พาญาติไป ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)
พาญาติไป ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)
ญาติอายุ 80 ปีเคยใส่stent หรือที่เรียกกันว่าบัลลูนที่เส้นเลือดที่หัวใจ มาหลายปี ปกติก็ไปหาหมอตรวจประจำปีละสองครั้ง อาทิตย์ที่แล้ว อยู่ดีๆ เดินจะเข้าห้องนำ้ รู้สีกหน้ามืด ก็ค่อยๆนอนลง (นับว่าสติดี) ถ้าปล่อยให้ล้มตึง คงมีหัวแตกกันบ้าง พอนอนลง สักพักก็รู้สีกดีขี้น วัดความดันก็ไม่สูง วันรุ่งขี้นก็โทรหาหมอโรคหัวใจ (Cardiologist) หมอก็นัดให้ไปทำการตรวจสมรรถภาพห้วใจ ขณะออกกำลังกาย (Stress Test) ใช้เวลาสามชั่วโมง เวลาไปทำการตรวจอย่างนี้ ต้อง มีคนพาไปและกลับ
จขบ.ไม่ได้ทำอะไร เลยอาสาพาไป ขับรถไปที่คลีนิคหมอประมาณ 40 นาที( ไกลเหมือนกัน ยังบอกญาติเลยว่า อายุก็มามากขี้นทุกที ขืนมา หาหมอไกลๆ อีกหน่อยจะขับมาหากันไหวหรือเนี่ย) ที่จริงคลินิคหมอ อยู่ไม่ไกลจากบ้าน ประมาณ 10 นาที แต่เวลาต้องตรวจพิเศษ ต้องไปทำ ที่นี่ ซี่งปีละหนี่งครั้ง สำหรับคนทีมีโรคเกี่ยวกับหัวใจ และจะสั่งพิเศษเวลา มีอะไรผิดปกติ
จขบ.ออกจากบ้านแปดโมงเช้า ไปรับญาติไปถึงที่ตรวจประมาณ 9 โมงเช้า หมอนัด 9.30 เช้า การตรวจใช้เวลาประมาณสี่ชั่วโมง นั่งเป็นเพื่อนญาติ จนหมอเรียกไปห้องตรวจ จขบ.ไปเดินดูของร้านต่างๆ ฆ่าเวลาสี่ชั่วโมง กะไปเดินที่สวนสาธารณะ ขับรถไปที่ Google ไม่ไกลจากคลินิคหมอเท่าไร ขับรถไป จนเจอ เป็นวันธรรมดา ไม่มีคนเท่าไร มีรถเข้าไปไม่กี่คัน ขับไป สักพัก สองข้างทางทางซ้ายเป็นภูเขา ทางซ้ายเป็นน้ำ แต่ไม่กล้าไปต่อ ดูเงียบมาก ตัดสินใจกลับรถกลับออกมา แล้วไปแวะร้านขายยาคล้ายๆ Watson บ้านเรา แวะ CVS, Rite Aid, Walgreen เดินทั่วร้าน ดูอะไรๆ ไปเรื่อยๆ ดูราคาว่าร้านไหนราคาต่างกัน ไม่ได้ซื้ออะไรมาก แต่ก็ยัง อดซื้อเครื่องมือทำสวนมา สามชิ้น ที่ขุดดินแบบใช้มือ กรรไกรตัดกิ่งไม้ กรรไกรเล็มกิ่งไม้ ทุกอย่างครี่งราคา รวมราคา 25 เหรียญ ต่อไปแวะ ซุบเปอร์มาร์เกต ซื้อของไม่กี่อย่าง เพราะร้อนมาก ถ้าซื้อแล้วยังไม่กลับ บ้าน ผักผลไม้จะเหนี่ยวหมด แค่ไปเดินๆ ดูราคาของ เข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ จนเที่ยงก็กลับไปที่คลินิคหมอ ญาติยังตรวจไม่เสร็จ หมอให้ออกมาทานข้าว เที่ยวสักพัก แล้วเรียกไปถ่ายภาพหัวใจอีกครั้ง เสร็จกลับบ้านก็บ่ายโมงครี่ง พาเพื่อนกลับบ้าน นับว่าเป็นการตรวจที่ไม่มีปัญหา คุณหมอที่เป็นเจ้าของไข้จะมาอ่านผลอีกที ถ้ามีอะไรจะติดต่อมา แต่การทำ วันนี้ผ่านไปด้วยดี
*******
นำขั้นตอน ข้อมูลการ ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress Test) อธิบายละเอียด แต่ยาวหน่อย สำหรับท่านที่สนใจค่ะ
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)
การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ หรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test หรือ EST*) คือ การทดสอบหัวใจภายใต้สภาวะการออกกำลังกาย (โดยการวิ่งบนสายพานไฟฟ้าหรือปั่นจักรยาน) ที่สร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อจะตรวจสอบว่าในขณะที่ร่างกายออกแรงอย่างหนักอยู่นั้น กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันอยู่จะมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอเมื่อต้องออกกำลังกาย และอาจเป็นอันตรายได้หากผู้ป่วยไม่ได้ทราบมาก่อนว่าเกิดจากโรคหัวใจ
