เจ็บเข่าสองข้างเลยยย หมอบอกเป็นโรคเข่าแม่บ้าน - housemaid's knee
เจ็บเข่าสองข้างเลยยย หมอบอกเป็นโรคเข่าแม่บ้าน - housemaid's knee
เมื่อกลางเดือนที่แล้ว ทำสวนครัว นั่งคุกเข่า ถอนหญ้า ปลูกดอกไม้ ปกติก็ทำประจำมาตั้งแต่อากาศหายหนาว เช้าๆ เย็นๆ ครั้ง 1-2 ชม. ตอนเที่ยงแดดร้อนไม่ได้ออกไปทำสวน ทำแล้วมีความสุข ได้เห็น ดอกไม้มีดอก ผักก็โตขี้นๆ ชื่นใจจริงๆ
วันนี้เกิดเวลาลุกขี้น เจ็บเขาข้างขวานิดๆ ไม่ได้หกล้มหรือพลิกแพลงอะไร ก็คิดว่าปวดธรรมดา ก็พยายามเลี่ยงเท้าขวา เวลาจะทำอะไรก็ใช้ทำทาง เท้าซ้ายก่อน และพยายามคุกเข่า ก็ไม่เจ็บอะไร แต่พอจะนั่งลงบนสั้นเท้า แบบเรียบร้อย ก็นั่งไม่ลง เพราะเจ็บ พยายามทีละนิดจะให้นั่งให้ได้ ก็นั่งไม่ได้
หนี่งอาทิตย์ผ่านไป ก็ไม่ดีขี้น ไปหาหมอ หมอตรวจ บอกว่ามีการอักเสบที่เข่า ห้ามใช้เข่ามาก คืออย่าลงกำลังที่เข่า บอกว่าอีกหนีงอาทิตย์ถ้าไม่หาย ให้ไปหาหมอทางกระดูก อาจจะต้องฉีดยา
นี่เข้าอาทิตย์ที่สี่แล้ว ยังเจ็บๆอยู่ถ้าเดินผิดท่า เข่าไม่บวม คุกเข่ายังเจ็บอยู่ กลางคืนนอน ก็เจ็บเข่าทั้งสองข้าง ลุ่นๆว่าอีกสักพักจะหาย หวังว่าหายนะเนีย ไม่อยากไปหาหมอ ฉีดยาเลย
คุณหมอที่ตรวจ (บ่นว่าไม่ได้หกล้มทำไมเกิดเป็นได้) คุณหมอก็บอกคุณเคย ขับรถที่อายุ 60-70 ปีไหม ? คนก็เหมือนกันน้า อายุขนาดนี้ จะคาดหวังหรือ ทำอะไรเหมือนคนวัยรุ่นไม่ได้แล้วนะ ฟ้งแล้ว มาคิดว่าเราจะทำสวนครัวไปทำไมเนี่ย ที่จริงก็ไม่มีอะไรได้จากสวนครัว ดอกไม้ก็สวยๆไม่กี่เดือน แต่พอหนาวก็ตาย ปีใหม่ก็ต้องทำอีก สงสัยต้องเลิกแล้ว ไม่คุ้มเข่าพังแน่ๆ
********
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบ อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ พ.ค. 13, 2018 ประมาณเวลาการอ่าน: 2 นาที
ถุงลดเสียดสี (bursa) ได้แก่ ถุงซึ่งอยู่ภายในข้อขนาดใหญ่ทั่วร่างกาย เช่น ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อเท้า เป็นถุงซึ่งระหว่างเอ็นกล้ามเนื้อกับกระดูกข้อ ทั้งนี้ภายในถุงจะมีสารน้ำเหนียวข้น คล้ายไข่ขาว เรียกว่า น้ำไขข้อ เป็นน้ำที่มีหน้าที่หล่อลื่นข้อให้ทำงานได้คล่องตัว ลดการเสียดสีระหว่างกระดูกกับกระดูก และกระดูกเอ็นกล้ามเนื้อต่างๆ
น้ำไขข้อสร้างจากเนื้อเยื่อไขข้อ (เนื้อเยื่อบุภายในข้อ) โดยประกอบด้วยน้ำ สารโปรตีน และสารเพื่อการหล่อลื่นต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการหล่อลื่นแล้วยังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งกำจัดของเสียของกระดูกอ่อนภายในข้อด้วย
โรคของถุงลดเสียดสีเป็นโรคของผู้ใหญ่ ที่พบบ่อยคือ โรคถุงลดเสียดสีอักเสบ
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบคือโรคซึ่งเกิดจากถุงลดเสียดสีอักเสบ บวม และมีเซลล์เม็ดเลือดขาวจากการอักเสบเข้าไปอยู่ในถุงมากขึ้น เยื่อหุ้มถุงจะหนา บวม และแข็งตัวขึ้น เนื่องจากมีเยื่อพังผืดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นน้ำไขข้อยังข้นขึ้น และลดน้อยลง จึงส่งผลให้ข้อบวม เจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อใช้งาน
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย มักพบในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบมักเกิดกับข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อศอก และข้อสะโพก พบได้ทั้งการอักเสบแบบเฉียบพลันและการอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็น ๆ หาย ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุว่าเฉียบพลันหรือเรื้อรัง และยังขึ้นกับการดูแลรักษาด้วย กล่าวคือ เมื่อไม่ดูแลรักษา การอักเสบเฉียบพลันมักกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุ
การใช้งานข้อเกินกำลังและต่อเนื่อง โรคเรื้อรังของข้อนั้น ๆ เช่น โรคข้อรูมาทอยด์และโรคเกาต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ ข้อนั้น ๆ ได้รับอุบัติเหตุโดยตรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ บางครั้งแพทย์หาสาเหตุไม่พบ อาการ
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบจากเกิดกับข้อใดข้อหนึ่งหรือหลาย ๆ ข้อพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่
