อนรับค่ะ
จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ ้ จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย
จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์ เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป
จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้ ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ
"A time to enjoy, a time to spend time with your family and a time to be with your friends all comes with retirement"
*****
"Live The Moment"
อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น ในอดีตและกลัวหรือกังวล สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้" คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !! ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ
*********
ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด ทุกๆคะแนน นะคะ
BG Popular Award # 19
BG Popular Award # 18
BG Popular Award # 17
BG Popular Award # 16
BG Popular Award # 15
BG Popular Award # 14
BG Popular Award # 13
BG Popular Award # 12
BG Popular Award # 11
BG Popular Award # 10
BG Popular Award # 9
BG Popular Award # 8
**********
ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561 ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560 ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
|
|
| |
มาดามก็มีตรวจทุกปีครับ
แต่ปีที่ผ่านมาเจอโควิด
ทางโรงพยาบาลก็เลยโทรมาเลื่อนนัดไปก่อนครับ