ฉะนั้น การตรวจ EST จึงเป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก เพราะมีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) แบบธรรมดา เนื่องจากในภาวะปกติที่ไม่มีการใช้ออกซิเจนมาก คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีรอบตีบตันอยู่ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ จึงทำให้ผลการตรวจออกมาเป็นปกติได้
หมายเหตุ : ชื่ออื่นของการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ
Stress Testing Exercise Testing EKG Stress Testing Exercise ECG EKG exercise Treadmill Stress ECG Exercise Tolerance Test (ETT)
ความมุ่งหมายของการตรวจ EST ใช้ตรวจสอบว่าหัวใจของผู้รับการตรวจมีโรคสำคัญชนิดใดซ่อนอยู่หรือไม่ เพียงใด เพราะในสภาวะปกติของการใช้ชีวิตประจำวันที่มิได้ออกแรงมากนัก จึงไม่แสดงอาการออกมา ต่อเมื่อได้รับการตรวจด้วย EST จึงอาจปรากฏอาการของโรคหัวใจอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา (สำหรับข้อนี้ก็คือความมุ่งหมายหลักของการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้บันทึกข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจของตนเองไว้ในแฟ้มประวัติการรักษาของสถานพยาบาลมาก่อนเลย) ใช้ประเมินในกรณีของผู้รับการตรวจบางรายที่เคยมีอาการเจ็บหน้าอกมาก่อน แต่ไม่แน่ใจว่ามีมูลเหตุมาจากหัวใจหรือเกิดจากอวัยวะอื่น เพราะเมื่อได้ทดสอบ EST แล้วหากเกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้นมา กรณีอย่างนี้ก็ทำให้บ่งชี้ได้แน่นอนว่าหลอดเลือดหัวใจได้ตีบแคบลงมาก ใช้ประเมินความรุนแรงและแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงความปลอดภัย โดยเฉพาะความสามารถในการดำรงชีวิต และระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมว่าสามารถออกแรงสูงสุดได้ในระดับใดจึงจะปลอดภัย ใช้ตรวจสอบความเหมาะสมในการออกกำลังกายของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ใช้ประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีความจำเป็นต้องผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ต้องเสียเลือดหรือการผ่าเข้าช่องทรวงอก แพทย์จึงจำเป็นต้องต้องตรวจดูว่าหัวใจมีเส้นเลือดตีบหรือไม่ ใช้ประเมินค่าการทำงานของหัวใจภายหลังการรักษา เช่น ภายหลังรับการผ่าตัดเพิ่มหลอดเลือดอ้อมหัวใจ (by-pass) หรือการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจ ว่าหัวใจยังทำงานเป็นปกติดีอยู่หรือไม่ หรือเกิดหลอดเลือดตีบหรือตันขึ้นใหม่หรือไม่ ใช้ประเมินว่ายาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ หรือยาแก้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทั้งหลายได้ผลดีมากหรือน้อยเพียงใด ใช้ตรวจสอบสภาวะการเดินขาแกว่ง (Internmitten claudication) ของบางคนว่าเกิดจากหลอดเลือดอุดตันส่วนปลาย (แขนหรือขา) จริงหรือไม่ ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ EST คนทั่วไปที่มีอาการของโรคหัวใจ แต่ต้องการเริ่มกลับมาออกกำลังกายใหม่ ผู้ที่มีอาการผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ไม่มีอาการผิดปกติ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว, ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรืออัมพาต ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยยา บอลลูนขยายหลอดเลือด หรือการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เพื่อติดตามผลการรักษา