อาการปวดเรื้อรัง มักปวดดื้อ ๆ ในส่วนข้อที่เกิดโรค และอาการปวดมาขึ้นเมื่อใช้งานข้อมากขึ้น ข้ออาจมีอาการบวม แดง ร้อน แต่มักไม่มีไข้ ข้อติดใช้งานไม่คล่อง ทั้งจากเจ็บและตัวข้อยึดติด การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคถุงลดเสียดสีอักเสบได้จากประวัติอาการ ประวัติการทำงาน อาชีพ การเล่นกีฬา การตรวจร่างกาย อาจตรวจภาพข้อด้วยเอกซเรย์ หรือเอ็มอาร์ไอ การดูดน้ำไขข้อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษาโรคถุงลดเสียดสีอักเสบได้แก่ การพักใช้ข้อ การกินยาหรือทายาบรรเทาปวด หรือยาต้านการอักเสบ อาจฉีดยาชาหรือยาต้านการอักเสบเข้าไปในข้อ และทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูข้อ
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงจากโรคถุงลดเสียดสีอักเสบได้แก่ ข้อที่เกิดโรคติดขัดปวด ใช้งานได้น้อยลง และอาจกลายเป็นถุงลดเสียดสีอักเสบเรื้อรังได้
ความรุนแรงของโรค
โรคถุงลดเสียดสีอักเสบเป็นโรคไม่รุนแรง ไม่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต สามารถรักษาควบคุมโรคได้
การดูแลตนเองและการพบแพทย์
ปฏิบัติตามที่แพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัดแนะนำ กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง พักการใช้ข้อที่เกิดโรค ประคบด้วยน้ำเย็นเป็นครั้งคราว พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่าง ๆ แย่ลง และ/หรือมีอาการผิดปกติไปจากเดิม การป้องกัน
ใช้ข้อต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง ไม่ลงน้ำหนักมาก และเมื่อมีอาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก ควรใช้ข้อต่าง ๆ ให้ถูกวิธี ตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอน รักษาสุขภาพอนามัยพื้นฐานเพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งติดเชื้อของข้อ ป้องกันการเกิดโรคข้อต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในแต่ละเรื่องของโรคข้อชนิดต่าง ๆ (อ่านเพิ่มเติมในบทโรคของข้อ คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "โรคของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ" โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ จากสำนักพิมพ์อัมรินทร์สุขภาพ เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง
https://www.honestdocs.co/bursitis-bursa-disease-care-treat
***********
โรคเข่าแม่บ้าน (housemaid's knee, prepatellar bursitis)
อาจเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากันสักเท่าไหร่สำหรับโรคเข่าแม่บ้าน คนไข้บางคนก็สงสัยว่าต้องเป็นแม่บ้านเท่านั้นหรอถึงจะเป็นโรคนี้ จริงๆแล้วชื่อนี้มันมีที่มาครับ
ในอดีตเหล่าบรรดาแม่บ้านจะเช็ดถูทำความสะอาดพื้นต้องใช้ผ้าชุบนํ้าแล้วคุกเข่าเอามือถูพื้นกัน ยังไม่มีไม้ม็อบเหมือนในปัจจุบันนี้หรอกนะครับ เมื่อเหล่าแม่บ้านคุกเข่าเช็ดถูพื้นเป็นประจำถูครั้งนึงก็กินเวลานาน จนทำให้ถุงนํ้าใต้เข่าเกิดการเสียดสีจนอักเสบและบวมในที่สุด จึงเป็นที่มาของชื่อโรคเข่าแม่บ้านนั่นเองครับ
โครงสร้างภายในข้อเข่าของเรานั้นไม่ได้มีแค่กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อนะครับ แต่ยังมีถุงนํ้าเล็กๆ (bursa) ที่อยู่ในข้อต่อ โดยถุงนํ้าเหล่านี้จะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทาน ลดแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อ เช่น ในกรณีที่เข่าเรากระแทกลงกับพื้นเจ้าถุงนํ้าอันนี้แหละครับจะทำหน้าที่กระจายแรงและลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกสะบ้าและข้อเข่าได้ เปรียบเสมือนมีลูกโป่งนํ้าที่คอยดูดซับแรงอยู่นั่นเอง
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าหากถุงนํ้าเกิดการเสียดสี หรือถูกกดทับมากๆก็เกิดการอักเสบได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนี้เราอาจรจะไม่ได้ขุกเข่าถูพื้นเป็นเวลานานๆเหมือนแม่บ้านในสมัยก่อน แต่โรคเข่าแม่บ้านนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่นะครับ โดยมากมักเกิดจาก การล้มเข่ากระแทกพื้นอย่างแรง(พบได้บ่อย) คุกเข่าเป็นเวลานาน เกิดอุบัติเหตุกระแทกกับเข่าโดยตรง เป้นต้น
