โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด - คณะกายบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด มิถุนายน 12, 2012 กภ.พิทยุตม์ โตขำ
กระดูกสันหลังเป็นแกนกลางของร่างกายประกอบด้วยกระดูกจำนวน 24 ชิ้น เชื่อมเป็นข้อต่อ แยกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนคอ, อก และเอว นอกจากนั้น กระดูกสันหลังส่วนเอวยังเชื่อมกับกระดูกเชิงกรานเป็นข้อต่อ โดยกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ป้องกันไขสันหลังซึ่งเป็นทางเดินของกระแสประสาทมายังอวัยวะส่วนอื่น ให้พร้อมทำหน้าที่ และเป็นตัวรับส่งแรงในการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่สูงและต่ำกว่า เปรียบเสมือนส่วนลำต้นไม้ซึ่งมีท่อน้ำเลี้ยง รับอาหารมาจากส่วนรากส่งผ่าน ไปยังส่วนกิ่งก้านใบด้านบน ในทางกลับกันเมื่อส่วนบนมีการสังเคราะห์แสง จะส่งผ่านผลผลิตที่ได้ไปยังรากด้วย
กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวหลายทิศทางได้แก่ ก้ม เงย, เอียงซ้าย ขวา และหมุนซ้าย ขวา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หลังที่ดี จำเป็นต้องมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ดีตามด้วย หากหลังมี การเคลื่อนไหวลดลง หรือแข็ง เคลื่อนไหวไม่ได้ จะเป็นอุปสรรค ในการดำรงชีวิตอย่างมาก โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดมีผล ให้กระดูกสันหลังที่อักเสบเชื่อมติดกัน ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้ลดลง หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างถาวร
โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด หรือ Ankylosing Spondylitis มีการค้นพบตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ แต่มีการค้นคว้าวิจัยมากขึ้นเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจเรียกว่า โรค Bekhterev หรือ โรค Marie Strümpell เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับยีน HLA B27 พบได้ทั้งชาวเอเชียและยุโรป แต่ชาวเอเชียพบได้น้อยกว่า ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ผลของโรค ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตัวข้อต่อกระดูกสันหลัง และข้อต่ออื่น(ข้อเข่า, ข้อตะโพก, ข้อไหล่, ซี่โครง) และมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ, เอ็นยึดกระดูก ผลจากการอักเสบทำให้ร่างกายสร้างกระดูกมาแทนที่ส่วนที่อักเสบเกิด การเชื่อมติดกันของกระดูก หากมองจากภาพ X ray จะเห็นกระดูกสันหลัง เชื่อมติดกันเป็นปล้องไม้ไผ่ นอกจากนี้แล้วตัวโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบ ของตา, หัวใจ, ปอด, ไต และทางเดินอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่การอักเสบมักเริ่มต้น ที่ข้อต่อเชื่อมกระดูกสันหลังกับเชิงกรานกระจายขึ้นไปตลอดแนวกลางกระดูกสันหลัง
ผลจากการเชื่อมติดกันของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อ มีผลให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ลดลง จะเห็นท่าทางการเดินที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ, เวลามองด้านข้างต้องหันทั้งตัว, ยืนไหล่ห่องอตัว, หน้ายื่นคอยื่น, ยืนก้มแตะปลายเท้าได้น้อย เป็นต้น หากกระทบ กับข้อต่อซี่โครงทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลง ส่งผลต่อการหายใจ ทำให้มีอาการ หอบเหนื่อย นอกจากการเคลื่อนไหวที่ลดลงแล้ว อาการที่สำคัญคือปวดบริเวณหลัง และก้น หรือตามข้อที่มีปัญหาโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาการค่อยเป็นค่อยไป อาการจะแย่ลงหากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมี การขยับเคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากอาการปวดหลังธรรมดา ซึ่งมีสาเหตุจาก การเคลื่อนไหวผิดท่า เช่น เอี้ยวบิดตัว, ก้มหลังเป็นเวลานาน เป็นต้น และอาการจะดีขึ้นหากได้พัก แต่จะแย่ลงหากมีการเคลื่อนไหวซ้ำ
ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วน 3 : 1 อายุน้อยกว่า 45 ปี อาการหลังฝืดแข็งในตอนเช้าเป็นเวลามากกว่า 30 นาที ต้องตื่นขึ้นมาหลังจากนอนนานมากกว่า 30 นาที เพราะอาการปวด แต่จะดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นเปลี่ยนท่า อาการปวดและฝืดแข็งจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ออกกำลังกายแต่จะแย่ลงหากอยู่นิ่งมีอาการปวดหลังเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน และจะต้องมีอาการก่อนอายุ 45 ปีมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้ การรักษาในปัจจุบันไม่สามารถรักษาตัวโรคให้หายขาดได้เพียงแต่ระงับ การกระตุ้นของโรคซึ่งการรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การรักษาทางยา และการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาควบคู่กันไป
1. การรักษาทางยา แบ่งยาเป็น 3 ชนิด คือ