ผู้ป่วยที่ต้องติดตามผลการรักษา เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาจังหวะการเต้นของหัวใจ, ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจแบบพิเศษ ผู้ที่มีแพทย์แนะนำให้ตรวจด้วยวิธีนี้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับตรวจ EST การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ (EST) เป็นการตรวจที่ปราศจากอุปกรณ์ใด ๆ ที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกาย แต่ผู้รับการตรวจอาจจำเป็นต้องเหนื่อยบ้างจากการขั้นตอนการทดสอบโดยการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่ง เพื่อสร้างแรงเค้นที่กล้ามเนื้อหัวใจ (การตรวจใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 30-60 นาที) อุปกรณ์สำคัญอันเป็นองค์ประกอบของการตรวจ EST คือ สายพานเดินไฟฟ้า (Treadmill) ที่สามารถปรับความเร็วและปรับความลาดชันได้เพื่อให้ผู้รับการตรวจเกิดอาการเหนื่อยเพิ่มขึ้นคล้ายกับการเดินขึ้นเขา ส่วนเครื่องมืออีกแบบจะเป็นแบบจักรยาน (Bicycle ergometer) ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้จะมีราคาถูกกว่าและกินเนื้อที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบสายพานเดินไฟฟ้า และยังใช้ได้ดีในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเดินและการทรงตัว อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ Electrocardiogram) อุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) หรืออัตราชีพจร อุปกรณ์วัดความดันโลหิต ซึ่งมักเป็นเครื่องวัดแบบอัตโนมัติที่ทำให้ตรวจวัดได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องให้รับการตรวจหยุดเดินหรือหยุดวิ่ง หรืออาจเป็นอุปกรณ์หูฟังแบบดั้งเดิมก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลแต่ละที่
อัตราชีพจรเป้าหมาย (Target heart rate) สิ่งหนึ่งที่ผู้รับการตรวจ EST เป็นกังวลกันมากคือ กลัวว่าจะถูกบังคับให้เดินหรือวิ่งบนสายพานจนเหนื่อยมากเกินไป กลัวจะวิ่งไม่ไหว กลัวจะเป็นลม หรือกลัวจะอายหมอหรือพยาบาล ฯลฯ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะมาตรฐานความเหนื่อยนั้นเขาวัดกันด้วยอัตราการเต้นของหัวใจ โดยจะขออธิบายรายละเอียดดังนี้
สมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (The American Heart Association) ได้วางมาตรฐานความเหนื่อยสูงสุดที่มนุษย์สุขภาพดีเป็นปกติสามารถทนทานได้อย่างปลอดภัย โดยเรียกความเหนื่อยนี้ว่า อัตราชีพจนสูงสุด (Maximum heart rate) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอายุ โดยมีสูตรว่า อัตราการเต้นชีพจรสูงสุด = 220 อายุ (หน่วยเป็น ครั้ง/นาที) และเมื่อคำนวณได้เท่าไหร่ก็ให้ตั้งค่าอัตราชีพจรเป้าหมายเพื่อการออกกำลังกายใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพให้อยู่ที่ระดับ 50-85% ของอัตราชีพจรสูงสุด
ตัวอย่างในการคำนวณ เช่น นาย ก. อายุ 60 ปี อัตราการเต้นชีพจรสูงสุดจะเท่ากับ 220 60 = 160 ครั้ง/นาที ส่วนอัตราชีพจรเป้าหมายที่ควรอยู่ในระดับ 50-85% เมื่อคำนวณออกมาแล้วก็จะได้ย่านอัตราชีพจรเป้าหมาย (Target heart rate zone) อยู่ที่ระหว่าง 80-136 ครั้ง/นาที สรุปว่า หาก นาย ก. ไปรับการตรวจ EST ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเดินหรือวิ่งบนสายพานไฟฟ้าจนหัวใจเต้นถึง 160 ครั้ง/นาที ซึ่งอาจจะเป็นลมไปเสียก่อน