อาการของโรคเข่าแม่บ้าน
อาการแรกที่เราสังเหตุได้ชัดเจนคือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่หน้าข้อเข่าอย่างชัดเจน ในระยะเริ่มแรกอาจยังไม่มีอาการบวมมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งบวมมากและปวดมากขึ้นได้ ส่วนในระยะเรื้อรังอาการปวดอาจจะไม่มากเท่าระยะแรก แต่อาการบวมจะยังคงอยู่ทำให้เข่าดูผิดรูปและดูไม่สวยงาม
การรักษา โรคเข่าแม่บ้าน
ในระยะเริ่มแรกให้ประคบนํ้าแข็งตรงจุดที่ปวดบวมเพื่อลดการอักเสบ ทุกๆ 10 นาที(ห้ามประคบอุ่นหรือวางผ้าร้อนเด็ดขาดเพราะความร้อนจะทำให้ถุงนํ้าบวมมากขึ้นและอาการปวดจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้) แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาลงแนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับยาลดการอักเสบ และพบนักกายภาพบำบัดเพื่อใช้เครื่องมือลดอาการปวด อาการอักเสบ เช่น เครื่อง ultrasound, laser, การพันเทปเพื่อลดบวม เป็นต้น
เครดิตภาพ
- https://www.interactivebiomechanics.com/?page_id=397
- https://www.medguidance.com/thread/Housemaid's-Knee.html
- https://www.physio-pedia.com/Prepatellar_bursitis
- https://blog.sfgate.com/ccolcord/2011/06/11/true-grit-breaking-bad-star-wars-craft-geekery/
ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เนต
สาขา Health Blog
newyorknurse
Create Date : 09 กรกฎาคม 2561 |
Last Update : 28 กรกฎาคม 2561 7:24:51 น. |
|
25 comments
|
Counter : 2191 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณSweet_pills, คุณtoor36, คุณtuk-tuk@korat, คุณInsignia_Museum, คุณเริงฤดีนะ, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณวลีลักษณา, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณRananrin, คุณสองแผ่นดิน, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณkatoy, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณmambymam, คุณmariabamboo, คุณThe Kop Civil, คุณกะว่าก๋า, คุณlife for eat and travel, คุณhaiku, คุณkae+aoe, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณALDI |
โดย: Sweet_pills วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:02:57 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:06:11 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:12:56:57 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:12:58:10 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:18:17:03 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 28 กรกฎาคม 2561 เวลา:19:05:50 น. |
|
|
|
โดย: mambymam วันที่: 29 กรกฎาคม 2561 เวลา:13:32:27 น. |
|
|
|
โดย: mariabamboo วันที่: 29 กรกฎาคม 2561 เวลา:14:07:17 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 กรกฎาคม 2561 เวลา:20:20:06 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:7:17:12 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:8:37:44 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:20:19 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:23:20:17 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 กรกฎาคม 2561 เวลา:6:39:03 น. |
|
|
|
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 31 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:52:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 กรกฎาคม 2561 เวลา:10:51:22 น. |
|
|
|
โดย: ALDI วันที่: 31 กรกฎาคม 2561 เวลา:15:11:46 น. |
|
|
|
|
|
|
|
จากสาเหตุในบทความเกิดจากการใช้งานข้อเกินกำลังและต่อเนื่อง
การขึ้นลงบันได การนั่งยองๆ การคุกเข่านานๆ ฯลฯ
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องปกติแต่พอทำต่อเนื่อง วันหนึ่งอาจเกิดอาการนี้ได้
ต๋าก็ระวังเพราะเคยเกิดอาการนี้เหมือนกันค่ะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลสุขภาพดีๆและมีประโยชน์นี้นะคะ