ยาในกลุ่ม NSAIDs เพื่อลดอาการปวด และการอักเสบ ยาในกลุ่ม Steroids เพื่อลดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Corticosteroids, sulfasalazine เป็นต้น TNFα blocker มีประสิทธิภาพในการกดภูมิคุ้มกันสูง แต่มีราคาแพง 2. การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญในการรักษาระยะยาว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อลดอาการปวด คงสภาพ และเพิ่มช่วง การเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ (ข้อต่อกระดูกสันหลัง, ซี่โครง, ข้อเข่า, ข้อตะโพก และข้อไหล่) และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อที่มีปัญหาให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตสูงสุดที่พึงมี การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
2.1 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเน้นกล้ามเนื้อ ในการแอ่นหลังและเหยียดตะโพกเนื่องจากการทรงท่ามักอยู่ในท่างอจำเป็น ต้องเพิ่มกำลังด้านหลังต้านการงอ
2.2 การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อยืดและคงสภาพการเคลื่อนไหว ของเนื้อเยื่อรอบข้อป้องกันการหดรั้งและการผิดรูปของข้อต่อ ยืดค้างนาน 10 วินาที ข้างละ 5 10 ครั้งต่อเซต ระหว่างออกกำลังกายจะรู้สึกตึงแต่ต้องไม่เจ็บ
2.3 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของทรวงอกให้มีการขยายตัวอยู่เสมอ
ข้อแนะนำบางประการ หากคุณมีความเสี่ยงหรืออาการดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์ด้านอายุรศาสตร์ โรคข้อและนักกายภาพบำบัด เพื่อวินิจฉัยตรวจคัดกรองและให้การรักษา เพราะหากตรวจพบได้เร็วจะเป็นผลดีกับท่านเพื่อชะลอการดำเนินโรคและป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
การรักษาทางยาจะต้องรักษาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดเสมอ ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะต้องออกกำลังกาย ให้เป็นกิจวัตรประจำวันควรเปลี่ยนท่าทุก 30 นาที ไม่ควรอยู่ ท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไปพยายามหนุนหมอนอย่าเกิน 1 ใบเท่าที่พอทำได้ และหมอนห้ามหนุนมาที่ไหล่เพราะจะทำให้ไหล่ยิ่งงุ้มมากขึ้น ท่าทางในการนั่ง, ยืน, เดิน ไม่ควรนั่งในท่าหลังค่อมไหล่ห่องอตัว แต่จะต้องยืดตัวให้ตรง เพราะหากอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานมีผล ให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงทำให้ไม่สามารถตั้งตัวตรงอย่างถาวร หากจำเป็นต้องขับรถยนต์ควรหาอุปกรณ์เสริมกระจกมองข้าง เพื่อเห็นภาพด้านหลังชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องหันมองสุดตัว เพราะผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด จะมีปัญหาการเคลื่อนไหวคอที่จำกัดร่วมด้วย
เรียบเรียงโดย กภ.พิทยุตม์ โตขำ
เอกสารอ้างอิง อัจฉรา กุลวิสุทธิ์. เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PTPT 334 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง Spondylo-arthropathy; 2551. Khan MA. ANKYLOSING SPONDYLITIS : the facts. 1st ed. London: Oxford University Press; 2002. Sieper J, Braun J. Ankylosing spondylitis in clinical practice. 1st ed. London: Springer; 2011. En.Wikipedia.org [home page on the intermet]. Ankylosing Spondylitis [updated on 2011 Nov 15; cited 2011 Nov 25]. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Ankylosing_spondylitis
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=78
สาขา Health Blog
newyorknurse
Create Date : 09 เมษายน 2561 |
Last Update : 13 พฤษภาคม 2561 7:58:20 น. |
|
19 comments
|
Counter : 1800 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณmambymam, คุณSweet_pills, คุณkae+aoe, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณtoor36, คุณกะว่าก๋า, คุณหงต้าหยา, คุณเกศสุริยง, คุณJinnyTent, คุณTui Laksi, คุณตะลีกีปัส, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณInsignia_Museum, คุณzungzaa, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณmariabamboo |
โดย: mambymam วันที่: 11 พฤษภาคม 2561 เวลา:6:02:15 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 11 พฤษภาคม 2561 เวลา:7:23:47 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 11 พฤษภาคม 2561 เวลา:8:13:13 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 11 พฤษภาคม 2561 เวลา:10:13:02 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 11 พฤษภาคม 2561 เวลา:21:42:20 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:6:17:32 น. |
|
|
|
โดย: mambymam วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:6:45:40 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:10:49:07 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:16:18:57 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:21:36:27 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:21:40:03 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:23:34:35 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 12 พฤษภาคม 2561 เวลา:23:41:35 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 พฤษภาคม 2561 เวลา:6:46:48 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 13 พฤษภาคม 2561 เวลา:11:21:35 น. |
|
|
|
โดย: mariabamboo วันที่: 13 พฤษภาคม 2561 เวลา:19:33:45 น. |
|
|
|
|
|
|
|
โรคกระดูกสันหลังอักเสบ เป็นกันเยอะเหมือนกันนะคะ
Health Blog