แต่แพทย์จะเฝ้าตรวจอัตราชีพจรของนาย ก. ไว้ตลอดเวลาโดยไม่ให้เกิน 136 ครั้ง/นาที และในขณะเดียวก็ต้องไม่ต่ำกว่า 80 ครั้ง/นาทีด้วย จากข้อมูลดังกล่าวจึงแปลได้ว่า การออกกำลังกายนี้ผู้รับการตรวจจะเหนื่อยแค่พอประมาณและพอที่จะอดทนรับการตรวจต่อไปได้ เพราะการตรวจ EST นั้นมีเจตนาต้องการสร้างความเหนื่อยให้แก่หัวใจ เพื่อให้หัวใจได้เผยจุดอ่อน หรือข้อบกพร่อง หรือโรคของหัวใจโรคใดโรคหนึ่งที่อาจมีแอบแฝงอยู่ออกมาให้เห็นในรูปของอาการปวดหรือเจ็บหน้าอก ปวดแขน ปวดขากรรไกร วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หายใจหอบถี่ ฯลฯ (ทั้งหมดนี้ล้วนอาจเป็นอาการภายนอกที่แสดงลักษณะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ทั้งสิ้น แต่ก็ยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าใช่จริงหรือไม่ ? ซึ่งในสถานการณ์อย่างนี้ อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ถ่ายทอดสัญญาณจากหัวใจแล้วบันทึกลงในกระดาษกราฟ จะเป็นตัวช่วยบ่งชี้โรคของหัวใจที่แอบซ่อนอยู่ออกมาได้ โดยไม่อาจปิดบังซ่อนไว้ได้อีกต่อไป)
ข้อห้ามในการตรวจ EST ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นไม่เกิน 2 วัน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด Unstable angina หัวใจเต้นผิดจังหวะที่ควบคุมไม่ได้ และทำให้เกิดอาการหรือความดันโลหิตต่ำ มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผลหรือยังควบคุมอาการไม่ได้ มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน ผู้ป่วยกล้ามเนื้อและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบอย่างรุนแรงและมีอาการ ลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาฉีกขาดเฉียบพลัน มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการทดสอบ เช่น โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ การติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีภาวะที่ไม่ควรทำการตรวจ EST ยกเว้นในกรณีที่แพทย์เห็นว่าได้ประโยชน์จากการตรวจมากกว่าความเสี่ยงที่จะได้รับ ซึ่งภาวะเหล่านี้ได้แก่
* ไม่สามารถออกกำลังกายได้ เช่น มีปัญหาเรื่องการเดิน ข้อเข่า หรือมีโรคปอด ซึ่งจะทำให้เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และไม่สามารถออกกำลังกายจนหัวใจขึ้นถึงระดับอัตราชีพจรเป้าหมาย
* มีสภาพจิตใจหรือร่างกายผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการตรวจ มีความดันโลหิตสูงมาก คือ ความดันช่วงบนมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มม.ปรอท และ/หรือช่วงล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 110 มม.ปรอท เส้นเลือดตีบที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งชนิดเร็วและชนิดเต้นช้าผิดจังหวะ มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาชนิด Hypertrophic cardiomyopathy (HCM) หรือภาวะอื่นที่มีการอุดตันของช่องทางออกของหัวใจห้องล่างซ้าย ลิ้นหัวใจตีบปานกลาง มีภาวะเกลือแร่ในร่างผิดปกติ
การปฏิบัติตัวก่อนการตรวจ EST
ผู้รับการตรวจจะได้รับฟังคำชี้แจงสรุปโดยทั่วไปจากพยาบาล และจะได้รับคำสั่งให้งดการรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนตรวจ 4 ชั่วโมง (เพื่อป้องกันอาการจุกเสียดเวลาเดินหรือวิ่ง) ส่วนเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และการสูบบุหรี่ควรงดก่อนตรวจ 24 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนได้
