ภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง

















Cholesterol คืออะไร ?


Cholesterol เป็นกลุ่มไขมันที่เป็นสาร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ละลายน้ำ

Cholesterol เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น

ในระบบหมุนเวียนโลหิต cholesterol จะถูกหุ้มด้วยสาร lipoproteins ซึ่งจะทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปตามกระแสโลหิต เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งาน lipoproteins ที่หุ้ม cholesterol มี 2 ชนิดคือ

1.
Low-density lipoproteins (LDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับ cholesterol ส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่า cholesterol ชนิด "ร้าย"


2.
High-density lipoproteins (HDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัด cholesterol ส่วนเกิน จึงเรียกว่า cholesterol ชนิด " ดี"

Cholesterol มาจากไหน

เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมากจนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol

ปกติร่างกายจะรักษาความสมดุลย์ของ cholesterol ให้คงที่เสมอ กล่าวคือ ถ้ากินอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก ร่างกายก็จะลดการสร้าง cholesterol ลง ในทางตรงข้ามถ้ากินอาหารที่เป็นพืชมากร่างกายก็จะสร้าง cholesterol เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย โดย cholesterol ส่วนเกินจะถูกส่งไปที่ตับในน้ำดี และถูกกำจัดออกทางอุจจาระ

การสูงขึ้นของระดับ cholesterol ที่ผิดปกติ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินอาหารของแต่ละบุคคล และอาจรวมถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่เป็นต้น

Cholesterol มีผลต่อหัวใจอย่างไร

เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับ cholesterol เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับ cholesterol ทำให้ LDLs จึงต้องนำ cholesterol ส่วนที่เกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาดหลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และอาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

การตรวจ Cholesterol จะทำอย่างไร

การตรวจหาระดับ cholesterol ในเลือดเป็นด่านแรกในการควบคุมระดับ cholesterol ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับ cholesterol อย่างน้อยทุก 5 ปี เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับ cholesterol อย่างน้อยปีละครั้ง ระดับ cholesterol ที่วัดได้ จะรายงานเป็นจำนวนมิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ( mg/dl)

ระดับ total cholesterol

ต่ำกว่า 200 mg/dl = ระดับที่เหมาะสม

200-239 mg/dl = คาบเส้น

สูงกว่า 240 mg/dl = สูงผิดปกติ

ระดับ cholesterol ที่อยู่ในช่วงคาบเส้น ควรทำการตรวจซ้ำ 2-3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ถ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมควรเริ่มต้นควบคุม โดยการลดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ลง ขณะที่ระดับ cholesterol ที่สูงกว่า 240 mg/dl ควรใช้วิธีควบคุมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย

ระดับ HDL cholesterol

สูงกว่า 35 mg/dl= ระดับที่เหมาะสม

สูงกว่า 60 mg/dl= ไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ



ระดับ LDL cholesterol

ต่ำกว่า 130 mg/dl= ระดับที่เหมาะสม

130-159 mg/dl= คาบเส้น

สูงกว่า 160 mg/dl = มีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง


Cholesterol Ratios

การคำนวณ cholesterol ratios จะช่วยบอกภาวะของความเสี่ยงโรคหัวใจได้อีกอย่างหนึ่ง โดยมีหลักว่า total cholesterol / HDL ratio สูงกว่า 6 และ ratio ของ LDL / HDL สูงกว่า 4 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง

Cholesterol และความเสี่ยงโรคหัวใจ

จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับ cholesterol สูงกว่า 240 mg/dl จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น


1.ชาย อายุ 45 และหญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่รอบเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี และไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน

2.ความดันโลหิตสูง (สูงกว่า 140/90)

3.สูบบุหรี่

4.HDL ต่ำกว่า 35 mg/dl

5.โรคเบาหวาน

6.ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ

7. ความอ้วน

ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเหล่านี้ ควรควบคุม cholesterol ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาช่วย

Triglycerides สำคัญอย่างไร

สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตรวมทั้งพืช สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้เอง และสามารถนำมาสร้างเป็นไขมันเพื่อสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองได้ โดยทั่วไปสัตว์จะสังเคราะห์ไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) ขณะที่พืชส่วนใหญ่สังเคราะห์ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ยกเว้นน้ำมัน
จากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น จะมีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่มาก

อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัว อาจถูกเปลี่ยนเป็นไขมันอิ่มตัวได้ด้วยขบวนการทางเคมี เช่น เนยเทียมและน้ำมันพืชบางชนิด โดยทั่วไปเนื้อปลา และเนื้อไก่ จะมีไขมันไม่อิ่มตัวมาก แต่ไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อแกะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ขณะที่เนื้อหอย กุ้ง ปู จะมี cholesterol สูง แต่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ

ข้อเสียของไขมันอิ่มตัว คือ มันจะเข้าไปขัดขวางการใช้ cholesterol ของเซลล์ ทำให้ cholesterol ไม่ถูกนำไปใช้ จึงคงอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง แต่ในทางตรงข้ามไขมันไม่อิ่มตัวจะช่วยเสริมให้เซลล์นำ cholesterol จากเลือดไปใช้ ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดลดลง ดังนั้น การบริโภคเนื้อแดง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดสูง การตรวจสุขภาพโดยการวิเคราะห์ระดับ triglycerides ร่วมกับ cholesterol และ HDL จึงช่วยในการวิเคราะห์ปริมาณไขมันในร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ระดับ triglycerides

ต่ำกว่า 150 mg/dl = เหมาะสม

แม้ว่าระดับ triglycerides ในเลือดจะไม่เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของโรคหัวใจ เนื่องจาก triglycerides ไม่ได้เป็นสาเหตุของการตีบของหลอดเลือดแดง แต่ระดับ triglycerides ที่สูงในเลือด อาจเป็นการแสดงว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะกรณีที่มีระดับ HDLs ในเลือดต่ำ หรือ LDLs ในเลือดสูงอยู่แล้ว



ภาวะไขมันในเลือดสูง :

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก

การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด

1. การควบคุมอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง


อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์

ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์

กะทิ

อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและการทอดเจียว

ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดื่มประเภทเบียร์จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์


อาหารที่ควรรับประทาน


เนื้อปลา


น้ำมันของปลาทะเล


ผักใบต่างๆ และผลไม้ที่ให้กาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ผักกาด ส้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมันสู่ร่างกาย

ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด


คำแนะนำสำหรับวิธีปรุงอาหาร

ควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

2. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

การออกกำลังกายที่ดีที่สุด

กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง



ถ้าท่านมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./100กรัม ควรรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน


สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

อาหารในแต่ละชนิด จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันปริมาณโคเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) ต่ออาหาร 100 กรัม


กุนเชียง 150 ตับไก่ 685-750

กุ้งเล็ก 125-150 เนื้อวัวเนื้อล้วน 60

กุ้งใหญ่ 250-300 ไตวัว 400

ไข่ขาว 0 กระเพาะวัว 150

ไข่ทั้งฟอง 550 ตับวัว 400

ไข่แดง (เป็ด) 1120 ลูกวัว 140

ไข่แดง (ไก่) 2000 ผ้าขี้ริ้ว 610

ไข่นกกระทา 3640 หัวใจวัว 145

ไข่ปลา 7300 ปลาแซลมอน 86

ครีม 300 ปลาจาระเม็ด 126

นกพิราบ 110 ปลาดุก 60

นมสด 24 ปลาทูน่า 186

เนยแข็ง 90-113 ปลาลิ้นหมา 87

เนยเหลว 250 ปลาไหลทะเล 186

มาการีน 0 ปลาหมึกเล็ก 384

น้ำมันตับปลา 500 ปลาหมึกใหญ่ 1170

เนื้อกระต่าย 60 ปลิงทะเล 0

เนื้อแพะ 60 เป็ด 70-90

เนื้อแกะล้วน 60 ปู 101-164

ตับแกะ 610 แมงกะพรุน 24

กระเพาะแกะ 41 หอยกาบ 180

เนื้อหมูเนื้อแดง 89 หอยแครง 50

เนื้อปนมัน 126 หอยนางรม 230-470

น้ำมันหมู 95 หอยอื่นๆ 150

ตับหมู 400 เบคอน 215

ไตหมู 350 สมองสัตว์ต่างๆ 3160

กระเพาะหมู 150 ไส้กรอก 100

หัวใจหมู 400 แฮม 100

ซี่โครงหมู 110 ไอศกรีม 40

เนื้อไก่เนื้อล้วน 60


แหล่งข้อมูล : web บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด (www.bpl.co.th)

แหล่งข้อมูล : //www.bangkokhealth.com


Create Date : 19 พฤษภาคม 2554
Last Update : 21 พฤษภาคม 2554 15:24:35 น. 1 comments
Counter : 3607 Pageviews.

 
ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากที่เอาสาระดีๆมาให้อ่าน


โดย: romchalee วันที่: 19 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:26:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
19 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.