ผู้รับการตรวจจะได้รับแจ้งว่าควรหยุดการรับประทานยาชนิดใดก่อนการตรวจ เช่น ยากลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์ (Beta-blockers), ยาอมใต้ลิ้นไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin) ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหน้าอกของผู้มีอาการโรคหัวใจ, ยาไวอากร้า (Viagra) ที่ช่วยการมีเพศสัมพันธ์ของบุรุษ ฯลฯ เพราะยาเหล่านี้อาจทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยน หรือผู้เข้ารับการตรวจอาจสอบถามแพทย์ถึงยาที่รับประทานอยู่ว่าควรหยุดก่อนการตรวจหรือไม่ถ้าหากไม่แน่ใจ
ผู้รับการตรวจจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าว่าควรใส่เสื้อผ้าที่สบายและเหมาะกับการออกกำลังกาย (เช่น ชุดกีฬา) รวมถึงรองเท้าที่จะต้องเป็นพื้นยาง เพื่อให้สามารถเดินหรือวิ่งบนสายพานที่เป็นพื้นยางได้อย่างคล่องตัวโดยไม่ลื่น
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดควรนำยาพ่นติดตัวมาด้วย
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อินซูลิน ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรฉีดเท่าใด (โดยมากแพทย์จะแนะนำให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่งในวันที่ตรวจ)
ในขณะเวลาก่อนเริ่มตรวจ แพทย์จะทำการตรวจประเมินหาข้อห้ามในการตรวจ ทำการซักประวัติอาการปัจจุบันและประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ และหากผู้รับการตรวจมีอาการผิดปกติใด ๆ ดังต่อไปนี้อยู่ก่อนแล้วก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที (เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยต่อไปว่าสมควรจะได้รับการตรวจ EST หรือไม่ เพียงใด) ได้แก่ อาการแน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออก อาการแน่นอึดอัดคล้ายจะเป็นลม อาการของปัญหากระดูกหรือข้อต่อกกระดูก รู้สึกคล้ายกับกำลังมีสภาวะหัวใจพิบัติ (Heart attack) ซึ่งเคยเกิดมาก่อนหน้านี้ได้ไม่นาน
ในขณะนั้นหรือก่อนหน้านั้นไม่นานได้เกิดอาการความดันโลหิตขึ้นลงวูบวาบชนิดควบคุมไม่ได้
ผู้รับการตรวจจะได้รับฟังคำชี้แจงว่า ให้สังเกตอาการผิดปกติของตนเองในขณะตรวจ EST ที่จะต้องรีบแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบเพื่อให้หยุดโดยทันที ซึ่งอาการสำคัญผิดปกติที่กล่าวนี้ ได้แก่ มีอาการปวดหน้าอก (Angina) มีอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (Irregular heart rhythm) มีอาการหัวใจพิบัติ (Heart attack) มีอาการหายใจหอบ ถี่สั้น (แตกต่างกับความเหนื่อยตามปกติ) มีอาการหน้ามืด เป็นลม เกิดการหกล้มบนสายพาน
การเริ่มการตรวจ EST เจ้าหน้าที่เทคนิคประจำเครื่องจะนำขั้วไฟฟ้า (Electrode) ที่มีสายไฟต่ออยู่จำนวน 10 ขั้ว มาติดสัมผัสบริเวณหน้าอก แขน และขา (เหมือนการตรวจ ECG ทั่วไป) เพื่อส่งสัญญาณไปยังเครื่อง การปฏิบัติตัวขณะตรวจ EST
เมื่อเริ่มเดิมเครื่อง สายพานจะเริ่มเคลื่อนที่เพื่อบังคับให้ผู้รับการตรวจต้องก้าวเท้าเดินไปด้วยความเร็วช้า ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยก่อน และเป็นการอบอุ่นร่างกายของผู้รับการตรวจไปด้วยในตัว
ความเร็วของสายพานจะเริ่มเร็วเพิ่มขึ้นทุก ๆ 3 นาที รวมทั้งความเอียงของพื้นสายพานก็จะมีความลาดชันเพิ่มสูงขึ้นด้วย ผู้รับการตรวจจึงค่อย ๆ เปลี่ยนจากเดินเป็นวิ่งและเหนื่อยมากขึ้นเหมือนการออกกำลังกายโดยทั่วไป (แต่ผู้รับการตรวจจะอยู่ในสายตาของแพทย์ตลอดเวลา จึงไม่ต้องเป็นกังวล)
ผู้รับการตรวจอาจถูกถาม ชวนพูด ชวนคุยจากเจ้าหน้าที่หรือแพทย์เพื่อเป็นอุบายการสื่อสารให้ทราบว่า ขณะนั้นผู้รับการตรวจยังไม่มีอาการที่น่าวิตก และจะให้ดำเนินการตรวจต่อไปตามลำดับ
ในขณะเดินหรือวิ่ง ข้อมูลปฏิกิริยาตอบสนองจากร่างกายจะได้รับการบันทึกไว้ใน 3 เรื่องสำคัญคือ ระบบการทดงานของหัวใจ, ความดันโลหิต และอัตราชีพจร แพทย์ผู้ตรวจหรือเจ้าที่เทคนิคประจำเครื่องจะชอความเร็วของสายพาน หรือหยุดสายพาน หรือยุติการตรวจโดยทันที หากเกิดกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เมื่อการเต้นของหัวใจขึ้นถึงระดับอัตราชีพจรเป้าหมายแล้ว ตามเกณฑ์อายุของผู้รับการตรวจ
เมื่อสัญญาณจากอุปกรณ์ ECG ที่เฝ้าตรวจอยู่หน้าจอแสดงรูปกราฟว่า กล้ามเนื้อหัวใจกำลังได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ (ในกรณีนี้ แม้อัตราชีพจรยังไม่ถึงระดับเป้าหมาย หรือผู้รับการตรวจมิได้ขอให้ยุติการตรวจก็ตาม แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะตัดสินใจยุติการตรวจ EST โดยทันที)
เมื่อผู้รับการตรวจเกิดอาการผิดปกติที่สำคัญหรืออดทนต่อไปไม่ไหว ผู้เข้ารับการควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีหากต้องการให้สายพานทำงานช้าลง หรืออยากขอให้หยุด หรือเมื่อมีอาการผิดปกติที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกัน (ในกรณีอย่างนี้คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยุติการตรวจ EST ในทันที แต่แม้จะยุติการตรวจกลางคัน แพทย์ก็อาจพึงวินิจฉัยได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากกระบวนการทำงานของหัวใจบกพร่อง หรือแปลว่ามีโรคหัวใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่แอบแแฝงอยู่นั่นเอง) เช่น อาการหมดแรง (Exhaustion) เพราะแสดงว่าเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์อื่น ๆ ทั่วร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื่องจากหัวใจทำงานบกพร่อง และจะแสดงอาการเฉพาะในกรณีที่ต้องทำงานหนักเท่านั้น (แปลว่า ในกรณีของการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป แม้หัวใจจะบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็ยังพอส่งเลือดให้พอใช้ทั่วร่างกายได้ จึงยังไม่มีอาการแสดง แต่ถึงอย่างไรก็อาจสังเกตพบได้ในบางสถานการณ์ เช่น เมื่อต้องจำเป็นเดินขึ้นบันไดคราวละหลายสิบขั้นขึ้นไป โดยอาจจะแสดงอาการเหนื่อยอ่อนมากกว่าผู้อื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันอย่างผิดปกติ)
อาการปวดร้าวหน้าอก (Chest pain) เพราะแสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนจากเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่พอเพียง
อาการหายใจลำบาก (Dyspnea) เพราะโดยทั่วไปอาการหายใจตื่นหอบถี่จะเป็นสัญญาณของโรคหลอดลมขัดข้อง หรือโรคปอด หรือโรคหัวใจ
อาการเหนื่อย (Fatigue) ที่ตามมาด้วยอาการใน 3 ข้อแรกดังกล่าว
อาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะ (Dizziness) เพระาแสดงว่าหัวใจส่งเลือดขึ้นสู่สมองไม่เพียงพอ จึงก่อให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือสับ หรือทรงตัวไม่อยู่
อาการใจสั่นระริก (Palpitaion) โดยปกติแล้วหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นในขณะที่เรากำลังเหนื่อย แต่การเต้นถี่บ้าง ช้าบ้าง นั้นจะแสดงถึงความผิดปกติของหัวใจ
ในกรณีที่การตรวจ EST สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ก็จะสามารถขึ้นสู่ระดับอัตราชีพจรเป้าหมายได้ เมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่งถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่จะค่อย ๆ ผ่อนคลายเร็วของสายพานลง พร้อมทั้งลดความลาดเอียงให้กลับคืนสู่ระดับปกติ เพื่อเป็นการลดความร้อนให้กับร่างกาย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 นาที จนกระทั่งสายพานหยุดสนิท
เจ้าหน้าที่จะมาเชิญผู้รับการตรวจให้ขึ้นไปนอนบนเตียงในท่านานหงอยเพื่อให้ได้รับการพักผ่อน
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะยังเฝ้าสังเกตสัญญาณคลื่นหัวใจที่หน้าจอ ECG ซึ่งจะแสดงข้อมูลว่า กำลังลดระดับลงมาสู่เกณฑ์ปกติ (โดยธรรมดาจะต้องอยู่ในระดับเดียวกับเวลาก่อนเริ่มการตรวจ)
หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติ อาจให้ทำการทดสอบเพิ่หรือแนะนำให้เข้ารับการตรวจด้วยวิธีอื่นเพื่อให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น
หากทุกอย่างเป็นปกติ เจ้าหน้าที่จะถอดขั้วไฟฟ้า ECG ออกจากร่างกายของผู้รับการตรวจ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจ EST
ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานอาหาร ยา และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติหลังการตรวจ ยกเว้นแต่แพทย์จะห้าม
การแปลผลตรวจ EST โดยทั่วไปแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจะเป็นผู้แปลผลข้อมูลที่ได้จากกราฟ ECG อัตราชีพจร และระดับความดันโลหิต แล้วแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบถึงสภาวะของหัวใจในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร (หรืออาจต้องรอในวันถัดไปก็ได้) ซึ่งการรายงายผลการตรวจของแพทย์นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
*กลุ่มผู้มีสุขภาพหัวใจเป็นปกติ โดยข้อมูลที่ได้จากการตรวจ EST จะแสดงให้ทราบได้ว่า แม้อัตราชีพจรจะเร็วขึ้น แต่หัวใจก็มิได้แสดงภาวะผิดปกติแต่อย่างใด แปลว่า รูปร่างของเส้นกราฟ ECG ก็ยังคงมีรูปร่างเป็นปกติดีอยู่ แม้จะเหนื่อยเพียงใดก็ตาม ความอดทนในการออกกำลังกายของผู้รับการตรวจที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ตามเกณฑ์อายุ และตามสภาพร่างกาย และตามสภาพหัวใจที่ปกติของตนอย่างเหมาะสม กลุ่มผู้มีสุขภาพหัวใจผิดปกติ โดยผลการตรวจ EST ที่จำเป็นต้องยุติกลางคัน หรือพบข้อมูลความผิดปกติร้ายแรงจากกราฟ ECG หรือพบว่าอัตราชีพจรหรือระดับความดันโลหิตสูงขึ้นผิดปกติระหว่างการตรวจ ทั้งหมดนี้จะบ่งชี้ว่าสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจน่าจะผิดปกติหรือบกพร่องด้วยโรคหัวใจโรคใดโรคหนึ่ง จึงทำให้แสดงอาการผิดปกติให้ปรากฏ เช่น ได้เกิดภาวะหัวใจเต้นเสียจังหวะหรือเต้นผิดจังหวะ (Arrythmia) ในขณะตรวจ หัวใจของผู้รับการตรวจได้แสดงสภาวะของอาการเค้น (Stress) จนอดทนต่อไปไม่ได้เมื่อต้องทำงานหนักในขระถูกตรวจ EST ผู้รับการตรวจน่าจะมีโรคหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจที่ตีบแคบหรือใกล้จะตัน ผู้รับการตรวจไม่แข็งแรงพอใจการออกแรง ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจจะเนื่องมาจากโรคหัวใจก็ได้ เอกสารอ้างอิง
หนังสือฉลาดตรวจสุขภาพ ฉบับรู้ทันโรคถอย เล่ม 2. การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ (Exercise Stress Test, EST). (พอ.ประสาร เปรมะสกุล). หน้า 183-193. ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่. การตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST (Exercise Stress Test). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : sriphat.med.cmu.ac.th. [20 เม.ย. 2018]. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : med.mahidol.ac.th/cvmc/. [20 เม.ย. 2018]. ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. การตรวจสมรรถภาพหัวใจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokhealth.com. [21 ส.ค. 2017]. Siamhealth. การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.siamhealth.net. [21 ส.ค. 2017]. เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-exercise-stress-test/
สาขา Health Blog
newyorknurse
Create Date : 22 มิถุนายน 2561 |
Last Update : 23 มิถุนายน 2561 9:23:06 น. |
|
22 comments
|
Counter : 2838 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณตุ๊กจ้ะ, คุณtoor36, คุณวลีลักษณา, คุณALDI, คุณhaiku, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณJinnyTent, คุณเรียวรุ้ง, คุณInsignia_Museum, คุณNior Heavens Five, คุณlife for eat and travel, คุณสองแผ่นดิน, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณหงต้าหยา, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณดาวริมทะเล, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณยังไงก็ได้ว่ามาเลย, คุณSweet_pills, คุณRananrin |
โดย: Artagold วันที่: 23 มิถุนายน 2561 เวลา:16:42:11 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 23 มิถุนายน 2561 เวลา:17:07:48 น. |
|
|
|
โดย: แมวเอิง วันที่: 23 มิถุนายน 2561 เวลา:17:36:01 น. |
|
|
|
โดย: ALDI วันที่: 23 มิถุนายน 2561 เวลา:21:47:52 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:6:33:06 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:12:25:20 น. |
|
|
|
โดย: เพรางาย วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:13:12:32 น. |
|
|
|
โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:13:46:21 น. |
|
|
|
โดย: แมวเอิง วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:17:34:06 น. |
|
|
|
โดย: แมวเอิง วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:17:43:54 น. |
|
|
|
โดย: Artagold วันที่: 24 มิถุนายน 2561 เวลา:18:18:54 น. |
|
|
|
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 25 มิถุนายน 2561 เวลา:6:56:25 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 25 มิถุนายน 2561 เวลา:7:32:17 น. |
|
|
|
โดย: Artagold วันที่: 25 มิถุนายน 2561 เวลา:11:46:40 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 25 มิถุนายน 2561 เวลา:23:43:27 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 26 มิถุนายน 2561 เวลา:4:47:35 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 26 มิถุนายน 2561 เวลา:7:39:37 น. |
|
|
|
|
|
|
|
คงต้องมีการปฏิบัติตัวดูแลตัวเองอีกหลายอย่างเลย
และดีจังค่ะ พาญาติไปตรวจก็เลยได้มีเวลา
เดินซื้ออุปกรณ์ทำสวน จะได้เห็นต้นไม้ ดอกไม้สวยๆ
เพิ่มอีกแน่ๆเลยนะคะ